การคำนวณเงินเพิ่ม(ค่าปรับ) สำหรับโปรแกรมซอฟท์บิส ระบบบัญชีนิติบุคคลอาคารชุด ตามพระราชบัญญัติ อาคารชุด พ.ศ.2551 มาตรา18 |
พ.ร.บ.อาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 18
“ มาตรา ๑๘/๑ ในกรณีที่เจ้าของร่วมไม่ชำระเงินตามมาตรา ๑๘ ภายในเวลาที่กำหนดต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราไม่เกินร้อยละสิบสองต่อปีของจำนวนเงินที่ค้างชำระโดยไม่คิดทบต้น ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในข้อบังคับ เจ้าของร่วมที่ค้างชำระเงินตามมาตรา ๑๘ ตั้งแต่หกเดือนขึ้นไปต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราไม่เกินร้อยละยี่สิบต่อปี และอาจถูกระงับการให้บริการส่วนรวม หรือการใช้ทรัพย์ส่วนกลางตามที่กำหนดในข้อบังคับ รวมทั้งไม่มีสิทธิออกเสียงในการประชุมใหญ่ ”
การตั้งค่าการคำนวณค่าปรับ/เงินเพิ่ม ในโปรแกรม ซอฟท์บิส (เวอร์ชั่น 2010)
|
สามารถ กำหนด การคำนวณ ได้ดังนี้
1. เมนู แฟ้ม >> ข้อกำหนดระบบทั่วไป/อื่นๆ
- เลือกที่ ช่อง พ.ร.บ. ฉบับที่ 4 ( บรรทัดที่ 2 )
- กรณี คำนวณแบบตั้งหนี้พร้อมใบแจ้งหนี้ งวดใหม่ทุกเดือน ที่บรรทัดแรก เลือกที่ตั้งหนี้งวดใหม่
- กรณี คำนวณหน้าใบเสร็จ เลือกที่ช่องคำนวณหน้าใบเสร็จ (บรรทัดที่ 2)
2. เมนู แฟ้ม >> ทะเบียนประเภทรายรับ
- ไปที่ รหัส ค่าส่วนกลาง
- บรรทัดข้อกำหนดระบบอื่นๆ
- เลือกที่คำนวณค่าปรับ
|
ข้อมูลเพิ่มเติม ถาม-ตอบ จาก กรมที่ดิน
คำถามเลขที่ : 5301-067718 เรื่อง การกำหนด ค่าปรับ เมื่อชำระค่าส่วนกลางเกินกำหนด
รายละเอียด : |
ผมอาศัยอยู่ที่ อาคารชุดย่านลำสาลี ซึ่งจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด ก่อนที่ พรบ.อาคารชุด ฉบับที่ 4 พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ ได้มีการกำหนดค่าปรับกรณีชำระเงินค่าส่วนกลาง เกินระยะเวลาที่กำหนดในอัตรา ร้อยละ 10 ต่อเดือน (ต่อเดือนนะครับ ไม่ใช่ต่อปี) เศษของหนึ่งเดือนให้คิดหนึ่งเดือน....แต่ตาม พรบ.อาคารชุด ฉบับที่ 4 พ.ศ.2551 ได้เพิ่มข้อความในมาตรา 18 คือ 18/1 ได้กำหนดอัตราเงินเพิ่ม (ค่าปรับ) กรณีชำระเงินค่าส่วนกลาง เกินกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้นั้น... ผมจึงอยากทราบว่า นิติบุคคลอาคารชุดที่ผม อาศัยอยู่ ต้องแก้ไขข้อบังคับในส่วนของการคิดค่าปรับดังกล่าวข้างต้น ให้สอดคล้องตาม พรบ.อาคารชุด ฉบับที่ 4 พ.ศ.2551 ด้วยหรือไม่ครับ หรือ ข้อความเพิ่ม 18/1 ที่ได้กำหนดอัตราเงินเพิ่มฯ ไว้นั้น จะมีผลบังคับกับนิติบุคคลอาคารชุดที่จดทะเบียนก่อน พรบ.อาคารชุด ฉบับที่ 4 พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ด้วยหรือไม่ครับ เพราะใน พรบ.อาคารชุด ฉบับที่ 4 พ.ศ.2551 ในมาตรที่ 31 คือ "มาตรา ๓๑ มิให้นำบทบัญญัติในมาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับแก่การกำหนดอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลาง ทรัพย์สินที่ถือว่าเป็นทรัพย์ส่วนกลางและการกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายร่วมกันของเจ้าของร่วมในอาคารชุดที่ได้จดทะเบียนเป็นอาคารชุดอยู่ก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปสำหรับอาคารชุดที่ได้จดทะเบียนเป็นอาคารชุดอยู่ก่อนหรือในวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ" ส่วนมาตราที่ 33 คือ "มาตรา ๓๓ ให้ข้อบังคับที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับยังคงใช้บังคับต่อไป เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ และให้นิติบุคคลอาคารชุดดำเนินการแก้ไขหรือเพิ่มเติม ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัตินี้ภายในสามร้อยหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ" |
โดยคุณ : |
จตุพร |
วันที่ : |
12 มกราคม 2553 19:44 น. |
คำตอบ
รายละเอียด : |
กรณีอาคารชุดที่จดทะเบียนก่อนวันที่พระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 หากประสงค์จะเรียกเก็บเงินเพิ่มตามมาตรา 18/1 ต้องได้รับมติจากที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมและต้องกำหนดไว้ในข้อบังคับโดยอัตราการเรียกเก็บนั้นต้องไม่เกินอัตราสูงสุดตามนัยมาตรา 18/1 ส่วนกรณีข้อบังคับเดิม หากได้กำหนดเกี่ยวกับเงินค่าปรับหรือดอกเบี้ยไว้ก่อนวันที่ 4 กรกฎาคม 2551 ก็เป็นเรื่องที่คู่กรณีต้องถือปฏิบัติ แต่หลังจากวันที่พระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มีผลใช้บังคับ นิติบุคคลอาคารชุดนั้นต้องแก้ไขข้อบังคับดังกล่าวให้สอดคล้องตามมาตรา 18/1 จึงจะสามารถเรียกเก็บเงินเพิ่มตามที่กำหนดได้ |
ตอบโดย : |
สำนักส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ |
ประสานงานโดย : |
สำนักงานเลขานุการกรม โทร.0-2221-5682, 0-2226-3073 |
วันที่ : |
22 มกราคม 2553 10:29 น. |
|