Home » ออกแบบตกแต่ง บ้านและสวน » เทคนิคทำบ้านเย็น รับมือกับอากาศร้อน

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
เทคนิคทำบ้านเย็น รับมือกับอากาศร้อน

ทำบ้านเย็นฉ่ำเลิกง้อเครื่องปรับอากาศกันเสียที!!
หยุดเปิดเครื่องปรับอากาศ หยุดเปิดพัดลมทีละหลายๆ ตัว เพราะวันนี้มีเทคนิครับมือกับอากาศร้อนพร้อมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาฝาก

ไทยรัฐออนไลน์ 12 พฤษภาคม 2556

         สภาพอากาศที่ทวีคูณความร้อนขึ้นทุกวัน เป็นเหตุที่ทำให้ผู้อยู่อาศัยต่างหาวิธีการที่จะทำให้บ้านเย็นมากขึ้น โดยส่วนใหญ่มักจะจัดการกับปัญหาด้วยวิธีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ซึ่งผลลัพธ์ที่ตามมาก็มีอีกสารพันปัญหา ไม่ว่าจะเป็นค่าไฟที่เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งความร้อนจากการทำงานของเครื่องได้ส่งผลให้อากาศโดยรอบบ้านร้อนขึ้น โลกก็ยิ่งร้อนมากขึ้นไปอีก นับเป็นห่วงโซ่ปัญหาที่มีแต่จะทำให้สถานการณ์แย่ลง ดังนั้น “ตราช้าง” ในฐานะผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง จึงได้ออกมาแนะนำเคล็ดลับดีๆ ที่เจ้าของบ้านหลายท่านอาจยังไม่เคยรู้มาก่อน เพื่อเตรียมรับมือกับอากาศร้อน ด้วยวิธีที่ทั้งเป็นมิตร
ต่อสิ่งแวดล้อม และยังช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าได้ในระยะยาว

        “ศึกษาทิศแดดทางลม” สำหรับเจ้าของบ้านสร้างใหม่ ก่อนสร้างบ้านควรศึกษาเรื่องทิศทาง 
และวางผังบ้านให้ตรงกับหลักการ โดยบริเวณหน้าบ้าน ห้องรับแขก หรือห้องนอน ไม่ควรหันหน้าไปในทิศตะวันตก เพราะจะทำให้พื้นที่นั้นรับแดดตลอดช่วงบ่าย และวนเวียนอยู่ภายในจนถึงกลางคืน ทำให้บ้านร้อน ถ้าเป็นไปได้ควรหันหน้าบ้านไปทางทิศใต้ จะสามารถรับลมได้ดีถึง 8 เดือน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – ตุลาคม ส่วนทิศเหนือจะรับลมได้เพียง 3 เดือนที่เหลือเท่านั้น และควรทำหน้าต่างแบบบานเปิด ซึ่งสามารถรับลมได้กว่าหน้าต่างแบบบานเปิดออก หรือบานเกล็ด

        “เลือกใช้วัสดุที่ช่วยป้องกันและสะท้อนความร้อนได้จริง” 70% ของความร้อนภายในบ้านมาจากหลังคา ดังนั้นจึงไม่ควรเสียดายเงินในการวางระบบและเลือกซื้อวัสดุที่ดีที่จะช่วย ป้องกันความร้อนที่ไหลมาทางหลังคา บ้านใหม่ควรให้ความสำคัญกับการติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อนใต้หลังคาป้องกัน ความร้อนที่สามารถติดตั้งได้ในบ้านสร้างใหม่เท่านั้น ส่วนบ้านเก่าสามารถป้องกันความร้อนจากหลังคา ด้วยการปูฉนวนกันความร้อนบนฝ้าเพดาน การติดตั้งฉนวนกันความร้อนจะช่วยป้องกันความร้อน
จากโถงหลังคาไม่ให้เข้าสู่ ตัวบ้านใช้ได้ทั้งบ้านเก่า และบ้านสร้างใหม่ ข้อแนะนำสำคัญคือ หลังคาทรงจั่วจะสามารถระบายความร้อนได้ดีกว่าหลังคาทรงแบน หรือหลังคาดาดฟ้า ที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน

  

      “รู้จักเลือกนวัตกรรมที่สามารถช่วยลดความร้อนรอบบ้าน” บริเวณพื้นรอบบ้าน สามารถใช้บล็อกปูพื้น Cool Plus แทนการเทพื้นด้วยซีเมนต์ ซึ่งผิวด้านบนของ Cool Plus นั้นจะช่วยดูดซับน้ำ และกักเก็บน้ำไว้ในตัวก้อน เมื่อมีความร้อนหรือแสงแดดมากระทบที่ตัวก้อน จะทำให้น้ำที่กักเก็บไว้ในตัวก้อน ค่อยๆ ระเหยกลายเป็นไอออกมาช่วยให้อุณหภูมิโดยรอบลดลงและรู้สึกเย็นสบาย ข้อแนะนำคือ ควรปูบล็อก Cool Plus โดยใช้พื้นที่ขั้นต่ำประมาณ 25 ตารางเมตรจากจุดศูนย์กลาง และโรยทรายบริเวณขอบทั้ง 4 ด้านที่เป็นรอยต่อระหว่างบล็อก เพื่อลดการกระแทก

  

       “จัดสวน แต่งระแนงไม้ ช่วยให้เย็นกายเย็นใจ” นอกจากการปรับที่เกี่ยวกับโครงสร้างที่ตัวบ้านแล้ว เจ้าของบ้านยังสามารถปรับบริเวณภายนอกบ้าน ด้วยการต่อไม้ระแนงขึ้นจากรั้วในทิศที่แดดส่อง หรือปลูกต้นไม้ขนาดใหญ่ ที่นอกจากจะให้ความสวยงามแล้ว ยังช่วยสร้างร่มเงาตกกระทบ และช่วยลดอุณหภูมิภายในบ้าน ทั้งยังช่วยเพิ่มอากาศบริสุทธิ์จากออกซิเจนที่ไหลเวียนรอบบ้าน การทำสวนแนวตั้ง การทำน้ำตก น้ำพุ จะช่วยทำให้บ้านเย็นขึ้น

  

ทาวน์เฮาส์ หรือคอนโดมิเนียมก็เย็นได้” ไม่ใช่แค่กลุ่มเจ้าของบ้านเท่านั้นที่มีสิทธิ์ลดความร้อนให้ที่อยู่อาศัย รู้หรือไม่ว่าคุณก็สามารถลดดีกรีความร้อนให้ทาวน์เฮาส์ คอนโดมิเนียม หรืออพาร์ตเมนต์ได้เช่นกัน ด้วยการป้องกันความร้อนที่มาจากหลังคา ด้วยการปูฉนวนกันความร้อนบนฝ้าเพดาน ในกรณีที่ต้องการป้องกันความร้อนจากด้านข้างสามารถเสริมฉนวนกันความร้อนได้ บริเวณผนังห้อง ด้วยระบบผนังเบาที่ทำเสริมผนังเดิมออกมา

  
  

สิ่ง สำคัญที่ไม่ควรลืมนอกจากจะลดอุณหภูมิให้แก่บ้านแล้ว ควรคำนึงถึงการช่วยลดอุณหภูมิให้แก่โลกของเราด้วย เพียงเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเคล็ดลับเหล่านี้เป็นวิธีที่สามารถทำได้ไม่ยาก ทั้งเจ้าของบ้านที่ต้องการนำไปปรับใช้กับบ้านด้วยตัวเอง หรือสำหรับเจ้าของบ้านที่กำลังจะสร้างบ้านใหม่ เพื่อให้การอยู่บ้านในช่วงหน้าร้อนไม่ต้องทรมานอย่างที่เคยเป็นมา

ที่มา http://www.thairath.co.th/content/life/343811