Home » หลักการบัญชี และภาษี » การจัดประเภทของสินทรัพย์

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
การจัดประเภทของสินทรัพย์

การจัดประเภทของสินทรัพย์


แม่บทการบัญชีในเรื่องวัตถุประสงค์ของงบการเงิน ผู้ใช้งบการเงินต้องสามารถประเมินผลการบริหาร เพื่อใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ การแสดงรายการสินทรัพย์ และหนี้สินหมุนเวียน จะต้องชัดเจนในงบการเงินแยกออกจากรายการไม่หมุนเวียน อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงสินทรัพย์ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ในรอบระยะเวลาดำเนินงานปัจจุบัน และหนี้สินที่จะถึงกำหนดชำระภายในรอบระยะเวลาเดียวกัน

มาตรฐานการบัญชีกำหนดให้คำว่า "ไม่หมุนเวียน" รวมถึงสินทรัพย์ที่มีตัวตนและไม่มีตัวตน สินทรัพย์ทางการเงิน และสินทรัพย์ดำเนินงานที่มีลักษณะระยะยาว แต่มิได้ห้ามให้ใช้คำศัพท์อื่นแทนคำว่า "ไม่หมุนเวียน" หากคำศัพท์ดังกล่าวไม่ทำให้ความหมายที่กล่าวมาแล้วเสียไป

สินทรัพย์หมุนเวียน รวมถึง ลูกหนี้การค้า และสินค้าคงเหลือที่มีไว้เพื่อขาย เพื่อใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานตามปกติ แม้ว่ากิจการไม่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์เหล่านั้นภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล

หนี้สินหมุนเวียน สามารถจัดประเภทได้ทำนองเดียวกันกับสินทรัพย์หมุนเวียน หนี้สินบางชนิดถึงแม้ว่าจะครบกำหนดชำระเกินกว่า 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล แต่ก็ควรจัดเป็นรายการหมุนเวียน เช่น เจ้าหนี้การค้า และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เนื่องจาก ถือเป็นส่วนหนึ่งของเงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในรอบระยะเวลาดำเนินการปกติของกิจการ หนี้สินบางชนิดมิได้ชำระให้หมดไปในระหว่างรอบดำเนินงาน หากแต่จะถึงกำหนดชำระภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล ก็ให้ถือเป็นหนี้สินหมุนเวียน เช่น หนี้สินระยะยาวที่ครบกำหนดชำระภายในหนึ่งปี เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร เงินปันผลค้างจ่าย ภาษีเงินได้ค้างจ่าย และเจ้าหนี้อื่น ๆ สำหรับหนี้สินระยะยาวที่ยังไม่ครบกำหนดชำระภายใน 12 เดือนซึ่งกิจการใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนระยะยาว ให้ถือเป็นหนี้สินไม่หมุนเวียน

นอกจากนั้นกิจการต้องจัดประเภทหนี้สินระยะยาวที่จะครบกำหนดชำระภายใน 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุลเป็นหนี้สินไม่หมุนเวียนในกรณีเข้าข่าย 3 ข้อดังนี้
1.เงื่อนไขการชำระหนี้เดิมมีระยะเวลาเกินกว่า 12 เดือน
2. กิจการมีความประสงค์ที่จะชำระหนี้โดยการก่อหนี้ระยะยาวใหม่ เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ใหม่
3.มีหลักฐานสนับสนุนในรูปของสัญญาชำระหนี้โดยการก่อหนี้ใหม่ การต่ออายุหนี้ การปรับกำหนดการชำระหนี้ ซึ่งเสร็จสมบูรณ์ก่อนที่งบการเงินจะได้รับการอนุมัติ

สัญญากู้ยืมบางสัญญามีเงื่อนไขที่มีผลทำให้กิจการต้องชำระคืนเงินกู้ทันทีเมื่อทวงถามหากฐานะการเงินของกิจการไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่วางไว้ กิจการจะแสดงหนี้สินนั้นเป็นหนี้สินไม่หมุนเวียนได้ต่อเมื่อ
1.ผู้ให้กู้ตกลงยินยอมที่จะไม่เรียกคืนเงินกู้แม้ว่ากิจการจะผิดเงื่อนไขตามสัญญา การยินยอมนั้นต้องทำก่อนที่งบการเงินจะได้รับอนุมัติ
2.มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะไม่ผิดเงื่อนไขตามสัญญาอีกเป็นเวลาอย่างน้อย 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุล

การแสดงรายการในงบการเงิน
ปกติการแสดงรายการสินทรัพย์หมุนเวียนในงบการเงินจะลำดับตามสภาพคล่อง โดยเริ่มจากรายการเงินสด หรือสินทรัพย์ที่แปลงเป็นเงินสดได้คล่องที่สุด ถ้าหากเงินสด และเงินฝากธนาคารมีข้อจำกัดในการใช้ ให้แสดงเป็นรายการแยกต่างหาก หรือเปิดเผยข้อจำกัดในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
เงินลงทุนชั่นคราวที่กิจการตั้งใจถือไว้ไม่เกิน 1 ปี ถ้าเงินฝากธนาคารมีกำหนดเกิน 1 ปี ให้แสดงไว้ในรายการเงินลงทุนและเงินให้กู้ยืมอื่น ๆ ซึ่งจัดอยู่ในประเภทไม่หมุนเวียน เงินฝากที่อยู่ในรูปตั๋วเงิน หรือบัตรเงินฝากที่ออกโดยธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่มีกำหนดเวลาไถ่ถอนไม่เกิน 1 ปี หลักทรัพย์เพื่อค้า หลักทรัพย์เผื่อขาย เงินลงทุนทั่วไป ตราสารหนี้ที่จะครบกำหนดภายใน 1 ปีเงินลงทุนดังกล่าวให้แสดงสุทธิหักค่าเผื่อการปรับมูลค่า และค่าเผื่อการ ด้อยค่าเงินลงทุน (ถ้ามี)

ลูกหนี้การค้า หมายถึง ลูกค้าที่ค้างค่าสินค้าหรือบริการตามปกติธุระ ลูกหนี้ตั๋วเงินอันเกิดจากการค้าหรือบริการ ลูกหนี้การค้าให้แสดงสุทธิหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (ถ้ามี)

สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น หมายถึง ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า รายได้ค้างรับ ในงบการเงินของบริษัทมหาชนจำกัด รายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น ถ้าหากมีจำนวนตั้งแต่ร้อยละ 20 ขึ้นไปของยอดรวมสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น ให้แสดงแยกต่างหากภายใต้หัวข้อ สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น