Web Design by Softbiz+
|
เว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014 |
ภาษีให้เช่าอาคาร |
ธุรกิจอุตสาหกรรมบางแห่งสร้างอาคารสำนักงานเป็นของ ตนเอง แต่ถ้าไม่มีอาคารสำนักงานเป็นของตนเอง มักใช้วิธี เช่าอาคารสำนักงานจากผู้ให้เช่า โดยทั่วไปธุรกิจให้เช่าบ้าน อาคาร หอพัก อพาร์ตเมนต์ แฟลต แมนชั่น คอร์ต หรืออาคารอื่นๆ มักตั้งอยู่ในเขตเมืองใหญ่หรือใกล้สถานศึกษา ที่ดิน ในเขตเมืองมักจะมีราคาแพง เจ้าของที่ดินจะไม่ขายที่ดิน แต่จะสร้างอาคาร หอพัก ฯลฯ โดยจะลงทุนด้วยตนเอง หรือให้เช่าที่ดินเปล่าและผู้เช่าที่ดินเป็นผู้ปลูกสร้างอาคารเพื่อเก็บกิน ค่าเช่า เมื่อสิ้นสุดเวลาสัญญาเช่า สัญญามักจะระบุให้กรรมสิทธิ์ในอาคาร สิ่งปลูกสร้างตกเป็นของเจ้าของที่ดิน วิธีนี้จึงเป็นที่นิยมพอสมควร ท่าน ที่ประกอบกิจการให้เช่าบ้าน อาคาร หอพัก อพาร์ตเมนต์ ฯลฯ ต้องรู้ว่า หน้าที่ทางภาษีมีอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะภาษีที่จัดเก็บโดยกรมสรรพากรและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาษีที่กรมสรรพากรจัดเก็บจากกิจการให้เช่าบ้าน อาคาร ฯลฯ มีดังนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล กองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง จะต้องนำค่าเช่าบ้าน อาคาร ฯลฯ และค่าบริการอื่นๆ ไปยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกให้นำรายได้ที่ได้รับตั้งแต่เดือน ม.ค.-มิ.ย. ไปยื่นแบบ เสียภาษีเงินได้ครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) ภายในเดือน ก.ย. ของปีภาษีนั้น และเมื่อสิ้นปีต้องนำรายได้ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือน ม.ค.–ธ.ค. ไปยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ประจำปี (ภ.ง.ด.90) ภายในเดือน มี.ค.ของปีถัดไป สามารถนำภาษีที่ชำระแล้วตามแบบ ภ.ง.ด.94 หรือภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ มาหักออกจากภาษีที่ต้องชำระได้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล กิจการในรูปของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลจะต้องนำรายได้ที่เกิดขึ้นจากการให้เช่าอาคาร และบริการอื่นๆ ไปยื่นแบบเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีแรก (ภ.ง.ด.51) ภายใน 2 เดือน นับแต่สิ้นครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี 6 เดือนแรก และยื่นแบบเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับ รอบระยะเวลาบัญชี ภายใน 150 วัน นับแต่สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี โดยสามารถนำภาษีที่ชำระแล้วตามแบบ ภ.ง.ด.51 หรือภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ มาหักออกจากภาษีที่ต้องชำระตามแบบ ภ.ง.ด.50 ได้ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่เป็นผู้เช่าบ้าน อาคาร ฯลฯ เมื่อจ่ายเงินค่าเช่าต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 5 ของเงินได้ที่จ่าย ไม่ว่าผู้รับเงินได้จะเป็นบุคคลธรรมดา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แต่ถ้าเป็นค่าบริการ ส่วนกลางอื่นๆ จะต้องหักภาษีในอัตราร้อยละ 3 ท่านสามารถศึกษาได้จากคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 อากรแสตมป์ ผู้ให้เช่าบ้าน อาคาร ฯลฯ จะต้องชำระอากรแสตมป์ 1 บาทต่อวงเงินค่าเช่า 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท ทั้งนี้มูลค่าค่าเช่าตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม การให้เช่าบ้าน อาคาร หอพัก อพาร์ตเมนต์ ฯลฯ กฎหมายได้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ ถ้าผู้ประกอบการได้ให้บริการอื่นนอกเหนือจากให้เช่าอาคาร ห้องพัก ฯลฯ หากมีรายรับค่าบริการอื่นๆ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องนำรายรับนั้นมาเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
กิจการ ให้เช่าบ้าน อาคาร ฯลฯ มักจะมีการเรียกเก็บเงินประกันหรือเงินมัดจำ ซึ่งถือเป็นเงินได้ของผู้ให้เช่าและผู้จ่ายเงินได้ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่กรมสรรพากรได้มีคำสั่งที่ ป.73/2541 กำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและไม่ถือเป็นรายได้ ครับ ผู้ประกอบกิจการให้เช่าบ้าน อาคาร ฯลฯ ควรศึกษาก่อนทำธุรกิจ หากใช้วิธีลัดก็ไปติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่ จะได้ปฏิบัติได้ถูกต้อง ไม่ต้องมาปวดหัวทีหลัง
ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2551 |