Home » คอนโด นิติบุคคลอาคารชุด » การตรวจสอบความปลอดภัยอาคาร(นิติบุคคลอาคารชุด)

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
การตรวจสอบความปลอดภัยอาคาร(นิติบุคคลอาคารชุด)

Web Board:: กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย

วันที่ 4 มิถุนายน 2553
ถาม  การตรวจสอบความปลอดภัยอาคาร(นิติบุคคลอาคารชุด)

เรียนเจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้อง
มีเรื่องรบกวนขอความรู้เรื่องเกี่ยวกับการตรวจสอบความปลอดภัยของอาคารชุดหน่อยนะค่ะ คือมีบริษัทเอกชนได้จัดทำใบเสนอราคาการตรวจสอบอาคารชุดมานะค่ะ อยากทราบว่า

1. อาคารชุดประเภทไหนต้องทำการตรวจสอบ
2. ต้องไปยื่นที่ไหน หรือ ให้ใครตรวจสอบ
3. ค่าธรรมเนียม เท่าไหร่ค่ะ
4. ถ้าไม่ตรวจสอบ ผิดกฏหมายหรือเปล่าค่ะ
5. สถานที่ตั้งอาคารชุดอยู่ที่ อ.บางกรวยค่ะ

(อาคาร 8 ชั้น อายุอาคารประมาณ 8-9 ปี ค่ะ มี 200 ห้อง /ละ 22 ต.ร.ม.)

 

ตอบ โดย กลุ่มงานขุดดินและถมดิน กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย

1. ตามข้อมูลของอาคารที่ท่านแจ้งมานั้น ต้องพิจารณาตามกฎกระทรวงกำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ พ.ศ.2548 ข้อ 1(4) ดังต่อไปนี้

" ข้อ 1 อาคารประเภทดังต่อไปนี้ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบด้านวิศวกรรมหรือผู้ตรวจสอบด้านสถาปัตยกรรม แล้วแต่กรณี ตามมาตรา 32 ทวิ

1.โรงมหรสพ
2.โรงแรม ที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป
3.สถานบริการ ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป
4.อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดหรืออาคารอยู่อาศัยรวม ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป
5.อาคารโรงงานที่มีความสูงมากกว่า 1 ชั้นและมีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป
6.ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่สูงจากพื้นดิน 15 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้น
ไป หรือป้ายที่ติดหรือตั้งบนหลังคาหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตารางเมตรขึ้นไป"

นอกจากนี้ตามข้อ 2 ในการจัดให้มีผู้ตรวจสอบอาคารสำหรับอาคารตามข้อ 1(4)ได้กำหนดข้อยกเว้นสำหรับอาคารในข้อ 4 ดังนี้คือ

"ข้อ 2 ในการจัดให้มีผู้ตรวจสอบอาคารสำหรับอาคารตามข้อ 1(4)

1. อาคารที่มีพื้นที่ไม่เกิน 5,000 ตารางเมตร ให้ได้รับการยกเว้นการจัดให้มีผู้ตรวจสอบอาคารเป็นเวลา 7 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
2. อาคารที่มีพื้นที่เกิน 5,000 ตารางเมตร ให้ได้รับการยกเว้นการจัดให้มีผู้ตรวจสอบอาคารเป็นเวลา 5 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ"

ซึ่งตามข้อ 2(1ถึง2)ได้กำหนดข้อยกเว้นไว้ ดังนั้นท่านต้องพิจารณาว่าอาคารของท่านเข้าข่ายเป็นอาคารชุดตามกฎหมายอาคารชุดหรือเป็นอาคารอยู่อาศัยรวม มีพื้นที่ไม่เกิน 5,000 ตารางเมตรหรือไม่ ถ้าไม่เกิน 5,000 ตารางเมตร
ต้องจัดให้มีการตรวจสอบอาคารได้ไม่เกินภายในวันที่ 28 ธันวาคม 2555 แต่หากมีพื้นที่เกิน 5,000 ตารางเมตร ก็ต้องจัดให้มีการตรวจสอบอาคารได้ไม่เกินภายในวันที่ 28 ธันวาคม 2553 แต่ถ้าอาคารของท่านสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป
(ตามข้อมูลที่แจ้งมานั้น สูง 8 ชั้น ) ก็เข้าข่ายที่จะต้องตรวจสอบอาคารตามมาตรา 32 ทวิ


 

2. ถ้าเข้าข่ายต้องยื่นตรวจสอบ ต้องยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่เทศบาลหรืออบต.ที่อาคารของท่านตั้งอยู่ ส่วนในการตรวจนั้น ท่านต้องให้ผู้ตรวจสอบอาคารที่ได้รับรองการขึ้นทะเบียนจากคณะกรรมการควบคุมอาคาร เป็นผู้ตรวจสอบ

3. สำหรับค่าธรรมเนียมในการออกใบรับรองการตรวจสอบอาคาร (ใบ ร.1) อัตราค่าธรรมเนียมกำหนดไว้ที่ 100.-บาท
ต่อ 1 ใบ

4. หากเข้าข่ายที่จะต้องจัดให้มีการตรวจสอบอาคารแล้ว ไม่ดำเนินการ ตามมาตรา 65 ทวิมีบทกำหนดโทษไว้ดังนี้

"มาตรา 65 ทวิ ผู้ใดไม่ปฎิบัติตามมาตรา 32 ทวิ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นอกจากต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้ว ผู้ไม่ปฎิบัติตามมาตรา 32 ทวิ ยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทจนกว่าจะได้ปฎิบัติให้ถูกต้อง"


 

ที่มา   http://www.dpt.go.th/wan/webboard/showdetail_a.asp?id=%201351