Home » คอนโด นิติบุคคลอาคารชุด » เรื่องของชื่อ "โครงการคอนโดมิเนียม"

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
เรื่องของชื่อ "โครงการคอนโดมิเนียม"

โดย...สัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ธนาคารอาคารสงเคราะห์

ความที่มีอาคารจำนวนมาก ทั้งคอนโดมิเนียมและอาคารสำนักงาน ทั้งสูงมากและสูงน้อย จึงมีการจัดระเบียบแม้กระทั่งการตั้งชื่ออาคารรวมทั้งคอนโดมิเนียม....

             บทความนี้เป็นภาคต่อจากบทความเรื่อง “ชื่อโครงการบ้าน” ซึ่งเคยเขียนค้างไว้ว่าโครงการคอนโดมิเนียมสมัยใหม่ส่วนใหญ่มักตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อให้ฟังดูเสมือนเป็นสินค้าระดับบน สามารถขายให้ลูกค้าชนชั้นกลางขึ้นไปจนถึงลูกค้าระดับบนและชาวต่างประเทศ

             เป็นการบ่งบอกรสนิยมตะวันตกสมัยใหม่ โดยมีข้อคำนึงว่าผู้ประกอบการควรตั้งชื่อให้ถูกหลักภาษา และพยายามอย่าสื่อความหมายเกินความเป็นจริงมากนัก เช่น เป็นโครงการระดับล่างไม่กี่ชั้นที่ไม่ได้แพงระยับมากมาย ก็อย่าไปตั้งชื่อว่าเป็น Mansion หรือคฤหาสน์ให้ฟังดูหรูหราเกินไป

             ขอยกตัวอย่างในประเทศสิงคโปร์ซึ่งมีความจำกัดของพื้นที่ มีการสร้างคอนโดมิเนียมสูงระฟ้าจำนวนมากมาย ทั้งอย่างหรูที่สร้างโดยเอกชน และอย่างปานกลางถึงตลาดล่าง ซึ่งสร้างโดย Housing Development Board (HDB) หรือประมาณว่าเป็นการเคหะแห่งชาติของสิงคโปร์

ความที่มีอาคารจำนวนมาก ทั้งคอนโดมิเนียมและอาคารสำนักงาน ทั้งสูงมากและสูงน้อย จึงมีการจัดระเบียบแม้กระทั่งการตั้งชื่ออาคารรวมทั้งคอนโดมิเนียม

             ตัวอย่างของกฎระเบียบในการตั้งชื่อของสิงคโปร์ที่น่าสนใจ เช่น ให้หลีกเลี่ยงไม่ใช้คำที่มีความหมายในเชิงศาสนา|ลึกซึ้ง เช่น คำว่า “Trinity” ซึ่งในทางศาสนาคริสต์ สื่อถึง พระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ หรือคำว่า “Tower” ให้ใช้ได้เฉพาะอาคารที่สูงอย่างน้อย 30 ชั้น เพราะคำนี้มีความหมายสื่อว่าสูงประมาณนั้น

            ชื่อโครงการคอนโดมิเนียมรุ่นใหม่ๆ ต้องไม่ลงท้ายด้วยคำว่า “Park” ซึ่งหมายถึงสวนสาธารณะ เพราะอาจทำให้ชาวบ้านเข้าใจสับสนว่าคอนโดมิเนียมเป็นสวนสาธารณะ ดังนั้นผู้ประกอบการบางรายจึงหนีไปใช้คำว่า “Parc” ซึ่งเป็นคำภาษาฝรั่งเศสที่มีความหมายเหมือนกัน แถมออกเสียงคล้ายกันด้วย

             คำว่า “Villa” ต้องหมายถึงที่อยู่อาศัยประเภทติดพื้นดินเท่านั้น จะเอาคำนี้ไปใช้กับคอนโดมิเนียมไม่ได้ ส่วนโครงการที่ใช้คำว่า “City” (ถ้าเทียบกับบ้านเรา คงเป็นคำว่า “ธานี”) นั้น ต้องเป็นโครงการขนาดใหญ่กินเนื้อที่มหึมา เป็นต้น

ผู้ประกอบการในบ้านเราจึงถือว่าโชคดี ที่ไม่ต้องประสบกับข้อจำกัดในการตั้งชื่อโครงการเท่ากับผู้ประกอบการในสิงคโปร์

             ชื่อโครงการเป็นด่านแรกในการขาย เพื่อแยกแยะโครงการหนึ่งออกจากโครงการอื่นๆ เป็นประเด็นสำคัญยิ่งของนักการตลาด เสมือนเป็นยี่ห้อสินค้า ต้องเป็นชื่อที่ดึงดูดความสนใจของผู้ซื้อที่จะอยู่อาศัยในอนาคต หากชื่อถูกต้องใช่เลย แถมอยู่ในทำเลที่ถูกต้อง การขายก็ย่อมง่าย

             อย่างโครงการคอนโดมิเนียมในบ้านเราที่มุ่งเป้าไปยังกลุ่มคนสมัยใหม่ทันสมัย มักตั้งชื่อโครงการให้ฟังดูแปลกหู เป็นการตั้งชื่อที่อิงกับลักษณะ HIP, Modern and Trendy โดย HIP หรือ Highly Individual Person สื่อถึงความเป็นตัวของตัวเอง ไม่สนใจใคร ชื่อที่ออกมาจึงเป็นแนวการผสมคำให้มีเอกลักษณ์ ส่วนโครงการที่มุ่งเป้าหมายขายคนรวยอาจตั้งชื่อให้หรูหราเรียกว่า Elegance สมกับสไตล์การใช้ชีวิต และสื่อถึงความสำเร็จในชีวิต อำนาจ และความมั่งมี

ที่มา   http://www.posttoday.com/