Home » ออกแบบตกแต่ง บ้านและสวน » การออกแบบสำนักงานแนวใหม่

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
การออกแบบสำนักงานแนวใหม่

         เพื่อความเป็นเอกภาพขององค์กร เพราะจะมีผลต่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพของบุคลากรของแต่ละองค์กร  โดยการออกแบบจะต้องคำนึงถึงเอกลักษณ์และธรรมชาติขององค์กรมากที่สุดด้วยความเข้าใจพฤติกรรมของบุคลากรทุกฝ่าย ทุกตำแหน่งหน้าที่ตั้งแต่พื้นฐานการใช้งาน  กิริยาบทที่เป็นลักษณะเฉพาะองค์กร  ไปจนถึงลักษณะพิเศษที่นักออกแบบจะต้องสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์มากกว่าการใช้สอยธรรมดา

         นั่นจึงเป็นเหตุให้การออกแบบในปัจจุบันต้องมีแนวทางใหม่ๆ เพื่อทำให้องค์กรมีลักษณะโดดเด่นเฉพาะ พนักงานเกิดความรู้สึกภูมิใจในองค์กรให้ความน่าเชื่อถือทั้งจากลูกค้าและพนักงานด้วยกันเอง  พนักงานเกิดความกระตือรือร้นในการทำงาน เป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างแบรนด์ขององค์กร ไปจนถึงความพิเศษที่แสดงถึงวิสัยทัศน์ขององค์กรด้วยการออกแบบที่คำนึงถึงจิตวิทยาสภาพแวดล้อมมากที่สุด  แนวทางการออกแบบสำนักงานแนวใหม่มีข้อคำนึงสำคัญๆ ดังนี้ครับ

1. การค้นคว้าข้อมูลพื้นฐานก่อนการออกแบบ  ประกอบด้วยแนวทางคือ

       1.1  ศึกษารูปแบบการทำงานเฉพาะขององค์กร  การประสานสัมพันธ์ติดต่อระหว่างบุคคลต่างๆ ในสำนักงานแต่ละแผนกทั้งพนักงาน ผู้บริหาร ตลอดจนลูกค้าผู้มาติดต่ออย่างละเอียดครบถ้วนเพื่อนำมากำหนดเป็นพื้นที่ใช้สอยทั้งพื้นที่ส่วนตัวของบุคลากร  ตลอดจนพื้นที่รวมขององค์กร การแบ่งสรรพื้นที่  การลำดับความสำคัญในการวางผังจำนวนตารางเมตรของแต่ละพื้นที่

       1.2 ศึกษาลักษณะเฉพาะของธุรกิจ รูปแบบทางการค้าขายทั้งระดับปรกติ  จนถึงระดับพิเศษที่มีแบบฉบับเฉพาะตัวประเภทของสินค้าผลิตภัณฑ์ขององค์กรหรือลักษณะการให้บริการ

2. กำหนดแนวความคิดและไอเดียสร้างสรรค์เฉพาะตัว

        2.1  กำหนดความเป็นเอกภาพของแนวความคิดทั้งองค์กร  โดยมีการเชื่อมสัมพันธ์ของการออกแบบไปทุกส่วน ตั้งแต่กราฟฟิคดีไซน์ โลโก้ นามบัตร หัวจดหมาย เอกสารขององค์กร  ทั้งหมดไปจนถึงเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของบุคลากรทั้งหมด  ซึ่งการออกแบบจะต้องสะท้อนแบรนด์, ลักษณะเด่นขององค์กรออกมา  เช่น รูปแบบการให้บริการ, รูปแบบการจัดการองค์กร  การบริหารจัดการ  โดยถ่ายทอดออกมาเป็นนามธรรม  แล้วพัฒนาออกมาเป็นรูปธรรมต่อไป คือ จากแนวความคิดเป็นรูปแบบเฉพาะนั่นเอง

        2.2 กำหนดสัญลักษณ์  เริ่มตั้งแต่สัญลักษณ์ 2 มิติ  สู่สัญลักษณ์ 3 มิติ เป็นการตีความจากตัวตนขององค์กร  แล้วสร้างสรรค์ออกมาเป็นรูปแบบที่จับต้องได้  ทั้งรูปร่าง  รูปทรง  พื้นที่ว่าง การจัดผังเฉพาะตามแนวความคิดหลักและการใช้สอย

       2.3 มีที่มาที่ไป มีเหตุมีผล สามารถอธิบายได้

3.  การจัดผังสำนักงาน

       หลังจากได้ข้อมูลทางด้านบุคลากร, การบริหารจัดการ, ตำแหน่งหน้าที่ ลักษณะการใช้งานอย่างครบถ้วนแล้วสามารถนำมาจัดพื้นที่ใช้สอยได้อย่างลงตัว  โดยลำดับการใช้งานลำดับตำแหน่งหน้าที่การประสานระหว่างบุคลากรและการทำงานแต่ละแผนก เริ่มต้นด้วยโซนใหญ่ๆ หลังจากนั้นจึงย่อส่วนลงมาในโซนเล็กลงสู่พื้นที่ส่วนตัวของทุกตำแหน่งบุคลากร ข้อคำนึงในการวางผังสำนักงานมีดังนี้ครับ

       3.1 คำนึงถึงวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งแต่ละทุกชนชาติจะไม่เหมือนกันไปจนถึงวัฒนธรรมเฉพาะขององค์กร ซึ่งการวางผังต้องคำนึงถึงมากเพื่อให้การใช้งานมีประสิทธิภาพสูงสุด

      3.2 คำนึงถึงสไตล์ในการทำงาน  โดยเริ่มจากองค์รวมของสำนักงานไปจนถึงหน่วยย่อยที่เป็นพื้นที่ทำงานส่วนตัว โดยยึดหลักเพื่อส่วนรวมมากกว่าส่วนตน โดยเฉพาะการจัดแบ่งพื้นที่ตามยศหรือตำแหน่งในองค์กร จึงควรมีการระดมสมองร่วมกันทั้งฝ่ายบุคคลอย่างเป็นเอกภาพ โดยยึดหลักเสียสละมากกว่าการยึดพื้นที่ ซึ่งทำยากสำหรับองค์กรของไทย

     3.3 มุมมอง, ทัศนียภาพและความเชื่อ  ถ้าสามารถนำการออกแบบมาใช้ให้ประสบความสำเร็จสูงสุด  การวางผังจึงต้องคำนึงถึงในข้อนี้เป็นพิเศษเพื่อให้ทุกตำแหน่งไม่มีมุมตาย  โดยนำวิธีการจัดวาง การกั้นผนังให้เกิดมุมมองใหม่ ในกรณีไม่สามารถให้ทุกมุมได้เห็นวิวทางธรรมชาติได้  โดยใช้วิธีจัดมุมมองทดแทน  อีกเรื่องที่สำคัญคือ ความเชื่อ ทั้งของส่วนบุคคลและระดับองค์กร โดยเฉพาะเรื่องฮวงจุ้ย ซึ่งควรใช้หลักเหตุและผล หลักบุคลิกภาพและพฤติกรรมเป็นตัวนำมากกว่าความงมงาย

4. การสร้างบรรยากาศ

     4.1 ให้เกิดบรรยากาศกระตือรือร้น แอคทีฟ  ด้วยการใช้สีที่สดใสแต่ไม่ต้องถึงขนาดที่สีตัดกันรุนแรงให้มีความสุขุม มั่นคง เกิดความเชื่อมั่นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบาย, จุดเด่นขององค์กรด้วยครับ จะเป็นสีอะไรก็ได้แต่ต้องเป็นสีที่เป็นเนื้อคู่กันจริงๆ ตรงนี้ต้องปรึกษามัณฑนากรครับ

    4.2 การใช้แสงอย่างเหมาะสม  ไม่ควรสลัวๆ มืดจนเกินไป แต่ควรรู้จักเน้นในบางจุด และเกลี่ยแสงให้เท่าๆ กันในบริเวณทำงาน โดยอาจจะมีแสงจากบริเวณโต๊ะด้วยโคมไฟตั้งโต๊ะหรือติดตั้งกับชุดโต๊ะทำงาน  ที่สำคัญควรจะต้องออกแบบให้สามารถ ใช้แสงธรรมชาติให้มากที่สุด

    4.3 รูปแบบ จะต้องขึ้นอยู่กับบุคลิก, นโยบายองค์กร

5. การบริหารการใช้พลังงาน

      ระบบการออกแบบที่ดีสำหรับสำนักงานแนวใหม่ควรคำนึงถึงการรู้จักใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การวางระบบปรับอากาศ  การวางระบบไฟฟ้า  การคำนวณรีเสิร์ทการใช้งานในแต่ละพื้นที่ ซึ่งควรแยกระบบไฟ, ปรับอากาศตามการใช้งาน ซึ่งไม่ควรเปิดทิ้งไว้ไม่ได้ใช้งาน  อาจจะออกแบบผนังบานเลื่อน ออกแบบวางโซนของการติดตั้งเครื่องปรับอากาศตามการใช้งาน ตามช่วงเวลาที่ทำงานทั้งพร้อมกันและไม่พร้อมกัน  ไปจนถึงการรวมกันในการใช้งาน เช่น ชุดอินเตอร์เน็ตส่วนรวม ระบบการทำงานแบบรวมศูนย์มากกว่าแยก,  รวบแผนกไว้ด้วยกันบางแผนก  ลดทอนจำนวนคนที่กระจัดกระจาย  รวมการบริหารให้องค์กรไม่กว้างจนควบคุมดูแลยาก เพื่อให้การบริหารมีระบบโดยไม่อุ้ยอ้าย

      องค์กรในอนาคตเน้นความคล่องตัวไม่เทอะทะ  พนักงานมีศักยภาพ ทำงานได้มากว่าที่ได้เรียนมาเพียงสาขาเดียวสามารถปรับขยายศักยภาพได้  ดังนั้นระบบสำนักงานต้องมีการปรับเปลี่ยนขนานใหญ่ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจนี้นะครับ  ผู้นำองค์กรท่านใดสนใจขอคำปรึกษาการออกแบบสำนักงาน  การวางระบบ ไอเดีย  การออกแบบแนวใหม่
 

อ. เอกพงษ์   ตรีตรง

ที่มา  indesign-consultant.com