Home » อพาร์ทเมนท์ สำนักงาน พื้นที่เช่า » ประหยัดภาษี ในธุรกิจแมนชั่นและอพาร์ทเมนต์ได้อย่างไร

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
ประหยัดภาษี ในธุรกิจแมนชั่นและอพาร์ทเมนต์ได้อย่างไร
           ในยุดที่ประชากรของประเทศเพิ่มขึ้น แต่พื้นที่ของประเทศเท่าเดิม   ทำให้ความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น    จึงเป็นเหตุให้   ที่ดิน   บ้าน   คอนโด มีราคาแพงขึ้น   เป็นเหตุให้คนทำงาน หรือที่เรียกว่ามนุษย์เงินเดือนทั้งหลายต้องพึ่งพาการเช่าที่อยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่   เพราะสะดวกจะเข้าออกเมื่อไรก็ได้     จึงเกิดธุรกิจแมนชั่น และอพาร์ทเมนต์   ขึ้นมากมายในปัจจุบัน
        
          แต่คนที่ทำธุรกิจแมนชั่นและอพาร์ทเมนต์ก็ไม่ได้หมายความว่าจะประสบผลสำเร็จทุกคนเสมอไป อยู่ที่ว่าใครจะสามารถบริหารกิจการให้มีรายได้มากกว่ารายจ่าย และปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับรายได้ก็คือ
 ภาษี ซึ่งเป็นตัวสำคัญตัวหนึ่งที่จะทำให้ธุรกิจแมนชั่นและอพาร์ทเมนต์ มีรายได้มากกว่ารายจ่ายหรือไม่   จึงมีคำถามเสมอว่าธุรกิจแมนชั่น และอพาร์ทเมนต์นั้น มีการวางแผนภาษีอย่างไร จึงทำให้ประหยัดภาษี และเสียภาษีได้ถูกต้องตามกฎหมาย

            ธุรกิจแมนชั่นและอพาร์ทเมนต์มีภาษีที่เกี่ยวข้อง  อยู่ 3 ตัวภาษี  คือ  1.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน  2.ภาษีมูลค่าเพิ่ม  3.ภาษีเงินได้นิติบุคคล
 
         1. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน หมายถึงภาษี ที่เรียกเก็บจากรายได้ค่าเช่าห้องในอัตราร้อยละ12.5 ของค่าเช่าห้อง   ซึ่งเป็นอัตราภาษีที่สูง
            ฉะนั้นเพื่อเป็นการประหยัดภาษีโรงเรือนและที่ดิน   จึงมีการวางแผนภาษีโดยการแยกสัญญาออกเป็น 2 สัญญา   คือ  สัญญาเช่าห้อง  สัญญาให้บริการเฟอร์นิเจอร์
          ถึงแม้ว่าการแยกสัญญาให้บริการออกจากค่าเช่า ทำให้รายได้ส่วนค่าบริการต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 7   ก็ตาม แต่เมื่อคำนวณแล้วจะทำให้ประหยัดภาษีโรงเรือนและที่ดินได้ถึงร้อยละ  5.5   ของอัตราภาษี
 
             ตัวอย่าง
             กรณีที่ 1
  ทำสัญญาเช่าห้องอย่างเดียว  
                             ค่าเช่า ห้องละ   6,000   บาทต่อเดือน   มีทั้งหมดจำนวน  30     ห้อง
                             ฉะนั้นหากนำคิดคำนวณภาษีโรงเรือนและที่ดินทั้งปี จะได้  = 6,000 X 30 ห้อง X 12 เดือน X 12.5 %   = 270,000    บาท
 
              กรณีที่ 2 แยกสัญญาเช่า และสัญญาให้บริการ
                             โดยค่าเช่าห้องละ   3,000 บาทแส่วนค่าให้ค่าบริการห้องละ    3,000   บาท   มีทั้งหมดจำนวน 30 ห้อง 
                             ฉะนั้นหากนำคิดคำนวณภาษีโรงเรือนและที่ดินต่อปี = 3,000 X  30 ห้องX 12 เดือนX 12.5 %   = 135,000 บาท
                             ส่วนสัญญาให้บริการหากนำมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าบริการ =3,000 X30 ห้อง X 12 เดือน  X 7 % = 75,600 บาท
                             รวมภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ต้องชำระเป็นเงิน 135,000+75,600      = 210,600 บาท
 
              จะเห็นได้ว่าถ้าเลือกวิธีที่ 2   ทำให้ท่านสามารถประหยัดภาษีได้จำนวน 59,400 บาท    
   
         2.ภาษีมูลค่าเพิ่ม    หมายถึง ภาษีที่เรียกเก็บจาก      การให้บริการ ค่าเช่าเฟอร์นิเจอร์ ค่าบริการ ค่าน้ำ ค่าไฟ หากรวมรายได้เกินปีละ 1.8 ล้านบาท จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีข้อดีก็คือ   สามารถนำภาษีซื้อจากค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า และ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการมาหักออกจากภาษีขายที่เรียกเก็บจากผู้เช่าได้
       
        3.ภาษีเงินได้นิติบุคคล   หมายถึง กรณีที่ทำกิจการในนามของนิติบุคคล ซึ่งในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของ บริษัทฯ  ต้องปรับปรุงรายการกำไร (ขาดทุน)   สุทธิทางบัญชีเพื่อให้เป็นกำไร(ขาดทุน) ทางภาษี ก่อน แล้วจึงคูณด้วยอัตราภาษีที่ต้องชำระ ซึ่งปกติ แล้วอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30%   ของกำไรสุทธิ

          แต่ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมารัฐบาลได้มีนโยบายเพื่อบรรเทาภาระภาษีให้กับธุรกิจขนาดเล็ก(กิจการขนาดเล็ก คือ ทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท ที่เกิดขึ้นในรอบระยะ เวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2547 เป็นต้นไป)โดยให้เสียภาษีจากกำไรสุทธิ เป็นอัตราแบบขั้นบันได คือ
                  กำไรสุทธิส่วนที่ไม่เกิน 1 ล้านบาท ชำระภาษีในอัตราร้อยละ 15
                  กำไรสุทธิส่วนที่เกิน 1 ล้าน แต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท  ชำระภาษีในอัตราร้อยละ 25
                  กำไรสุทธิส่วนทีเกิน 3 ล้านบาทขึ้นไปเสียภาษีในอัตราปกติ คือ ร้อยละ 30
 
          จากตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้นหากเรารู้จักการวางแผนภาษีแล้ว ก็จะทำให้เราประหยัดภาษีไปได้มาก   นั้นก็หมายความว่าทำให้ธุรกิจเรามีกำไรมากขึ้น รู้แล้วก็นำไปใช้ในธุรกิจของท่านแล้วกันนะครับ
 
 
ฉบับเดือนกันยายน - ตุลาคม 2552