Web Design by Softbiz+
|
เว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014 |
คู่มือแนะนําการปฏิบัติตามกฎหมายเรื่องการตรวจสอบสภาพอาคาร สําหรับเจ้าของอาคาร |
1. วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบสภาพอาคารคําถามที่เจ้าของอาคารมักสงสัยว่าจะได้ประโยชน์อะไรจากการตรวจสอบสภาพอาคาร กฎหมายบังคับเกินความจําเป็นหรือไม่ คงต้องพิจารณาถึงที่มาของการออกกฎหมาย แนวความคิดและวัตถุประสงค์ของกฎหมายก่อน เนื่องจากอาคารจะมีโครงสร้างและระบบต่าง ๆ ภายในอาคารที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของประชาชน เช่น ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย ระบบไฟฟ้า ระบบลิฟต์ ฯลฯ ซึ่งระบบต่าง ๆ เหล่านี้ เมื่อมีการใช้งานไประยะหนึ่งจําเป็นต้องมีการตรวจสอบดูแลและบํารุงรักษา เพื่อให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตลอดเวลา ซึ่งในการใช้อาคารอย่างถูกต้องและปลอดภัยแล้ว แม้กฎหมายจะไม่บังคับให้ต้องทําการตรวจสอบสภาพอาคารและบํารุงรักษา แต่ก็เป็นเรื่องที่เจ้าของอาคารควรจะดําเนินการอยู่แล้ว มีหลายกรณีที่เกิดเหตุการณ์อาคารถล่มหรือไฟไหม้ โดยเฉพาะอาคารสาธารณะที่มีคนเข้าไปใช้สอยเป็นจํานวนมาก แม้จะมีเหตุที่บ่งชี้ว่าโครงสร้างของอาคารเกิดการวิบัติขึ้นแล้ว และจะอันตรายอย่างร้ายแรงถึงขั้นอาคารถล่มหากไม่ได้รับการแก้ไข แต่เจ้าของอาคารก็ไม่ทราบและไม่คาดคิดว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นร้ายแรงเพียงใด หรือกรณีเพลิงไหม้โรงแรมบางแห่งที่ทําให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจํานวนมาก แม้ว่าจะมีการติดตั้งระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ แต่เมื่อเกิดเพลิงไหม้ ระบบกลับไม่ทํางาน ทําให้ผู้ใช้อาคารไม่ทันได้ระวังตัวและหนีไม่ทัน ได้ตอกย้ำให้เห็นถึงความสําคัญของการตรวจสอบสภาพระบบต่างๆ ของอาคารได้เป็นอย่างดี ในปัจจุบันนี้มีหลายอาคารที่คํานึงถึงความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่ใช้อาคาร โดยจัดให้มีการบํารุงรักษาโครงสร้างและระบบต่างๆ ของอาคารให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมออยู่แล้ว ถึงกระนั้นการตรวจสอบสภาพอาคารก็ยังมีความจําเป็น เนื่องจากเป็นระบบการตรวจทานมิให้เกิดข้อผิดพลาดจากการดูแลบํารุงรักษาอาคารโดยผู้ตรวจสอบ ซึ่งจะเป็นบุคคลที่สามหรือ Third party 2. บทบาทของกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารกฎหมายได้กําหนดให้เจ้าของอาคารต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบอาคารด้านวิศวกรรมหรือผู้ตรวจสอบด้านสถาปัตยกรรม แล้วแต่กรณี ต้องทําการตรวจสอบสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ (1) ความมั่นคงแข็งแรงอาคาร ได้แก่ (ก) การต่อเติมดัดแปลงปรับปรุงตัวอาคาร (ข) การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักบรรทุกบนพื้นที่อาคาร (ค) การเปลี่ยนสภาพการใช้อาคาร (ง) การเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้างหรือวัสดุตกแต่งอาคาร (จ) การชํารุดสึกหรอของอาคาร (ฉ) การวิบัติของโครงสร้างอาคาร (ช) การทรุดตัวของฐานรากอาคาร (2) ระบบและอุปกรณ์ประกอบของอาคาร ได้แก่ (ก) ระบบบริการและอํานวยความสะดวก (1) ระบบลิฟต์ (2) ระบบบันไดเลื่อน (3) ระบบไฟฟ้า (4) ระบบปรับอากาศ (ข) ระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม (1) ระบบประปา (2) ระบบระบายน้ำเสียและระบบบําบัดน้ำเสีย (3) ระบบระบายน้ำฝน (4) ระบบจัดการมูลฝอย (5) ระบบระบายอากาศ (6) ระบบควบคุมมลพิษทางอากาศและเสียง (ค) ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย (1) บันไดหนีไฟและทางหนีไฟ (2) เครื่องหมายและไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน (3) ระบบระบายควันและควบคุมการแพร่กระจายควัน (4) ระบบไฟฟ้าสํารองฉุกเฉิน (5) ระบบลิฟต์ดับเพลิง (6) ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (7) ระบบการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง (8) ระบบการจ.ายน้ำดับเพลิง เครื่องสูบน้ำดับเพลิง และหัวฉีดน้ำดับเพลิง (9) ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ (10) ระบบป้องกันฟ้าผ่า (3) สมรรถนะของระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ของอาคารเพื่ออพยพผู้ใช้อาคาร ได้แก่ (ก) สมรรถนะบันไดหนีไฟและทางหนีไฟ (ข) สมรรถนะเครื่องหมายและไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน (ค) สมรรถนะระบบแจ้งสัญญาณเหตุเพลิงไหม้ (4) ระบบบริหารจัดการความปลอดภัยในอาคาร ได้แก่ (ก) แผนการป้องกันและระงับอัคคีภัยในอาคาร (ข) แผนการซ้อมอพยพผู้ใช้อาคาร (ค) แผนการบริหารจัดการเกี่ยวกับความปลอดภัยในอาคาร (ง) แผนการบริหารจัดการของผู้ตรวจสอบอาคาร 3. ประเภทอาคารที่ต้องตรวจสอบและกําหนดวันที่ต้องส่งรายงานการตรวจสอบอาคารที่ต้องตรวจสอบมี 9 ประเภท ได้แก่ 3.1 อาคารสูง (อาคารที่บุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ที่มีความสูงตั้งแต่ยี่สิบสามเมตรขึ้นไป การวัดความสูงของอาคารให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงพื้นดาดฟ้า สําหรับอาคารจั่วหรือปั้นหยาให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด) 3.2 อาคารขนาดใหญพิเศษ (อาคารที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อใช้พื้นที่อาคารหรือส่วนใดของอาคารเป็นที่อยู่อาศัยหรือประกอบกิจการประเภทเดียวหรือหลายประเภท โดยมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันตั้งแต่หนึ่งหมื่นตารางเมตรขึ้นไป) 3.3 อาคารชุมนุมคน (อาคารหรือส่วนใดของอาคารที่บุคคลอาจเข้าไปภายในเพื่อประโยชน์ ในการชุมนุมคนที่มีพื้นที่ตั้งแต่หนึ่งพันตารางเมตรขึ้นไป หรือชุมนุมคนได้ตั้งแต่ห้าร้อยคนขึ้นไป) 3.4 โรงมหรสพ (อาคารหรือส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นที่สําหรับฉายภาพยนตร์ แสดงละคร แสดงดนตรี หรือการแสดงรื่นเริงอื่นใด และมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดให้สาธารณะชนเข้าชมการแสดงนั้นเป็นปกติธุระ โดยจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม) 3.5 โรงแรม ตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ที่มีจํานวนห้องพักตังแต่แปดสิบห้องขึ้นไป 3.6 อาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด หรืออาคารอยู่อาศัยรวม (อาคารหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยสําหรับหลายครอบครัว โดยแบ่งออกเป็นหน่วยแยกจากกันสําหรับแต่ละครอบครัว) ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป สําหรับอาคารชุดและอาคารอยู่อาศัยรวมที่ไม่เข้าข่ายเป็นอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษจะได้รับการผ่อนผันเรื่องกําหนดเวลาการตรวจสอบคือ – กรณีที่มีพื้นที่อาคารรวมกันในหลังเดียวกันไม่เกิน 5,000 ตารางเมตร ให้ทําการตรวจสอบและส่งผลการตรวจสอบก่อนวันที่ 25 ตุลาคม 2555 – กรณีที่มีพื้นที่อาคารรวมกันในหลังเดียวกันเกิน 5,000 ตารางเมตร ให้ทําการตรวจสอบและส่งผลการตรวจสอบก่อนวันที่ 25 ตุลาคม 2553 3.7 อาคารโรงงานที่สูงกว่า 1 ชั้น และมีพื้นที่ตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป 3.8 ป้ายสูงตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไปหรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้นไป หรือป้ายที่ติดหรือตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตารางเมตรขึ้นไป 3.9 สถานบริการ ตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป ทั้งนี้ อาคารทั้ง 9 ประเภท (เว้นแต่อาคารตามข้อ 3.6 ที่ไม่เข้าข่ายเป็นอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ) ต้องถูกตรวจสอบและส่งรายงานการตรวจสอบก่อนวันที่ 29 ธันวาคม 2550 สําหรับกรณีพื้นที่นอกเขตควบคุมอาคาร (พื้นที่ที่ยังไม่มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 หรือพื้นที่นอกเขตผังเมืองรวมตามกฎหมายว่าด้วยผังเมือง) อาคารที่ต้องทําการตรวจสอบมี 4 ประเภท ได้แก่ อาคารสูง อาคารขนาดใหญ.พิเศษ อาคารชุมนุมคน และโรงมหรสพ 4. คุณสมบัติของผู้ตรวจสอบผู้ตรวจสอบจะเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาก็ได้ โดยต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) ถ้าเป็นบุคคลธรรมดา (ก) มีสัญชาติไทย (ข) ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร หรือเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยสถาปนิก แล้วแต่กรณี (ค) ผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบสภาพอาคารและอุปกรณ์ประกอบ ของอาคารตามที่คณะกรรมการควบคุมอาคารรับรอง (ง) ไม่เคยถูกเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบในระยะเวลาสองปีก่อนวันขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ (2) ถ้าเป็นนิติบุคคล (ก) ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายไทย โดยทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องเป็นของ ผู้มีสัญชาติไทย และมีผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้ถือหุ้นหรือกรรมการเป็นผู้มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้ถือหุ้นหรือกรรมการทั้งหมด (ข) ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร หรือเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยสถาปนิก แล้วแต่กรณี (ค) สมาชิกในคณะผู้บริหารของนิติบุคคลจํานวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องผ่านการอบรม หลักสูตรเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบสภาพอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารที่คณะกรรมการควบคุม อาคารรับรอง (ง) สมาชิกในคณะผู้บริหารของนิติบุคคลตาม (ค) ต้องไม่เคยถูกเพิกถอนการขึ้นทะเบียน เป็นผู้ตรวจสอบในระยะเวลาสองปีก่อนวันขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ สมาชิกในคณะผู้บริหารของนิติบุคคล ได้แก่ หุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการ กรรมการผู้จัดการหรือผู้บริหารตําแหน่งอื่นที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลในการตรวจสอบอาคาร ผู้ตรวจสอบดังกล่าวต้องขึ้นทะเบียนกับคณะกรรมการควบคุมอาคาร โดยจะได้รับหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ ตามแบบ รต. 1 จากคณะกรรมการควบคุมอาคาร ภาพแสดงหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบอาคาร (แบบ รต. 1)
เจ้าของอาคารสามารถค้นหารายละเอียดข้อมูลของผู้ตรวจสอบอาคารได้ในเว็บไซต์กรมโยธาธิการและผังเมือง (www.dpt.go.th) ซึ่งจะมีรายชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ของผู้ตรวจสอบอาคาร แสดงไว้เพื่อให้เจ้าของอาคารได้พิจารณาเลือกผู้ตรวจสอบอาคารด้วยตนเอง หรือดูได้จากเว็บไซต์ ThaiBuildingInspector ได้เช่นกัน รายชื่อผู้ตรวจสอบอาคารประเภทบุคคลธรรมดา http://www.thaibuildinginspector.net/forum/index.php?board=2.0 รายชื่อผู้ตรวจสอบอาคารประเภทนิติบุคคล http://www.thaibuildinginspector.net/forum/index.php?board=3.0
ราคาค่าตรวจสอบขึ้นอยู่กับ 1. ลักษณะและขอบเขตของการทํางานตรวจสอบ ซึ่งเป็นการตรวจสอบแบบ Audit ด้วยสายตา ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบเพื่อสังเกตว่ามีสิ่งที่ผิดปกติกับระบบนั้นๆ หรือไม่ ระบบต่างๆ มีการทํางานอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ โดยใช้เครื่องมือพื้นฐานที่ไม่สลับซับซ้อน หากพบว่ามีสิ่งที่ผิดปกติ ผู้ตรวจสอบจะรายงานให้เจ้าของอาคารทราบเพื่อจัดหาผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นเข้ามาทําการตรวจวิเคราะห์และซ่อมแซมแก้ไข แล้วผู้ตรวจสอบจะทําหน้าที่ตรวจว่า การแก้ไขนั้นถูกต้องสมบูรณ์และทําให้ระบบที่ได้รับการซ่อมแซมแก้ไขอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ 2. ชนิด ประเภทและขนาดของอาคาร รวมทั้งจํานวนของระบบต่างๆ ของอาคารนั้นและความสลับซับซ้อนของระบบ ซึ่งจะเป็นตัวกําหนดปริมาณงานที่ต้องตรวจสอบ ทั้งนี้ เจ้าของอาคารต้องเป็นผู้เจรจาตกลงราคากับผู้ตรวจสอบ 5. รายละเอียดการตรวจสอบ
เป็นการตรวจสอบโครงสร้างอาคารและระบบทุกระบบ ตามที่กล่าวมาแล้วข้อ 2. โดยให้กระทําทุก 5 ปี ในการตรวจสอบใหญ่ทุกครั้ง ผู้ตรวจสอบต้องจัดทําแผนต่างๆ ดังนี้ (1) แผนปฏิบัติการการตรวจบํารุงรักษาอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคาร รวมทั้งคู่มือ ปฏิบัติการตามแผนดังกล่าวให้แก่เจ้าของอาคาร เพื่อเป็นแนวทางการตรวจบํารุงรักษาและการบันทึกข้อมูล การตรวจบํารุงรักษาอาคาร (2) แผนการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารประจําปี รวมทั้งแนวทางการตรวจสอบตามแผนดังกล่าวให้แก่เจ้าของอาคาร เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารประจําปี
เป็นการตรวจสอบตามแผนการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารประจําปีที่ผู้ตรวจสอบได้จัดทําไว้ในการตรวจสอบใหญ่ การตรวจสอบประจําปีให้กระทําทุกปี 6. ขั้นตอนที่เจ้าของอาคารต้องดําเนินการ6.1 เจ้าของอาคารต้องปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการตรวจบํารุงรักษาอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารและคู่มือปฏิบัติตามแผนดังกล่าวที่ผู้ตรวจสอบได้จัดทําไว้ในการตรวจสอบใหญ่ เพื่อเป็นแนวทางการตรวจบํารุงรักษาและการบันทึกข้อมูล การตรวจบํารุงรักษาอาคาร นอกจากนี้ยังต้องจัดให้มีการบํารุงรักษาอาคารและอุปกรณ์ประกอบอาคารตามคู่มือปฏิบัติของผู้ผลิตหรือผู้ติดตั้งระบบและอุปกรณ์อาคาร หรือตามแผนปฏิบัติการการตรวจบํารุงรักษาที่ผู้ตรวจสอบกําหนด และจัดให้มีการบันทึกข้อมูลการตรวจบํารุงรักษาอาคารตามช่วงระยะเวลาที่กําหนด หากผู้ตรวจสอบเสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไขอย่างไร ควรดําเนินการตามข้อเสนอแนะให้แล้วเสร็จ แล้วให้ผู้ตรวจสอบทําการตรวจสอบอีกครั้งแล้วทํารายงานเสนอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น 6.2 เจ้าของอาคารต้องเสนอรายงานผลการตรวจสอบของอาคารและอุปกรณ์ของอาคารต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทุกปี โดยจะต้องเสนอในสามสิบวันวันก่อนวันที่ใบรับรองการตรวจสอบอาคารฉบับเดิมจะมีระยะเวลาครบหนึ่งปี เมื่อได้รับใบรับรองการตรวจสอบแล้ว ให้แสดงใบรับรองการตรวจสอบไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ อาคารนั้น (ใบรับรองการตรวจสอบอาคารสามารถเปิดดูได้จากเว็บไซต์กรมโยธาธิการและผังเมือง www.dpt.go.th) ภาพแสดงใบรับรองการตรวจสอบอาคาร (แบบ ร.1) 6.3 สําหรับอาคารที่ก่อสร้างแล้วเสร็จหรือได้รับใบรับรองประเภทอาคารควบคุมการใช้มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ต้องจัดให้มีการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารประเภทการตรวจสอบใหญ่เป็นครั้งแรก 7. ก่อนการตรวจสอบผู้ตรวจสอบต้องเตรียมตัวอย่างไรเจ้าของอาคารต้องจัดหาแปลนหรือแผนผังรายการเกี่ยวกับการก่อสร้างหรือจัดทําแบบแปลนการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบอาคารไว้ให้ผู้ตรวจสอบเพื่อทําการตรวจสอบสภาพอาคาร 8. การดําเนินการตรวจสอบอาคารเมื่อผู้ตรวจสอบอาคารได้ตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารแล้วพบว่า อาคารมีความปลอดภัยเพียงพอและถูกต้องตามกฎหมายและมาตรฐานแล้ว ผู้ตรวจสอบจึงลงนามรับรองผลการตรวจสอบสภาพอาคารนั้น แต่ถ้าผู้ตรวจสอบพบว่าอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารบางส่วนหรือ บางรายการไม่ผ่านหลักเกณฑ์หรือมาตรฐาน ผู้ตรวจสอบจะต้องทําข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงอาคารหรืออุปกรณ์ประกอบของอาคารเพื่อให้อาคารหรืออุปกรณ์ประกอบของอาคารดังกล่าวให้แก่เจ้าของอาคาร การจัดทําข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงอาคารหรืออุปกรณ์ประกอบของอาคารนั้น หากผู้ตรวจสอบเห็นว่า จําเป็นต้องทําการตรวจสอบแบบเชิงวิเคราะห์และคํานวณทางหลักวิศวกรรมหรือสถาปัตยกรรมให้เป็นความรับผิดชอบของผู้ตรวจสอบอาคารนั้นแนะนําหรือจัดหาวิศวกรหรือสถาปนิกให้แก่เจ้าของอาคารที่สามารถดําเนินการตรวจสอบวิเคราะห์ หรือคํานวณพิสูจน์ หรือให้คําปรึกษาในการแก้ไขเพื่อให้เกิดความปลอดภัยเพิ่มขึ้น โดยวิศวกรหรือสถาปนิกนั้นต้องมีคุณสมบัติการประกอบวิชาชีพที่เป็นไปตามพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 หรือพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 9. เจ้าของอาคารจะยื่นเอกสารอย่างไรเจ้าของอาคารจะต้องเสนอรายงานผลการตรวจสอบอาคารที่ผู้ตรวจสอบลงนามรับรองให้แก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ที่อาคารของตนตั้งอยู่ ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายควบคุมอาคาร ได้แก่ 9.1 นายกเทศมนตรี สําหรับในเขตเทศบาล 9.2 นายกองค์การบริหารส่วนตําบล สําหรับในเขตองค.การบริหารส่วนตําบล 9.3 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สําหรับในเขตกรุงเทพมหานคร 9.4 นายกเมืองพัทยา สําหรับในเขตเมืองพัทยา 10. ระยะเวลาพิจารณาดําเนินการของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับรายงานผลการตรวจสอบแล้วจะต้องพิจารณารายงานผลการตรวจสอบภายใน 30 วัน และเมื่อเห็นว่า อาคารดังกล่าวเป็นไปตามกฎหมายและมีความปลอดภัย เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องออกใบรับรองการตรวจสอบสภาพอาคารโดยไม่ชักช้าและต้องไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่พิจารณาแล้วเสร็จ 11. หากเจ้าของอาคารไม่จัดให้มีการตรวจสอบสภาพอาคารจะมีโทษตามกฎหมายอย่างไรหากฝ่าฝืนไม่ดําเนินการตรวจสอบอาคารจะมีโทษจําคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม.เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง 12. กฎหมายที่อ้างอิง1. มาตรา 2 มาตรา 4 และมาตรา 32 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 2. กฎกระทรวงกําหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ตรวจสอบ หลักเกณฑ์การขอขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ และหลักเกณฑ์การตรวจสอบอาคาร พ.ศ. 2548 3. กฎกระทรวงกําหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ พ.ศ. 2548 ที่มา กรมโยธาธิการและผังเมือง dpt.go.th
|