Home » หลักการบัญชี และภาษี » คำถามที่พบบ่อย : บัญชีธุรกิจและผู้สอบบัญชีรับอนุญาต โดย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
คำถามที่พบบ่อย : บัญชีธุรกิจและผู้สอบบัญชีรับอนุญาต โดย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า


อยากทราบวิธีการบันทึกบัญชีการรับชำระค่าหุ้นจดทะเบียนเป็นเงินสดและลูกหนี้ค่าหุ้น ?

ตอบ : - การบันทึกทุนจดทะเบียน Dr เงินสด XXX ลูกหนี้ค่าหุ้น XXX Cr ทุนจดทะเบียน XXX - เมื่อได้รับชำระค่าหุ้น Dr เงินสด/ธนาคาร XXX Cr ลูกหนี้ค่าหุ้น XXX


การบันทึกรายการบัญชีตามใบสำคัญทั่วไปในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น ถือเป็นสมุดบัญชีรายวันทั่วไปตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ได้หรือไม่ ? ...

ตอบ : การจัดทำบัญชีรายวัน ไม่ว่าจัดทำด้วยมือหรือใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ จะต้องเป็นไปตามประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ. 2544


กิจการถูกไฟไหม้ ทำให้บัญชีและเอกสารเสียหายบางส่วน และได้แจ้งเอกสารเสียหายกับทางกรมสรรพากรและกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว โดยในทางบัญชีกิจการมีรายการลูกหนี้การค้าแต่ไม่มีเอกสารเรียกเก็บเงิน ทำให้ยอดลูกหนี้ยังคงมีปรากฏอยู่ในบัญชี ดังนั้นกิจการจะสามารถตัดบัญชีลูกหนี้การค้าเป็นหนี้สูญได้หรือไม่ ?...

ตอบ : ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 11 เรื่อง หนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์การตัดหนี้สูญไว้ดังนี้ 1. เมื่อมีการทวงถามถึงที่สุดแล้ว โดยดำเนินการตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎหมาย ภาษีอากร 2. คาดหมายได้แน่นอนว่าจะไม่ได้รับการรับชำระหนี้


กรณีที่กิจการมีเงินลงทุนชั่วคราวเป็นหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดทั้งประเภทหลักทรัพย์ เพื่อค้าและหลักทรัพย์เผื่อขายนั้น กิจการจะต้องมีการปรับปรุงเงินลงทุนให้เป็นมูลค่ายุติธรรมทุกงวดบัญชีหรือไม่ ?...

ตอบ : ณ วันสิ้นปี กิจการจะต้องแสดงหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ทั้งที่เป็นหลักทรัพย์เพื่อค้าและหลักทรัพย์เผื่อขายที่ถือเป็นเงินลงทุนชั่วคราวในงบดุล ด้วยมูลค่ายุติธรรม โดยไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นจากการขายเงินลงทุนนั้น การปรับมูลค่าของเงินลงทุน-หลักทรัพย์เพื่อค้าเป็นราคายุติธรรมนั้น อาจปรับโดยผ่านบัญชี “ ค่าเผื่อการปรับมูลค่าเงินลงทุน-หลักทรัพย์เพื่อค้า ” แทนที่จะเครดิตออกจากบัญชีเงินลงทุนชั่วคราว-หลักทรัพย์เพื่อค้าก็ได้


กิจการจ่ายเช็คชำระหนี้ให้เจ้าหนี้การค้า ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2548 แต่เจ้าหนี้การค้ายังไม่นำเช็คไปขึ้นเงิน กิจการต้องปรับปรุงบัญชีหรือไม่ ? ...

ตอบ : กิจการไม่ต้องปรับปรุงรายการ แต่ควรมีการจัดทำงบกระทบยอดเงินฝากธนาคารเพื่อให้กิจการสามารถตรวจสอบรายการได้


กิจการ A ได้รวมธุรกิจกับกิจการ B โดยการเข้าซื้อธุรกิจของกิจการ B ดังนั้นกิจการ A ควรบันทึกบัญชีในการซื้อธุรกิจของกิจการ B อย่างไร ?...

ตอบ : การรวมธุรกิจที่ถือเป็นการซื้อธุรกิจต้องปฏิบัติทางบัญชีโดยใช้วิธีซื้อ ซึ่งวิธีซื้อมีการบันทึกบัญชีคล้ายกับการซื้อสินทรัพย์โดยทั่วไป เนื่องจากการซื้อธุรกิจเป็นรายการบัญชีที่เกี่ยวกับการ โอนสินทรัพย์ การก่อหนี้สินหรือการออกหุ้นทุนเพื่อแลกเปลี่ยนกับการควบคุมสินทรัพย์สุทธิและการดำเนินงานของอีกกิจการหนึ่ง วิธีซื้อใช้ราคาทุนเป็นเกณฑ์ในการบันทึกบัญชีโดยกำหนดต้นทุนการซื้อธุรกิจจากรายการแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้น


กิจการมีลูกหนี้การค้าที่เป็นหนี้ค้างชำระและไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ แต่เนื่องจากนานมากและการจัดเก็บเอกสารไม่ดี ทำให้ไม่มีหลักฐานการเป็นหนี้ ดังนั้นกิจการควรทำอย่างไรจึงจะตัดเป็นหนี้สูญได้ ? ...

ตอบ : ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 11 เรื่องหนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การตัดหนี้สูญไว้ดังนี้ 
          1. เมื่อมีการทวงถามถึงที่สุดแล้ว โดยดำเนินการตามเงื่อนไขที่กำหนดในกฎหมาย ภาษีอากร 
          2. คาดหมายได้แน่นอนว่าจะไม่ได้รับการรับชำระหนี้


กิจการได้กู้เงินนอกระบบมาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ เนื่องจากกิจการไม่สามารถขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้ ซึ่งในการกู้เงินนอกระบบจะมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าสถาบันการเงินประมาณ 7 เท่า ดังนั้นกิจการสามารถนำเงินกู้และดอกเบี้ยนอกระบบมาบันทึกบัญชีได้หรือไม่ ? ...

ตอบ : ถ้ากิจการมีการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้จริง กิจการสามารถนำมาลงเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้ ซึ่งเงินกู้ยืมที่ได้รับมาก็ต้องบันทึกเป็นหนี้สินในงบการเงิน และต้องมีหลักฐานการกู้ยืมเงินและการชำระดอกเบี้ยที่สามารถตรวจสอบได้เพื่อประกอบการลงบัญชี


กรณีกิจการขายสินค้าให้ลูกค้าต่างประเทศเป็นเงินเชื่อ บันทึกบัญชีโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ และต่อมาได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ต่างประเทศ ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการกับวันที่รับชำระหนี้มีอัตราแตกต่างกัน ดังนั้นกิจการควรบันทึกบัญชีอย่างไร ? ...

ตอบ : กิจการต้องบันทึกผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นของวันที่เกิดรายการกับวันที่มีการรับชำระหนี้ โดยรับรู้เป็นกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ


ผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบรายการเจ้าหนี้การค้าซึ่งมีสาระสำคัญ โดยการขอความร่วมมือกับเจ้าหนี้ของกิจการที่รับตรวจสอบ ซึ่งให้เจ้าหนี้ทำรายละเอียดยอดคงค้างทั้งหมด เช่น ดอกเบี้ย เงินต้น และขอเอกสารยืนยันจากเจ้าหนี้ แต่ทางเจ้าหนี้ให้เพียงตัวเลขยอดคงค้างทั้งหมดเท่านั้น ไม่ได้ให้รายละเอียดเอกสารหลักฐานใดๆเลย กรณ...

ตอบ : ในการขอคำยืนยันยอดเจ้าหนี้นั้น ผู้สอบบัญชีต้องติดต่อกับเจ้าหนี้โดยตรง แต่ต้องได้รับอนุญาตจากลูกค้าก่อน เนื่องจากเป็นข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้าของลูกค้า โดยถ้าการขอคำยืนยันยอดหรือขอรายละเอียดหลักฐานจากเจ้าหนี้ไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร ผู้สอบบัญชีต้องใช้วิธีการตรวจสอบอื่นเพื่อให้ได้หลักฐานที่เพียงพอเกี่ยวกับเจ้าหนี้การค้า


งบการเงินที่ผู้สอบบัญชีแสดงหน้ารายงานการสอบบัญชีเป็นแบบไม่แสดงความเห็น ถือว่างบการเงินนั้นไม่ถูกต้องใช่หรือไม่ ? ...

ตอบ : การแสดงหน้ารายงานดังกล่าว ถือเป็นความเห็นของผู้สอบบัญชี โดยที่ผู้สอบบัญชีจะแสดงความเห็นแบบไม่แสดงความเห็นก็ต่อเมื่อผู้สอบบัญชีไม่ได้ปฏิบัติงานตรวจสอบงบการเงินตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไปอย่างมีสาระสำคัญมาก หรือกิจการที่ตรวจสอบมีปัญหาต่อการดำเนินงานต่อเนื่องอย่างมีสาระสำคัญมาก หรือมีความไม่แน่นอนอันมีผลกระทบต่องบการเงินอย่างมีสาระสำคัญมาก ทำให้ผู้สอบบัญชีไม่สามารถตรวจสอบงบการเงินให้ได้หลักฐานการสอบบัญชีที่เพียงพอที่จะวินิจฉัยหรือให้ได้ความเห็นได้ว่า งบการเงินนั้นมีความถูกต้องตามที่ควรหรือไม่เพียงใด


ผู้สอบบัญชีไม่ได้เข้าสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือปลายงวดของกิจการ เนื่องจากได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สอบบัญชีหลังวันตรวจนับสินค้า และไม่สามารถใช้วิธีการตรวจสอบอื่นให้เป็นที่พอใจในปริมาณของสินค้าคงเหลือได้ ซึ่งกรณีดังกล่าวถือว่าผู้สอบบัญชีถูกจำกัดขอบเขตในการตรวจสอบบัญชีหรือไม่ ? ...

ตอบ : ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ผู้สอบบัญชีได้ตามอำนาจและหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดและหรือตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป จะเรียกว่า ขอบเขตการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีถูกจำกัด ซึ่งแบ่งเป็น 2 กรณี คือ 
          1. การถูกจำกัดขอบเขตการตรวจสอบโดยลูกค้า 
          2. การถูกจำกัดขอบเขตการตรวจสอบโดยสถานการณ์ กรณีคำถามข้างต้น ถือว่าผู้สอบบัญชีถูกจำกัดขอบเขตการตรวจสอบโดยสถานการณ์


การแสดงความเห็นในหน้ารายงานของผู้สอบบัญชี กรณีรายงานว่างบการเงินไม่ถูกต้อง กับกรณีไม่แสดงความเห็น มีความหมายแตกต่างกันอย่างไร ? ...

ตอบ : ผู้สอบบัญชีจะแสดงความเห็นแบบรายงานว่างบการเงินไม่ถูกต้องก็ต่อเมื่อผู้สอบบัญชีได้ปฏิบัติงานตรวจสอบงบการเงินตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป และผู้สอบบัญชีเห็นว่าหรือมีความเชื่อมั่นว่างบการเงินที่ตนตรวจสอบนั้นไม่ได้แสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดไว้อย่างถูกต้องตามที่ควรตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป กล่าวโดยสรุปคืองบการเงินโดยรวมมีความถูกต้องน้อยมาก และมีสิ่งผิดพลาดมาก - ผู้สอบบัญชีจะแสดงความเห็นแบบไม่แสดงความเห็นก็ต่อเมื่อผู้สอบบัญชีไม่ได้ ปฏิบัติงานตรวจสอบงบการเงินตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไปอย่างมีสาระสำคัญมาก หรือกิจการที่ตรวจสอบมีปัญหาต่อการดำเนินงานต่อเนื่องอย่างมีสาระสำคัญมากหรือมีความไม่แน่นอน อันมีผลกระทบต่องบการเงินอย่างมีสาระสำคัญมาก ทำให้ผู้สอบบัญชีไม่สามารถตรวจสอบงบการเงินให้ได้หลักฐานการสอบบัญชีที่เพียงพอที่จะวินิจฉัยหรือให้ความเห็นได้ว่างบการเงินนั้นมีความถูกต้องตามที่ควรหรือไม่เพียงใด กล่าวโดยสรุปคือ ผู้สอบบัญชีไม่อาจตรวจสอบงบการเงินเพื่อให้ได้หลักฐานการสอบบัญชีจนเป็นที่พอใจเพื่อทราบว่างบการเงินโดยรวมมีความถูกต้องหรือไม่


กรณีที่กิจการให้ความร่วมมือทุกอย่างกับผู้สอบบัญชีเป็นอย่างดี แต่ผู้สอบบัญชีเขียนรายงานการสอบบัญชีเป็นแบบมีเงื่อนไข กิจการควรทำอย่างไร ? ...

ตอบ : กิจการต้องติดต่อกับผู้สอบบัญชีโดยตรง เนื่องจากกิจการให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีกับผู้สอบบัญชี ถือว่าผู้สอบบัญชีไม่ถูกจำกัดขอบเขต แต่กิจการต้องดูด้วยว่าการรับงานของผู้สอบบัญชีถูกจำกัดขอบเขตโดยสถานการณ์หรือไม่ ซึ่งอาจเป็นเหตุให้รายงานเป็นแบบมีเงื่อนไข หรือบัญชีและเอกสารของกิจการอาจไม่ครบถ้วนถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด


บัญชีงานระหว่างทำต้นงวด ผู้สอบบัญชีไม่สามารถตรวจสอบได้ ควรดำเนินการเพิ่มเติมอย่างไร ?

ตอบ : หากผู้สอบบัญชีไม่สามารถตรวจสอบงานระหว่างทำต้นงวดของกิจการได้ ผู้สอบบัญชีอาจดูรายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีปีก่อน ว่ามีการเขียนรายงานในเรื่องนี้เป็นแบบมีเงื่อนไขหรือไม่ หรืออาจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้สอบบัญชีคนก่อน และหากเป็นรายการที่มีจำนวนที่เป็นสาระสำคัญ ผู้สอบบัญชีอาจแสดงความเห็นแบบมีเงื่อนไข


ผู้สอบบัญชีมีหน้าที่ต้องเข้าร่วมสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือ ณ วันปิดบัญชี พร้อมกับกิจการทุกครั้งใช่หรือไม่ ? ...

ตอบ : ผู้สอบบัญชีต้องเข้าร่วมสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้าคงเหลือ เนื่องจากมาตรฐานการสอบบัญชีกำหนดให้ผู้สอบบัญชีมีหน้าที่ต้องตรวจสอบรายการต่างๆ ในงบการเงิน อย่างไรก็ตาม หากผู้สอบบัญชีไม่ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์การตรวจนับสินค้า ผู้สอบบัญชีอาจใช้วิธีการตรวจสอบสินค้าคงเหลือวิธีอื่นที่ทำให้ผู้สอบบัญชีมั่นใจได้ว่ามูลค่าและปริมาณสินค้าคงเหลือ ณ วันสิ้นงวดถูกต้อง


การปรับโครงสร้างหนี้กรณีลูกหนี้โอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ตั๋วเงินทั้งจำนวนให้แก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้จะต้องบันทึกบัญชีอย่างไร ?...

ตอบ : Dr. ที่ดิน XXX ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ XXX ขาดทุนจากการปรับโครงสร้างหนี้ XXX Cr. ตั๋วเงินรับ XXX ดอกเบี้ยค้างรับ XXX (บันทึกการรับโอนที่ดินเพื่อรับชำระหนี้จากลูกหนี้ตั๋วเงินรับ) ณ วันที่ปรับโครงสร้างหนี้ เจ้าหนี้ต้องบันทึกบัญชีสินทรัพย์ด้วยมูลค่ายุติธรรม และ เจ้าหนี้ต้องบันทึกผลต่างระหว่างเงินลงทุนในลูกหนี้ที่สูงกว่ามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่รับโอน (หักด้วยประมาณการค่าใช้จ่ายในการขาย) เป็นรายการขาดทุนจากการปรับโครงสร้างหนี้ภายหลังการบันทึกรายการเกี่ยวกับค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่มีอยู่


การปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา มีวิธีปฏิบัติทางการบัญชีสำหรับลูกหนี้อย่างไร ?

ตอบ : การปรับโครงสร้างหนี้เกิดจากการยินยอมของเจ้าหนี้ที่จะผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ประสบปัญหาทางการเงิน ซึ่งตามปกติจะไม่พิจารณายินยอมให้ วิธีปฏิบัติทางการบัญชีสำหรับลูกหนี้เกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา สามารถจำแนกตามลักษณะได้ดังนี้ 
          1. การโอนสินทรัพย์เพื่อชำระหนี้ทั้งหมด 
               1.1 บันทึก “กำไร/ขาดทุนจากการโอนสินทรัพย์” = มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่โอน - ราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ที่โอน 
               1.2 บันทึก “รายการกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้” = ราคาตามบัญชีของหนี้ - มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่โอนให้เจ้าหนี้ 
          2. การโอนส่วนได้เสียในส่วนของเจ้าของเพื่อชำระหนี้ทั้งหมด (การแปลงหนี้เป็นทุน) บันทึก “รายการกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้” = ราคาตามบัญชีของหนี้ค้างชำระ - มูลค่ายุติธรรมของส่วนได้เสียในส่วนของเจ้าของ 
          3. การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระหนี้ 
               3.1 บันทึกผลกระทบจากการปรับโครงสร้างหนี้นับตั้งแต่วันที่ปรับโครงสร้างหนี้จนถึงวันครบกำหนดของหนี้ตามเงื่อนไขใหม่ 
               3.2 บันทึก “กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้” หากราคาตามบัญชีของหนี้มากกว่าจำนวนเงินที่ต้องจ่ายในอนาคตตามเงื่อนไขใหม่


กรณีกิจการได้บันทึกรายการขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ในงวดก่อน แต่ต่อมาภายหลังมีข้อบ่งชี้ที่แสดงให้เห็นว่ารายการขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ได้หมดไปหรือลดลงไป ดังนั้นกิจการจะสามารถกลับบัญชีรายการขาดทุนจากการด้อยค่าได้หรือไม่ ? ...

ตอบ : ณ วันที่ในงบดุล เมื่อกิจการประเมินว่ามีข้อบ่งชี้ที่แสดงให้เห็นว่ารายการขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่กิจการได้รับรู้ในงวดก่อนได้หมดไปหรือลดลงไป กิจการต้องกลับบัญชีรายการขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่กิจการรับรู้ในงวดก่อน เมื่อประมาณการที่ใช้กำหนดมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนได้เปลี่ยนแปลงไปภายหลังจากที่กิจการได้รับรู้รายการขาดทุนจากการด้อยค่าแล้ว ในกรณีนี้ กิจการต้องบันทึกเพิ่มราคาตามบัญชีให้เท่ากับมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์นั้น


หากกิจการพบว่ามีข้อบ่งชี้ที่ทำให้เชื่อได้ว่าสินทรัพย์เกิดการด้อยค่า กิจการจะสามารถหาราคาที่ถือเป็นหลักฐานสำหรับราคาขายสุทธิของสินทรัพย์จากแหล่งใดได้บ้าง ? ...

ตอบ : กิจการสามารถหาราคาขายสุทธิของสินทรัพย์ ได้จาก 
          1. ราคาตามสัญญาซื้อขายที่เกิดจากการต่อรองอย่างเป็นอิสระ ปรับปรุงด้วยต้นทุนส่วนเพิ่มซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการจำหน่ายสินทรัพย์ 
          2. ถ้าไม่มีราคาตาม 1. ให้ใช้ราคาซื้อขายในตลาดซื้อขายคล่อง 
          3. ถ้าไม่มี 1.และ 2. ให้ประมาณราคาขายสุทธิจากข้อมูลที่ดีที่สุดที่หาได้ ซึ่งคาดว่า กิจการจะได้รับจากการจำหน่ายสินทรัพย์


กิจการจะต้องประเมินการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่มีอยู่ทุกๆปีหรือไม่ ?

ตอบ : สินทรัพย์จะเกิดการด้อยค่าก็ต่อเมื่อราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ที่แสดงในงบการเงินนั้นสูงกว่ามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนจากการใช้หรือขายสินทรัพย์ และกิจการต้องรับรู้รายการขาดทุนจากการด้อยค่า ซึ่ง ณ วันสิ้นงวด กิจกาจต้องประเมินว่าสินทรัพย์ที่มีอยู่เกิดการด้อยค่าหรือไม่ หากกิจการพบว่ามีข้อบ่งชี้ที่ทำให้เชื่อได้ว่าสินทรัพย์อาจเกิดการด้อยค่า กิจการต้องประมาณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์นั้น


การจัดทำบัญชีสินค้าจะต้องจัดทำลักษณะใดจึงจะถูกต้องและเป็นไปตามพ.ร.บ.การบัญชี พ.ศ. 2543 ?

ตอบ : บัญชีสินค้าหรือบัญชีสินค้าซึ่งอยู่ในครอบครอง คือ บัญชีสำหรับบันทึกจำนวนสินค้าที่ได้มาและขายไป โดยไม่คำนึงว่าจะได้มาโดยซื้อหรือผลิตขึ้น บัญชีสินค้าก็คือบัญชีคุมสินค้าหรือบัญชีสต๊อกสินค้านั่นเอง ซึ่งการลงรายการในบัญชีสินค้าต้องลงตามประเภทหรือชนิดของสินค้าที่ซื้อมาหรือจำหน่ายไป ระบุวันเดือนปี รายการแสดงการได้มาหรือจำหน่ายไป และจำนวนสินค้า การลงรายการในบัญชีสินค้าควรระบุเลขที่ใบสำคัญเกี่ยวกับการซื้อขายหรือการจำหน่ายสินค้าออกจากบัญชีด้วย สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ. 2544


ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมธนาคารที่กิจการกู้มาเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าจะรวมเป็นราคาทุนของสินค้าได้หรือไม่ ?

ตอบ : มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 33 เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืม ตามแนวทางที่กำหนดให้ถือปฏิบัติ ต้นทุนการกู้ยืมต้องถือเป็นค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีที่ค่าใช้จ่ายนั้นเกิดขึ้น โดยมิต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการกู้ยืม ยกเว้นต้นทุนการกู้ยืมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการได้มา การก่อสร้าง หรือการผลิตสินทรัพย์ที่เข้าเงื่อนไข และมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ว่าต้นทุนการกู้ยืมดังกล่าวจะก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจแก่กิจการในอนาคต และกิจการสามารถประมาณจำนวนต้นทุนการกู้ยืมได้อย่างน่าเชื่อถือ กิจการสามารถนำมารวมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ได้ ตัวอย่างของสินทรัพย์ที่เข้าเงื่อนไข ได้แก่ โรงงาน โรงผลิตพลังงาน เงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และสินค้าที่ต้องใช้ระยะเวลานานในการแปลงสภาพให้พร้อมที่จะขาย ส่วนตัวอย่างของสินทรัพย์ที่ไม่เข้าเงื่อนไข ได้แก่ เงินลงทุนอื่น สินค้าที่ทำการผลิตเป็นประจำ สินค้าที่ผลิตเป็นจำนวนมากโดยมีขั้นตอนการผลิตซ้ำๆ ในช่วงระยะเวลาสั้น และสินทรัพย์ที่อยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้ได้ตามประสงค์หรือพร้อมที่จะขายทันที่ที่ซื้อ


กิจการนำสินค้าไปฝากขายกับบริษัท ก จำกัด เป็นเครื่องทำน้ำอุ่นจำนวน 10 เครื่อง กิจการควรบันทึกรับรู้รายได้จากการฝากขายเมื่อใด ? ...

ตอบ : กรณีการฝากขาย กรรมสิทธิ์ของสินค้ายังเป็นของผู้ฝากขายอยู่จนกว่าผู้รับฝากจะขายสินค้าได้ ดังนั้นกิจการจะรับรู้เป็นรายได้จากการฝากขายเมื่อบริษัทขายสินค้าของกิจการได้และส่งรายงานการรับฝากขายสุทธิมาให้กับกิจการ


- กิจการต้องบันทึกราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาใหม่ไปยังบัญชี “ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์” ซึ่งแสดงในงบดุลภายใต้หัวข้อส่วนของเจ้าของ แต่หากสินทรัพย์รายการนั้นเคยตีราคาลดลง และกิจการได้เคยรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดก่อนแล้ว ส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาใหม่ให้นำไปรับรู้เป็นรายได...

ตอบ : - กิจการต้องบันทึกราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาใหม่ไปยังบัญชี “ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์” ซึ่งแสดงในงบดุลภายใต้หัวข้อส่วนของเจ้าของ แต่หากสินทรัพย์รายการนั้นเคยตีราคาลดลง และกิจการได้เคยรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดก่อนแล้ว ส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาใหม่ให้นำไปรับรู้เป็นรายได้ โดยบันทึกในบัญชี “กำไรจากการตีราคาสินทรัพย์” ไม่เกินจำนวนที่เคยรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดก่อนของรายการนั้น 
          - กิจการต้องบันทึกราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ที่ลดลงจากการตีราคาใหม่เป็นค่าใช้จ่ายทันที แต่หากสินทรัพย์รายการนั้นเคยตีราคาเพิ่มขึ้น และยังมียอดคงเหลืออยู่ในบัญชี “ส่วนเกินทุน-จากการตีราคาสินทรัพย์” ส่วนที่ลดลงจากการตีราคาใหม่ให้นำไปลดบัญชี “ส่วนเกินทุน-จากการตีราคา สินทรัพย์” ได้ไม่เกินจำนวนที่เคยตีราคาเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์รายการนั้น ส่วนที่ลดลงที่เหลืออยู่ให้รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทันที


กิจการขายสินค้าด้วยวิธีผ่อนชำระและยอมให้ลูกค้านำสินค้าเก่าที่ใช้อยู่มาแลกเป็นสินค้าใหม่ โดยคิดราคาให้ เพื่อถือเป็นการชำระราคาสินค้าใหม่ส่วนหนึ่ง ส่วนที่เหลือให้ลูกค้าผ่อนชำระภายในระยะเวลาที่ตกลงกัน ดังนั้นกิจการควรบันทึกบัญชีอย่างไร ? ...

ตอบ : หลักการบัญชีเกี่ยวกับสินค้ารับแลกเปลี่ยน - ให้บันทึกเป็นทรัพย์สินไว้ในบัญชีในราคาตลาดที่ประมาณขึ้น และคำนวณกำไรจาก การขายผ่อนชำระเป็นรายได้ของแต่ละปีตามอัตราส่วนของเงินงวดที่เก็บได้แต่ละปีเทียบกับราคาขายผ่อนชำระหักด้วยส่วนเกินของราคาที่คิดให้สินค้ารับแลกเปลี่ยนที่สูงกว่าราคาตลาด ซึ่งราคาที่ผู้ขายคิดให้แก่สินค้าที่รับมาแลกเปลี่ยนสูงกว่าราคาตลาดของสินค้านั้น ให้แยกบัญชีไว้ต่างหากเพื่อนำไปลดยอดขายผ่อนชำระในภายหลัง


กิจการประกอบธุรกิจค้าที่ดิน และได้ทำการกู้ยืมเงินเพื่อนำมาลงทุน โดยมีดอกเบี้ยจ่ายเกิดขึ้น ในระหว่างที่ปรับปรุงที่ดินและยังไม่พร้อมที่จะขาย ดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดขึ้นกิจการถือเป็นต้นทุนของสินทรัพย์ แต่ต่อมาเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจทำให้ขาดเงินทุนหมุนเวียนและได้หยุดทำการปรับปรุงที่ดิน ดังนั้นดอกเบี้ยจ่ายที่เก...

ตอบ : ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 33 เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืม กล่าวถึงการรวมต้นทุนการกู้ยืมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์นั้น ต้องหยุดพักในระหว่างที่การดำเนินการพัฒนาสินทรัพย์หยุดชะงักลงเป็นเวลาต่อเนื่อง ต้นทุนการกู้ยืมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นไม่อนุญาตให้รวมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ ดังนั้นดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดขึ้นหลังจากหยุดทำการปรับปรุงที่ดินให้ถือเป็นค่าใช้จ่าย


กรณีกิจการไม่ได้ประเมินราคาที่ดินเพื่อการตีราคาใหม่ ณ วันสิ้นงวดของทุกปี จะมีความผิดหรือไม่ ?

ตอบ : ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 32 เรื่อง ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ กำหนดให้กิจการต้องแสดงรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ด้วยราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสมและค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์ หลังจากที่กิจการได้รับรู้รายการดังกล่าวเป็นสินทรัพย์แล้วเมื่อเริ่มแรก ส่วนแนวทางที่อาจเลือกปฏิบัติได้คือ รายการที่เป็นที่ดิน อาคารและอุปกรณ์หลังจากที่รับรู้เป็นสินทรัพย์เมื่อเริ่มแรกอาจแสดงด้วยราคาที่ตีใหม่ ราคาที่ตีใหม่ หมายถึง มูลค่ายุติธรรม ณ วันที่มีการตีราคาใหม่หักด้วยค่าเสื่อมราคาสะสมที่คำนวณจากมูลค่ายุติธรรมนั้นและค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์ การตีราคาใหม่ต้องทำโดยสม่ำเสมอเพื่อมิให้ราคาตามบัญชี ณ วันที่ในงบดุลแตกต่างจากมูลค่ายุติธรรมอย่างมีนัยสำคัญ โดยใน หัวข้อการตีราคาใหม่ ได้กล่าวถึงความถี่ในการตีราคาใหม่ขึ้นอยู่กับความเคลื่อนไหวของมูลค่ายุติธรรมของรายการที่เป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ที่จะตีราคาใหม่นั้น ในกรณีที่มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่เคยมีการตีราคาใหม่ต่างไปจากราคาตามบัญชีอย่างมีนัยสำคัญ กิจการจำเป็นต้องตีราคาสินทรัพย์นั้นใหม่อีก มูลค่ายุติธรรมของรายการที่เป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ บางรายการอาจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญบ่อยครั้งจนทำให้กิจการจำเป็นต้องตีราคาใหม่ทุกปี แต่มูลค่ายุติธรรมของรายการที่เป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์บางรายการอาจมีการเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อย ดังนั้นการตีราคาใหม่ทุก 3-5 ปี จึงถือว่าเพียงพอ


การบันทึกรายการค่าเสื่อมราคา โดยการนำมาหักออกจากบัญชีสินทรัพย์โดยตรง ถือว่าเป็นการบันทึกที่ผิดหลักการบัญชีหรือไม่ ? ...

ตอบ : การบันทึกบัญชีดังกล่าวไม่ถือว่าผิดหลักการบัญชีหากมีการเปิดเผยข้อมูลครบถ้วน แต่วิธีที่เหมาะสมควรจะบันทึกค่าเสื่อมราคา คือ เดบิต ค่าเสื่อมราคา เครดิต ค่าเสื่อมราคาสะสม ซึ่งบัญชีค่าเสื่อมราคาเป็นบัญชีค่าใช้จ่ายปิดโอนเข้าต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายหรือกำไรขาดทุนแล้วแต่กรณี ส่วนบัญชีค่าเสื่อมราคาสะสมเป็นบัญชีปรับมูลค่า นำไปหักจากสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องในงบดุล ซึ่งวิธีดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในการควบคุมและบริหารงานได้ กล่าวคือ ณ วันที่ในงบการเงินจะสามารถทราบถึงราคาทุนเริ่มแรกของสินทรัพย์ถาวรและทราบจำนวนค่าเสื่อมราคาสะสมของสินทรัพย์นั้น


กิจการทำสัญญาเช่าอาคารเพื่อใช้ในการดำเนินงาน โดยกิจการในฐานะผู้เช่ามีหน้าที่จะต้องบันทึกค่าเสื่อมราคาของอาคารหรือไม่ ? ...

ตอบ : กิจการต้องดูที่สัญญาเช่าว่ามีข้อตกลงกันอย่างไร ถ้าลักษณะการเช่าอาคารเป็นสัญญาเช่าการเงิน ผู้เช่าจะต้องคิดจำนวนที่เสื่อมค่าได้ของทรัพย์สิน โดยปันส่วนไปแต่ละงวดบัญชีตลอดอายุที่คาดว่าจะใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินตามหลักเกณฑ์ที่เป็นระบบซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการคิดค่าเสื่อมราคาที่ผู้เช่าใช้กับทรัพย์สินที่ตนเป็นเจ้าของ แต่ถ้าเป็นสัญญาเช่าดำเนินงาน ความเสี่ยงและผลตอบแทนแก่เจ้าของทรัพย์สินยังเป็นของผู้ให้เช่า ดังนั้นผู้ให้เช่าจึงต้องบันทึกทรัพย์สินอยู่ในบัญชีเป็นทรัพย์สินที่เสื่อมค่าได้และบันทึกค่าเช่าเป็นรายได้ตลอดอายุสัญญาเช่า ส่วนผู้เช่าบันทึกค่าเช่าเป็นค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องบันทึกค่าเสื่อมราคา


กิจการทำสัญญาเช่าอาคารเพื่อใช้ในการดำเนินงาน โดยกิจการบันทึกค่าเช่าอาคารเป็นค่าใช้จ่าย แต่ต่อมากิจการมีการซ่อมแซมอาคาร รายจ่ายดังกล่าวจะถือเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่ หรือบันทึกเป็นรายจ่ายฝ่ายทุน (ในสัญญาเช่าระบุให้ผู้เช่าเป็นผู้ดูแลอาคารและจ่ายค่าซ่อมแซมบำรุงรักษาอาคาร) ? ...

ตอบ : กิจการต้องทราบถึงประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตที่จะได้รับจากการซ่อมแซมอาคาร เนื่องจากตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 32 เรื่อง ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ได้กล่าวถึงการบันทึกรายจ่ายภายหลังการได้มาซึ่งสินทรัพย์ เป็น 2 กรณี คือ 1. กิจการจะบันทึกรายจ่ายเกี่ยวกับที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ที่เกิดขึ้นในภายหลังเป็นสินทรัพย์ได้ก็ต่อเมื่อรายจ่ายนั้นทำให้สินทรัพย์มีสภาพดีขึ้นเมื่อเทียบกับมาตรฐานการปฏิบัติงานเดิมหรือการปรับปรุงสินทรัพย์ซึ่งทำให้ประโยชน์ที่จะได้รับในอนาคตของสินทรัพย์นั้นเพิ่มขึ้น เช่น การปรับปรุงสภาพอาคารให้มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้นและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 2. กิจการจะบันทึกรายจ่ายเกี่ยวกับที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ที่เกิดขึ้นในภายหลังเป็นค่าใช้จ่ายในงวดที่เกิดขึ้น เมื่อรายจ่ายค่าซ่อมแซมหรือค่าบำรุงรักษา ทำให้สินทรัพย์สามารถให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตแก่กิจการตามมาตรฐานการปฏิบัติงานเดิมที่กิจการเคยประเมินไว้ เช่น รายจ่ายค่าบำรุงรักษาอาคาร


การขายผ่อนชำระและการเช่าซื้อ มีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร ?

ตอบ : การขายผ่อนชำระ หมายถึง การที่ผู้ขายส่งมอบสินค้าหรือบริการให้แก่ผู้ซื้อโดยยินยอมให้ผู้ซื้อจ่ายชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการบางส่วน ซึ่งเรียกว่า เงินวางเริ่มแรกหรือเงินดาวน์ ส่วนที่เหลือจ่ายชำระเป็นงวดๆ ภายในระยะเวลาที่กำหนด การเช่าซื้อ หมายถึง การที่เจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว การเช่าซื้อต้องทำสัญญาและสัญญาเช่าซื้อนั้นถ้าไม่ทำเป็นหนังสือถือว่าเป็นโมฆะ ตามกฎหมาย การขายผ่อนชำระใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการซื้อขาย ส่วนการเช่าซื้อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการเช่าซื้อเป็นเกณฑ์ในการปฏิบัติ นอกจากนี้ในทางกฎหมายการขายผ่อนชำระกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะโอนไปให้ผู้ซื้อทันทีที่มีการตกลงซื้อขาย ส่วนการเช่าซื้อนั้นกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังคงเป็นของผู้ให้เช่า ทางการบัญชี อนุโลมให้ผู้ขายใช้หลักการบัญชีเดียวกันสำหรับการขายผ่อนชำระและการเช่าซื้อ ทั้งนี้เนื่องจากนักบัญชีพิจารณาจากเจตนา กล่าวคือ ผู้ซื้อหรือผู้เช่าซื้อได้ครอบครองและใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้นนับแต่วันที่ตกลงกัน กระบวนการก่อให้เกิดรายได้สำเร็จแล้วสามารถรับรู้กำไรขั้นต้นในงวดที่มีการขาย แต่เนื่องจากการขายผ่อนชำระหรือการให้เช่าซื้อมีระยะเวลาการผ่อนชำระนานกว่ารอบระยะเวลาบัญชี การรับรู้กำไรขั้นต้นจึงอาจรับรู้โดยวิธีที่ถือว่ากำไรขั้นต้นเกิดขึ้นตามส่วนของเงินสดที่ได้รับชำระ


กิจการประกอบธุรกิจให้เช่ารถยนต์ โดยได้รถยนต์มาจากการเช่าซื้อ ณ วันที่เช่าซื้อถือว่ากิจการเป็น เจ้าของสินทรัพย์แล้วใช่หรือไม่ และกิจการจะต้องบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการเช่าซื้อสินทรัพย์อย่างไร ?...

ตอบ :  สินทรัพย์ที่เช่าซื้อและยังชำระเงินไม่ครบนั้นถือเป็นสินทรัพย์ของกิจการแล้ว แม้ว่ากิจการยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์นั้นก็ตาม ทั้งนี้ เพราะกิจการมีสิทธิ์ครอบครองและใช้ประโยชน์สินทรัพย์นั้น และตลอดอายุการใช้สินทรัพย์เช่าซื้อให้คิดค่าเสื่อมราคาเช่นเดียวกับสินทรัพย์ที่ซื้อมาด้วย ราคาเช่าซื้อสินทรัพย์ ถือเป็นหนี้สินของกิจการที่ต้องบันทึกไว้ในบัญชีหักด้วยจำนวนที่ส่งชำระแล้ว ส่วนดอกเบี้ยที่ผู้ขายคิดเพิ่มจากราคาเช่าซื้อ จะต้องส่งชำระพร้อมกับเงินงวด โดยให้แยกแสดงเป็นดอกเบี้ยจ่ายของแต่ละปี


กิจการได้เช่าซื้อรถยนต์จำนวน 1 คัน โดยบันทึกบัญชีตามราคาทุนของทรัพย์สิน โดยแยกดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นเข้าบัญชีดอกเบี้ยเช่าซื้อรอตัดจ่าย แต่ทางสรรพากรให้กิจการทำการปรับปรุงราคาของทรัพย์สินใหม่ เป็นราคาทุนบวกดอกเบี้ยเช่าซื้อ แล้วจึงค่อยนำมาคิดค่าเสื่อมราคา ดังนั้นทางบัญชีควรต้องปรับปรุงบัญชีตามสรรพากรหรือ...

ตอบ : ในทางบัญชีไม่ต้องปรับปรุงการบันทึกบัญชีแต่อย่างใด เพียงแต่กิจการต้องปรับปรุงในแบบภาษีของสรรพากรเท่านั้น


บริษัทจำกัดมีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท สินทรัพย์รวม 20 ล้านบาท และรายได้รวม 25 ล้านบาท จะต้องมีผู้ทำบัญชีที่มีคุณวุฒิปริญญาตรีทางการบัญชีเท่านั้นใช่หรือไม่ ?...

ตอบ : บริษัทจำกัดสามารถมีผู้ทำบัญชีที่มีคุณวุฒิปริญญาตรีทางการบัญชี หรือผู้ทำบัญชีที่มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่าได้


ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบรายละเอียดคุณสมบัติของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชีทางอินเตอร์เน็ตได้หรือไม่ ?

ตอบ : ผู้ประกอบการไม่สามารถตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ทำบัญชีทางอินเตอร์เน็ตได้เนื่องจากเป็นข้อมูลส่วนบุคคล แต่ข้อมูลของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตท่านสามารถดูได้จากเว็บไซด์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เลือกงานบัญชีและสอบบัญชี หัวข้อรายชื่อผู้สอบบัญชี ซึ่งจะแยกเป็นผู้สอบบัญชีคงอยู่ ที่มีที่อยู่ในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด และผู้สอบบัญชีที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต


ถ้าผู้ทำบัญชีต้องบันทึกบัญชีตามความต้องการของเจ้าของกิจการ ถือว่ามีความผิดหรือไม่และต้องแก้ไขปัญหาอย่างไรเพื่อให้ผู้ทำบัญชีจัดทำบัญชีได้โดยไม่ถูกจำกัดขอบเขต ? ...

ตอบ : ผู้ทำบัญชีต้องทำความเข้าใจและต้องชี้แจงให้เจ้าของกิจการทราบถึงการจัดทำบัญชีที่ถูกต้อง เนื่องจากตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ได้กำหนดให้ผู้ทำบัญชีต้องจัดทำบัญชีเพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี โดยมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ถูกต้องและครบถ้วน ซึ่งถ้าไม่ปฏิบัติตามที่กฏหมายกำหนดก็จะมีบทลงโทษทั้งของผู้ทำบัญชีและผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี


กิจการได้ทำสัญญาเงินกู้ยืมกรรมการเป็นระยะเวลา 1ปี ไม่มีการคิดดอกเบี้ยระหว่างกัน โดยกิจการจะได้รับเงินยืมกรรมการทุกเดือน เดือนละ 20,000 บาท และกิจการจะชำระเงินคืนในปีบัญชีถัดไป ดังนั้น กิจการจะต้องจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชีหรือไม่ อย่างไร ? ...

ตอบ : กิจการจะต้องจัดทำเอกสารใบสำคัญรับเพื่อใช้ประกอบการลงบัญชีที่มีลายมือชื่อของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี หรือผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อนุมัติรายการ โดยจัดทำใบสำคัญรับประกอบการลงรายการเงินยืมกรรมการทุกรายการ


กิจการจะต้องจัดทำเอกสารใบสำคัญรับเพื่อใช้ประกอบการลงบัญชีที่มีลายมือชื่อของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี หรือผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อนุมัติรายการ โดยจัดทำใบสำคัญรับประกอบการลงรายการเงินยืมกรรมการทุกรายการ ?...

ตอบ : กิจการสามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงมาบันทึกบัญชีได้ โดยในสัญญาเช่าอาคารจะต้องระบุให้ชัดเจนว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย และกิจการจะต้องจัดทำเอกสารใบสำคัญจ่ายเพื่อใช้ประกอบการลงบัญชีที่มีลายมือชื่อของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อนุมัติรายการ


กิจการสามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงมาบันทึกบัญชีได้ โดยในสัญญาเช่าอาคารจะต้องระบุให้ชัดเจนว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย และกิจการจะต้องจัดทำเอกสารใบสำคัญจ่ายเพื่อใช้ประกอบการลงบัญชีที่มีลายมือชื่อของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อนุมัติรายการ ? ...

ตอบ : กิจการจะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้ก็ต่อเมื่อเป็นการจ่ายเพื่อการดำเนินงานของกิจการจริง โดยสามารถจัดทำเอกสารใบสำคัญเพื่อใช้ประกอบการลงบัญชีที่มีลายมือชื่อของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อนุมัติรายการ


กิจการทำเอกสารประกอบการลงบัญชีของเดือนธันวาคมสูญหาย แต่กิจการสามารถไปขอให้ร้านค้าออกเอกสารให้ใหม่ได้ ดังนั้น กิจการจะต้องแจ้งกรณีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหายต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี หรือไม่ ?...

ตอบ : กรณีที่กิจการสามารถให้ร้านค้าออกเอกสารใหม่ทดแทนฉบับที่สูญหายได้นั้น กิจการไม่จำเป็นต้องแจ้งเอกสารประกอบการลงบัญชีสูญหายต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ยกเว้นถ้ากิจการไม่สามารถจัดหาเอกสารใหม่มาใช้ประกอบการลงบัญชีได้ กิจการจะต้องแจ้งต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบ หรือควรทราบถึงการสูญหายหรือเสียหายนั้น


กรณีกิจการได้รับเอกสารใบเสร็จรับเงินที่ไม่ครบถ้วนถูกต้องตามกฎหมายจากร้านค้า กิจการจะสามารถนำใบเสร็จรับเงินดังกล่าวมาใช้ประกอบการลงบัญชีได้หรือไม่ ? ...

ตอบ : หากกิจการได้รับใบเสร็จรับเงินที่ไม่ครบถ้วนถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด แต่กิจการได้จ่ายเงินไปจริงเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินงานของกิจการ ก็สามารถนำเอกสารมาใช้ประกอบการบันทึกบัญชีได้ โดยกิจการต้องมีการจัดทำเป็นเอกสารใบสำคัญเพื่อใช้ในกิจการของตนเองเพิ่มเติมด้วย


กรณีกิจการไม่ได้ประกอบการมาประมาณ 8 ปีแล้ว แต่ได้ยื่นงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทุกปี โดยถ้ากิจการจะขอแจ้งการหยุดดำเนินการและการส่งงบการเงินของกิจการชั่วคราวได้หรือไม่ ? ...

ตอบ : กิจการมีหน้าที่ต้องยื่นงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทุกปี แม้ว่ากิจการจะไม่ได้ประกอบธุรกิจเลยก็ตาม ซึ่งกิจการไม่สามารถแจ้งขอหยุดดำเนินการหรือการส่งงบการเงินชั่วคราวได้จนกว่ากิจการจะจดทะเบียนเลิกประกอบธุรกิจกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า


กิจการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2548 กิจการมีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีและงบการเงินของปี 2548 หรือไม่ ? ...

ตอบ : กิจการมีหน้าที่ต้องปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือน และต้องยื่นงบการเงินภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่งบการเงินนั้นได้รับอนุมัติในที่ประชุมใหญ่ โดยต้องพิจารณารอบปีบัญชีจากข้อบังคับของกิจการประกอบด้วย หากข้อบังคับของกิจการกำหนดให้ปิดบัญชีครั้งแรกในวันที่ 31 กรกฎาคม 2549 กิจการมีหน้าที่จัดทำบัญชีตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2548 และต้องจัดส่งงบการเงินรอบบัญชี 13 ธันวาคม 2548 – 31 กรกฎาคม 2549 โดยต้องจัดให้มีการประชุมเพื่ออนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน นับแต่วันปิดบัญชี และยื่นงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ได้อนุมัติงบการเงิน คือ ภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2549 หากกิจการไม่ได้กำหนดรอบปีบัญชีไว้ในข้อบังคับของ กิจการ กิจการอาจปิดบัญชีรอบปีบัญชีตามปีปฏิทินก็ได้ คือ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 กิจการมีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีและงบการเงินรอบปี 2548 เพื่อยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดดังกล่าว


กิจการได้จดทะเบียนเลิกกิจการกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2549 และกิจการยังไม่ได้ยื่นจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี กิจการจะต้องจัดทำงบการเงิน ณ วันสิ้นงวดปี 2548 หรือไม่ ? ...

ตอบ : กิจการมีหน้าที่ต้องนำส่งงบการเงินสำหรับงวดปี 2548 ตามปกติ และจัดทำงบการเงิน ณ วันเลิกกิจการ คือ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2549 โดยถ้ากิจการยังไม่มีการยื่นจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี กิจการจะต้องยื่นรายงานการชำระบัญชีทุกสามเดือน


ตาม พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชีบัญชีผู้ทำบัญชีจะต้องเป็นสมาชิกสภาฯ หรือ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําบัญชีกับสภาฯ ควรเลือกวิธีใดดีครับ ? ...

ตอบ : ตามกฎหมายท่านสามารถเลือกวิธีใดก็ได้ แต่เนื่องจากสภาฯ จัดเก็บค่าบำรุงสมาชิกและค่าขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีในอัตราเท่ากัน การสมัครเป็นสมาชิกสภาน่าจะเป็นประโยชน์ต่อท่านมากกว่า เนื่องจากท่านจะได้รับสิทธิในการเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีตามที่กําหนดในมาตรา 16 เช่น สิทธิในการเข้าร่วมประชุมสภาฯ สิทธิในการออกเสียงลงคะแนน และสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการสภาฯ เป็นต้น


เป็นผู้ทําบัญชีแต่ไม่อยากเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีจะจ่ายค่าขึ้นทะเบียนผู้ทําบัญชีได้อย่างไร ?

ตอบ : หากท่านเป็นผู้ทําบัญชีซึ่งได้แจ้งการเป็นผู้ทําบัญชีไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้วสภาฯ จะรับขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําบัญชีให้กับท่านโดยอัตโนมัติโดยมิต้องเสียธรรมเนียม แต่การขึ้นทะเบียนนี้มีผลจนถึงสิ้นปีนี้ (31 ธันวาคม 2547) เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ท่านจะต้องยื่นคําขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําบัญชีสําหรับปีถัดไป (ป? 2548) กับสภาวิชาชีพบัญชีพร้อมทั้งการชําระค่าธรรมเนียมภายในเดือนมีนาคม 2548 โดยท่านสามารถขอแบบคําขอได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สํานักงานพัฒนาธุรกิจการค้าประจําจังหวัด สภาวิชาชีพบัญชี หรือ สาขาของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยได้ทุกแห่ง ขบวนการชําระค่าขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําบัญชีเหมือนกับขบวนการชําระค่าบํารุงสมาชิกทุกประการ


ผู้ทําบัญชีทุกคนจะต้องเป็นสมาชิกสภาฯ หรือขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําบัญชีกับสภาฯ ใช่หรือไม่ ?

ตอบ : ไม่ใช่ เฉพาะผู้ทําบัญชีผู้ซึ่งมีคุณสมบัติตาม พ.ร.บ. การบัญชี (พ.ศ. 2543 เท่านั้นจึงจะต้องสมาชิกสภาฯ หรือขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําบัญชีกับสภาฯ และนักบัญชีทุกท่านก็สามารถสมัครเป็นสมาชิกได้เพราะเพิ่มศักดิ์ศรีของตนเอง และของสถาบัน


ขณะนี้เป็นผู้ทำบัญชีตาม พ.ร.บ. การบัญชี (พ.ศ. 2543 ) และได้แจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้วทำไมดิฉันต้องมาขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชีอีก ?...

ตอบ : การแจ้งการเป็นผู้ทำบัญชีกับกรมพัฒนาธุรกิจเป็นขบวนการที่กำหนดใน พ.ร.บ. การบัญชี (พ.ศ. 2543) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ทำบัญชีมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดในกฎหมายฉบับดังกล่าวในขณะที่การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทําบัญชีกับสภาวิชาชีพบัญชีนี้เป็นขบวนการที่กําหนดในพ.ร.บ. วิชาชีพบัญชี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมดูแลให้ประกอบวิชาชีพทําบัญชีปฏิบัติหน้าที่เยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพที่ดีภายใต้กลุ่มชนที่ใหญ่ขึ้น


กําลังอยู่ระหว่างการฝึกหัดงานสอบบัญชีธุรกิจ และยังสอบผ่านไม่ครบทุกวิชาจะได้รับผลกระทบจาก พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชีหรือไม่ ? ...

ตอบ : ไม่ได้รับผลกระทบสิทธิหน้าที่ของท่านในด้านการฝึกหัดงานสอบบัญชี การรายงาน การทดสอบความรู้ รวมทั้งการสะสมผลการทดสอบของแต่ละวิชาที่สอบผ่านยังคงเป็นเช่นเดิม เพราะกฎข้อบังคับภายใต?พรบ. ผู้สอบบัญชี พ.ศ. 2505 ให้ถือว่ามีผลต่อไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงภายใต้พรบ.ใหม่นี้


ตามมาตรา 43 แห่ง พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตมีหน้าที่เข้ารับการฝึกอบรมหรือเข้าร่วมการสัมนา (CPD) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สภาฯ กําหนดอยากทราบว่าสภาฯ ได้ออกหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องนี้แล้วหรือยัง ?...

ตอบ : สภาฯกําลังอยู่ในระหว่างการยกร่างข้อบังคับเกี่ยวกับเรื่องนี้


กฎหมายบังคับให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต้องเป็นสมาชิกของสภาฯ ด้วย ดังนั้นนอกจากจะต้องชําระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแล้วผู้สอบบัญชียังจะต้องชำระค่าบำรุงสมาชิกอีกด้วยเข้าใจถูกหรือไม่ ? ...

ตอบ : ท่านเข้าใจถูกต้องแล้วเว้นแต่ ผู้สอบบัญชีซึ่งใบอนุญาตเดิม (ที่ออกโดย ก.บช.) ยังไม่หมดอายุกฎหมายยอมให้ผู้นั้นใช้ใบอนุญาตเดิมได้ต่อไปจนกว่าใบอนุญาตนั้นจะหมดอายุ และในช่วงที่ใบอนุญาตยังไม่หมดอายุลงนี้ผู้สอบบัญชีนั้นจะเป็นสมาชิกสภาหรือไม่ก็ได้


ตาม พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชี ใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตไมมีอายุแต่ทำไมต้องจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทุกปีด้วย ? ...

ตอบ : ถึงแม้ใบอนุญาตผู้สอบบัญชีจะมีอายุไม่จํากัด แต่กฎหมายอนุญาตให้สภาฯ จัดเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเป็นรายปีได้ ทั้งนี้เพื่อนําเงินที่ได้ไปใช้ในการบริหารงานของสภา ฯ


ทําไมสภาวิชาชีพบัญชีไม่อนุญาตให้ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผู้สอบบัญชีเป็นรายสามปี หรือรายห้าปีเหมือนค่าบำรุงสมาชิกบ้าง ? ...

ตอบ : ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนี้สภาฯ เห็นว่าควรออกข้อบังคับกําหนดให?ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตชําระค่าธรรมเนียมในลักษณะปีต่อปีไปพลางๆ ก่อน หากคณะกรรมสภาวิชาชีพบัญชีชุดเลือกตั้งเห็นว่าสมควรแก้ไขให้เป็นอย่างอื่นก็สามารถดําเนินการได้ตามขบวนที่กําหนดในกฎหมาย ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่ในอนาคตผู้สอบบัญชีสามารถชําระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเป็นรายสามปีหรือรายห้าปีได้


เป็นผู้สอบบัญชีอยู่แล้วใบอนุญาตผู้สอบบัญชีที่ออกโดย ก.บช.จะหมดอายุลงในวันที่ 30 กันยายน 2548 ต้องปฏิบัติตนอย่างไร ? ...

ตอบ : 1. ท่านสามารถปฏิบัติงานสอบบัญชีได้ต่อไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2548 โดยยังไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชีนี้ 
          2. อย่างไรก็ตามภายในเวลาสามเดือนก่อนวันที่ใบอนุญาตสอบบัญชีเดิมของท่านจะหมดอายุท่านจะต้องดําเนินการขอรับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีใหม่จากสภาวิชาชีพบัญชี และเริ่มเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชีตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นไป 
          3. ในระหว่างที่ใบอนุญาตเดิมของท่านยังไม่หมดอายุนี้ ท่านจะเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือไม่ก็ได้


ทําไมค่าธรรรมเนียมใบอนุญาตสอบบัญชีจึงแพงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมากเดิมจ่ายให้ ก.บช. เพียง 200 บาทต่อห้าปี ตอนนี้ต้องจ่ายให้สภาวิชาชีพบัญชีปีละ 1,000 บาท ? ...

ตอบ : สภาวิชาชีพบัญชีเป็นองค์กรวิชาชีพอิสระไม่มีงบประมาณสบับสนุนจากภาครัฐ (ต่างจากสํานักงาน ก.บช. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงพาณิชย์) ดังนั้นเพื่อให้สภาวิชาชีพบัญชีสามารถดําเนินงานได?ตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสภาจึงจําเป็นต้องจัดหารายได้ในจํานวนที่เพียงพอต่อการบริหารงานด้วยเหตุนี้สภาจึงมีความจําเป็นที่ต้องกําหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผู้สอบบัญชีให้สูงขึ้นกว่าเดิมเพื่อให้สัมพันธกับค่าใช้จ่ายดําเนินงานที่จะเกิดขึ้น


จบการศึกษาระดับปริญญาตรีทางการบัญชี สามารถสมัครเป็นสมาชิกประเภทสมทบได้หรือไม่ เพราะทราบว่าอัตราค่าบํารุงสมาชิกประเภทสมทบถูกกว่าสมาชิกสามัญ ? ...

ตอบ : ไม่ได้ ท่านสามารถสมัครเป็นสมาชิกประเภทสามัญเท่านั้น เฉพาะผู้ที่จบการศึกษาในระดับ ปวส. (ด้านการบัญชี) ระดับอนุปริญญา หรือ ผู้ที่กําลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีทางการบัญชีเทานั้นจึงจะสามารถสมัครเป็นสมาชิกประเภทสมทบได้


สภาวิชาชีพบัญชีตั้งอยู่ที่ไหน ?

ตอบ : ปัจจุบันสภาวิชาชีพบัญชีมีที่ทําการชั่วคราวตั้งอยู่ที่สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย เลขที่ 441/1 ถนนสามเสน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพ 10300


ในกรณีที่ผมจ่ายค่าบํารุงสมัครเป็นรายสามปี หรือรายห้าปี สภาวิชาชีพบัญชีจะมีส่วนลดให้หรือไม่ ?

ตอบ : ไม่มี (การที่อนุญาตให้สมาชิกจ่ายค่าบํารุงเป็นรายสามปี หรือรายห้าปีได้นั้น มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่ออํานวยความสะดวกให้กับสมาชิกที่ไม่ต้องการจ่าย ชําระค่าบํารุงทุกๆปี)


สภาวิชาชีพบัญชีประกอบด้วยสมาชิกซึ่งประกอบวิชาชีพบัญชีต่าง ๆรวมหกด้านด้วยกัน ตอนที่ผมสมัครเป็นสมาชิกของสภาฯ จําเป็นต้องเลือกเป็นสมาชิกสังกัดด้านใดด้านหนึ่งด้วยหรือไม่ ? ...

ตอบ : ไม่ต้องเพราะกฎหมายไม่ได้กําหนดใหสมาชิกต้องเลือกเป็นสมาชิกสังกัดด้านใดด้านหนึ่งการที่กฎหมายกําหนดให้วิชาชีพบัญชีประกอบด้วยวิชาชีพบัญชีหกด้านนั้นเพื่อให้สภาวิชาชีพบัญชีมีความหลากหลายในด้านวิชาชีพพร้อมกับเปิดโอกาสให้วิชาชีพบัญชีแต่ละด้านนั้นมีตัวแทน (ประธานคณะกรรมการวิชาชีพบัญชีด้านต่าง ๆ) อยู่ในคณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี เพื่อยกระดับวิชาชีพด้านนั้นและด้านอื่นให้เจริญก้าวหน้าร่วมกัน


อยู่ในกรุงเทพจะสมัครเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีได้อย่างไรจึงจะสะดวกที่สุด ?

ตอบ : 1.ขอรับใบสมัครเป็นสมาชิกได้จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (นนทบุรี)หรือจากสภาวิชาชีพบัญชี (สามเสน) หรือดาวน์โหลดใบสมัครจากเว็บไซต์ของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย www.icaat.or.th ก็ได้ 
          2. กรอกใบสมัคร 
          3. โอนเงินค่าบํารุงเข้าบัญชีธนาคารของสภาวิชาชีพบัญชี หรือ ซื้อธนาณัติไปรษณีย์หรือ แคชเชียร็เช็ค ตามรายละเอียดที่ระบุในคําชี้แจงแนบท้ายใบสมัคร 
          4. ส่งใบสมัครเอกสารประกอบการสมัครรวมทั้งเอกสารการชําระค่าบํารุง ตามข้อ 3 ข้างต้นมายังสภาวิชาชีพบัญชีทางไปรษณีย์ โดยท่านไม่จําเป็นต้องเดินทางมาด้วยตนเอง (หากท่านต้องการจ่ายเป็นเงินสดท่านต้องนําใบสมัคร และเอกสารประกอบการสมัครพร้อมเงินสดมาส่งที่สภาวิชาชีพบัญชี)


อยู่ต่างจังหวัดจะสมัครเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีได้อย่างไรจึงจะสะดวกที่สุด ?

ตอบ : 1. ขอรับใบสมัครเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีได้จากสํานักงานพัฒนาธุรกิจการค้าประจําจังหวัดทุกแห่งหรือจากสาขาของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย 
          2. กรอกใบสมัคร 
          3. โอนเงินค่าบํารุงเข้าบัญชีธนาคารของสภาวิชาชีพบัญชี หรือ ซื้อธนาณัติไปรษณีย? หรือแคชเชียร์เช็ค ตามรายละเอียดที่ระบุในคําชี้แจงแนบท้ายใบสมัคร 
          4. ส่งใบสมัครเอกสารประกอบการสมัครรวมทั้งเอกสารการชําระค่าบํารุงตามข้อ 3 ข้างต้นมายังสภาวิชาชีพบัญชีทางไปรษณีย? โดยท่านไม่จําเป็นต้องเดินทางมาด้วยตนเอง


ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีทุกคนจะต้องเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือไม่ ?

ตอบ : ไม่จําเป็นยกเว้นสองกรณีคือ 
          (1) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตซึ่งได้รับใบอนุญาตที่ออกตาม พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชีนี้ และ 
          (2) ผู้ทําบัญชีตามกฎหมายบัญชีเท่านั้นที่จะต้องเป็นสมาชิกของสภาฯตามบทบัญญัติของกฎหมาย


เป็นสมาชิกสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยประเภทสมาชิกตลอดชีพสมาคมฯ มีแผนที่จะโอนสมาชิกภาพมาสังกัดที่สภาวิชาชีพบัญชีหรือไม่ ? ...

ตอบ : สภาวิชาชีพบัญชีเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากสมาคมนักบัญชี และผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ดังนั้นในด้านกฎหมายสมาคมฯไม่สามารถโอนสมาชิกภาพของท่านไปสังกัดกับสภาวิชาชีพบัญชีได้ อย่างไรก็ตามท่านยังคงมีสิทธิหน้าที่ในฐานะที่เป็นสมาชิกของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยอยู่เช่นเดิมทุกประการตามข้อบังคับของสภาฯ ที่ได้ร่างไว้ได้เปิดโอกาสให้มีการงดเก็บค่าบํารุงจากสมาชิกสมาคมฯ หากได้มีการเลิกสมาคมฯ


สํานักงานให้บริการรับทําบัญชีและสํานักงานสอบบัญชีซึ่งไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลมีภาระหนาที่และความรับผิดตามพ.ร.บ. วิชาชีพบัญชีอย่างไร ? ...

ตอบ : กฎหมายไม่ได้กําหนดภาระหน้าที่และความรับผิดไว้เป็นกรณีพิเศษ


สํานักงานให้บริการรับทําบัญชีและสํานักงานสอบบัญชีซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลมีภาระหน้าที่และความรับผิดตาม พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชีอย่างไร ? ...

ตอบ : 1. ต้องจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี (ตามมาตรา11) 
          2. ต้องจัดให้มีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สาม (ดูคําถามข้อที่ 1) 
          3. หากบริการด้านการสอบบัญชีนิติบุคคลนั้นจะต้องรับผิดร่วมกับผู้สอบบัญชีที่เซ็นรับรองงบการเงิน


สํานักงานให้บริการรับทําบัญชีและสํานักงานสอบบัญชีซึ่งจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลจะต้องจัดให้มีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สาม อยากทราบว่ามีหลักเกณฑ์อย่างไร ?

...

ตอบ : ตามมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ. วิชาชีพบัญชี กระทรวงพาณิชย์มีหน้าที่ ออกกฎกระทรวงเพื่อกําหนด ประเภท จํานวน หลักเกณฑ์ และวิธี การของการจัดให้มีหลักประกัน โดยให้คํานึงถึงขนาดและรายได้ของนิติบุคคล และให้นําความเห็นของหน่วยงานวิชาชีพบัญชีและสภาวิชาชีพบัญชีมาประกอบการพิจารณา ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์กําลัง พิจารณายกร่างกฎกระทรวงดังกล่าวอยู่


อยากทราบเรื่องการลงวันที่ในรายงานผู้สอบบัญชี ผู้สอบบัญชีสามารถลงวันที่ย้อนหลังในหน้ารายงานผู้สอบบัญชีได้หรือไม่ ? ...

ตอบ : วันที่ในรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต หมายถึง วันที่สิ้นสุดการตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี ดังนั้น ผู้สอบบัญชีควรใช้วันสิ้นสุดการตรวจสอบเป็นวันที่ในรายงานของผู้สอบบัญชีซึ่งเป็นการแจ้งให้ผู้ใช้งบการเงินทราบว่าผู้สอบบัญชีได้พิจารณาผลกระทบต่องบการเงินและรายงานถึงเหตุการณ์หรือรายการที่ได้เกิดขึ้นจนถึงวันที่สิ้นสุดการตรวจสอบแล้ว


หน้ารายงานของผู้สอบบัญชีต้องกล่าวถึง การดำรงอยู่ของกิจการหรือไม่ ?

ตอบ : ในการปฏิบัติงานตรวจสอบผู้สอบบัญชีควรพิจารณาความเหมาะสมของการใช้ข้อสมมติ เรื่อง การดำเนินงานต่อเนื่อง ( Going Concern) ของกิจการซึ่งผู้บริหารใช้ในการจัดทำงบการเงินเพื่อพิจารณาในเรื่องความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินการต่อเนื่องของกิจการ ทั้งนี้ ตามมาตรฐานการปฏิบัติงานผู้สอบบัญชีจะดำเนินการ ดังนี้ 
          (1) หากไม่พบเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความไม่แน่นอน ซึ่งอาจมีผลกระทบต่องบการเงินอย่างมีสาระสำคัญ ผู้สอบบัญชีไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงเรื่องความสามารถในการดำเนินงานต่อเนื่องของกิจการไว้ในรายงานของผู้สอบบัญชีและสามารถแสดงความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไขต่องบการเงินสำหรับกรณีดังกล่าวได้ 
          (2) หากพบเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความไม่แน่นอนซึ่งอาจมีผลกระทบต่องบการเงินอย่างมีสาระสำคัญถึงแม้ว่ากรณีดังกล่าวไม่ถือเป็นสถานการณ์ที่กระทบต่อรูปแบบการแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชีแต่ผู้สอบบัญชีควรเปลี่ยนแปลงรายงานการสอบบัญชีโดยเพิ่มวรรคเน้นข้อมูลและเหตุการณ์ เพื่อเน้นเรื่องความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งระบุไว้ในหน้ารายงานโดยให้สังเกตหมายเหตุประกอบงบการเงินที่เปิดเผยเรื่องดังกล่าวด้วย 
          (3) หากเหตุการณ์ตาม (2) มีผลกระทบต่องบการเงินอย่างมีสาระสำคัญ อย่างร้ายแรง ผู้สอบบัญชีควรเสนอรายงานการสอบบัญชีแบบไม่แสดงความเห็น


กรณีที่ผู้สอบบัญชีไม่ตรวจนับเงินสดซึ่งมีสาระสำคัญ ผู้สอบบัญชีจะรายการการสอบบัญชีแบบไม่แสดงความเห็น อยากทราบว่าการที่ผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นนั้นเป็นการไม่แสดงความเห็นเฉพาะเงินสดอย่างเดียวหรือไม่แสดงความเห็นต่อรายการทั้งหมดของงบการเงิน ? ...

ตอบ : การรายงานการสอบบัญชีกรณีที่ไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินจะเพิ่มวรรคอธิบายการถูกจำกัดขอบเขตการตรวจสอบ ปัญหาการดำเนินการต่อเนื่องของกิจการมีความไม่แน่นอนอื่นต่อท้ายวรรคขอบเขตและการไม่แสดงความเห็นจะอ้างอิงถึงวรรคอธิบายนั้นๆ ในกรณีนี้หากตัวเงินสดมีสาระสำคัญผู้สอบบัญชีจะรายงานแบบมีเงื่อนไขเฉพาะเงินสดได้ แต่หากมีสาระสำคัญมากผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่อรายการทั้งหมดในงบการเงินก็ได้


อยากทราบว่าทางก.บช. มีเกณฑ์ในการเลือกสำนักงานตรวจสอบบัญชีในการฝึกหัดงานเพื่อเก็บชั่วโมงหรือป่าวคับว่าตั้งเป็นสำนักงานที่ใหญ่มีมาตรฐานหรือว่าเป็นที่ไหนก็ได้ขอให้เป็นสำนักบัญชีคับ แล้วเมื่อทำแล้วเราจะมีหน้าที่ทำอะไรบ้างคับ ? ...

ตอบ : วัตถุประสงค์ของการกำหนดให้ฝึกหัดงานสอบบัญชีเพื่อให้ผู้ฝึกหัดงานมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานสอบบัญชีจริงกับผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานเมื่อท่านเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ทั้งนี้ ไม่มีการกำหนดว่าจะฝึกหัดงานกับผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของสำนักงานสอบบัญชีขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก


มาตรา 1210 ได้กำหนดเรื่องค่าสินจ้างว่าให้ที่ประชุมใหญ่เป็นผู้กำหนด ดังนั้นถ้าที่ประชุมใหญ่ยังไม่สามารถกำหนดเรื่องค่าสินจ้างของผู้สอบบัญชีได้ในขณะนั้น ที่ประชุมใหญ่สามารถมอบหมายให้คณะกรรมการของบริษัทเป็นผู้กำหนดค่าสินจ้างนั้นแทนได้หรือไม่ หรือต้องเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาเรื่องค่าสินจ้างอีกคร...

ตอบ : การกำหนดค่าสินจ้างของผู้สอบบัญชีตามมาตรา 1210 ได้กำหนดให้ที่ประชุมใหญ่เป็นผู้กำหนด แต่ถ้าที่ประชุมใหญ่ไม่ได้กำหนดค่าสินจ้างแต่มอบหมายให้คณะกรรมการของบริษัทเป็นผู้กำหนดแทนก็สามารถทำได้ขึ้นอยู่กับผลของที่ประชุมใหญ่


เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแล้ว 5 ปี และในปีที่ 5 ไม่ได้ไปต่ออายุ ต้องทำเช่นไร ทั้งนี้ ยังรับสอบบัญชีกับสำนักงานตรวจสอบบัญชีอยู่ตลอดเวลา ? ...

ตอบ : หากท่านขาดต่ออายุใบอนุญาต และในระหว่างขาดต่ออายุไม่ได้มีการลงลายมือชื่อสอบบัญชี รวมทั้งมีความประสงค์ที่จะต่ออายุ ท่านจะต้องไปอบรมหรือสัมมนาเกี่ยวกับวิชาชีพสอบบัญชีก่อน แล้วเอาหลักฐานการเข้าอบรมมาแสดงเพื่อขอต่ออายุ ดังนี้ 
          (1) ขาดต่ออายุ เกิน 6 เดือน ถึง 3 ปี ถ้าเคยปฏิบัติงานสอบบัญชี ต้องอบรม 24 ชั่วโมง ไม่เคยปฏิบัติงาน อบรม 48 ชั่วโมง 
          (2) ขาดต่ออายุเกิน 3 ปี ถึง 5 ปี ต้องอบรม 60 ชั่วโมง 
          (3) ขาดต่ออายุเกิน 5 ปี ต้องอบรม72 ชั่วโมง ทั้งนี้ วิชาที่เข้าอบรมบังคับว่า จะต้องเป็นวิชาการบัญชี/สอบบัญชี ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง หากท่านยังมีข้อสงสัย กรุณาสอบถามเพิ่มเติมที่ สำนักงาน ก.บช โทร 0 2547 4417-8


ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีมา 4 ปี ยังไม่เคยรับงานสอบบัญชี มีคนติดต่อมา หากรับงานสอบบัญชี ที่เป็นงบที่ไม่ดำเนินงานมีแต่ทุนจดทะเบียน อาคารเป็นทรัพย์สินซึ่งดูแล้วสามารถ ปฏิบัติงานได้ตามมาตราฐานการตรวจสอบบัญชี ได้อย่างไม่ลำบากนักหากรับงานสอบบัญชีงบดังกล่าว ซึ่งมีจำนวนมาก จะทำให้ถูกการเพ็งเล็งจากเจ้าห...

ตอบ : ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต้องไม่สอบบัญชีในกิจการที่เกินความรู้ความสามารถของตนที่จะปฏิบัติงานได้ เมื่อพิจารณาขอบเขตการปฏิบัติงานและแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพสอบบัญชีที่พึงปฏิบัติหน้าที่ได้โดยมีประสิทธิภาพแล้ว จะมีความสามารถในการตรวจสอบและรับรองการสอบบัญชีได้ไม่เกิน 300 รายต่อปี ดังนั้นในกรณีที่ปรากฏว่าผู้สอบบัญชีรับอนุญาตผู้ใดลงลายมือชื่อรับรองการสอบบัญชีเกิน 300 รายต่อปี จะพึงถือว่าผู้สอบบัญชีรับอนุญาตผู้นั้นสอบบัญชีในกิจการที่เกินความรู้ความสามารถของตนที่จะปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชีได้ ซึ่งเป็นไปตามประกาศ ก.บช. ฉบับที่ 44 (พ.ศ.2544) เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และการพิจารณาคำขอขึ้นทะเบียนของผู้ที่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาต ทั้งนี้ ไม่ว่าท่านจะรับสอบบัญชีให้ธุรกิจที่ดำเนินงานหรือไม่ดำเนินงานก็ตาม หากท่านได้ปฏิบัติตามประกาศ ก.บช. ฉบับที่ 44 (พ.ศ.2544) แล้ว ในการพิจารณาเบื้องต้น จะพึงถือว่าท่านสอบบัญชีในกิจการที่ไม่เกินความรู้ความสามารถของท่านที่จะปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชีได้


การบันทึกบัญชีเงินเกินบัญชีธนาคารซึ่งในอดีตมิได้บันทึกเนื่องจากผู้บริหารนํ าเงินในบัญชีดังกล่าวไปใช้ส่วนตัวทําให้เป็นยอดเบิกเกินสูงมาก ดังนั้น ดอกเบี้ยที่เก็บและตัวเงินจึงไม่บันทึกบัญชี ถ้าจะบันทึกใหม่ทําอย่างไร ?...

ตอบ : เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร ซึ่งไม่เคยบันทึกบัญชีเนื่องจากผู?บริหารนํ าไปใช?เป?นการส?วนตัว ดอกเบี้ยที่เกิด และตัวเงินเบิกเกินบัญชีธนาคารจึงไม่ได้บันทึกในบัญชีของบริษัท บริษัทจึง ควรปรับปรุงดังนี้ เงินต้นเริ่มแรกของเงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร และดอกเบี้ยทั้งหมดที่เกิด ขึ้นให้บันทึกผู?บริหารที่นํ าเงินไปใช้ส่วนตัวเป็นลูกหนี้ของบริษัททั้งจํ านวน และบันทึกบัญชี ธนาคารเงินเบิกเกินบัญชีเป็นบัญชีเจ้าหนี้ของบริษัทต่อไป ดอกเบี้ยที่เกิดจากเงินเบิกเกินบัญชีธนาคารในปีต่อมาให้บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายของ บริษัท และขณะเดียวกันบริษัทก็ต้องบันทึกดอกเบี้ยรับจากผู้บริหารที่นํ าเงินไปใช้เป็นการ ส่วนตัว ดอกเบี้ยดังกล่าวให้คํ านวณจากยอดคงเหลือบัญชีลูกหนี้ของบริษัทด้วยอัตราดอก เบี้ยเดียวกันกับที่ธนาคารเรียกเก็บจากบัญชีเงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร ดังนั้น จํ านวนสุทธิ ของดอกเบี้ยรับและดอกเบี้ยจ่าย ซึ่งเป็นดอกเบี้ยของบริษัท อนึ่งการจ่ายเงินจากบัญชีเงิน เบิกเกินบัญชีธนาคารภายหลังการปรับปรุงและต้องเป็นรายการเฉพาะของบริษัทเท่านั้น


สินทรัพย์ถาวรที่หามูลค่าเริ่มแรก หรือวันที่ได้มาไม่ได้ จะทํ าอย่างไร หากต้องการจะบันทึกเป็น สินทรัพย์ของกิจการ ?...

ตอบ : หากกิจการต้องการบันทึกสินทรัพย?ถาวรที่หามูลค?าเริ่มแรกหรือวันที่ที่ซื้อสินทรัพย์ไม่ได้ กิจการควรเทียบราคากับสินทรัพย์ที่คล้ายคลึงกัน หรือให้ผู้ประเมินราคาอิสระทําการประเมินราคาแบบต้นทุนทดแทน หรือบริษัททํ าการประเมินเองตามวิธีหามูลค่าที่จะได้รับคืนจากการ ใช้สินทรัพย์ถาวรตามที่กําหนดในมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 36 เรื่อง การด?อยค่าของสินทรัพย์


ในกรณีสินค้าคงเหลือเกินหรือขาดจากบัญชี เราในฐานะผู้ทําบัญชีควรจะดํ าเนินการอย่างไร ในทางด้านการบันทึกปรับปรุงบัญชีและด้าน Stock ? ...

ตอบ : กรณีที่บริษัทมีสินค้าคงเหลือเกินหรือขาดจากบัญชี ผู้ทํ าบัญชีควรปรับปรุงบัญชีสินค้าดังกล่าวให้ถูกต้องตรงตามจํ านวนสินค้าที่มีอยู่จริง ณ วันสิ้นปีการบัญชี นอกจากนี้บัตรคุมสินค้าก็ต้องปรับให้ถูกต้องตรงกับสินค้าตามที่มีอยู่จริงด้วย อนึ่ง รายการสินค้าคงเหลือสิ้นปีต่างจากความเป็นจริง รายการดังกล่าวย่อมกระทบกับ การคํานวณต้นทุนขายของบริษัทจึงควรปรับปรุงรายการสินค้าดังกล่าวในกํ าไรขาดทุนสะสม ต้นปีและกระทบยอดรายการสินค้าที่ปรับปรุงในแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 50 ของปีปัจจุบันเพื่อให้ จํานวนภาษีที่ต้องจ่ายถูกต้อง


ในกรณีที่บริษัทมียอดสินค้าคงเหลือตามบัญชีแต่ในความเป็นจริงไม่มีสินค้าคงเหลือแล้ว ซึ่ง เกิดจากการทําบัญชีผิดพลาดของปีก่อน ควรจะมีการปรับปรุงอย่างไร จึงเป็นวิธีที่ถูกต้อง ? ...

ตอบ : บริษัทไม่มีสินค้าคงเหลือตามที่ปรากฎในบัญชีเพราะการบันทึกบัญชีผิดพลาดของปีก่อน ใน กรณีนี้ บริษัทต้องปรับปรุงรายการสินค้าให้ถูกต้องตามความเป็นจริง โดยการปรับปรุงสินค้า และต้นทุนขาย ดังกล่าวกับบัญชีกําไรสะสมต้นปี แต่ปรับปรุงในแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 50 ของ ปีปัจจุบัน


บริษัทซื้อที่ดินไว้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว มีเอกสารหลักฐานในการซื้อครบถ?วน โดยซื้อในนามบริษัท แต่เจ้าของบริษัทไม่ได้เอาลงบัญชี ในการจัดทำงบการเงินรอบปี 2544 ได้จัดเอกสารดังกล่าวให้ ผู้สอบบัญชีเพื่อบันทึกที่ดินนั้นในบัญชี แต่ผู้สอบไม่ยอมให้ลงบัญชี ไม่ทราบว่าถูกต้องหรือไม่ (ที่ผ่านมา 5 ปี บริษัทไม่มีรายรับ...

ตอบ : บริษัทมีที่ดินพร้อมเอกสารยืนยันความเป็นเจ้าของในที่ดินผืนดังกล่าว บริษัทต้องการนําที่ดิน ดังกล่าวบันทึกในบัญชี ส่วนสําคัญคือ ต้องติดตามและบันทึกที่ดินให้ถูกต้องว่าใช้เงินของใครซื้อ การจัดทําบัญชีให้ถูกต้องเป็นหน้าที่และอยู่ในความรับผิดชอบของบริษัท ผู้สอบบัญชีไม่มีสิทธิห้ามบริษัทนําที่ดินดังกล่าวมาบันทึกบัญชีให้ถูกต้อง แต่มีหน้าที่รายงานจากผลการตรวจสอบบัญชีของบริษัทเท่านั้น


หากกิจการมีสินทรัพย์ที่อยู่นอกบัญชีและต้องการปรับปรุงบัญชี เอกสารที่ซื้อสินทรัพย์เป็นของปีก่อนๆ เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานที่ยอมรับได้หรือไม่ และการตัดค่าเสื่อมราคาให้ตัดตั้งแต่วันที่ซื้อสินทรัพย์ตามเอกสารใช่หรือไม่ ? ...

ตอบ : บริษัทมีสินทรัพย์อยู่นอกบัญชีและต้องการบันทึกปรับปรุงให้ถูกต้องโดยใช้เอกสาร ประกอบรายการซื้อสินทรัพย์ในปีก่อน ๆ ถือเป็นหลักฐานที่ยอมรับได้ สิ่งสํ าคัญคือ รายการสิน ทรัพย์นอกบัญชีต้องอยู่ในกรรมสิทธิของบริษัท ส่วนการคิดค่าเสื่อมให้เริ่มคิดตั้งแต่วันที่สินทรัพย์ ถูกใช้งาน ค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ดังกล่าวตั้งแต่วันที่เริ่มใช้งานจนถึงวันสิ้นงวดรอบระยะเวลา บัญชีปีก่อนทางบัญชีจะปรับปรุงเข้ากํ าไรสะสมต้นปี ส่วนค่าเสื่อมของปีปัจจุบันให้ถือเป็นค่าใช้ จ่ายของปีปัจจุบัน แต่ค่าเสื่อมของปีก่อน ๆ ควรปรับปรุงในแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 50 ของปีปัจจุบันให้ถูกต้องด้วย


กรณีที่ทรัพย์สินของบริษัท เช่น เครื่องมือ อุปกรณ์ เกิดการชำรุดหรือเสียหาย บริษัทจะตัดบัญชีทรัพย์สินอย่างไร ?...

ตอบ : การตัดบัญชีทรัพย์สินกรณีที่ทรัพย์สินนั้นชำรุหรือเสียหายออกจากบัญชีต้องมีหลักฐานประกอบการลงบัญชีที่ชัดเจนที่แสดงข้อมูลยืนยันถึงการชำรุดหรือเสียหาย ซึ่งหากมีหลักฐานยืนยันได้ว่าชำรุดหรือเสียหายให้บันทึกตัดบัญชีสินทรัพย์ตามราคาทุนที่บันทึกบัญชีไว้รวมทั้งโอนบัญชีที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์ที่ชำรุดนั้นออกทั้งหมด ผลต่างที่เกิดขึ้นถือเป็นกำไร(ขาดทุน)จากการตัดบัญชีทรัพย์สิน


บริษัทมีบัญชีเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ แต่ในอดีตที่ผ่านมาไม่ได้มีการคิดดอกเบี้ย ต่อมาในปี 2546 ถูกทางสรรพากรประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะจากดอกเบี้ยที่เกิดจากเงินให้กู้ยืมกรรมการตั้งแต่ปี 2543-2546 รายการข้างต้นนี้จะถือเป็นข้อผิดพลาดที่สำคัญหรือไม่ บริษัทต้องรับรู้รายการที่เกิดขึ้นอย่างไร ?...

ตอบ : การที่บริษัทมีเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการโดยไม่ได้มีการคิดดอกเบี้ยและในปี 2546 บริษัทถูก ประเมินภาษีจากดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมกรรมการ จะถือว่าเป็นข้อผิดพลาดหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงคือ หากข้อเท็จจริงปรากฏว่าบริษัทไม่ได้กำหนดให้กรรมการต้องจ่าย ดอกเบี้ยหรือไม่มีนโยบายคิดดอกเบี้ยจากเงินให้กู้ยืมกรรมการจริงในทางบัญชีบริษัทก็ไม่ต้องบันทึกรายการดอกเบี้ยแต่อย่างใด เมื่อกรมสรรพากรประเมินภาษีจากดอกเบี้ยที่เกิดจากเงินให้กู้ยืมกรรมการ ให้บริษัทรับรู้ภาษีและเบี้ยปรับเงินเพิ่มในปีที่เกิดรายการนั้น


ขาดทุนสะสมเนื่องจากปรับปรุงที่ดินลดลงจะจ่ายเงินปันผลได้หรือไม่ กิจการมีกำไรสะสมจากการประกอบกิจการ 5 ล้านบาท แต่ได้ปรับปรุงมูลค่าลดลงในที่ดินเมื่อปีก่อน 8 ล้าน ทำให้ขาดทุนสะสม 3 ล้าน แต่จริง ๆ แล้วบริษัท มีรายได้ค่าเช่า ทำให้มีเงินเหลืออยากจะจ่ายปันผลถ้าขาดทุนสะสมจะจ่ายไม่ได้ ในกรณีเช่นนี้ ถามว่าขาดท...

ตอบ : ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 หากบริษัทพบว่า มีข้อบ่งชี้ที่ทำให้เชื่อได้ว่า สินทรัพย์ของบริษัทอาจเกิดการด้อยค่าบริษัทก็ยังคงต้องรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่านั้นในงบกำไรขาดทุน ดังนั้น กรณีของการปรับปรุงมูลค่าลดลงในที่ดินนี้ก็เช่นกัน ถึงแม้ว่าจะเป็นการปรับตามมาตรฐานการบัญชีก็ตาม แต่ก็ทำให้เกิดผลขาดทุนสะสม ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ว่า การจ่ายเงินปันผลจากเงินประเภทอื่นนอกจากเงินกำไรจะกระทำมิได้ ในกรณีที่บริษัทยังมียอดขาดทุนสะสมอยู่ ห้ามมิให้จ่ายเงินปันผล


บริษัทถูกกรมศุลกากรประเมินเงินเพิ่มค่าอากร เนื่องจากสำแดงพิกัดไม่ตรงกัน บริษัทไม่เห็นด้วยจึงอุทธรณ์ต่อกรมศุลฯ แต่การอุทธรณ์ต้องจ่ายเงินเพิ่มอากรดังกล่าวไปก่อน ถามว่าสามารถบันทึกเป็นสินทรัพย์(บัญชี Claim) ไว้ก่อนได้หรือไม่ หรือว่าต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวน ?...

ตอบ : การที่จะบันทึกรายการเงินเพิ่มอากรที่จ่ายไป เป็นรายการอะไรนั้น ให้พิจารณาเปรียบเทียบกับข้อมูลในแม่บทการบัญชีก่อนว่ารายการดังกล่าวนั้นเป็นไปตามคำนิยามและเข้าเกณฑ์เงื่อนไข การรับรู้ ทุกข้อขององค์ประกอบต่างๆ ในงบการเงิน หรือไม่ แต่จากข้อมูลเบื้องต้นในคำถาม ที่ถามมานั้น น่าจะรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนเพราะประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตลดลง เนื่องจากการลดลงของสินทรัพย์หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน นอกจากนี้ ต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวนี้ไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย


กิจการเบิกเงินเกินบัญชีธนาคารมาแต?ไม?ได?นำมาบันทึกบัญชี และนํามาใช้ส่วนตัวโดยไม่มีรายละเอียดว่านำเงินไปใช้จ่ายในเรื่องใดบ้าง อยากทราบว?ารายการนี้ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้หรือไม่ และจะปรับปรุงบัญชีให้ถูกต้องต้องทํ าอย่างไร ?...

ตอบ : บริษัทต้องบันทึกรายการบัญชีของกิจการทุกรายการที่เกิดขึ้น แต่รายการนี้นั้นจะถือเป็น รายได้หรือหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคํ าณวนภาษีเงินได้ได้หรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับหลักฐานประกอบ รายการบัญชี ดังนั้น การที่บริษัทเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งกรรมการผู้จัดการนําไปใช้ส่วนตัว บริษัท ต้องปรับปรุงบัญชี โดยตั้งผู้เบิกเงินเกินบัญชีธนาคารไปใช้ส่วนตัวเป็นลูกหนี้ และบันทึกบัญชี เจ้าหนี้ธนาคารให้ถูกต้อง จนกว่าผู้เบิกเงินเกินบัญชีจะหาเอกสารที่เชื่อถือได้มาประกอบรายการ จึงโอนไปเป็นค่าใช้จ่ายหรือรายการเดบิตอื่นที่เกี่ยวข้อง


ประกอบกิจการเกี่ยวกับสปาและมีการบริการด้านอาหารด้วยซึ่งมีการขายอาหารไม่มากนักจะขายอาหารให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการสปาในการซื้อผัก ผลไม้ ข้าวหรือตัวอื่นๆ ในการประกอบอาหารอยากทราบว่าจะลงบัญชีอย่างไรและใช้ชื่อบัญชีอย่างไรรวมถึงค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการให้บริการในส่วนของสปาด้วย ?...

ตอบ : ธุรกิจสปา รายได้จากธุรกิจสปาถือว่าเป็นรายได้หลักของกิจการ ดังนั้นควรบันทึกบัญชีรายได้ดังกล่าว เป็น รายได้ค่าบริการ ส่วนต้นทุนของการให้บริการสปา เป็นต้นทุนการให้บริการ รายได้ที่ได้รับจากการขายอาหาร ถือว่าเป็น รายได้อื่นจากการประกอบกิจการ ควรลงบัญชี เป็น รายได้อื่น และ ต้นทุนในการประกอบอาหาร ถือว่าเป็น ค่าใช้จ่ายอื่นๆ


กิจการมีการเช่าช่วงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นเวลา 30 ปี กิจการแสดงในงบการเงินภายในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน และมีการทยอยตัดเป็นค่าใช้จ่ายทุกๆปี และควรบันทึก,ปรับปรุงบัญชีอย่างไร ?...

ตอบ : ตอนจ่ายเงินเพื่อเช่าช่วงทรัพย์สิน ให้บันทึกบัญชีโดย เดบิต สิทธิการเช่ารอตัดบัญชี (สินทรัพย์อื่น) และ เครดิต เงินสดหรือธนาคาร เมื่อถึง ณ วันสิ้นปี ทยอยตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่าย โดย เดบิต สิทธิการเช่าตัดบัญชี(ค่าใช้จ่าย) และ เครดิต สิทธิการเช่ารอตัดบัญชี


อยากทราบว่าเวลาที่บริษัทซื้อของตามจำนวนที่ผู้ขายกำหนดไว้แล้วจะมีการแถมของให้เช่นซื้อแอร์ครบ 7 เครื่องแล้วแถมโทรทัศน์ 1 เครื่อง (ระบุในใบกำกับภาษีว่าแถมโทรทัศน์ 1 เครื่อง)ไม่ทราบว่าโทรทัศน์ที่ได้แถมจะต้องรับรู้เป็นรายได้หรือสินทรัพย์ ?...

ตอบ : โทรทัศน์ที่ได้แถมมานั้นจะต้องรับรู้เป็นสินทรัพย์ ซึ่งการตีราคาต้องใช้วิธีราคายุติธรรมในขณะนั้น โดยใช้มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์เป็นเกณฑ์ในการเฉลี่ยต้นทุนให้กับสินทรัพย์แต่ละชนิด


หนี้สินที่เราสามารถประมาณค่าหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นได้แต่ยังไม่ทราบว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่และเมื่อไหร่ เราควรทำอย่างไร ควรจะบันทึกบัญชีหรือไม่ หรือควรจะเปิดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบอย่างไร ?...

ตอบ : เหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า หมายถึง สภาพ หรือสถานการณ์ หรือเหตุการณ์บางอย่างอันอาจจะมีผลทำให้เกิดกำไรหรือขาดทุนแก่กิจการซึ่งผลสุดท้ายที่จะเกิดขึ้นอยู่กับเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในอนาคตว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ กิจการควรบันทึกบัญชี ถ้าเข้าหลักเกณฑ์ดังนี้ 
           (1) มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนว่าผลเสียหายจะเกิดขึ้นในอนาคตและจะมีผลทำให้ สินทรัพย์ ณ วันที่ในงบดุลมีค่าลดลง หรือหนี้สินมีจำนวนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงส่วนที่อาจเรียกชดใช้คืนได้ด้วย และ 
           (2) สามารถประมาณจำนวนเงินได้อย่างสมเหตุสมผล 
           (3) ในกรณีที่ไม่เข้าเงื่อนไข ตาม (2) ก็ให้ปิดเผยผลขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าไว้ในหมายเหตุประกบงบการเงิน เว้นแต่โอกาสที่จะเกิดผลขาดทุนนั้นมีน้อยมาก 
           (4) กิจการไม่ควรบันทึกบัญชีสำหรับผลกำไรที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า แต่ถ้ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนว่า ผลกำไรนั้นอาจจะเกิดขึ้นก็ให้เปิดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน การเปิดเผยข้อมูล กรณีที่จำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า ตาม (3) ถึง (4) ควรเปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ 
           - ลักษณะของเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า 
           - ปัจจัยของความไม่แน่นอนต่างๆ ซึ่งอาจกระทบผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 
           - ประมาณจำนวนผลกระทบทางการเงิน หรือถ้าประมาณไม่ได้ก็ให้ระบุว่าไม่สามารถประมาณจำนวนผลกระทบทางการเงินได้ ทั้งนี้ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 เรื่องเหตุการณที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า และเหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน

 

ที่มา  http://www.dbd.go.th/mainsite/index.php?id=687