Home » คอนโด นิติบุคคลอาคารชุด » การเรียกประชุมใหญ่เจ้าของร่วม นิติบุคคลอาคารชุด

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
การเรียกประชุมใหญ่เจ้าของร่วม นิติบุคคลอาคารชุด


การเข้าร่วมประชุมใหญ่เจ้าของร่วม

สยามธุรกิจ  [ฉบับที่ 1397 ประจำวันที่ 2013-04-27 ถึง 2013-04-30]  ข่าวอสังหาริมทรัพย์ 

        มีประธานคณะกรรมการฯ ของนิติบุคคลอาคารชุดแห่งหนึ่ง ขอคำแนะนำเกี่ยวกับการประชุมใหญ่เจ้าของร่วม ว่าจะดำเนินการอย่างไรดี? ที่จะทำให้เจ้าของ ร่วมเข้าร่วมประชุมใหญ่ครบเป็นองค์ประชุมตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดฯ ในช่วงสองปีที่ผ่านมาที่ตนได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประธาน คณะกรรมการฯ มีเจ้าของร่วมเข้าร่วมประชุมในการเรียกประชุมครั้งแรก นับคะแนนเสียงได้เพียงสิบกว่าเปอร์เซ็นต์เท่านั้น จึงขอปรึกษาในเรื่องดังกล่าว

        เพื่อความถูกต้องให้ความเห็นว่า ท่านควรปฏิบัติตามที่พระราชบัญญัติอาคาร ชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 กำหนดไว้ดังนี้ครับ ในมาตรา 42/1 ระบุว่า ให้คณะกรรมการจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญปีละหนึ่งครั้งภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชีของนิติบุคคลอาคารชุดเพื่อกิจการดังต่อไปนี้ (1) พิจารณาอนุมัติ งบดุล (2) พิจารณารายงานประจำปี (3) แต่งตั้งผู้สอบบัญชี (4) พิจารณาเรื่องอื่นๆ

         นอกจากนั้น ในมาตรา 42/2 แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2551 กำหนดไว้ดังนี้ "ในกรณีมีเหตุจำเป็น ให้บุคคลดังต่อไปนี้มีสิทธิเรียกประชุมใหญ่วิสามัญเมื่อใดก็ได้ (1) ผู้จัดการ (2) คณะกรรมการโดยมติเกินกว่ากึ่งหนึ่งของที่ประชุมคณะกรรมการ (3) เจ้าของร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของคะแนนเสียงเจ้าของร่วมทั้งหมดลงลายมือชื่อทำหนังสือร้องขอให้เปิดประชุมต่อ คณะกรรมการ ในกรณีนี้ ให้คณะกรรมการจัดให้มีการประชุมภายในสิบห้าวันนับแต่วันรับคำร้องขอ ถ้าคณะกรรมการมิได้จัดให้มีการประชุมภายในกำหนดเวลาดังกล่าว เจ้าของร่วมตามจำนวนข้างต้นมีสิทธิจัดให้มีการประชุมใหญ่ วิสามัญเองได้ โดยให้แต่งตั้งตัวแทนคนหนึ่งเพื่อออกหนังสือเรียกประชุม"

        สำหรับในการเรียกประชุม พระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2551 กำหนดไว้ในมาตรา 42/3 ดังนี้

       "การเรียกประชุมใหญ่ต้องทำเป็นหนังสือนัดประชุมระบุสถานที่ วัน เวลา ระเบียบวาระการประชุม และเรื่องที่จะเสนอต่อที่ประชุมพร้อมด้วยรายละเอียด ตามสมควรและจัดส่งให้เจ้าของร่วมไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันประชุม"

        และในประเด็นที่ท่านถามถึงนั้น ได้ระบุอยู่ในมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติ อาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 ดังนี้ครับ การประชุมใหญ่ต้องมีผู้มาประชุมซึ่งมีเสียงลงคะแนนรวมกันมาน้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนเสียงลงคะแนนทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม

        ในกรณีที่เจ้าของร่วมมาประชุมไม่ครบองค์ประชุมตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ให้เรียกประชุมใหม่ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเรียกประชุมครั้งก่อน และการประชุมใหญ่ครั้งหลังนี้ไม่บังคับว่าจะต้องครบองค์ประชุม ซึ่งผู้จัดการหรือคู่สมรสของผู้จัดการจะเป็นประธานในการประชุมใหญ่มิได้

        นอกจากนั้น ในกรณีที่ท่านเจ้าของร่วมรายใดไม่สามารถเข้าร่วมประชุมใหญ่เจ้าของร่วมได้ด้วยตนเอง ท่านเจ้าของร่วมรายดังกล่าวอาจมอบฉันทะให้บุคคลอื่น ที่ท่านไว้วางใจเข้าร่วมประชุมแทนตนได้ ซึ่งในมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 กำหนดไว้ดังนี้ครับ เจ้าของร่วมอาจมอบฉันทะเป็นหนังสือให้ผู้อื่นออกเสียงแทนตนได้ แต่ผู้รับมอบฉันทะคนหนึ่งจะรับมอบฉันทะให้ออกเสียงในการประชุมครั้งหนึ่งเกินสามห้องชุดมิได้และบุคคลดังต่อไปนี้จะรับมอบฉันทะให้ออกเสียงแทนเจ้าของร่วมมิได้ (1) กรรมการและคู่สมรสของ กรรมการ (2) ผู้จัดการและคู่สมรสของผู้จัดการ (3) พนักงานหรือลูกจ้างของนิติบุคคลอาคารชุดหรือของผู้รับจ้างของนิติบุคคลอาคารชุด (4) พนักงานหรือลูกจ้างของผู้จัดการ ในกรณีที่ผู้จัดการเป็นนิติบุคคล

       ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ในมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 กำหนดให้แล้วว่า หากการเรียกประชุมครั้งแรกท่านเจ้าของร่วมเข้าร่วม ประชุมไม่ครบองค์ประชุม ก็ให้เรียกประชุมอีกครั้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันเรียกประชุมครั้งก่อน และในการประชุมครั้งหลังนี้ไม่บังคับว่าจะต้องครบองค์ประชุม

ที่มา http://www.siamturakij.com/main/news_content.php?nt=4&nid=1309