Home » คอนโด นิติบุคคลอาคารชุด » การถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุดของคนต่างชาติ

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
การถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุดของคนต่างชาติ

การถือครองกรรมสิทธิ์ห้องชุดของคนต่างด้าว

dailynews.co.th - กฎหมายรอบรั้ว วันเสาร์ 5 ตุลาคม 2556

คนต่างด้าวหรือนิติบุคคลซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าวจะถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้ตามกฎหมาย จะต้อง ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการ หากไม่ครบก็ไม่อาจจะถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้ ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 คือ

ประการแรกต้องเป็นคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าวตามกฎหมาย คือเป็นคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือเป็นคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนหรือเป็นนิติบุคคลซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าว ตามที่กำหนดไว้ใน ม.97 และ ม.98 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน หรือเป็นนิติบุคคลซึ่งเป็นคนต่างด้าวตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 281 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 และได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือเป็นคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลที่กฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าวซึ่งนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักร หรือหากได้มีการขายเงินหรือนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรเข้าฝากในบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศไม่เกินงวดละ  5,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าตามอัตราตลาดให้ใช้หนังสือที่ธนาคารรับรองการรับซื้อเงินตราต่างประเทศ หรือนำเงินตราต่างประเทศเข้าฝากในบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศที่มีข้อความ ระบุว่าเพื่อชำระค่าห้องชุดของผู้ใด    

ประการที่สองกรรมสิทธิ์ในห้องชุดที่บุคคลต่างด้าวขอรับโอนนั้น เมื่อรวมกับกรรมสิทธิ์ในห้องชุดที่คนต่างด้าว หรือนิติบุคคล ซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าวถืออยู่เดิมแล้วต้องไม่เกินอัตราร้อยละสี่สิบเก้าของเนื้อที่ห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุดนั้น

สำหรับคนไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวทั้งที่ชอบและมิชอบด้วยกฎหมายต้องการขอซื้อห้องชุด ไม่ว่าจะเป็นของบุคคลสัญชาติไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว หรือซื้อร่วมกับคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าว ก็จะต้องพิจารณาตัวบุคคลต่างด้าวเป็นสำคัญ โดยคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าวจะต้องเป็นคนต่างด้าวตาม ม.19 (1) หรือ (2) หรือ (5) คู่สมรส ที่เป็นคนไทยจึงจะมีสิทธิขอซื้อห้องชุดได้ตามสิทธิของคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าวนั้น และต้องถือว่าห้องชุดนั้นคนต่างด้าวเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ทั้งหมด (ตามนัยหนังสือกรมที่ดินที่ มท 0610/ว 30633 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2537) ยกเว้น กรณีที่คนไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวนั้นจะนำเงินที่เป็นสินส่วนตัวมาซื้อห้องชุดโดยแสดงหลักฐานได้ชัดแจ้งว่า เงินที่นำมาซื้อห้องชุดทั้งหมดนั้น เป็นสินส่วนตัวหรือเป็นทรัพย์ส่วนตัวของตนแต่เพียงฝ่ายเดียว ตาม ม. 1471 และ 1472 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

กรณีเช่นนี้คนไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวก็สามารถที่จะซื้อห้องชุดได้ โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าคู่สมรสที่เป็นคนต่างด้าว และก็ถือว่าห้องชุดที่ซื้อนั้นเป็นส่วนที่คนไทยถือทั้ง หมดครับ.

ที่มา http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=66848