จรรยาบรรณผู้บริหารทรัพย์สิน โดย สมาคมบริหารสินทรัพย์แห่งประเทศไทย
-
ผู้บริหารทรัพย์สินต้องรับผิดชอบ และให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกต่อสวัสดิภาพ สุขภาพและความปลอดภัยของสาธารณชน และต่อสิ่งแวดล้อม
-
ผู้บริหารทรัพย์สินต้องแสดงความคิดเห็น และข้อเท็จจริงตามหลักวิชาการ ตามที่ตนทราบอย่างถ่องแท้แก่สาธารณชนด้วยความสัตย์จริง
-
ผู้บริหารทรัพย์สินต้องดำรง และส่งเสริมความซื่อสัตย์สุจริต เกียรติยศ และศักดิ์ศรีของวิชาชีพการบริหารทรัพย์สิน
-
ผู้บริหารทรัพย์สินต้องปฏิบัติงานในสาชาที่ตนมีความรู้ความสามารถเพียงพอเท่านั้น
-
ผู้บริหารทรัพย์สินต้องสร้างชื่อเสียงในวิชาชีพจากคุณค่าของงาน และต้องไม่แข่งขันกันอย่างไม่ยุติธรรม
-
ผู้บริหารทรัพย์สินต้องรับผิดของต่องาน และผลงานในวิชาชีพของตน
-
ผู้บริหารทรัพย์สินต้องใช้ความรู้และความชำนาญในงานวิชาชีพของตน เพื่อผลประโยชน์ของผู้ว่าจ้างหรือลูกค้า ซึ่งตนปฏิบัติงานให้เหมือนเป็นตัวแทนที่ซื่อตรงหรือเป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางใจ
-
ผู้บริหารทรัพย์สินต้องพัฒนา และเผยแพร่ความรู้ทางวิชาชีพของตนตลอดเวลาที่ประกอบอาชีพการบริหารทรัพย์สิน และต้องช่วยเหลือส่งเสริมอย่างจริงจัง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ และประสบการณ์ให้แก่ผู้บริหารทรัพย์สินในความดูแลของ
การอธิบายความหมาย
สมาคมบริหารสินทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้พบว่าร่างจรรยาบรรณที่เคยได้นำเสนอไปแล้วนั้นมีผู้ตีความไปต่างๆ กัน ทางสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย จึงขอเสนอคำอธิบายความหมายของจรรยาบรรณเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป
จรรยาบรรณข้อ 1
"ผู้บริหารทรัพย์สินต้องรับผิดชอบและให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกต่อสวัสดิภาพสุขภาพและความปลอดภัยของสาธารณชน และต่อสิ่งแวดล้อม"
หลักการข้อจรรยาบรรณข้อนี้ ก็คือผลประโยชน์ของสาธารณชนจะต้องมีลำดับความสำคัญสูงกว่าผลประโยชน์ส่วนบุคคลและอื่นๆ ดังนั้นสมาชิกแห่งประเทศไทย จะต้อง
-
หลีกเลี่ยงไม่รับงานที่จะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม และความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ที่ชัดเจนของผู้ว่าจ้าง หรือสมาชิกชุมชนกับผลประโยชน์ของสาธารณชน
-
ทำงานให้สอดคล้องกับหลักปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพการบริหารทรัพย์สินที่ยอมรับได้โดยให้ระมัดระวังให้เรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยของชีวิตและสุขภาพของคนงานและสาธารณชน รวมถึงทรัพย์สินซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบจากงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของตน
-
พยายามป้องกันความเสียที่จะเกิดแก่ทรัพย์สินและสมาชิกชุมชน โดยการแจ้งต่อผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องให้ทราบถึงสถานการณ์อันจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ทรัพย์สินและสมาชิกชุมชนขึ้นได้
-
เผยแพร่ความรู้ทางด้านการบริหารทรัพย์สิน และขจัดการเผยแพร่ข่าวสารอันเป็นเท็จหรือข่าวสารที่ขยายเกินความจริง หรือไม่ยุติธรรม
-
มีส่วนร่วมในการอภิปรายในที่สาธารณะ เกี่ยวกับเรื่องทางการบริหารทรัพย์สิน ในสาขาที่ตนเชี่ยวชาญ ทั้งนี้ โดยพิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำเช่นนี้จะเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของสาธารณชน
จรรยาบรรณข้อ 2
"ผู้บริหารทรัพย์สินต้องแสดงความคิดเห็น และข้อเท็จจริงตามหลักวิชาการตามที่ตนทราบอย่างถ่องแท้แก่สาธารณชนด้วยความสัตย์จริง"
จุดประสงค์ของจรรยาบรรณข้อนี้ สมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ต้องการให้สมาชิก
-
แถลงถึงความคิดเห็นทางการบริหารทรัพย์สิน ต่อสาธารณชน เฉพาะเมื่อตนได้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องที่แถลงนั้นอย่างถ่องแท้แล้ว
-
ผู้ที่เป็นพยานในศาลให้ถ้วยคำต่อศาลด้วยข้อมูลที่ถูกต้องและเฉพาะที่ได้รู้ชัดแจ้งเท่านั้นแต่จรรยาบรรณนี้ไม่ห้ามการตอบข้อซักถามที่ต้องการการคาดคะเน และพินิจพิจารณาโดยอาศัยความรู้และประสบการณ์ของตนเอง และความรู้ที่เกี่ยวข้องในวงกว้าง
-
เปิดเผยถึงผลประโยชน์ใดๆ ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องการเงินหรือเรื่องอื่นใดที่อาจจะมีผลกระทบต่อดุลยพินิจของตน ในเรื่องทางเทคนิคที่ตนกำลังแถลงหรือให้เป็นประจักษ์พยานอยู่
จรรยาบรรณข้อ 3
"ผู้บริหารทรัพย์สินต้องดำรง และส่งเสริมความซื่อสัตย์สุจริต เกียรติยศและศักดิ์ศรีของวิชาชีพการบริหารทรัพย์สิน"
จุดประสงค์ของจรรยาบรรณข้อนี้ ก็คือต้องการให้วงการอาชีพผู้บริหารทรัพย์สินมีความประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ดีงาม ให้เป็นที่ยอมรับนับถือของสาธารณชนทั่วไป ดังนั้นสมาชิกของสมาคมฯจะต้อง
-
ไม่โฆษณาผลงานของตนเองในลักษณะที่เป็นการโอ้อวด และพึงหลีกเลี่ยงการกระทำใดๆ ที่จะนำความเสื่อมเสียมาสู่วิชาชีพการบริหารทรัพย์สิน
-
ปฏิบัติงานที่ได้รับมาทำ อย่างถูกต้องตามหลักปฏิบัติและวิชาการของวิชาชีพ โดยเคร่งครัด
-
ประกอบอาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ใช้วิชาชีพในทางผิดกฎหมาย
-
ไม่พัวพันเกี่ยวข้องกับธุรกิจหรือการประกอบงานอาชีพใดๆ ซึ่งตนรู้อยู่ว่าเป็นการหลอกลวงไม่สุจริต
-
ไม่อาศัยการคบค้าสมาคมกับบุคคลอื่นๆ หรือหน่วยงานอื่นๆ เพื่อปกปิดการกระทำที่ผิดศีลธรรมจรรยา
-
ไม่ทำงานร่วมกับผู้บริหารทรัพย์สินที่ปฏิบัติตนผิดจรรยาบรรณ หรือผู้บริหารทรัพย์สินที่ถูกลบชื่อออกจากทะเบียนการเป็นสมาชิกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย เพราะทำผิดจรรยาบรรณและต้องรายงานต่อสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย เมื่อพบว่าสมาชิกของสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ทำผิดจรรยาบรรณ
-
ไม่ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบธรรม หรือใช้อิทธิพล หรือทำให้ผลประโยชน์แก่บุคคลใดเพื่อให้ตนเอง หรือผู้อื่นได้รับหรือไม่ได้รับงาน
-
ไม่ละทิ้งงานที่ได้รับทำโดยไม่มีเหตุอันสมควร
-
ไม่ลงลายมือชื่อเป็นผู้ประกอบวิชาชีพผู้บริหารทรัพย์สินในงานที่ตนไม่ได้ทำ ไม่ได้ตรวจสอบหรือควบคุมด้วยตนเอง
จรรยาบรรณข้อ 4
"ผู้บริหารทรัพย์สินต้องปฏิบัติงานในสาขาที่ตนมีความรู้ความสามารถเพียงพอเท่านั้น"
จุดประสงค์ของจรรยาบรรณข้อนี้ สมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ต้องการให้สมาชิก
-
ไม่ประกอบวิชาชีพผู้บริหารทรัพย์สินเกินความสามารถที่ตนเองจะทำได้
-
แจ้งให้ผู้ว่าจ้าง หรือสมาชิกของชุมชนของตนทราบอย่างตรงไปตรงมาว่า งานที่ได้รับมอบหมายมานั้นต้องการความรู้ความสามารถ หรือประสบการณ์อย่างอื่นนอกจากสาขาวิชาที่ตนมีความรู้ความเชี่ยวชาญ
จรรยาบรรณข้อ 5
"ผู้บริหารทรัพย์สิน ต้องสร้างชื่อเสียงในวิชาชีพจากคุณค่าของงาน และต้องไม่แข่งขั้นกันอย่างไม่ยุติธรรม"
จุดประสงค์ของจรรยาบรรณข้อนี้ ต้องการให้ผู้บริหารทรัพย์สินไม่ประพฤติตัวอย่างไม่เหมาะสมในการประกอบวิชาชีพผู้บริหารทรัพย์สิน อันจะเป็นการหาผลประโยชน์ใส่ตนเองสมาชิกของสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย จะต้อง
-
ไม่ใช้ข้อได้เปรียบ หรือตำแหน่งอันมีอภิสิทธิ์ไปแย่งงานจากผู้ประกอบวิชาชีพผู้บริหารทรัพย์สินคนอื่นๆ
-
ยึดหลักไว้เสมอว่างานใดที่ผู้บริหารทรัพย์สิน ผู้หนึ่งผู้ใดทำไว้จะต้องให้เกียรติถือว่าเป็นผลงานของผู้บริหารทรัพย์สิน ผู้นั้น
-
ไม่ควรกระทำการใดๆ อันอาจจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียต่อชื่อเสียง ความก้าวหน้า หรือการปฏิบัติวิชาชีพของผู้บริหารทรัพย์สินอื่นๆ
-
ไม่ปลอมแปลงและไม่ให้ข้อมูลที่ผิดพลาดเกี่ยวกับคุณสมบัติและประสบการณ์ หรือภาระความรับผิดชอบที่ผ่านมาของตน
-
ไม่รับทำงานหรือตรวจสอบงานชิ้นเดียวกันกับผู้ประกอบวิชาชีพผู้บริหารทรัพย์สิน คนอื่นที่ทำอยู่แล้ว เว้นแต่เป็นการปฏิบัติหน้าที่
-
ไม่แทรกแซงงานของผู้บริหารทรัพย์สินอื่นๆ เมื่อทราบว่าผู้บริหารทรัพย์สินนั้นได้มีข้อตกลงทำงานนั้นอยู่แล้วยกเว้นเมื่อผู้ว่าจ้างได้บอกเลิกการจ้างกับผู้บริหารทรัพย์สินผู้นั้นเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว
-
ไม่แข่งขันกับผู้บริหารทรัพย์สิน อื่นด้วยการตัดราคาค่าจ้างของตนให้ต่ำกว่าของผู้นั้นโดยเฉพาะเมื่อได้ทราบค่าจ้างของผู้นั้นแล้ว
-
ไม่ใช้อิทธิพลหรือวิธีจ่ายค่าตอบแทนต่างๆ ในการแข่งขันกับผู้บริหารทรัพย์สินอื่น เพื่อให้ได้มาซึ่งงานนั้น
-
ละเว้นการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้บริหารทรัพย์สินอื่น ต่อสาธารณะ เว้นแต่จะเป็นการปฏิบัติหน้าที่
-
ไม่จ่ายเงินและไม่เสนอสิ่งตอบแทนทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เพื่อให้ได้งานมาทำ
-
พึงรับงานจากผู้ว่าจ้างโดยคำนึงถึงความเป็นอิสระเชิงวิชาชีพ และประมวลจรรยาบรรณเป็นหลัก
จรรยาบรรณข้อ 6
"ผู้บริหารทรัพย์สินต้องรับผิดชอบต่องาน และผลงานในวิชาชีพของตน"
จรรยาบรรณข้อนี้หมายความว่า สมาชิกของสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทยต้อง
-
ระลึกอยู่เสมอว่างานทุกอย่างที่ทำไปนั้น ตนต้องรับผิดชอบตลอกการทำงานตามสัญญาว่าจ้าง
-
ระลึกอยู่เสมอว่าผลงานที่ทำไปแล้วอาจจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัย และคุณภาพชีวิตของชุมชน
-
ติดตามตรวจสอบผลงานการบริหารงาน หรือการให้คำปรึกษาของตนตลอดระยะเวลาการทำงาน
-
บริหารหากพบข้อบกพร่องใดๆ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ว่าจ้างหรือสมาชิกชุมชนหรือแก่สาธารณชน สมาชิกของสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทยต้องเร่งรัดจัดการแก้ไขโดยไม่ต้องมีการทักท้วงก่อน
จรรยาบรรณข้อ 7
"ผู้บริหารทรัพย์สินต้องใช้ความรู้และความชำนาญในงานวิชาชีพของตน เพื่อผลประโยชน์ของผู้ว่าจ้าง และสมาชิก ชุมชน ซึ่งตนปฏิบัติงานให้เหมือนเป็นตัวแทนที่ซื่อตรงหรือเป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางใจ"
จุดประสงค์ของจรรยาบรรณข้อสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ต้องการให้สมาชิก
-
ต้องซื่อตรงต่อผู้ว่าจ้างและสมาชิกชุมชน เมื่อต้องปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่ตนเป็นตัวแทนหรือผู้ได้รับความไว้วางใจจากบุคคลเหล่านั้น
-
แสดงฐานะของตนให้ผู้ว่าจ้างทราบก่อนที่จะรับดำเนินการ ในกรณีที่ได้รับแต่งตั้งให้ตัดสินงานหรือสิ่งอื่นที่ตนอาจจะมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องอยู่ด้วย
-
ไม่เปิดเผยความลับของงานที่ตนได้รับเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าจ้าง
-
ต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในฐานะเป็นผู้รับเหมา หรือคู่สัญญาว่าจ้างร่วมทุน ในการประกวดราคางานซึ่งตนเป็นตัวแทนของผู้ว่าจ้าง หรือสมาชิกชุมชน นากจากจะได้รับอนุญาตจากผู้ว่าจ้างเสียก่อน
-
ไม่รับค่าตอบแทนหรือเงินเหนือสิ่งอื่นใด จากผู้ว่าจ้างหลากรายในการให้บริการงานชิ้นเดียวกัน นอกจากจะได้รับอนุญาตจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายแล้ว
-
ไม่เรียกรับหรือยอมรับทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อย่างใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบจากผู้รับจ้างหรือบุคคลใดซึ่งเกี่ยวข้องกับงานที่ทำอยู่กับผู้ว่าจ้าง
-
ไม่เรียกร้องหรือรับเงิน หรือสิ่งตอบแทนที่มีค่าอย่างยิ่ง จากผู้ขายสินค้าและบริการ หรือสมาชิกชุมชนในกรณีที่สมาชิกเป็นผู้กำหนดหรือทำให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการของผู้ขายผู้นั้น
-
ไม่เรียกร้องหรือรับของกำนัลทั้งในทางตรงและทางอ้อมจากผู้รับจ้างหรือผู้ขายสินค้าบริการหรือบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ว่าจ้างหรือลูกค้าของสมาชิกในงานที่สมาชิกรับผิดชอบอยู่
-
แนะนำผู้ว่าจ้างของตนให้จ้างผู้เชี่ยวชาญมาดำเนินการสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ว่าจ้างและให้ความร่วมมือเต็มที่
-
ให้คำแนะนำแก่ผู้ว่าจ้างหรือสมาชิกชุมชน เมื่อตนได้ศึกษาแล้วเชื่อว่างานที่จะให้ดำเนินการนั้นจะไม่ประสบความสำเร็จ
-
แจ้งให้ผู้ว่าจ้างของตนทราบทันทีถึงกิจการใดๆ ซึ่งตนมีส่วนเสียและอาจจะเป็นคู่แข่งหรือมีผลกระทบต่อธุรกิจของผู้ว่าจ้าง และสมาชิกต้องไม่ยอมให้ผลประโยชน์ธุรกิจใดๆมีอิทธิพลเหนือการติดสินใจเกี่ยวกับงานการบริหารทรัพย์สินที่ตนทำอยู่
จรรยาบรรณข้อ 8
"ผู้บริหารทรัพย์สินต้องพัฒนา และเผยแพร่ความรู้ทางวิชาชีพของตนตลอดเวลาที่ประกอบอาชีพการบริหาร ทรัพย์สิน และต้องช่วยเหลือส่งเสริมอย่างจริงจัง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ และประสบการณ์ให้แก่ผู้บริหารทรัพย์สินในความดูแลของตน"
หลักการข้อนี้มีความประสงค์ให้ผู้บริหารทรัพย์สินมีการพัฒนาอาชีพโดยขยายเขตความรู้และเพิ่มพูนทักษะของตนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของหลักวิชาการบริหารทรัพย์สินและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องนอกจากนั้นสมาชิกยังต้อง
-
ให้ความร่วมมือในการส่งเสริมวิชาชีพผู้บริหารทรัพย์สินโดยการแลกเปลี่ยนข่าวสารความรู้และประสบการณ์กับผู้บริหารทรัพย์สิน
-
สนับสนุนให้ลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาในงานอาชีพของตนได้ศึกษาต่อ
-
สนับสนุนนิสิต นักศึกษา และโครงการช่วยงานสมาคมผู้บริหารทรัพย์สิน รวมทั้งสถาบันการศึกษาให้ได้รับความรู้และผลประโยชน์มากยิ่งขึ้น
-
เผยแพร่ความรู้การบริหารทรัพย์สิน
ที่มา
สมาคมบริหารสินทรัพย์แห่งประเทศไทย
|