Web Design by Softbiz+
|
เว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014 |
การวางแผนภาษี สำหรับธุรกิจอพาร์ตเมนต์ |
คงมีหลายครั้งใช่ไหม่ที่ผู้ประกอบการอย่างคุณกำลังชื่นอกชื่นใจกับรายได้เป็นกอบเป็นกำ แต่ไม่กี่วันก็ต้องมานั่งหงุดหงิดหัวใจกับภาษีก้อนโตที่ต้องจ่าย ซึ่งจริง ๆ แล้วนั้นอาจมีวิธีที่จะช่วยให้คุณหงุดหงิดน้อยลง อย่างที่ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) จัดสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ที่ทำธุรกิจให้เช่าอพาร์ตเมนต์ โดยได้รับเกียรติจากวิทยาการ 2 ท่าน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญกฏหมายภาษีสรรพากรและเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีที่มีประสบการณ์มานานนับสิบปี
ว่าแล้วเราขอใช้ความสามารถพิเศษสรุปความที่ได้ฟังมาทั้งวันจาก อาจารย์อดิศักดิ์ สืบประดิษฐ์ และ อาจารย์รุ่งทิพย์ ธัญวงษ์ ให้ผู้ที่ทำธุรกิจดังกล่าวเสียภาษีอย่างถูกต้อง และประหยัดไปพร้อม ๆ กัน
ทั้ง 4 ราการนี้ ภาษีโรงเรือน นับเป็นภาษีที่เรียกเก็บในอัตราที่สูง (12.5% ของค่าเช่าห้อง) วิทยากรทั้ง 2 ท่านจึงแนะนำให้แยกสัญญาออกเป็น 2 ส่วน คือ สัญญาเช่าห้อง และสัญญาให้บริการเฟอร์นิเจอร์ซึ่งถึงแม้ว่าการแยกสัญญาให้บริการออกจากค่าเช่าทำให้รายได้ส่วนค่าบริการต้องเสียภาณีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 แต่เมื่อคำนวนแล้วจะทำให้ประหยัดภาษีโรงเรือนได้ถึงร้อยละ 5.5 ของอัตราภาษีเลยทีเดียว
ตัวอย่าง
กรณีที่ 1 ทำสัญญาเช่าห้องอย่างเดียว ค่าเช่า ห้องละ 6,000 บาทต่อเดือน มีทั้งหมดจำนวน 30 ห้อง
ฉะนั้นหากนำคิดคำนวณภาษีโรงเรือนและที่ดินทั้งปี จะได้ = 6,000 X 30 ห้อง X 12 เดือน X 12.5 % = 270,000 บาท
กรณีที่ 2 แยกสัญญาเช่า และสัญญาให้บริการ
โดยค่าเช่าห้องละ 3,000 บาทแส่วนค่าให้ค่าบริการห้องละ 3,000 บาท มีทั้งหมดจำนวน 30 ห้อง
ฉะนั้นหากนำคิดคำนวณภาษีโรงเรือนและที่ดินต่อปี = 3,000 X 30 ห้อง X 12 เดือน X 12.5 % = 135,000 บาท
ส่วนสัญญาให้บริการหากนำมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าบริการ =3,000 X30 ห้อง X 12 เดือน X 7 % = 75,600 บาท
รวมภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ต้องชำระเป็นเงิน 135,000+75,600 = 210,600 บาท
จะเห็นได้ว่า กรณีที่ 2 ประหยัดภาษีได้มากกว่าถึง 59,400 บาท
ในส่วนของการเลือกจดทะเบียนนั้น หากยังตัดสินใจไม่ถูกว่าจะจดในรูปบุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัดดี ลองอ่านคำแนะนำเล็กๆ น้อยๆ ต่อไปนี้ แล้วนำมาประกอบการตัดสินใจดู
ถ้ากิจการของคุณมีเงินได้สุทธิคงเหลือสูงกว่า 850,000 บาท ควรจดในรูปบริษัทเพราะจะเสียภาษีน้อยกว่าแบบอื่น ๆ แต่ถ้าจำนวนเงินได้สุทธิคงเหลือน้อยกว่านี้ก็จดในรูปบุคคลธรรมดาเสียเถอะ ยิ่งเจ้าของกิจการเองมีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปด้วยแล้ว จะได้รับสิทธิ์ยกเว้น 190,000 บาทอีกต่างหาก
กรณีจดทะเบียนเป็นคณะบุคคลนั้น ตามกฎหมายก็คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียนนั่นเอง ซึ่งข้อดีก็คือ จัดตั้งได้ง่าย เพียงมีบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปก็ตั้งได้แล้ว แถมไม่ต้องเสียเวลา และค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนให้ยุ่งยาก เพียงใช้สัญญาฉบับเดียวก็เป็นอันเรียบร้อย ซึ่งเมื่อคณะบุคคลเสียภาษีแล้ว บุคคลธรรมดาก็ไม่ต้องนำเงินที่ได้รับจากคณะบุคคลไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีก ทำให้บุคคลธรรมดาที่มีรายได้สูงมักใช้วิธีนี้ในการลดอัตราภาษี แต่ส่วนมากมักเป็นการเอาชื่อญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงมาใช้โดยไม่ได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญที่ร่วมกันทำกิจการกันจริง ถือเป็นนิติกรรมอำพรางชนิดหนึ่ง จึงมักถูกเพ่งเล็ง และตรวจสอบจากกรมสรรพากร สำหรับบริษัทจำกัดนั้น การจัดตั้งกิจการจะต้องมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 7 คน โดยแบ่งเงินลงทุนออกเป็นหุ้น มูลค่าเท่า ๆ กัน ซึ่งผู้ถือหุ้นจำกัดความรับผิดไม่เกินจำนวนค่าหุ้นที่ยังส่งไม่ครบ การดำเนินธุรกิจในรูปแบบนี้ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือมากกว่า
เก็บตกคำถามจากผู้ประกอบการ
@ กรณีที่เป็นบริษัทแล้วอยากกลับมาเป็น SME ให้จดทะเบียนลงทุนโดยก่อนหน้านั้นต้องจ่ายเงินปันผลก่อน เพื่อให้ได้ผลประโยชน์เต็มที่
@ แม้กรมสรรพากรจะเปิดมากว่า 90 ปี แต่ก็มีข้อกำหนดบางประการที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น กรณีที่บริษัทได้ของมาฟรี อย่างกรณีส่งสลากชิงโชคแล้วได้เครื่องใช้ในสำนักงานมา สามารถนำมาหักค่าเสื่อมได้แล้ว
@ กรณีสร้างอพาร์ตเมนต์ 10 ชั้น โดยชั้นที่ 1-2 พร้อมอยู่อาศัยแต่ชั้นที่ 3-10 ยังอยู่ระหว่างการแต่งเติมให้เสร็จสมบูรณ์ สามารถบันทึกสินทรัพย์ และหักค่าเสื่อมราคาของ 2 ชั้นดังกล่าวได้ก่อน โดยให้วิศวกรประเมินรายจ่ายออกมา ซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการในกรณีที่หักค่าเสื่อมได้เร็วขึ้น
@ หากผู้ประกอบการกู้เงินธนาคารมาสร้างอพาร์ตเมนต์ ดอกเบี้ยที่เกิดก่อนอาคารสร้างเสร็จถือเป็นต้นทุน ส่วนดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นหลังจากก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ แล้ว ถือเป็นรายจ่ายดำเนินงาน สามารถนำไปยกเว้นเงินได้
@ ค่านายหน้าจากการหาผู้เช่า ถือเป็นรายจ่ายดำเนินงาน
@ รายจ่ายที่จ่ายไปเพื่อทำให้ดีขั้น อย่างการทาสีใหม่ อาคารทั้งหลังถือเป็นรายจ่ายฝ่ายทุน @ รายจ่ายที่จ่ายไปเพื่อทำให้คงสภาพเดิม อย่างการทาสีใหม่แต่ละห้องค่าซ่อมแซมรายอาคารที่แตกร้าว ถือเป็นรายจ่ายดำเนินงาน
ขอขอบคุณ ข้อมูลบางส่วนจาก วารสารหยดน้ำ เล่มเดือน กันยายน-ตุลาคม 2552 ที่มา นิตยการ SME Thailand August 2010 |