Home » ธุรกิจ เศรษฐิจ การตลาด » กลยุทธ์ธุรกิจ ปี 2555 ปรับตัว-พัฒนาคน-ค้นหาจุดแข็ง

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
กลยุทธ์ธุรกิจ ปี 2555 ปรับตัว-พัฒนาคน-ค้นหาจุดแข็ง
สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ประทีป ตั้งมติธรรม บุญเกียรติ โชควัฒนา รวรรณ ธาราภูมิ

สี่กูรูมองกลยุทธ์ปี 2012 ปรับตัว-พัฒนาคน-ค้นหาจุดแข็ง

ทุกปี ศูนย์พัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจ (Strategic) จะเปิดฟอรั่มให้ลูกค้าและผู้สนใจเข้าฟังมุมมองต่องานพัฒนาบุคคลและกลยุทธ์ธุรกิจในปีต่าง ๆ สำหรับปีนี้ ศูนย์พัฒนากลยุทธ์ธุรกิจ อันเป็นสถาบันที่ให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาบุคลากรและฝึกอบรมได้จัดงานสัมมนากลยุทธ์ธุรกิจ Strategy Forum 2012 ขึ้น

ที่ไม่เพียงจะมี ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและกลยุทธ์ธุรกิจ หากยังมี ประทีป ตั้งมติธรรม ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน)

ดร.บุญเกียรติ โชควัฒนา กรรมการ ผู้อำนวยการ บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) และวรวรรณ ธาราภูมิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ. บัวหลวง จำกัด มาร่วม พูดคุย

เบื้องต้น วิทยากรตั้งคำถามถึงภาพรวมเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจประเทศไทยในปี 2012 ว่าจะเป็นอย่างไร "ดร.สมชาย" จึงมองว่าปัจจัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปี 2012 มีหลายปัจจัย ปัจจัยแรก คือการส่งออกในปี 2012 น่าจะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 15 % ส่วนหนึ่ง น่าจะมาจากการเกิดสภาวะ Over Hanging Demand ที่ได้อานิสงส์มาจากเหตุการณ์น้ำท่วม

"เพราะตอนนี้น้ำลดลงแล้ว แต่บริษัทในต่างประเทศมีความต้องการสินค้า แต่หา supply ไม่ได้ ดังนั้น บริษัทในต่างประเทศจึงมีการเร่งผลิตสินค้าออกมา บวกกับเศรษฐกิจในภาพรวม หากไม่เกิดวิกฤตในยุโรป จะทำให้เศรษฐกิจโลกไปได้ดี และขยายตัวได้ถึง 2% กว่า ๆ"

"ปัจจัยต่อมา การกระตุ้นจากภาครัฐซึ่งจะต้องดำเนินนโยบายขาดดุล เพราะก่อนหน้านี้ขาดดุลอยู่ประมาณ 4 แสน

ล้านบาท ประกอบกับช่วงที่ผ่านมามี น้ำท่วม จึงทำให้ภาครัฐเพิ่มเงินอัดฉีดลงไปในระบบอีก จึงทำให้เกิดการสร้างงาน การบูรณะฟื้นฟู ตรงนี้น่าจะก่อให้ เกิดการปรับปรุงของแผนงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์น้ำท่วม"

นอกจากนั้น "ดร.สมชาย" ยังมองถึงปัจจัยกระตุ้นจากภาคเอกชน ที่จะต้องอัดฉีดเม็ดเงินลงไปในระบบเพื่อบูรณะฟื้นฟู เพราะถ้าดูจากเม็ดเงินที่อัดฉีดลงไปในระบบพบว่ามีอยู่หลายแสนล้านบาท

"ดังนั้น ปัจจัย 3 ตัว อันได้แก่การ ส่งออก การกระตุ้นจากภาครัฐ และภาคเอกชน น่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจของไทยในปี 2012 ขยายตัวได้ถึง 4% แต่ทั้งนั้น สิ่งที่ต้องระวังคือความไม่แน่นอนในตลาดต่างประเทศ เช่น สภาวะเศรษฐกิจโลก โดยสหรัฐอเมริกาเองตอนนี้เริ่มมีแนวโน้มขยายตัวขึ้นบ้าง แต่ยังไม่มีเสถียรภาพมาก"

"ปี 2012 เศรษฐกิจโดยรวมจึงน่าขยายตัวได้ 3-4% แต่สิ่งที่น่าจับตามองเป็นพิเศษ คือการรวมตัวของสหภาพยุโรป 27 ประเทศ ซึ่งอยู่ในช่วงของการฝ่าวิกฤต ขณะนี้ยังไม่มีมาตรการแก้ไขปัญหาอย่างเด่นชัด ดังนั้น หากปี 2012 ปัญหาวิกฤตในยุโรปยังไม่ถึงกับระเบิด เศรษฐกิจไทยในช่วงต้นจะขยายตัวได้"


"แต่ถ้าเกิดระเบิดจนถึงขนาดเงิน ยูโรมีปัญหา จะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องในยุโรป รวมถึงเงินในระบบของ ทั่วโลกจะหายไปเกือบ 30% ตรงนี้จะก่อให้เกิด NPL ทั่วโลก และจะทำให้เศรษฐกิจประเทศไทยติดลบอย่าง แน่นอน จากการวิเคราะห์ตรงนี้มีโอกาสเกิดขึ้น แต่ไม่มากนัก"

"ฉะนั้น จากการวิเคราะห์เศรษฐกิจในปี 2012 น่าจะได้อานิสงส์จากปัจจัยทั้ง 3 ที่กล่าวมา และน่าขยายตัวได้ในเกณฑ์ 4-5% รวมถึงการส่งออก น่าจะขยายได้ไม่ต่ำกว่า 14-15%"

ขณะเดียวกัน "ดร.สมชาย" ยังกล่าวถึงเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น โดยมองว่าในแง่ของการขยายตัวทางเศรษฐกิจน่าจะติดลบ เพียงแต่ตอนนี้น่าจะอยู่ในแผนของการฟื้นฟู หลังจากประสบภัยพิบัติสึนามิ จนทำให้เศรษฐกิจของประเทศชะงักงัน

"ขณะที่ประเทศจีน ตอนปี 2011 ประเทศจีนสู้กับเงินเฟ้ออยู่ประมาณ 6% กว่า แต่ตอนนี้เหลือ 4% กว่าแล้ว และเชื่อว่า 2-3 อาทิตย์ผ่านมา หุ้นจีนที่ตกมาตลอด ตอนนี้เริ่มฟื้นตัว โดยเฉพาะหุ้นจากยางพารา และผมเชื่อว่าเศรษฐกิจ ประเทศจีนในปี 2012 น่าจะเติบโตอยู่ใกล้ ๆ 9% กว่า

"ส่วนเศรษฐกิจประเทศไทยน่าจะโตได้ถึง 4% ในปี 2012 แต่ถ้าเศรษฐกิจยุโรปมีปัญหา เนื่องจากการส่งออกไป ยังประเทศจีน และหลายประเทศในอาเซียนมีการขยายตัว แต่ทั้งนั้น ภาครัฐจะต้องวางแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เป็นระบบ เพราะประเทศไทยขณะนี้มีความเสี่ยงหลายด้านด้วยกัน อย่างหนึ่งคือความไม่เป็นเอกภาพทางการเมือง และทหาร ส่วนอีกเรื่องคือภัยธรรมชาติ, เชื้อโรค และภัยก่อการร้าย"

ถึงตรงนี้ "ประทีป" จึงสะท้อนในประเด็นเดียวกัน แต่โฟกัสไปที่ภาคอสังหาริมทรัพย์ให้ฟังว่า ตอนนี้หลังจากเกิดมหาอุทกภัย พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ขณะที่ปัญหาเดิม ๆ อย่างค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท และเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท คงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดข้อจำกัดมากขึ้น

"แต่โชคยังดีอยู่บ้าง ที่ภาครัฐออกมาตรการในการช่วยลดภาษีเงินได้นิติบุคคลมาเป็น 23% และ 20% ในปีถัดไป ตรงนี้น่าจะมีส่วนช่วยทำให้เกิดแรงจูงใจให้คนหันมาลงทุนมากขึ้น บวกกับอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงไปอีก และไหนจะช่องทางการขายที่มีการเปลี่ยนรูปแบบไปหาโซเชียลเน็ตเวิร์ตมากขึ้น"



นอกจากนั้น "ประทีป" ยังเปลี่ยน มุมมองไปที่ระดับภูมิภาค ถ้าพืชผล ทางเศรษฐกิจดี น่าจะทำให้พฤติกรรมการซื้อขายในระดับภูมิภาคเป็นไปในทิศทางที่ดี

"รวมถึงท่องเที่ยวก็จะดีตามไปด้วย เพราะ อบต.อบจ.อยากพัฒนาท้องถิ่นของตัวเอง จนทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งศุภาลัยมองเห็นโอกาสตรงนี้ เราจึงกระจายโครงการต่าง ๆ ไปตามหัวเมืองภูมิภาคต่าง ๆ และจากการทำธุรกิจผ่านมา หัวเมืองภูมิภาคเหล่านี้มีกำลังซื้อมากขึ้น"

"ส่วนเรื่องประชาคมอาเซียน เป็น อีกปัจจัยหนึ่งที่มีอัตราการเติบโตอย่างศรีลังกา ตอนนี้เติบโตมาก และเป็นประเทศที่น่าเข้าไปลงทุน ยิ่งตอนนี้ ตลาดบ้านเดี่ยวในประเทศอยู่ประมาณ 30% ขณะที่คอนโดมิเนียมมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ คืออยู่ที่ประมาณ 60%"

"การจะไปลงทุนที่ไหน ฝ่าย HR ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องทุกเรื่อง เพราะฝ่ายนี้เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ HR เราจำเป็นต้องสร้างคนเพื่อรองรับธุรกิจที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากทุกประเทศในขณะนี้เป็นตลาดของเรา"

ทางตรงข้าม "บุญเกียรติ" กลับสะท้อนในมุมธุรกิจค้าปลีกปี 2012 ว่า ทุกครั้งเมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ ค้าปลีกจะขายดี เพราะหลายหน่วย งานจัดสรรเงินเข้าไปซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภค

"ส่วนเรื่องการปรับค่าแรง 300 บาท และการปรับเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท น่าจะส่งผลดี เพราะทำ ให้คนมีรายได้เพิ่ม และเขาจะซื้อสินค้ามากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น ในเรื่องกลยุทธ์จึงต้องทำตลอดเวลา และเดี๋ยวนี้การแข่งขันสูงมาก เราจึงจำเป็นต้องคิดเร็ว และทำเร็วขึ้นด้วย"

"เพียงแต่ก่อนจะทำอะไร ต้องมีการวางแผนอย่างชัดเจน ต้องเตรียมคนล่วงหน้า ตรงนี้จะต้องปรึกษากับฝ่าย HR เพื่อวางแผนให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในเวลาอันสั้น ฉะนั้น ความท้าทายตรงนี้จึงเป็นเรื่องของนวัตกรรม เป็นนวัตกรรมทางระบบที่จะต้องเชื่อมโยงกับโซเชียลเน็ตเวิร์กรูปแบบต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ เฟซบุ๊กส์ ทวิตเตอร์"


นอกจากนั้น "บุญเกียรติ" ยังมองถึงการเปิดประชาคมอาเซียน (AEC) ในอีก 3 ปีข้างหน้า และเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ที่จะมีการลดภาษีสินค้าบางอย่าง เราในฐานะผู้ประกอบธุรกิจในประเทศไทย จึงต้องปรับตัวและพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ที่สำคัญจะต้องสร้างจุดเด่นเพื่อให้ธุรกิจของตัวเองยืนอยู่ให้ได้

"ผลตรงนี้ จึงเกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ในการบริหารคน เราต้องสร้างคนของเราให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง เพราะการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนและองค์กร เราจึงต้องเร่งปรับทัศนคติให้คนของเราสู้กับคู่แข่งให้ได้"

"เพราะคนไทยอ่อนแอมากในเรื่องการใช้ความคิด โดยเฉพาะในโลกไอที เหตุนี้เอง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสอนคนของเราให้หัดคิด วิเคราะห์ ประเมินผล เพื่อนำมาเป็นข้อสรุป เพราะเรื่องเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการสร้างปัญญา"

ส่วนมุมมองของ "วรวรรณ" ต่อเรื่องการบริหารตลาดเงิน-ตลาดทุนโลก เธอมองว่า เราจำเป็นต้องจับตามองมูฟเมนต์ของสหรัฐอเมริกาที่ต้องการคานอำนาจกับจีน และพยายามหาประเทศในอาเซียนเป็นพวก

"เราในฐานะประเทศหนึ่งในอาเซียน จึงต้องปรับตัว เพราะต่อไปการทำธุรกิจจะเปลี่ยน จึงต้องเตรียมคนของเราให้พร้อม เพื่อรับมือกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น เราต้องพยายามมองหาช่องทางการตลาดใหม่ ๆ ทั้งช่องทางของ new media และช่องทางอื่น ๆ แต่ทั้งหมด เราจำเป็นต้องสร้างให้ลูกค้ารู้สึก trust เสียก่อน"

แม้จะเป็นการสร้างกลยุทธ์ในรูปแบบที่หลากหลาย แต่กระนั้น คงพอมองเห็นภาพบ้างแล้ว ว่างานสัมมนา Strategy Forum 2012 วิทยากรทุกคนต่างมองภาพในมุมเดียวกัน

คือการปรับตัว พัฒนา และค้นหา จุดแข็งของตัวเอง เพื่อการแข่งขันในอนาคต

อันเป็นกุญแจหลักของงานสัมมนาครั้งนี้ ?

link http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1327468598&grpid=09&catid=no