Home » คอนโด นิติบุคคลอาคารชุด » พัฒนาการอาคารชุดไทย ตามช่วงเวลา Condominium Timeline

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
พัฒนาการอาคารชุดไทย ตามช่วงเวลา Condominium Timeline

  พ.ศ. 2510   เป็นจุดเริ่มต้นของพัฒนาการที่อยู่อาศัย เศรษฐกิจดี บ้านเมืองเจิญขึ้น ประชากรเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วและมีความหนาแน่น
                                    เมืองเกิดการขยายตัว ทำให้เริ่มเกิดโครงการบ้านจัดสรร และจากปัญหาที่ดินราคาแพงในย่านธุกิจ จึงจำเป็นต้องสร้างตึกให้สูงขึ้น  เพื่อให้การใช้ที่ดินเขตเมืองให้ได้ประโยชน์คุ้มค่า ตลอดจนความคิดใหม่ๆของผู้ประกอบการที่จะสร้างอยู่อาศัยที่ราคาถูกกว่าบ้านเดี่ยว
  พ.ศ. 2511   กระทรวงมหาดไทยได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปประชุมสัมนาเกี่ยวกับอาคารชุดที่ฮาวาย เพราะรัฐบาลได้เห็นว่าในอนาคตจะมีอาคารชุด
  เกิดขึ้นในประเทศไทย และเล็งเห็นประโยชน์ในระบบอาคารชุดซึ่งได้ใช้และประสบความสำเร็จมาแล้วใน ต่างประเทศ  จึงได้คิดริเริ่มที่จะนำระบบกรรมสิทธิ์อาคารชุดมาบังคับใช้เป็นกฎหมาย ในการยกร่างกฎหมายนี้ได้อาศัยกฎหมายของฝรั่งเศส กฎหมายของฮาวาย และกฎหมายของบางประเทศในยุโรปเป็นหลักในการร่าง เมื่อร่างเสร็จแล้วได้เสนอ คณะรัฐมนตรีและส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเมื่อปลายปี พ.ศ. 2516 ในการพิจารณาคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ประสบปัญหาหลายประการ จึงพักเรื่องไว้
  พ.ศ. 2513   เกิดคอนโดมิเนียมแรก บริเวญถนนราชดำริแถวๆ สี่แยกราชประสงค์ (โรงแรมรีเจนท์ในปัจจุบัน)
  โครงการไม่ประสบความสำเร็จเพราะยังใหม่มาก ซึ่งเคยชินกับการอยู่บ้านเดี่ยวและเป็นเจ้าของที่ดิน
  พ.ศ. 2516   มีกลุ่มนักลงทุนจากต่างประเทศ พยายามที่จะสร้างคอนโดมิเนียม แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
  เพราะยังติดปัญหาเรื่องกฎหมายสิทธิการถือครอง และอุปนิสัยของคนไทยที่ชอบอยู่แบบครอบครัวใหญ่
  พ.ศ. 2516   การเคหะแห่งชาติ ได้รับโอนอาคารที่พักอาศัยรวม คือ แฟลต จาก กรมประชาสงเคราะห์  ที่สร้างตามนโนบายแก้
ปัญหาชุมชนแออัด  การเคหะแห่งชาติต้องการ นำกฎหมายมาใช้ เพื่อให้ผู้เช่าซื้ออาคารแฟลตได้รับสิทธิ์ในอาคารและตัดภาระเรื่องการดูแลบำรุงรักษาอาคาร  จึงมีส่วนผลักดัน ทำให้รัฐบาลแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณายกร่างขึ้นใหม่  จนออกมาเป็นพระราชบัญญัติอาคารชุด ฉบับแรก
  พ.ศ. 2522   เริ่มใช้ พระราชบัญญัติอาคารชุด ฉบับแรก พ.ศ.2522

                    

        

กฎหมายนี้เกิดจากลูกผสมของหลายประเทศเช่นอเมริกา ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ แล้วผสมผสานกับกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย   จุดมุ่งหมายที่จะออกมาใช้ในงานของการเคหะแห่งชาติเป็นประการแรก ตัวกฎหมายจึงเน้นความสำคัญแก่การเคหะแห่งชาติเป็นหลัก  พระราชบัญญัติอาคารชุดนี้ หมายถึง อาคารที่บุคคลสามารถแยกการถือกรรมสิทธิ์ออกได้เป็นส่วนๆ โดยแต่ละส่วนประกอบด้วยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนบุคคล และกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลาง  เจตนารมณ์ของพรบอาคารชุด ต้องการแบ่งแยกทรัพย์ส่วนบุคคล สาระที่สำคัญต่อมาก็คือ เจ้าของร่วมกันออกค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการบริการส่วนรวม และที่เกิดจากเครื่องมือเครื่องใช้ประโยชน์ร่วมกัน กฎหมายจึงบัญญัติให้มีนิติบุคคลอาคารชุด  และตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่จัดการดูแลรักษาทรัพย์สินที่เป็นของส่วนกลางและส่วนรวมภายในอาคารชุด
  พ.ศ. 2534   แก้ไขพระราชบัญญัติอาคารชุด ให้ต่างชาติ ถือครอง พื้นที่อาคารชุดได้สูงสุด 40% ของทั้งหมด
   
  พ.ศ. 2542   แก้ไขพระราชบัญญัติอาคารชุด ให้ต่างชาติ ถือครอง พื้นที่อาคารชุดได้ถึง 49% ของทั้งหมด
   
  พ.ศ. 2551   แก้ไขพระราชบัญญัติอาคารชุด ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2551