Home » คอนโด นิติบุคคลอาคารชุด » ปัญหาที่จอดรถอาคารชุดที่อยู่อาศัย ต้นดี-ปลายร้าย

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
ปัญหาที่จอดรถอาคารชุดที่อยู่อาศัย ต้นดี-ปลายร้าย

           การบริหารที่จอดรถในอาคารชุด เป็นประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งที่ผู้บริหารอาคารชุดจำต้องคำนึงถึง ปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องการร้องเรียนว่าที่จอดรถในอาคารชุดไม่เพียงพอ สิทธิในการจอดรถไม่เป็นไปตามที่ได้รับข้อมูลจากเจ้าของโครงการก่อนตกลงซื้อ เจ้าของร่วมบางรายมีการจอดรถทับสิทธิคนอื่น เจ้าของร่วมบางรายนำรถของตัวเองที่มีหลายคันมาจอดในอาคารชุด ทำให้ที่จอดรถลดน้อยลง ปัญหาเหล่านี้สร้างความกดดันให้กับทั้งกรรมการอาคารชุดและฝ่ายบริหารอาคารชุดซึ่งอาจนำไปสู่การร้องเรียน ประท้วงให้เปลี่ยนบริษัทบริหารจัดการ หรือเปลี่ยนกรรมการอาคารชุดได้

           ดยปกติในเบื้องต้น เจ้าของโครงการจะจัดให้มีจำนวนที่จอดรถให้ตรงตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ เพื่อให้สามารถดำเนินการก่อสร้าง และในที่สุดได้รับใบอนุญาตเปิดใช้อาคาร ที่เรียกกันว่า อ 6 ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ประกอบการจดทะเบียนอาคารชุดได้ ซึ่งการแบ่งสันปันส่วนที่จอดรถให้กับเจ้าของร่วม โดยทั่วไปมักจัดสรรให้ตามแบบและขนาดของห้องชุด เช่น ห้องสตูดิโอ จัดให้มีที่จอดรถได้หนึ่งคัน ห้องขนาดหนึ่งและสองห้องนอนมีที่จอดรถได้สองคัน ห้องขนาดสามห้องนอนหรือเพ้นท์เฮาส์มีที่จอดรถได้สามคัน เป็นต้น แต่ในทางปฏิบัติคือการใช้ชีวิตจริงอาจไม่สามารถทำได้ตามนั้น
 
           
ตัอย่างเช่น ห้องขนาดสตูดิโอ ระบุให้มีที่จอดรถหนึ่งคัน แต่ในความเป็นจริงอาจอยู่ด้วยกันสองคน สามีภรรยามีรถสองคัน หมายความว่าจะมีรถคันหนึ่ง (ซึ่งอาจเป็นสามีหรือภรรยา) สามารถเข้ามาจอดในอาคารชุดได้ แต่รถอีกคันหนึ่งจะต้องแลกบัตรในฐานะผู้มาเยี่ยม (visitor) ทุกวัน ซึ่งสร้างความหงุดหงิดไม่น้อย ซึ่งทางแก้ไขที่ทำได้คือการทำสติ๊กเกอร์ หรือบัตรผ่านเข้าออกพิเศษให้รถคันที่สองนี้ให้เข้ามาในโครงการโดยไม่ต้องแลกบัตร แต่อนุญาตให้จอดในที่จอดของผู้มาเยี่ยม ซึ่งที่จอดรถของผู้มาเยี่ยมนี้มักจัดไว้นอกอาคารบริเวณโดยรอบ หรืออาจกั้นไว้ในอาคารจอดรถแยกให้เป็นสัดส่วน ก็จะลดปัญหาข้างต้นได้ แต่แน่นอนว่าจะทำให้ที่จอดรถที่เตรียมไว้ลดลง แต่ก็ยังดีกว่าที่จะปล่อยให้เจ้าของร่วมไม่มีที่จอดรถ
 
           
อีกปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นคือการที่เจ้าของร่วมบางรายมีรถหลายคัน จึงนำรถมาจอดในที่จอดรถของอาคารชุดบางรายมีมรรยาทก็ไปจอดในที่จอดรถผู้มาเยี่ยม แต่หลายคนก็ไม่สนใจ เลือกจอดในที่ที่ถูกใจ บางรายจอดทิ้งไว้เป็นเดือน ซึ่งถ้าเป็นที่จอดรถประเภทที่ไม่ได้มีการกำหนดเลขที่บ้านผู้เป็นเจ้าของไว้ ก็อาจไม่มีปัญหามากนักตราบเท่าที่ที่จอดรถในอาคารชุดยังเพียงพออยู่ แต่ถ้าเป็นที่จอดรถประเภทที่กำหนดเลขที่บ้านเจ้าของไว้ก็มักทำให้มีเรื่องถกเถียงทะเลาะกันได้ ซึ่งปัญหาก็มักไปลงเอยที่นิติบุคคลที่จะต้องหามาตรการในการแก้ไข อาทิเช่น ต้องมีการล็อคล้อ เสียค่าปรับหรือใช้วิธีเตรียมแม่แรงไว้เพื่อเคลื่อนย้ายรถที่จอดขวางหรือจอดทับสิทธิ ซึ่งก็จะเป็นชนวนความขัดแย้งระหว่างเจ้าของรถที่ถูกเคลื่อนย้ายกับนิติบุคคลเช่นกัน
 
           
อีกปัญหาหนึ่งทีเกิดขึ้นคือกรณีที่เพื่อน ญาติของเจ้าของร่วมซึ่งแลกบัตรในฐานะเจ้าของร่วมเข้ามาในอาคารชุดและอาจจอดรถไว้เป็นเวลานาน ข้ามวันข้ามคืน หรือที่แย่กว่านั้นคือบุคคลภายนอกนำรถเข้ามาจอดทิ้งไว้ ซึ่งบางอาคารชุดใช้วิธีเก็บค่าจอดรถในอัตราที่สูงเพื่อป้องกันไม่ให้จอดทิ้งรถไว้นานๆ และยังมีรายได้เข้านิติบุคคลด้วย แต่การเก็บค่าจอดรถดังกล่าวจำเป็นต้องมีการกำหนดไว้ในข้อบังคับตั้งแต่ต้น หรือหากไม่ได้กำหนดไว้แต่แรก ก็ต้องเพิ่มเติมในส่วนนี้เข้าไปโดยต้องทำการก้ไขในการประชุมใหญ่ และต้องได้รับคะแนนเสียงในการเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ด้วยคะแนนเสียงตามที่กำหนดไว้ใน พรบ.อาคารชุด
 
            
ารชี้แจงของเจ้าของโครงการต่อลูกค้าผู้ซื้อห้องชุดก็เป็นสิ่งสำคัญ ในหลายโครงการเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายไม่ได้แจ้งสิทธิในการจอดรถให้ลูกค้าทราบโดยเกรงว่าจะทำให้ลูกค้าไม่ซื้อห้องชุด เช่น แจ้งลูกค้าว่ามีที่จอดรถเตรียมไว้ให้ตรงนั้น ตรงนี้ จอดได้หลายคันไม่จำกัด เป็นต้น โดยที่ความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น ต่อมาเมื่อนิติบุคคลประกาศกฏระเบียบการใช้ที่จอดรถตามข้อบังคับ และไม่เป็นไปตามที่ลูกค้าได้รับทราบจากฝ่ายขายของเจ้าของโครงการ ก็จะเกิดข้อถกเถียงกับนิติบุคคลได้
 
             ะเห็นได้ว่า การบริหารที่จอดรถให้มีประสิทธิภาพต้องมาจากปัจจัยหลายประการ เช่น การออกแบบและจัดที่จอดรถให้เหมาะสมและพอเพียงโดยเจ้าของโครงการตั้งแต่ต้น โดยคำนึงถึงความเป็นจริง การชี้แจงของนิติบุคคลให้เจ้าของร่วมทราบถึงสิทธิในการจอดรถ รวมทั้งการบังคับใช้กฏข้อบังคับในส่วนที่เกี่ยวกับการจอดรถอย่างเข้มงวดโดยไม่เลือกปฏิบัติ และประการสำคัญที่สุดคือการที่เจ้าของร่วมในอาคารชุดนั้นๆ เอง ต้องมีจิตสำนึกในการรู้จักสิทธิและหน้าที่ที่มีโดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
 

 

ที่มา   http://www.buildernews.in.th/page.php?a=10&n=260&cno=1809

.