Home » หลักการบัญชี และภาษี » ตอบปัญหาการเงินด้วย ‘งบกระแสเงินสด’

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
ตอบปัญหาการเงินด้วย ‘งบกระแสเงินสด’
เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมพอสิ้นปีคุณกลับไม่มีเงินทั้งๆที่ตลอดปีสินค้าของคุณขายดีจนแทบผลิตไม่ทัน บางทีการจัดทำงบกระแสเงินสดอาจตอบคุณได้ว่าเงินเหล่านั้นไปกองอยู่ที่ไหน

งบกระแสเงินสด คือ งบแสดงความเปลี่ยนแปลงทางการเงินระหว่างการได้มาและการเสียไปของกิจการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยเน้นเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับเงินสด หรือรายการที่เทียบเท่ากับเงินสด เช่น เงินฝากธนาคารประเภทต่างๆ เงินลงทุนในระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูงเทียบเท่ากับเงินสด ฯลฯ เท่านั้น สำหรับในการจัดทำงบกระแสเงินสดให้สามารถประเมินผลทั้งระยะสั้นและระยะยาวได้อย่างชัดเจนนั้น คุณควรจัดแบ่งกระแสเงินสดของกิจการเป็น 3 ส่วน ดังนี้

หมายถึง กระแสเงินสดที่เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆในด้านการดำเนินการ ซึ่งถือเป็นกิจกรรมหลักที่สร้างรายได้และกำไรให้กับกิจการ ตัวอย่างของกระแสเงินสดจากการดำเนินการได้แก่ การได้เงินจากการขายสินค้า การจ่ายเงินซื้อสินค้า การจ่ายค่าดอกเบี้ย จ่ายค่าภาษี เป็นต้น

หมายถึง การซื้อหรือขายสินทรัพย์ถาวรและเงินลงทุนต่างๆทั้งในระยะสั้นและระยะยาวซึ่งไม่รวมอยู่ในรายการเทียบเท่าเงินสด เช่น ดอกเบี้ยรับ และเงินปันผลที่ได้รับจากการลงทุนในหลักทรัพย์ลงทุนต่างๆ เป็นต้น

หมายถึง กระแสเงินสดที่เกิดจากการได้มาหรือใช้ไปในส่วนของผู้ถือหุ้น หรือหนี้สินระยะยาวของกิจการ ยกตัวอย่างเช่น การกู้ยืมและการชำระหนี้คืน การออกหุ้นทุนเพิ่มและเงินปันผล เป็นต้น

 

ส่วนวิธีจัดทำงบกระแสเงินสดนั้นแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ

 

 

วิธีนี้จะคำนวณเงินสดจากกระแสเงินสดรับและกระแสเงินสดจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโดยตรง มีรูปแบบดังต่อไปนี้ 

 

บริษัท..............................จำกัด

งบกระแสเงินสด

สำหรับปี............. สิ้นสุดวันที่...........................................

หน่วย : บาท

 

กระแสเงินสดจากกิจการดำเนินงาน

กระแสเงินสดจากกิจการดำเนินงาน

 

     เงินสดรับจากการขายสินค้า

     เงินสดรับจากรายได้อื่นๆ

     เงินสดจ่ายจากการซื้อสินค้า

     เงินสดจ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่างๆ

     เงินสดจ่ายค่าดอกเบี้ย

     เงินสดจ่ายค่าภาษีเงินได้

     กระแสเงินสดจ่ายสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน

กระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน

     เงินสดรับจากการขายสินทรัพย์ถาวร

    เงินสดรับจากการขายเงินลงทุนต่างๆ

     เงินสดจ่ายซื้อสินทรัพย์ถาวร

     เงินสดจ่ายซื้อเงินลงทุนต่างๆ

     กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมการลงทุน

กระแสเงินสดจากกิจกรรมการจัดหาเงินทุน

    เงินสดรับจากการออกหุ้นทุน

    เงินสดรับจากการกู้ยืมระยะยาว

    เงินสดจ่ายปันผล

    เงินสดจ่ายชำระหนี้

กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมการจัดหาเงินทุน

เงินสดสุทธิเพิ่มขึ้น(ลดลง)

บวก เงินสดต้นงวด

 

xxx

xxx

(xxx)

(xxx)

(xxx)

(xxx) 

xxx

 

(xxx)

(xxx)

(xxx) 

xxx

xxx

(xxx)

(xxx)

 

 

 

 

 

 

xxx 

 

 

 

 

xxx 
 
 
 
 

xxx

xxx

xxx

เงินสดคงเหลือปลายงวด

 

xxx

 

  •  
    1. วิธีการจัดทำงบกระแสเงินสดทางอ้อม (Indirect Method) แตกต่างจากแบบแรกตรงที่เริ่มจาก

เอาผลกำไรหรือขาดทุนสุทธิมาปรับด้วยรายการที่ไม่เกี่ยวข้องกับเงินสด หรือไม่กระทบกับเงินสด  เช่น ค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย  เป็นต้น นอกเหนือจากนั้นเหมือนกับแบบทางตรงทุกประการ การจัดทำงบกระแสเงินสดทางอ้อมมีรูปแบบดังนี้ 

บริษัท..............................จำกัด

งบกระแสเงินสด

สำหรับปี...............สิ้นสุดวันที่.........................................

หน่วย : บาท

 

กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน

     กำไรสุทธิ

     ปรับปรุงด้วยรายการที่มีผลกระทบกำไรสุทธิ:

              สินทรัพย์หมุนเวียนลดลง

              สินค้าหมุนเวียนเพิ่มขึ้น

             หนี้สินหมุนเวียนเพิ่มขึ้น

              หนี้สินหมุนเวียนลดลง

              ค่าเสื่อมราคา

              รายการตัดจ่าย

              กำไรจากการขายสินค้าระยะยาว

              ขาดทุนจากการขายสินค้าระยะยาว

กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน

กระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน

              เงินสดรับจากการขายสินทรัพย์ถาวร

              เงินสดรับจากการขายเงินลงทุนต่างๆ

             เงินสดจ่ายซื้อสินทรัพย์ถาวร

              เงินสดจ่ายซื้อเงินลงทุนต่างๆ

กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมการลงทุน

กระแสเงินสดจากกิจกรรมการจัดหาเงินทุน

              เงินสดรับจากการออกหุ้น

              เงินสดรับจากการกู้ยืมระยะยาว

              เงินสดจ่ายเงินปันผล

              เงินสดจ่ายชำระหนี้

กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมการจัดหาเงินทุน

เงินสดสุทธิเพิ่มขึ้น(ลดลง)

บวก เงินสดต้นงวด

 

xxx 

xxx

(xxx)

xxx

(xxx)

xxx

xxx

xxx

(xxx) 

xxx

xxx

(xxx)

(xxx) 

xxx

xxx

(xxx)

(xxx) 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

xxx 

 

 

 

 

xxx 
 
 
 
 

xxx

xxx

xxx

เงินสดคงเหลือปลายงวด

 

xxx

      * xxx  =  กระแสเงินไหลเข้า

*** (xxx)  =  กระแสเงินไหลออก

      การคำนวณตารางทั้งวิธีทางตรงและทางอ้อมนั้นเหมือนกัน คือดูจากผลต่างระหว่างเงินสดในครั้งก่อน เทียบกับในครั้งปัจจุบันว่ามีจำนวนเพิ่มหรือลดลงสุทธิเท่าไหร่ ต่อจากนั้นให้พิจารณารายการสินทรัพย์อื่นๆ หนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้นว่ามีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร  รวมไปถึงวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในงบการเงินที่มีผลกระทบต่อยอดเงินสดโดยจำแนกผลกระทบออกเป็น  3  ส่วนตามที่ระบุไว้ในตาราง

      ข้อมูลที่ได้จากการจัดทำงบกระแสเงินสดทำให้คุณทราบว่าในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมากิจการของคุณได้รับเงินสด และใช้จ่ายเงินสดไปกับกิจกรรมอะไรบ้าง ดังนั้นมันจึงถือว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากสำหรับทุกคน ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้บริหาร หรือนักลงทุนทั่วไป เพราะอย่างน้อยมันก็ทำให้คุณตอบคำถามได้ว่าเงินสะสมมาทั้งปีไปกองอยู่ที่ไหนบ้าง

ที่มา   http://incquity.com/articles/money-talk/cash-flow-solution