Home » คอนโด นิติบุคคลอาคารชุด » อำนาจของนิติบุคคลอาคารชุด ที่มาและหน้าที่ของกรรมการอาคารชุด

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
อำนาจของนิติบุคคลอาคารชุด ที่มาและหน้าที่ของกรรมการอาคารชุด

เดลินิวส์ วันเสาร์ ที่ 30 เมษายน 2554 > กฎหมายรอบรั้ว

ที่มาและอำนาจของนิติฯอาคารชุด

          าม พ.ร.บ.อาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กำหนดให้อาคารชุดทุกแห่งต้องจัดให้มีคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด ประกอบด้วยกรรมการไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 9 คน โดยการแต่งตั้งกรรมการผู้จัดการต้องนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมมีมติแต่งตั้ง หากไม่นำไปจดทะเบียนต้องรับโทษตามมาตรา 69 แห่ง พ.ร.บ.อาคารชุด ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท

          ารแต่งตั้งกรรมการอาคารชุดโดยมติที่ประชุมใหญ่นั้น จะต้องได้รับคะแนนเสียงข้างมากของเจ้าของร่วมที่เข้าประชุม โดยมีองค์ประชุมคือ 1 ใน 4 ของจำนวนเสียงลงคะแนนทั้งหมด ในกรณีเจ้าของร่วมมาประชุมไม่ครบองค์ประชุม ให้เรียกประชุมใหม่ภายใน 15 วันนับแต่วันเรียกประชุมครั้งก่อน และการประชุมใหญ่ครั้งหลังนี้ไม่บังคับว่าจะต้องครบองค์ประชุม   

         ดยผู้ที่มีสิทธิได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการของอาคารชุด ได้แก่

  1. เจ้าของร่วมหรือคู่สมรสของเจ้าของร่วม
  2. ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ในกรณีที่เจ้าของร่วมเป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ แล้วแต่กรณี
  3. ตัวแทนของนิติบุคคลจำนวน 1 คน ในกรณีที่นิติบุคคลเป็นเจ้าของร่วม และในกรณีที่มีผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าห้องชุดร่วมกันหลายคนให้มีสิทธิได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการได้เพียง 1 คน   

          กรรมการอาคารชุดจะสามารถดำรงตำแหน่งเกิน 2 วาระติดต่อกันไม่ได้ เว้นแต่ไม่อาจหาบุคคลอื่นมาดำรงตำแหน่งได้ ส่วนกรณีที่กรรมการอยู่ครบกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งแล้ว หากยังไม่ได้มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่   

         กรรมการต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย ดังนี้

  1. เป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
  2. เคยถูกที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมให้พ้นจากตำแหน่งกรรมการ หรือถอดถอนจากการเป็นผู้จัดการเพราะเหตุทุจริต หรือมีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
  3. เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ องค์การ หรือหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ฐานทุจริตต่อหน้าที่
  4. เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

        โดยมีหน้าที่ คือ

  1. ควบคุมการจัดการนิติบุคคลอาคารชุด
  2. แต่งตั้งกรรมการคนหนึ่งขึ้นทำหน้าที่เป็นผู้จัดการ ในกรณีที่ไม่มีผู้จัดการหรือผู้จัดการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามปกติได้เกิน 7 วัน
  3. จัดประชุมคณะกรรมการ 1 ครั้งในทุก 6 เดือนเป็นอย่างน้อย
  4. หน้าที่อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง  

        ละตามพระราชบัญญัติอาคารชุดฯ ไม่ได้กำหนดโทษสำหรับคณะกรรมการไว้แต่อย่างใด คงกำหนดบทลงโทษไว้เฉพาะประธานกรรมการใน 2 กรณีคือ

  1. ประธานไม่จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการตามคำร้องขอของกรรมการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับการร้องขอ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือ
  2. ไม่จัดประชุมคณะกรรมการทุก 6 เดือน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท.
     

ดินสอพอง

ทีมา dailynews.co.th