Home » ยุทธวิธีบริหารหมู่บ้าน/คอนโดฯ

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
ยุทธวิธีบริหารหมู่บ้านจัดสรรและอาคารชุด (นิติบุคคล) ยุคปัจจุบัน แบบโลว์คอสต์

หนังสือพิมพ์ สยามธุกิจ ฉบับที่ 979 ประจำวันที่ 11-3-2009  ถึง 13-3-2009

คอลัม ขาประจำ  โดย นคร มุธุศรี

ยุทธวิธีบริหารหมู่บ้านและคอนโดฯ ยุคปัจจุบัน แบบโลว์คอสต์

เรารู้จักมักคุ้นกับชื่อเสียงเรียงนามของสายการบินบางเจ้า ที่กำหนดนโยบายบริหารแบบลดต้นทุนค่าใช้จ่ายแทบทุกด้าน อย่างเช่น ไม่มีบริการอาหารและเครื่องดื่มฟรี ไม่มีหนังสือพิมพ์รวมทั้งความสะดวกสบายทางด้านสื่อบันเทิงทางตาทางหู หากอยากได้สิ่งที่ว่าเหล่านี้ก็ต้องซื้อหากับพนักงานต้อนรับบนเครื่องเอาเอง

หันมาดูด้านการอยู่อาศัยในหมู่บ้านและคอนโดมิเนียม ซึ่งมีค่าใช้จ่ายส่วนกลางแต่ละที่แต่ละแห่งเดือนๆ นึงมีจำนวนตกเป็นหมื่นเป็นแสน เพราะมีภาระเรื่องเงินเรื่องทองหลายด้าน อาทิ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าจ้างพนักงานดูแลความปลอดภัย ค่าพนักงานรักษาความสะอาด เงินเดือนและค่าซ่อมแซมทั้ง 4-5 รายการข้างต้นมีแต่จะขยับสูงขึ้นทุกเดือนทุกปี หาไอ้ประเภทลดลงจากเดิมค่อนข้างยาก ก็ตกที่นั่งคล้ายๆ กับการบริหารบ้านเมืองนั่นแหละ

จะว่าไป ยุทธวิธีบริหารการเงินทั้งของสายการบิน ทั้งของประเทศชาติ ทั้งหมู่บ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมจะมีอยู่ 3 ทางเลือกด้วยกัน

ทางที่ 1ปรับงบประมาณ เรียกเก็บค่าโดยสารเรียกเก็บภาษี เรียกเก็บค่าใช้จ่ายส่วนกลาง และจากผู้พักอาศัยในหมู่บ้าน ในคอนโดฯ ให้สูงตาม
ทางที่ 2แสวงหารายรับชดเชยจากการติดป้ายโฆษณา จากการขายสินค้าและจากการจัดกิจกรรมหลายๆ ทาง
และทางเลือกที่ 3 ปรับลดค่าใช้จ่ายควบคู่ไปกับการ “ลดบริการ” สิ่งอำนวยความสะดวกหลายๆ ด้าน

ทางเลือกที่ 1 และ 2 เขาทำกันอีท่าไหนไม่ต้องอรรถาธิบาย เพราะรู้ๆ กัน แต่การบริหารหมู่บ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมในยุทธวิธีที่ 3 นี่ซิน่าสนใจเขยิบเข้ามานั่งใกล้ๆ ซิครับ ผมจะเล่าให้ฟัง

ยุทธวิธีบริหารหมู่บ้านและคอนโดฯ แบบโลว์คอสต์





แนว ทางแรก “งดโทรศัพท์ผ่านศูนย์ซึ่งมักเป็นคอนโดฯ รุ่นเก่าๆ ที่มีไอ้เจ้าตู้นี้ตั้งอยู่ในอาคาร สำหรับหมู่บ้านจัดสรรไม่ค่อยพบค่อยเห็นที่ไหน เขามี
โดย ปกติเมื่อติดตั้งตู้ประเภทนี้เอาไว้ จำต้องว่าจ้างพนักงาน โอเปอเรเตอร์อย่างน้อยหนึ่งคน และหากเปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง จะต้องเพิ่มเป็น 3 หรือ 4 โน่น
ยุคนี้มีโทรศัพท์มือถือใช้กันเกร่อ อีกทั้งการขอเลขหมายตามบ้านก็ง่ายแสนง่าย แถมค่าใช้จ่ายก็ไม่สูงลิ่วเหมือนยุคก่อนๆ ตัดสินใจทุบทิ้งไอ้เจ้าตู้ผ่านศูนย์เสียเหอะ รับรองว่าลดค่าจ้างพนักงาน ลดค่าดูแลบำรุงรักษาและลดค่าซ่อมแซมลงได้อื้อเชียว แหละ







ยุทธวิธีที่ 2 ปิดลิฟต์บางตัวและบางเวลา ทำไมจะต้องตะบี้ตะบันเปิดให้ขึ้นให้ลงทั้งเช้า สาย บ่าย ค่ำ ด้วยล่ะ ในเมื่อผู้พักอาศัยไม่ได้ใช้บริการตลอด 24 ชั่วโมงสักกะหน่อย
จะ บอกให้การเปิดลิฟต์ทิ้งไว้ตลอดเวลานั้น นอกจากจะสิ้นเปลืองค่ากระแสไฟอย่างน่าเสียดายแล้ว ยังต้องควักกระเป๋าจ่ายค่าซ่อมแซมและปรับเปลี่ยนอะไหล่ปีๆ ละหลายสตางค์เชียวนะ
กระซิบบอกอีกที การกดลิฟต์ขึ้นลงแต่ละครั้งไม่ว่าจะมีผู้โดยสารมากและน้อยสักแค่ไหน จะมีการใช้กระแสไฟ 8-10 บาทเป็นอย่างน้อย แต่ถ้ามีคนมือบอนกดเล่นจะยิ่งสิ้นเปลืองอีกหลายเท่า
ทางที่ถูกที่ควร หากมีลิฟต์ 3 ตัว ตอนเช้าๆ และเย็นๆ อาจจะปิดแค่ 2 ก็พอ ครั้นสายๆ หน่อยปิดให้เหลือบริการเพียงหนึ่งตัวก็เหลือเฟือ



ยุทธวิธีที่ 3 ปิดทางผ่านเข้า-ผ่านออกให้เหลือน้อยๆ และงดบริการเป็นบางช่วงบางขณะหรือตามความจำเป็น ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อลดพนักงานดูแลรักษาความปลอดภัยเหลือเพียงนายสองนายก็ พอ
จะบอกให้ ค่าจ้างพนักงาน รปภ.ของหมู่บ้านจัดสรรนั้นตกประมาณ 60-70% ของค่าใช้จ่ายรวมทั้งโครงการเชียวนะ ไม่เชื่อลองไปสำรวจตรวจสอบดูเหอะ

ยุทธวิธีที่ 4กำหนดตารางเปิด-ปิด ไฟแสงสว่างบางชั้นบางจุด โดยเลือกเอาบริเวณที่ไม่สำคัญหรือไม่มีผู้พักอาศัย ตลอดรวมถึงปิดในบางช่วงบางเวลาอย่างเช่นหลังสองยามไปแล้ว
วิธีนี้นอกจากจะลดค่ากระแสไฟได้เดือนละหลายสตางค์ ยังทุ่นงบเปลี่ยนหลอดเปลี่ยนสายและค่าซ่อมแซมอีกบาน



 
ยุทธวิธีที่ 5จ้างเหมาพนักงานปัดกวาดเช็ดถูพื้นบางเวลา” เฉพาะตอนเช้าหรือตอนเย็นเพียงวันละครั้งเดียว ส่วนช่วงเช้าๆ จรดบ่ายคงทิ้งห้อยแม่บ้านเอาไว้เก็บขยะนู่นนี่เพียง 1-2 ก็พอ
ตัวอย่าง เช่นคอนโดทายาทเศรษฐีสูง 20 ชั้น โดยปกติจะต้องว่าจ้างพนักงานดูแลรักษาความสะอาดตลอดวันจำนวน 10 คน ก็ให้คงจ้างแค่ 1 หรือ 2 เท่านั้น ครั้นพอตกตอนเย็นค่อยให้บริษัทรับจ้างยกกำลังพลมาเช็ดถูพื้นที่ส่วนกลางของ อาคารให้ครบทีม
ทำได้หยั่งงี้จะลดงบรายจ่ายได้จม..!!


 
ยุทธวิธีที่ 6 คิดค่าบริการกับผู้ใช้สิ่งอำนวยประโยชน์โดยตรง” แทนที่จะนำไปบวกรวมให้สมาชิกคนอื่นๆ ทุกรายเป็นผู้ควักกระเป๋าจ่าย
ค่าบริการควรจะจัดเก็บจากผู้ใช้โดยตรง ประกอบด้วย การจอดรถ สระว่ายน้ำ ห้องออกกำลังกายและเซาน่า ฯลฯ
การ แยกจัดเก็บแบบนี้มิได้ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายปรับลดลงหรอก แต่เป็นการหา “ยุทธวิธีหารายรับชดเชย” เพื่อมิให้ต้องเรียกเก็บเพิ่มจากผู้อยู่อาศัยในอาคาร

ยุทธวิธีบริหารหมู่บ้านและคอนโดฯ โลว์คอสต์แบบสุดท้าย “นำระบบไอทีมาปรับใช้ในการบริหารการจัดการ” ทุกด้าน อาทิ ซอฟต์แวร์จัดทำบัญชีและคีย์การ์ด เป็นต้น
การ นำระบบไอทีมาใช้นอกจากจะลดพนักงานบัญชี ลด จำนวนพนักงานดูแลรักษาความปลอดภัยได้หลายจุดหลายนาย แล้ว ยังเพิ่มประสิทธิภาพงานได้อย่างดีอีกด้วย

 

 

 

 

********************************************