นอกจากมีการแบ่งส่วนของสำนักเป็น 4 ส่วนดังกล่าวข้างต้นแล้วผู้ริเริ่ม Mobile officeไ ด้กำหนดให้พนักงานทุกคน และทุกระดับ จะต้องมีการสร้างโฮมเพจ (Homepages) ของตนเอง โดยมีเมนูหลัก 4 เมนูด้วยกันคือ
-
เมนู My Home เนื้อหาจะเป็นการแนะนำตนเอง พร้อมทั้งเบอร์โทรศัพท์ e-mail และที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ การนำเสนอข้อมูลนั้นอาจจะมีทั้งภาพ และเสียง ประกอบเนื้อหาที่เป็นข้อความ(Text) ก็ได้
-
เมนู My Study จะเป็นการสรุปรายงานผลความสำเร็จของการปฏิบัติงานหรือเทคนิคการแก้ปัญหาต่างๆที่ประสบจากการทำงานของเจ้าของโฮมเพจ เช่น เทคนิคการเจรจาต่อรองกับลูกค้า แนวคิดการดำเนินโครงการใหม่ๆ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลสารสนเทศเหล่านี้ จะนำเสนอไว้เพื่อให้เพื่อนร่วมงานหรือพนักงานในองค์การได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ และหากจะนำแนวคิดต่าง ๆ จะไปใช้งาน ก็ขอให้มีการขออนุญาต จากเจ้าของแนวคิดนั้น ๆ ด้วย
-
เมนู Second House เนื้อหาจะเป็นการเล่าประสบการณ์การทำงานในโครงการต่าง ๆ ที่ผ่านมา และนำเสนอความเชี่ยวชาญ ความสามารถของตนเองด้วย
-
เมนู Resort House จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับงานอดิเรก ความสนใจส่วนบุคคล และครอบครัวของตนเอง เพื่อให้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับเพื่อนใหม่ที่ต้องการจะมาทำความรู้จักและมาพบปะพูดคุยในอนาคต
จุดประสงค์ของการกำหนดให้พนักงานทุกคนมีโฮมเพจของตนเอง นั้น เพื่อต้องการฝึกให้พนักงานมีความรู้ความสามารถในการใช้ ICT และสามารถบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศ ในโฮมเพจได้ด้วยตนเอง สำหรับจุดประสงค์ที่สำคัญที่สุดของการมีโฮมเพจของพนักงานนั้น เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน และเป็นสื่อให้พนักงานในองค์กร ได้ทำความรู้จัก เพื่อนร่วมงานใหม่ๆด้วย สำหรับการควบคุมการเข้ามาใช้งานเว็บไซต์นี้ทางบริษัทจะอนุญาตให้เฉพาะพนักงานขององค์กรเท่านั้น จึงได้กำหนดรหัสผ่านให้พนักงานทุกคน สำหรับการเข้ามา สืบหาข้อมูลในเว็ปไซต์ดังกล่าว
สรุปจุดเด่นของ Mobile Office
1. จะสามารถเพิ่มเนื้อที่ใช้สอยของสำนักงานได้มากขึ้นกว่าเดิม และเกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้งาน เนื่องจาก
-
เปลี่ยนโต๊ะทำงานจากเดิมที่เป็นโต๊ะส่วนบุคคล ไปเป็นโต๊ะทำงานใหญ่ขนาด 4 ที่นั่ง และนั่งทำงานร่วมกัน
-
ลดการใช้ผนัง Partition กั้นเป็นห้องทำงานของแต่ละบุคคล จึงทำให้สำนักงานโล่ง ขึ้นกว่าเดิมมาก
-
ลดการใช้ตู้เอกสาร เนื่องจากเอกสารส่วนใหญ่จะถูกจัดเก็บเป็น Digital file ในเครื่องแม่ข่าย (Server)
-
เนื้อที่ห้องทำงานมีความยึดหยุ่น (Flexible) เนื่องจากสะดวก และคล่องตัวในการปรับเปลี่ยนรูปแบบสำนักงาน ให้สามารถใช้งาน ได้ตามวัตถุประสงค์ได้ทันที เช่น สามารถจัดเป็นห้องประชุม โดยเพียงแต่นำต้นไม้กระถางมากั้นเป็นแนวห้อง และนำจอ พลาสม่า มาติดตั้ง ก็สามารถเป็นห้องประชุมได้แล้ว และเมื่อเลิกใช้งาน ก็สามารถ ปรับเปลี่ยนเป็น Base Zone ได้ทันที
-
สายโทรศัพท์ เพราะการสื่อสารส่วนใหญ่ จะเป็นแบบไร้สาย (Wireless)
2. พนักงานไม่มีโต๊ะทำงานประจำตัว จึงสามารถย้ายที่นั่ง เพื่อทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ ตามภาระงาน ที่ต้องทำงานร่วมกัน
3. เป็นสำนักงานที่ลดการใช้กระดาษลงให้น้อยที่สุด จนสุดท้ายจะกลายเป็นสำนักงานไร้กระดาษ (Paperless office) นอกจากนั้นจะช่วยลดการใช้เครื่องถ่ายเอกสารด้วย
4. การใช้การจัดการความรู้ (KM) มาเป็นการจัดสำนักงานนี้ จะช่วยส่งเสริมให้เกิด
-
การแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Exchange)
-
ทักษะและประสบการณ์ความรู้เฉพาะตัว (Individual Knowledge)
-
การใช้ความรู้ร่วมกัน (Knowledge Sharing)
-
การสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ (Knowledge Creation)
5. การประชุมอย่างเป็นทางการจะลดลง เนื่องจากพนักงานจะมีการประชุมหารือตลอดเวลา ในขณะที่นั่งทำงานที่โต๊ะทำงานเดียวกัน
6. ห้องทำงานจะเปิดโล่ง ไม่แออัด และสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมของอากาศ กลิ่นไม่พึงประสงค์ และความชื้นในห้องทำงานได้ง่ายขึ้น
7. ลดช่องว่าง (gap) ระหว่างพนักงานในองค์กร เพราะแต่ละคนจะมีความคล่องตัวในการเข้ามาพบปะพูดคุย และปรึกษาหารือ ทั้งเรื่องงาน และเรื่องส่วนตัว นอกจากนั้นจะมีโฮมเพจส่วนบุคคลเป็นสื่อกลางให้เกิดสายสัมพันธ์ซึ่งกันและกันด้วย
จากที่ได้นำเสนอเรื่องราวทั้งหมดของ Mobile Office ข้างต้นนี้แล้วจะเห็นว่าหากสำนักงานทั่ว ๆ ไปในขณะนี้ จะปรับเปลี่ยนรูปแบบ สำนักงานให้เป็น Mobile Office นั้นน่าจะอยู่ในวิสัยที่สามารถ ปรับเปลี่ยนได้โดยไม่ยากมากนัก เนื่องจากส่วนใหญ่มีความพร้อมกันอยู่แล้ว ครุภัณฑ์ที่จะหามาเพิ่มเติม ก็จะเป็นเครื่อง Notebook ประจำตัวของพนักงานซึ่งในขณะนี้ส่วนใหญ่พนักงานจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ PC ใช้งานในสำนักงาน และความสำเร็จอีกประการหนึ่ง ของการจัด Mobile Office นี้ คุณ Ushioda ได้ให้ความเห็นว่าจะต้องมีการวางแผนร่วมกัน ระหว่างพนักงานและผู้บริหารในองค์กร เพื่อให้เกิด การยอมรับ การเปลี่ยนแปลง ร่วมกัน และท่านได้ใช้เวลาเกือบ 1 ปีในการวางแผนและเตรียมการ(ปี พ.ศ. 2546) และเมื่อปรับปรุงสำนักงานเป็น Mobile Office แล้ว จากการสอบถามพนักงาน ได้พบว่า พนักงานต้องใช้เวลา 2-3 เดือน จึงเกิดความเคยชิน และยอมรับ สำนักงานรูปแบบใหม่ คุณ Ushioda ได้เริ่มรูปแบบของ Mobile Office เฉพาะในสำนักงาน CMH ของบริษัท NTT DoCoMo และในสภาพ ปัจจุบันสำนักงานส่วนใหญ่ของญี่ปุ่น ยังจัดอยู่ในรูปแบบเดิมๆ ตาม ที่ได้พบเห็นกันทั่วไป คุณ Ushioda จะขยายแนวความคิด การจัดการ Mobile Office ไปยังสำนักงานอื่นๆอีก ผู้เขียนมีข้อสังเกตว่า สำนักงานโดยทั่วไปมีลักษณะงานที่แตกต่างกันตามวิชาชีพ ดังนั้น Mobile Office จะสามารถจัดได้เหมาะหรือไม่เหมาะในสำนักงานที่ประกอบวิชาชีพใดนั้น น่าจะเป็นประเด็นที่ควรมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อเป็นแนวคิดในการนำ Mobile Office ไปประยุกต์ใช้งาน
การประยุกต์แนวคิดการจัด Mobile Office มาใช้ในประเทศไทย นั้น น่าจะสามารถปรับเปลี่ยนได้รวดเร็ว และมีความเป็นไปได้สูง ในสำนักงานของ บริษัทเอกชนเพราะมีความคล่องตัวในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง และมีความพร้อมในการจัดโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) รองรับรูปแบบสำนักงาน ดังกล่าว และในขณะนี้มีบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ของไทยหลายแห่งได้คุ้นเคยกับการประยุกต์แนวความคิด KM มาพัฒนาองค์กร กันอยู่แล้ว และหากจัดสำนักงานเป็นแบบ Mobile Office ก็จะช่วยสนับสนุน ให้การนำ KM มาพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน ได้บรรลุเป้าหมายสูงสุด และรวดเร็วยิ่งขึ้น สำหรับหน่วยงานในภาคราชการนั้นหากพิจารณาแนวคิดของ การจัด Mobile Office โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว ก็อยู่ในวิสัยที่สามารถนำมาใช้ ได้ ซึ่งจะมีข้อคิดและข้อสังเกต ดังนี้
-
จะช่วยแก้ปัญหา ข้อจำกัดของพื้นที่สำนักงานราชการ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีพื้นที่จำกัด ต้องนั่งทำงานกันอย่างแออัด หากลดการกั้นห้อง เพื่อแบ่งเป็นห้องทำงานเล็กๆมากมาย ตามแนวคิดของ Mobile Office แล้ว จะทำให้สำนักงาน ดูโล่ง ไม่แออัด และสวยงามเป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น
-
ช่วยส่งเสริมการทำงานเป็นทีม และเสริมสร้างการนำ KM มาใช้ในองค์กร
-
ความเป็นผู้บังคับบัญชา และผู้ปฏิบัติงาน ยังมีการแบ่งระดับ และชนชั้นค่อนข้างชัดเจน และการยึดถือ ความเป็นเจ้าของพื้นที่ซึ่งนั่งทำงาน ประจำของบุคลากรแต่ละคนมีค่อนข้างสูง สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นปัญหาที่ยากในการรื้อผนังกั้นห้อง และให้ทุกคนมานั่งทำงานโต๊ะเดียวกัน ตามแนวคิดของ Mobile Office
-
การควบคุมการพูดคุยของบุคลากรที่มานั่งใก้ลชิดกัน และทำงานโต๊ะทำงานเดียวกันนั้น คงจะเป็นปัญหาใหญ่ที่ผู้บริหารจะต้องควบคุม ให้พูดคุยปรึกษาหารือกันในเรื่องงานมากกว่าเรื่องส่วนตัว หรือเรื่องอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับงาน เพราะหากปล่อยให้คุยกันแต่เรื่องอื่นๆ แล้ว จะทำให้เสียงานได้ทางรัฐบาลได้พยายามกระตุ้นให้หน่วยงานราชการเร่งรัดในการดำเนินการ ปฏิรูประบบราชการ ให้มีประสิทธิภาพ ดังนั้น การประยุกต์ Mobile Office ให้เหมาะสมกับสังคมไทย และการนำ KM มาประยุกต์ใช้ในรูปแบบต่างๆที่นอกเหนือจากการจัดสำนักงาน สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นสิ่งท้าทาย สำหรับการปฏิรูป ระบบราชการของไทย และจะเป็นแนวทางเสริมสร้าง และพัฒนาสังคมไทยให้เป็น สังคมแห่งการเรียนรู้ ต่อไป
แหล่งข้อมูลประกอบการศีกษา
พรธิดา วิเชียรปัญญา.2547. การจัดการความรู้ : พื้นฐานและการประยุกต์ใช้ กรุงเทพมหานคร :
เอ็กซเปอร์เน็ต
Umemoto, Katsuhiro. “Managing Existing Knowledge is not Enough : Knowledge
Management Theory and Practice in Japan” Available From :
http://www.jaist.ac.jp/ks/labs/umemoto/km_e.html
Nonaka, Lkujiro and Takeuchi, Hirotaka. 1995 The Knowledge Creating Company : How
Japanese Companies Create the Dymanics of Innovation. New York : Oxford University Press.
Ushioda, Kunio. 2004 Aiming for the Mobile Frontier. Paper Presented at NTT DoCoMo
Company (headquarter) , Japan, 19 November.
|