สรุป การกำหนดอัตรามาตรฐานค่าวิชาชีพผู้บริหารทรัพย์สิน
การกำหนดอัตรามาตรฐานค่าวิชาชีพผู้บริหารทรัพย์สิน
มติที่ประชุมใหญ่สมาชิกสามัญประจำปี 2547
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2548
สมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย
1. แนวทางการกำหนดค่าจ้างการบริหารทรัพย์สินหมู่บ้านจัดสรร
เรียน คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2547
แนวทางที่ 1 - คำนวณอัตราค่าบริหาร ร้อยละ 12.50 จากการตั้งงบประมาณค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นต่อเดือน
แนวทางที่ 2 - คำนวณอัตราค่าบริการตามช่วงจำนวนแปลงที่ดิน ดังนี้
2.1 ช่วงจำนวนแปลงที่ดิน ไม่เกิน 100 แปลง อัตราค่าบริหาร 25,000.00 บาท/เดือน
2.2 “ 101 แปลง – 200 แปลง “ 30,000.00 บาท/เดือน
2.3 “ 201 แปลง – 400 แปลง “ 40,000.00 บาท/เดือน
2.4 “ 401 แปลงขึ้นไป “ 50,000.00 บาท/เดือน
แนวทางที่ 2 มีฐานการคำนวณมาจากค่าเฉลี่ยค่าสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ แปลงละ 1,000 บาท/เดือน
( ค่าสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ ซึ่งรวมถึง ค่า ร.ป.ภ. , ค่าแม่บ้าน , ค่าไฟฟ้า , ค่าเก็บขยะ ,เบ็ดเตล็ด ฯลฯ )
อัตราเงินเดือน ผู้จัดการหมู่บ้าน 18,000 บาท/เดือน
ตำแหน่งธุรการเงินเดือน 8,000 บาท/เดือน
ช่างประจำหมู่บ้าน เงินเดือน 8,500 บาท/เดือน
2. แนวทางในการคิดค่าบริหารแนวทางการกำหนดค่าจ้างการบริหารประเภทอาคารสูง
คณะอนุกรรมการได้แบ่งประเภทอาคารสูง ออกเป็น 4 แบบ เพื่อใช้คำนวณอัตรามาตรฐานวิชาชีพการบริหารทรัพย์สิน ดังนี้
2.1 คอนโด
2.1.1 คอนโดพักอาศัย
2.1.2 คอนโดสำนักงาน (ในอาคารมีสำนักงานอย่างเดียว)
2.1.3 คอนโดพาณิชย์ (ในอาคารมีพลาซ่าอย่างเดียว)
2.1.4 คอนโดแบบผสม (มีที่พักอาศัย หรือพลาซ่า หรือสำนักงาน อยู่ร่วมกัน)
2.2 อาคารสำนักงาน
2.3 อพาร์ทเม้นท์
*** แนวทางใน การคำนวณค่าบริหารจัดการ ในข้อ 1.1-1.3 คิดค่าบริหารจัดการขั้นต่ำคำนวณที่ 12.5 %
ของงบประมาณบริหารต่อเดือน โดยไม่รวมงบประมาณในการปรับปรุงพัฒนาอาคาร และเงินเดือนพนักงาน
และกรณีที่หน่วยงานนั้น ๆ มีนิติบุคคลฯ 2 นิติบุคคลขึ้นไป ให้สามารถเสนอราคาค่าบริหารจัดการขั้นต่ำได้ที่ 10%
ของงบประมาณบริหารต่อเดือน (เนื่องจากเป็นการบริหารจัดการในหน่วยงานเดียวกัน)
2.4 หน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ
*** แนวทาง การคำนวณค่าบริหารจัดการสำหรับหน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ ใช้แนวทางเดียวกับ
สรุป การกำหนดอัตรามาตรฐานค่าวิชาชีพผู้บริหารทรัพย์สิน
การบริหารคอนโด อาคารสำนักงาน และอพาร์ทเม้นท์คิดค่าบริหารจัดการขั้นต่ำคำนวณที่ 15 %
เนื่องจากการเสนอหน่วยงานราชการ และรัฐวิสาหกิจมีข้อที่ควรคำนึงถึงสำหรับบริษัทรับบริหาร คือ
2.4.1 เงินพิเศษที่มอบให้สำหรับเจ้าหน้าที่
2.4.2 การชำระค่าบริหารล่าช้า
2.4.3 การประกันความเสี่ยง
2.4.4 ค่าปรับ 0.1 % ของมูลค่าทรัพย์สิน กรณีทำความผิดพลาด
2.4.5 เงินประกันความเสียหาย 1.5 %
3. *** ประเด็นผลักดันอยู่ระหว่างพิจารณา
ประเด็นที่ 1 การคิดค่าปรับกรณีดำเนินงานผิดพลาดจากเดิม 0.1 %
ของมูลค่าทรัพย์สิน เป็น 0.1 % ของค่าบริหาร ต่อเดือน
ประเด็นที่ 2 เร่งผลักดันในเรื่องใบประกอบวิชาชีพการบริหารจัดการ
เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับบริษัทที่รับบริหารจัดการ
4. อัตราเงินเดือนผู้จัดการอาคาร/ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด
จากมติที่ประชุมใหญ่สมาชิกสามัญประจำปี 2546
วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2547 ณ ห้องบลอนเต้โรงแรมแม็กซ์กรุงเทพฯ
4.1 อัตราเงินเดือนตำแหน่งผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด เป็นไปตามขนาดและลักษณะของโครงการ
แต่กำหนดให้มีอัตราขั้นต่ำเดือนละ 20,000 บาท
4.2 อัตราเงินเดือนตำแหน่งผู้จัดการอาคาร เป็นไปตามขนาดและลักษณะของโครงการ
แต่กำหนดให้มีอัตราขั้นต่ำเดือนละ 15,000 บาท
5. เรื่องการกำหนดบทลงโทษของสมาชิกสมาคมฯ ที่เสนอราคาต่ำกว่าเกณฑ์
5.1 ออกหนังสือเตือนบริษัทฯ 1 ครั้ง /และหากยังกระทำผิดระเบียบ
5.2 ให้พ้นจากการเป็นสมาชิกสมาคมฯ/และ
5.3 ส่งหนังสือแจ้งผู้ว่าจ้าง (ลูกค้า) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าบริษัทฯ
ได้พ้นจากการเป็นสมาชิกของสมาคมฯ เนื่องจากกระทำผิดระเบียบที่สมาคมฯ กำหนด
ที่มา สมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย http://www.pmathai.org
http://www.pmathai.org/About_Us/images/p8.PDF
|