Home » คอนโด นิติบุคคลอาคารชุด » การแต่งตั้งผู้สอบบัญชีนิติบุคคลอาคารชุด

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
การแต่งตั้งผู้สอบบัญชีนิติบุคคลอาคารชุด


ผู้สอบบัญชีนิติบุคคลอาคารชุด

siamturakij.com > อสังหาริมทรัพย์  [ ฉบับที่ 1382 ประจำวันที่ 2 มี.ค. 2556 ถึง 5 มี.ค. 2556 ]

         ในอดีตที่ผ่านมาพระราชบัญญัติอาคารชุดฉบับ พ.ศ.2522 ไม่ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ แต่ในพระราชบัญญัติอาคารชุดฉบับ พ.ศ.2551 ได้ระบุเกี่ยวกับเรื่องผู้สอบบัญชีไว้อย่างชัดเจนในมาตรา 42/1 ซึ่งมาตราดังกล่าวได้ระบุไว้ดังนี้

        “ให้คณะกรรมการจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญปีละหนึ่งครั้งภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันสิ้นปีทางบัญชีของนิติบุคคลอาคารชุดเพื่อกิจการดังต่อไปนี้ (1) พิจารณาอนุมัติงบดุล, (2)     พิจารณารายงานประจำปี (3) แต่งตั้งผู้สอบบัญชี, (4) พิจารณาเรื่องอื่นๆ”

        จะเห็นได้ว่าใน (3) ของมาตราข้างต้นได้กำหนดให้นิติบุคคลอาคารชุดจัดให้มีการประชุมใหญ่เจ้าของร่วมสามัญประจำปี 1 ครั้ง และต้องระบุวาระเรื่องการแต่งตั้ง ผู้สอบบัญชีให้ที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมพิจารณาด้วย

        แต่ประเด็นที่จะพูดถึงซึ่งได้เกริ่นมาข้างต้นนั้น เหตุเนื่องจากมีนิติบุคคลอาคาร ชุดแห่งหนึ่ง ที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมได้พิจารณาแต่งตั้งนาย A (นามสมมติ) เป็นผู้สอบบัญชี ต่อมาบุคคลดังกล่าวได้แจ้งว่าไม่ประสงค์ที่จะเป็นผู้สอบบัญชี ด้วย เหตุผลว่าไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จทันการประชุมใหญ่สามัญประจำปีได้ คณะกรรมการจึงได้มีข้อหารือมาสอบถามว่า ควรจะดำเนินการอย่างไรต่อไป คณะกรรมการสามารถที่จะพิจารณาคัดเลือกผู้สอบบัญชีรายใหม่มาเป็นผู้ดำเนินการสอบบัญชีแทนผู้สอบบัญชีที่แจ้งยกเลิกได้หรือไม่ พร้อมแจ้งเพิ่มเติมว่าผู้สอบบัญชี รายใหม่นี้ได้รับใบอนุญาตถูกต้องตามที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนดไว้ทุกประการ

         ในเรื่องนี้ให้ความเห็นว่า การแต่งตั้งผู้สอบบัญชีคงต้องดำเนินการตามที่พระ-ราชบัญญัติอาคารชุดกำหนดไว้ครับ กล่าวคือ ในมาตรา 42/1 แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุดฉบับ พ.ศ.2551 ได้ระบุไว้แล้วว่า ให้คณะกรรมการจัดให้มีการประชุมใหญ่เจ้าของร่วมและต้องมีวาระการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีเป็นหนึ่งวาระที่จะต้องระบุไว้ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีทุกครั้ง

         ดังนั้น คณะกรรมการไม่มีอำนาจที่จะแต่งตั้งด้วยตนเอง การแต่งตั้งผู้สอบบัญชีดังกล่าวต้องแต่งตั้งโดยที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมครับ สำหรับกรณีที่ผู้สอบบัญชีที่แจ้งยกเลิกคณะกรรมการคงต้องไปดูในสัญญาว่าจ้างว่าได้กำหนดบทลงโทษหรือบทปรับไว้หรือไม่อย่างไร ในกรณีที่ทำให้นิติบุคคลอาคารชุดเกิดความเสียหาย และหากคณะกรรมการพิจารณาแต่งตั้งผู้สอบบัญชีด้วยตนเองอาจจะเป็นประเด็นให้เจ้าของร่วมตำหนิได้นะครับ

         จึงสรุปยืนยันตามเจตนาที่กราบเรียนข้างต้นแล้วว่าให้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นดีที่สุด นอกจากคณะกรรมการตรวจสอบสัญญาว่าจ้าง ท่านอาจทำหนังสือร้องเรียนไปยังสภาวิชาชีพบัญชีให้ทราบถึงพฤติกรรมของผู้สอบบัญชีรายดังกล่าวได้ด้วย

         ทั้งนี้ การตราพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ.2505 ขึ้นนั้น เนื่องจากการสอบบัญชีเป็นวิชาชีพที่มีความสำคัญแก่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และนับวันจะมีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดคุณสมบัติและพื้นความรู้ของผู้สอบบัญชีให้อยู่ในมาตรฐาน และควบคุมการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตให้เป็นไปตามมาตรฐานการสอบบัญชี และเป็นไปโดยซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม

        ในเรื่องของการแต่งตั้งผู้สอบบัญชีต้องแต่งตั้งโดยที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมเท่านั้นนะครับ

link http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413373235