Web Design by Softbiz+
|
เว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014 |
การจัดประเภท ของ หนังสือคอมพิวเตอร์ |
หนังสือคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทโดย ธงชัย โรจน์กังสดาล ที่มา http://www.dailynews.co.th/technology/151091
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ลูกศิษย์ของผมคนหนึ่งโทรศัพท์ถามผมว่า เธอมีหนังสือคอมพิวเตอร์หลายเล่มที่ไม่ต้องการ จะนำไปบริจาคได้ที่ไหนบ้าง ผมจึงถามว่ามีหนังสือคอมพิวเตอร์แนวไหนบ้าง เพื่อจะได้แนะนำสถานที่รับบริจาคได้อย่างเหมาะสม เช่น ถ้าเป็นตำราเรียน ก็บริจาคได้ที่ห้องสมุดสถาบันการศึกษา เพื่อเป็นประโยชน์ต่อรุ่นน้อง ผมจึงเกิดความคิดที่จะเขียนบทความเรื่องนี้ เพราะปัจจุบันมีหนังสือคอมพิวเตอร์จำนวนมากวางแผงในท้องตลาด เราจะทราบได้อย่างไรว่าหนังสือแนวไหนเหมาะสมกับเรา ผมจึงขอจัดหมวดหมู่หนังสือคอมพิวเตอร์จากประสบการณ์ส่วนตัวดังนี้ครับ
2. หนังสือสอนการเขียนโปรแกรม ภาษาคอมพิวเตอร์มีมากมายแทบนับไม่ถ้วน ดังนั้นหนังสือที่สอนการเขียนโปรแกรมตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงขั้นสูงจึงเป็นหนังสือคอมพิวเตอร์ที่ขายได้เสมอ ในขณะที่ผมเพิ่งเรียนการเขียนโปรแกรมครั้งแรกเมื่อยี่สิบปีที่แล้ว ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมมากคือปาสคาล ถัดจากนั้นก็เป็นภาษาซี ซีพลัสพลัส จนกระทั่งยุคปัจจุบันคือภาษาจาวา แต่นอกจากภาษาจาวาแล้ว ยังมีภาษาอื่น ๆ อีก เช่น ไพทอน เพิร์ล รวมถึงภาษาที่พัฒนาเว็บเช่น เอชทีเอ็มแอล พีเอชพี จาวาสคริปต์ ภาษาที่เขียนแอพบนไอโฟนหรือไอแพดเช่น อ็อบเจ็กทีฟ-ซี เป็นต้น
3. หนังสือฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ หนังสือแนวนี้คลุมถึงหนังสือสอนการใช้งานอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์ทั้งหลายด้วย เราจะพบหนังสือแนวนี้มากที่สุดครับ ตัวอย่างเช่น หนังสือไมโครซอฟต์ออฟฟิศ หนังสือโฟโต้ช็อป หนังสือไอแพด หนังสือเกม เป็นต้น หนังสือเหล่านี้จะมีข้อเสียเปรียบกว่าหนังสือคอมพิวเตอร์แนวอื่น คือ ค่อนข้างอายุสั้น ตำราเรียนบางเล่มสามารถใช้ได้ถึงสิบปี ในขณะที่คู่มือซอฟต์แวร์บางเล่มใช้ได้เพียงสองหรือสามปีก็ล้าสมัยแล้ว เพราะซอฟต์แวร์ปรับเปลี่ยนหน้าจอหรือการใช้งานจนกระทั่งแตกต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง ทำให้หนังสือที่เขียนสำหรับรุ่นก่อนล้าสมัยไปเลย นักเขียนคู่แข่งที่เขียนหนังสือเหมือนกันก็มีจำนวนมาก แต่ข้อได้เปรียบของหนังสือแนวนี้คือ มีตลาดกว้างมาก ในขณะที่ตำราเรียนหรือคู่มือการเขียนโปรแกรมจะมีกลุ่มลูกค้าที่เล็กกว่า ผู้อ่านก็เลือกหนังสือที่ตนเองชอบได้ เพราะมีหนังสือให้เลือกมากมาย ถ้าใครอยากเขียนหนังสือสอนการใช้ฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ ก็ควรกำหนดกลุ่มผู้อ่านที่เฉพาะเจาะจงและมีคนอ่านมาก เพื่อจะได้ไม่ต้องแข่งขันกับเล่มอื่นครับ
5. หนังสือแนวอื่น ๆ หนังสือเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับศาสตร์ไอทีโดยตรง แต่เป็นเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับไอทีเช่น แนวคิดทางธุรกิจ ความเป็นมา บุคคลสำคัญในวงการไอที เกร็ดต่าง ๆ เช่น ประวัติของบริษัทกูเกิลหรือแอปเปิล ผู้เขียนมักจะเขียนให้หนังสือเหล่านี้อ่านง่าย ไม่ใช้ศัพท์เทคนิคที่เข้าใจยาก และอ่านเพลิดเพลินครับ
|