Home » ศาสนา ธรรมะ ความดี » งานสวดลักขี บวชชีหมื่นคน งาน 3 ฉลอง หลวงพ่อวิริยังค์ ปี 2554 (ภาพบรรยากาศ+คลิป+เสียง+ประวัติ ) วัดธรรมมงคล ประจำปี ๒๕๕๔ วันที่ ๗-๑๐ มกราคม ๒๕๕๔

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
งานสวดลักขี บวชชีหมื่นคน งาน 3 ฉลอง หลวงพ่อวิริยังค์ ปี 2554 (ภาพบรรยากาศ+คลิป+เสียง+ประวัติ ) วัดธรรมมงคล ประจำปี ๒๕๕๔ วันที่ ๗-๑๐ มกราคม ๒๕๕๔

งานสวดลักขี บวชชีหมื่นคน ประจำปี ๒๕๕๔
วันศุกร์ที่ ๗ มกราคม- วันจันทร์ที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๔
ณ วัดธรรมมงคล
โดยมี พระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์  สิรินฺธโร) เป็นประธาน

  

งาน 3 ฉลอง สวดลักขี บวชชีหมื่นคน วัดธรรมมงคล ประจำปี 2554

หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร
ฉลอง สวดลักขีบวชชีหมื่นคน ปีที 53
ฉลองอายุวัฒมงคล ครบ 91 ปี
ฉลองสมณศักดิ์ ชั้นธรรม ที่ พระธรรมมงคงญาณ

7 - 10 มกราคม พ.ศ. 2554

(ร่วมงาน+ถ่ายภาพ-เสียง โดยทีมงาน ซอฟท์บิส)

   

 

 

 

  

   

 

   

 

--------------------------------------------------------------------------------

เพิ่มเติม ภาพบรรยากาศงานลักขีบวชชีหมื่นคน วันที่ 7-10 มกราคม 2554

จาก  samathi.com

วันแรก จุดเทียนชัย

-----------------------------------------------------------------

           การบวชชีสวดลักขี เป็นการสะสมบุญยิ่งใหญ่ทั้ง ๑๐ ประการ ให้ชีวิตมีความสบงและสุขใจ เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ให้สดใส

           ในงานพิธีครั้งนี้ได้นิมนต์พระเถระฝ่ายวิปัสสนา มาเจริญพระพุทธมนต์,แสดงพระธรรมเทศนา,นั่งสมาธิแผ่เมตตาจิต จำนวน ๙๒ รูป จึงขอเชิญสาธุชนทั้งหลายมาร่วมงานสวดลักขีบวชชีหมื่นคน และร่วมตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารผู้มาบวชชีตามกำลังศรัทธา ย่อมมีอานิสงส์ผลบุญมหาศาล

           ในการมาบวชชี ให้เตรียมชุดบวชสีขาวและของใช้ส่วนตัวมา  ไม่ต้องโกนผม  ดอกไม้ธูปเทียน ทางวัดจัดหาไว้ให้บูชาตามศรัทธา

กำหนดการ       

วันศุกร์ที่  ๗  มกราคม  ๒๕๕๔

        เวลา ๐๖.๐๐ น.  พระเทพเจติยาจารย์ ตักบาตรสามเณร  ๙๒  รูป  หน้าศาลา  ๘๔  ปี
        เวลา ๑๘.๐๙ น.  เริ่มพิธีบวชชี / จุดเทียนชัย / สวดลักขี / นั่งสมาธิ / ฟังธรรมเทศนา      

วันเสาร์ที่  ๘  มกราคม  ๒๕๕๔

        เวลา ๑๘.๐๙ น.  พระเถระฝ่ายวิปัสสนาธุระ  เจริญพระพุทธมนต์เย็น
         สวดลักขี / นั่งสมาธิ / ฟังพระธรรมเทศนา / และหยุดพักเป็นช่วง ๆ ตลอดวันตลอดคืน      

วันอาทิตย์ที่  ๙  มกราคม  ๒๕๕๔

        เวลา ๑๐.๐๐ น.  พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ เจริญพระพุทธมนต์ / ฉันภัตตาหารเพล
        เวลา ๑๒.๓๐-๑๖.๐๐ น.  คณะศิษย์ยานุศิษย์ถวายมุทิตาสักการะพระเทพเจติยาจารย์ ณ ปรำพิธี
                                               ถวายผ้าป่าโครงการประทีปเด็กไทย และ ผ้าป่าสามัคคี
                                               สวดลักขี นั่งสมาธิ ฟังธรรมเทศนา และหยุดพักเป็นช่วงๆ ตลอดวันตลอดคืน     

วันจันทร์ที่  ๑๐  มกราคม  ๒๕๕๔

        เวลา ๐๕.๔๙ น.  ดับเทียนชัย / ลาสิกขา เป็นเสร็จพิธี

สอบถามข้อมูลได้ที่ วัดธรรมมงคล สุขุมวิท ๑๐๑ บางจาก เขตพระโขนง กทม.๑๐๒๖๐
โทร. ๐๒-๓๓๒-๔๑๔๕  โทรสาร ๐๒-๗๓๐-๖๓๓๕
ขอเชิญเป็นเจ้าภาพโรงทานที่  โทร. ๐๒-๓๑๑-๑๓๘๗ , ๐๒-๓๑๑-๓๙๐๓

                      ที่มา  http://www.samathi.com     http://www.dhammamongkol.com

         

  

  

  

พระหยกเขียวที่ใหญ่ที่สุดในโลก
                ประดิษฐาน อยู่ในศาลาหลังคาแบบโดมแก้ว   พระพุทธรูปหยกเขียว ที่ใหญ่ที่สุดในโลกนี้มีนามว่า     "พระพุทธมงคลธรรมศรีไทย"  หยกชิ้นใหญ่นี้ได้ถูกค้นพบที่ใต้ทะเลสาบน้ำแข็ง ประเทศแคนนาดา หยกเป็นวัสดุที่มีความ แข็งแกร่งมาก และเหมาะแก่การนำมาสร้าง พระพุทธรูป เพราะมีความสวยงาม คงทนถาวร ตราบนานเท่านาน
ศูนย์สมาธิวิริยานุภาพ

พระเทพเจติยาจารย์
              แสดงพระธรรมเทศนา ณ วัดธรรมมงคล เนื่องในงานสวดลักขีบวชชีหมื่นคน ปี 2549
              เวลา 45:25 -นาที

   

รูปภาพ


 

...:b44: :b44: :b44:... 

:b42: อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธฯ
นะโม ข้าจะไหว้พระพุทธเจ้าทุกพระองค์
เมื่อข้าดับจิตลง อย่าให้ใหลหลง ขอให้จิตจำนง ตรงทางพระนิพพาน 
ขอให้พบดวงแก้ว ขอให้แคล้วหมู่มาร ขอให้ทันพระศรีอาริย์ 
ข้าจะไปนมัสการ พระเกษแก้ว พระจุฬามณี เจดีย์สถาน เป็นที่ไหว้ ที่สักการ กุศลสัมปันโน ฯ


:b42: อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธฯ
นะโม ข้าจะไหว้พระธรรมเจ้า ของพระพุทธองค์
เมื่อข้าดับจิตลง อย่าให้ใหลหลง ขอให้จิตจำนง ตรงทางพระนิพพาน 
ขอให้พบดวงแก้ว ขอให้แคล้วหมู่มาร ขอให้ทันพระศรีอาริย์ 
ข้าจะไปนมัสการ พระเกษแก้ว พระจุฬามณี เจดีย์สถาน เป็นที่ไหว้ ที่สักการ กุศลสัมปันโน ฯ


:b42: อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธฯ
นะโม ข้าจะไหว้พระสังฆเจ้า ของพระพุทธองค์
เมื่อข้าดับจิตลง อย่าให้ใหลหลง ขอให้จิตจำนง ตรงทางพระนิพพาน 
ขอให้พบดวงแก้ว ขอให้แคล้วหมู่มาร ขอให้ทันพระศรีอาริย์ 
ข้าจะไปนมัสการ พระเกษแก้ว พระจุฬามณี เจดีย์สถาน เป็นที่ไหว้ ที่สักการ กุศลสัมปันโนติ ฯ
 

:b42::b42::b42::b42::b42::b42::b42::b42::b42::b42::b42::b42::b42::b42:

  

ประวัติงานสวดลักขีบวชชีหมื่นคน

              การบวชชีพราหมณ์นี้เป็นพิธีที่สืบสานมาหลายปีแล้วโดยการริเริ่มของพระญาณวิริยะ(สมณะศักดิ์ในขณะนั้นของหลวงพ่อวิริยังค์  สิรินฺธโร) เมื่อปี 2499 ซึ่ง ณ ขณะนั้นพระอาจารย์หลวงพ่อมีอายุเพียง 36 ปี

          พิธีกรรมการบวชชี นั้น เริ่มต้นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ สถานที่ธุดงค์วิปัสสนากรรมฐาน วัดดำรงธรรมาราม อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ซึ่งตอนนั้น พระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล) เกิดความตระหนักว่า ในเส้นทางปฏิบัติธรรม ผู้หญิงไม่ค่อยมีสิทธิเทียมเท่าผู้ชาย จึงได้คิดแนวปฏิบัติ ที่จะให้โอกาสสตรี ด้วยการบวชชีให้สตรี ได้เข้าสู่การปฏิบัติธรรม แห่งปณีตศีล ถือเพศบรรพชิต กินนอนในวัดอย่างน้อย ๓ วัน โดยวันแรกนั้น ถือเป็นวันรับศีล วันที่สอง เป็นวันทรงศีล จะมีโอกาสปฏิบัติธรรมได้เต็มที่ ส่วนวันสุดท้าย จะเป็นวันส่งผลบุญ พิธีกรรม ครั้งแรก ในการบวชชีแห่งแผ่นดินสยาม มีหลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ และ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ เป็นผู้ให้วิสัยแก่ผู้เข้ามาบวชชี ในสมัยนั้น ถือว่าเป็นของใหม่ แต่ก็มีผู้สนใจเข้ามาบวชชีถึง ๖๒๕ คน ด้วย

          อานิสงส์ผลบุญ แห่งการบวช ทำให้หลายคนที่ผ่านการบวชแล้ว กลับไปด้วยจิตอิ่มเอิบเบิกบานแจ่มใส มีความสุขใจ โดยทั่วกัน

          ในครั้งนั้น หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร ได้พิมพ์ภาพของท่าน แจกให้กับผู้ที่มาบวชชีเป็นที่ระลึก และ ในจำนวนนั้นมีผู้หญิงคนหนึ่ง บ้านอยู่ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง มีอาชีพต้มเหล้าพื้นบ้าน (เหล้าเถื่อน) ขาย วันหนึ่งเธอประสบอุบัติเหตุถึงชีวิต ขณะที่เธอมีสติเลื่อนลอยไปเรื่อยๆ แล้วมาอยู่ตรงที่แห่งหนึ่ง ซึ่งมีคนหน้าตาดุร้ายหลายคน จับเธอโยนลงไปในกระทะใบใหญ่ ที่มีน้ำเดือดพล่านๆ แต่พอเธอจะตกลงไป ก็มีอันกระดอนกลับขึ้นมา เป็นอยู่อย่างนี้ถึง  ๓ ครั้ง ในช่วงนั้นเธอเห็นรูป หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร มารองรับเธอไว้ มิให้ตกลงไปในกระทะ แม้ชายหน้าตาดุดันก็เห็นเช่นเดียวกัน จากนั้นก็ได้หยิบรูปนั้นขึ้นมาแล้วถามว่ารู้จักคนนี้หรือไม่เธอตอบว่ารู้จัก เพราะเคยไปบวชชีที่วัดของท่าน ๓ วัน เขาจึงบอกให้เธอกลับไปได้

         เธอมารู้สึกตัวอีกครั้งขณะที่ญาติกำลังจะเอาร่างของเธอใส่ลงในหีบศพพอรู้ว่าเธอ ฟื้นต่างก็ดีอกดีใจ จากวันนั้นเธอประกาศเลิกต้มเหล้าขายอย่างเด็ดขาด ข่าวนี้ฮือฮากันมากในช่วงเวลานั้น

         ต่อมาเมื่อมีการบวชชีที่วัดดำรงธรรมารามเมื่อไรคนจะแห่เข้าไปจนแน่นวัดแล้ววัด อื่นก็เอาแบบอย่างนี้ไปปฏิบัติตามจนแพร่หลายไปทั่ว

         เมื่อหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร ไปสร้างวัดที่ใดก็จะนำเอาประเพณีสวดลักขีไปจัดขึ้นที่วัดนั้นๆ ดังเช่นที่วัดธรรมมงคล ถนนสุขุมวิท ซอย ๑๐๑ เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร

         ภายในงานครุกกรุ่นไปด้วยพลังแห่งสมาธิ ประชาชนที่มาร่วมงานต่างหอบสัมภาระเตรียมพร้อมมาเต็มที่ เพราะต้องอยู่กันถึง ๓ วัน

         งานนี้มีการสวดลักขี นั่งสมาธิ ฟังพระธรรมเทศนา ตลอดวันตลอดคืนจนถึงวันสุดท้าย ต่างก็แยกย้ายกันนำบุญกลับบ้านไป อย่างเต็มเปี่ยมสุขใจทั่วกัน งานสวดลักขีบวชชีหมื่นคน จะมีทุกปีตลอดไป


         การบวชชีสวดลักขี  เป็นการสั่งสมบุญบารมีครั้งยิ่งใหญ่ทั้ง ๑๐ ประการ  ให้ชีวิตมีความสงบและสุขใจ  เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ให้สดใส  ในงานพิธีครั้งนี้ได้นิมนต์พระเถรานุเถระ  ฝ่ายวิปัสสนาธุระมาแสดงพระธรรมเทศนาและนั่งสมาธิแผ่เมตตาจิตจำนวนมาก  จึงของเชิญผู้ใจบุญทั้งหลายร่วมสวดลักขี  เพื่อสะสมบุญบารมีให้แก่ตน  และร่วมตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารผู้มาบวชชีตามกำลังศรัทธา  ย่อมมีอานิสงส์ผลบุญมหาศาล  ดังที่พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญจนบรรลุผลสำเร็จมาแล้วเทอญ
 

          ในการมาบวชชี  ให้เตรียมชุดบวชสีขาวและของใช้ส่วนตัวมา  ไม่ต้องโกนผม ดอกไม้ธูปเทียน  ทางวัดจัดไว้ให้บูชาตามศรัทธา

พระเทพเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร)
แสดงพระธรรมเทศนา ณ วัดปทุมวนาราม
เนื่องในวโรกาสในหลวง 80 พรรษา

   

ประวัติและปฏิปทา พระเทพเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร)

  

(หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร)
วัดธรรมมงคล  เถาบุญญนนท์วิหาร
แขวงบางจาก  เขตพระโขนง  กรุงเทพมหานคร 10260

  

๏ ชาติภูมิ
 
          พระเทพเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) มีนามเดิมว่า วิริยังค์ บุยฑีย์กุล โยมบิดาชื่อ ขุนเพ็ญภาษชนารมย์ เป็นนายสถานีรถไฟ โยมมารดาชื่อ นางมั่น บุญฑีย์กุล (อุบาสิกามั่น ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ.2520) เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ.2463 ตรงกับแรม 13 ค่ำ เดือน 1 ปีวอก ณ บ้านพักบริเวณสถานีรถไฟปากเพรียว ต.ปากเพรียว อ.เมือง จ.สระบุรี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 7 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 5 มีชื่อตามลำดับดังนี้

1. นางกิมลั้ง บุญฑีย์กุล (ชูเวศ)
2. นายฑีฆายุ บุญฑีย์กุล
3. นายสุชิตัง บุญฑีย์กุล
4. นายสัจจัง บุญฑีย์กุล
5. พระเทพเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร)
6. นายไชยมนู บุญฑีย์กุล
7. นางสายมณี บุญฑีย์กุล (ศรีทองสุข)

 

ปัจจุบัน พระเทพเจติยาจารย์ สิริอายุ 91 พรรษา 70 (เมื่อปี พ.ศ.2554) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร 
 

  

หลวงพ่อวิริยังค์ตอนเด็ก

๐พบพระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ ๐

         ต่อมาครอบครัวของท่านได้ย้ายมาตั้งหลักฐานที่บ้านใหม่สำโรง ต.ลาดบัวขาว อ.สีคิ้ว
จ.นครราชสีมา วันหนึ่งขณะที่ท่านมีอายุประมาณ 13 ปี ย่างเข้า 14 ปี เพื่อนผู้หญิงคนหนึ่งชวนเป็นเพื่อนให้ไป “วัดสว่างอารมณ์” ต.ลาดบัวขาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ซึ่งมีพระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ เป็นเจ้าอาวาส ขณะที่รอเพื่อนผู้หญิงคนนั้นไปต่อมนต์ (ท่องบทสวดมนต์) กับพระอาจารย์กงมา ท่านก็รออยู่ด้วยความเบื่อหน่ายเพราะไปตั้งแต่ 2 ทุ่มกลับเที่ยงคืน จะกลับบ้านเองก็ไม่ได้ เพราะเส้นทางเปลี่ยวและกลัวผี
 
         ได้แต่คิดอยู่ในใจว่า “ตั้งแต่นี้ต่อไปไม่มาอีกแล้วๆๆ” ไม่ช้าก็เกิดความสงบขึ้น ตัวหายไปเลย เบาไปหมด เห็นตัวเองมี 2 ร่าง ร่างหนึ่งเดินลงศาลาไปยืนอยู่ที่ลานวัด มีลมชนิดหนึ่งพัดหวิวเข้าสู่ใจ รู้สึกเย็นสบายเป็นสุขอย่างยิ่ง ถึงกับอุทานออกมาเองว่า “คุณของพระพุทธศาสนามีถึงเพียงนี้เชียวหรือ” แล้วเดินกลับไปที่ร่าง กลับเข้าตัว
 
         พอดีเป็นเวลาเลิกต่อมนต์ จึงเล่าให้กับพระอาจารย์กงมาฟัง ท่านก็พูดว่า “เด็กนี่ เรายังไม่ได้สอนสมาธิให้เลยทำไมจึงเกิดเร็วนัก” ตั้งแต่นั้นมาก็จึงเรียนรู้เกี่ยวกับการทำสมาธิ จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่งท่านทำงานหนักเกินตัวจึงล้มป่วยเป็นอัมพาต บิดาพยายามหาหมอมารักษา แต่ก็รักษาไม่ได้ แพทย์แผนปัจจุบันบอกว่า หมดหวังในการรักษา

๐พบชีปะขาวมารักษาให้หายจากอัมพาต๐

          ท่านได้แต่นอนอธิษฐานอยู่ในใจว่า “ถ้ามีผู้ใดมารักษาให้หายจากอัมพาตได้ จะอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น” ไม่นานก็ปรากฏว่ามีชีปะขาวหนวดรุงรังตนหนึ่ง มาถามบิดาของท่านว่า “จะรักษาลูกให้เอาไหม” บิดาก็บอกว่า “เอา” ชีปะขาวก็เดินมาหาท่านซึ่งนอนอยู่ พร้อมทั้งกระซิบถามว่า หนูอธิษฐานดังนั้นจริงไหม ท่านก็ตอบว่าจริง จึงให้พูดให้ได้ยินดังๆ หน่อย ท่านก็พูดให้ฟัง ชีปะขาวก็เอาไพรมาเคี้ยวๆ แล้วก็พ่นใส่ตัวของท่านจนเหลืองไปหมด แล้วก็จากไป

         เช้าตรู่วันรุ่งขึ้น ปรากฏว่าท่านรู้สึกว่าจะกระดิกตัวได้ ทดลองลุกขึ้นเดินก็ทำได้ เป็นที่อัศจรรย์ใจ 7 โมงเช้าปรากฏว่าชีปะขาว มายืนหลับตาบิณฑบาตอยู่ที่ประตูบ้าน ท่านจึงนำอาหารจะไปใส่บาตร ชีปะขาวกลับขอให้ท่านพูดถึงคำอธิษฐานของท่านให้ฟัง เมื่อพูดแล้ว จึงยอมรับบาตร แล้วบอกให้ท่านไปหาที่ใต้ต้นมะขาม วัดสว่างอารมณ์

         เมื่อไปถึงชีปะขาวก็ให้พูดคำอธิษฐานให้ฟังอีก แล้วก็พาเดินไปหลังวัด คว้าเอามีดอันหนึ่งออกไปตัดหางควาย มาชูให้ดู แล้วก็ต่อหางคืนไปใหม่ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น พร้อมกับถามว่า “ลุงเก่งไหม” ท่านก็ตอบว่า “เก่ง” ลุงจะสอนคาถาให้ แต่ต้องท่องทุกวัน เป็นเวลา 10 ปีจึงใช้ได้ ท่านก็ได้เรียนคาถานั้น แล้วก็บอกว่าพรุ่งนี้ให้เตรียมใส่บาตร วันรุ่งขึ้นปรากฏว่าไม่พบตาชีปะขาวแล้ว ตั้งแต่นั้นมาท่านก็ไม่เคยพบกับตาชีปะขาวอีกเลย                                                           
 

 


พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ
สามเณรวิริยังค์
 

๐ ใต้ร่มกาสาวพัตร์๐ 

           ปี พ.ศ.2477 เมื่ออายุประมาณ 15 ปี พระอาจารย์กงมาบวชให้เป็นตาปะขาวอยู่รับใช้ท่าน ต่อมาเมื่ออายุ 16 ปีได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2463

            ณ วัดสุทธจินดา ต.โพธิ์กลาง อ.เมือง จ.นครราชสีมา โดยมีพระธรรมฐิติญาณ เป็นพระอุปัชฌาย์
หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรได้ 10 วัน ก็ติดตามพระอาจารย์กงมาออกเดินธุดงค์ตามป่าเขาลำเนาไพรและตามวัดต่างๆ อย่างเคร่งครัด เพื่อแสวงหาความสงบวิเวก เมื่อพบที่สงบวิเวกก็จะหยุดอยู่ทำความเพียร แม้บางครั้งอดอาหารกันอยู่หลายวัน บางครั้งเจอสัตว์ร้าย เจออันตราย หรือหนทางอันยาวไกล ในบางวันเดินธุดงค์ข้ามเขาเกือบ 50 กิโลเมตร ก็ไม่ย่อท้อ โดยถือคติที่ว่ารักความเพียร รักธรรมะมากกว่าชีวิต

            ครั้งหนึ่งเมื่อออกจากดงพญาเย็น ได้พบโจรกลุ่มหนึ่งมีอาวุธครบมือมาล้อมไว้ พระอาจารย์กงมาได้เทศน์สั่งสอนโจรกลุ่มนั้น มีอยู่ตอนหนึ่งท่านเทศน์ว่า “พวกเธอเอ๋ย แม้พวกเธอจะมาหาทรัพย์ ตลอดถึง การผิดศีลของพวกเธอนั้น ก็เพื่อเลี้ยงชีวิตนี้เท่านั้น แต่ชีวิตนี้ก็ไม่ใช่ของพวกเธอเลย มันจะสิ้นกันไม่รู้วันไหน เป็นเช่นนี้ทุกคน ถึงพวกเธอจะฆ่าหรือไม่ฆ่าเขา เขาก็ต้องตาย เธอก็เหมือนกัน มีความดีเท่านั้นที่ใครๆ ฆ่าไม่ตาย อย่างเรานี้จะตายเมื่อไหร่ก็ไม่อนาทรร้อนใจ เพราะความดีเราทำมามากแล้ว”

             ปรากฏว่าพวกโจรวางมีด วางปืนทั้งหมด น้อมตัวลงกราบพระอาจารย์กงมาอย่างนอบน้อม หัวหน้าโจรมอบตัวเป็นศิษย์ และได้บวชเป็นตาผ้าขาว ถือศีล 8 เดินธุดงค์ไปด้วยกัน จวบจนกระทั่งหมดลมหายใจลงในขณะทำสมาธิ

            ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2484 ท่านมีอายุ 21 ปี ได้อุปสมบท ณ วัดทรายงาม บ้านหนองบัว อ.เมือง จ.จันทบุรี โดยพระปัญญาพิศาลเถระ(หนู) เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์กงมาจิรปุญโญเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาทองสุข สุจิตโต เป็นพระอนุสาวนาาจารย์ หลวงพ่อได้เดินธุดงค์ติดตามพระอาจารย์กงมาไปในที่ต่าง ๆ เป็นเวลา 8 ปี วันหนึ่ง พระอาจารย์กงมาก็พาท่านเดินธุดงค์จากจังหวัดจันทรบุรีไปจังหวัดสกลนคร เพื่อไปพบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หลวงพ่อวิริยังค์ได้รับเลือกให้เป็นอุปัฎฐากอยู่ 4 ปี ได้เดินธุดงค์ร่วมกับพระอาจารย์มั่น เรียนธรรมะ อันลึกซึ้ง ได้จดคำสอนของหลวงปู่มั่นบางตอนไว้ (ปกติท่านห้ามผู้ใดจดเด็ดขาด เมื่ออ่านให้ท่านฟังภายหลังท่าน กลับรับรองว่าใช้ได้) ต่อมาท่านได้เผยแพร่คำสอนนี้แก่สาธารณะชน ในหนังสือที่ชื่อว่า "มุตโตทัย"

อุปสมบท

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2484 ขณะอายุ 21 ปี ณ วัดทรายงาม 
(อุทกสีมากลางทะเล) บ้านหนองบัว อ.เมือง จ.จันทบุรี 
โดยพระปัญญาพิศาลเถระ (หนู) 
เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ 
พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ 
พระมหาทองสุข สุจิตฺโต เป็นประอนุสาวนาจารย์


สมณศักดิ์

พ.ศ.2507 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกที่ พระครูญาณวิริยะ
พ.ศ.2510 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระญาณวิริยาจารย์ 
พ.ศ.2535 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชธรรมเจติยาจารย์
พ.ศ.2545 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเจติยาจารย์


เกียรติคุณ

ปริญญากิตติมศักดิ์ 

พ.ศ. 2538 ปริญญาพัฒนบริหารศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ด้านบริหารการพัฒนา จากสถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
พ.ศ. 2545 ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา
พ.ศ. 2545 ปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการศึกษานอก ระบบ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
พ.ศ. 2550 ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยโยนก จังหวัดลำปาง 


โล่รางวัล

พ.ศ. 2540 ได้รับรางวัล มูลนิธิสมาน คุณหญิงเบญจา แสงมะลิ สาขาพระสงฆ์
พ.ศ. 2541 ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติบุคคลดีเด่นของกรุงเทพมหานคร เพชรกรุงเทพสาขาศิลปวัฒนธรรม ศาสนาและการศึกษา จากกรุงเทพมหานคร

 

ผลงานของพระเทพเจติยาจารย์ 

เนื่องด้วยพระเทพเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคลมีความประสงค์จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศ ท่านได้พัฒนาถาวรวัตถุและให้การศึกษาทุก ๆ ด้านเห็นเป็นที่ประจักษ์ ดังนี้

สร้างวัด 11 แห่งในประเทศไทย 
สร้างวัดไทยในประเทศแคนนาดา 7 แห่ง 
สร้างวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่ง 
สร้างสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ที่จังหวัดนครราชสีมา 
สร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3,000 กว่าแห่งทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายที่ 7,000 แห่ง 
สร้างโรงพยาบาลจอมทอง 
สร้างที่ว่าการอำเภอจอมทอง 
สถาบันประถมศึกษาจอมทอง 
สร้างพระมหาเจดีย์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย วัดธรรมมงคล 
สร้างพระหยกที่ใหญ่ที่สุดในโลก วัดธรรมมงคล 
สร้างสถาบันพลังจิตตานุภาพในประเทศไทยและประเทศแคนนาดา ด้วยเวลาเพียง 8 ปี 
สถาบันชนาพัฒน์ เป็นสถาบันพัฒนานักออกแบบชาวไทย ให้เป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ 

 

การสร้างวัดในประเทศไทย

วัดที่ 1 พ.ศ. 2486 สร้างวัดบ้านห้วยแคน ต.หนองเทียน อ.เมือง จ.สกลนคร ขณะนั้นอายุได้ 24 ปี
วัดที่ 2 พ.ศ. 2487 สร้างวัดวิริพลาราม บ้านเต่างอย อ.เมือง จ.สกลนคร
วัดที่ 3 พ.ศ. 2489-91 สร้างวัดมณีคีรีวงศ์ (กงรังษี) จ.จันทบุรี มีกุฏิ ศาลา หอระฆัง ฯลฯ 
วัดที่ 4 พ.ศ. 2491-95 สร้างวัดดำรงธรรมาราม อ.ขลุง จ.จันทบุรี ให้เป็นที่ธุดงค์วิปัสสนากัมมัฏฐาน 
วัดที่ 5 พ.ศ. 2493 สร้างวัดสถาพรพัฒนา (วัดหนองชิ่ม) ต.หนองชิ่ม อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี 


วัดที่ 6 พ.ศ. 2506 สร้าง วัดธรรมมมงคล ถนนสุขุมวิท 101 พระโขนง กรุงเทพฯ เป็นวัดแรกในกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จทรงหล่อพระประธานเสร็จตัดลูกนิมิต และเสด็จวางศิลาฤกษ์พระมหาเจดีย์ เนื้อที่ 32 ไร่ พระพุทธรูปหยกสีเขียวใหญ่ที่สุดในโลกเป็น ปฏิมากรรมที่มีความอัศจรรย์อย่างยิ่งแบบทันสมัย ศาลาพระหยกสวยงาม พระอวโลกิเตศวรกวนอิมหยก สีเขียวอันเดียวกับ พระหยก ถ้ำวิปัสสนาบรรจุได้กว่า 200 คน มีสวนป่าไม้ดอก ไม้ใบ ที่กว่า 4 ไร่ สระน้ำรื่นรมย์ เป็นสถานที่ฝึกสอนวิปัสสนา กุฏิถาวรหลังใหญ่ 2 ชั้น อีก 12 หลัง ศาลาการเปรียญ ศาลาเมรุฌาปนสถาน อุโบสถ และทีสำคัญที่สุดคือ พระมหาเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุสวยสด งดงาม ตามศิลปไทย วิจิตรตระการตาหาชมได้ยาก สิ้นงบประมาณร่วมร้อยล้านบาทมี พระภิกษุสามเณรพำนักอยู่ กว่า 400 รูปและมี ร.ร.อนุบาลธรรมศาลา อบรมสั่งสอนเด็กเล็ก

วัดที่ 7 พ.ศ. 2511 สร้างวัดหนองกร่าง วิทยาลัยสงฆ์กำแพงแสน ต.ทุ่งลูกนก อ.กำแพงแสน จ.นครปฐมมีกุฏิ 80 หลัง ศาลาการเปรียญ อาคารเรียน 3 หลัง อุโบสถ 2 ชั้น มีพระภิกษุสงฆ์ ทั่วราชอาณาจักรศึกษา อยู่ปัจจุบัน 200 รูป
วัดที่ 8 พ.ศ. 2512 สร้างวัดผ่องพลอยวิริยาราม ซอยลาซาล สุขุมวิท 105 พระโขนง กรุงเทพฯ เนื้อที่ 10 ไร่ มีกุฏิ บำเพ็ญภาวนา 60 หลัง ศาลาปฏิบัติธรรม อุโบสถ หอระฆัง และอื่น ๆ
วัดที่ 9 พ.ศ. 2512 สร้างวัดสิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนานิคม) ซ.เสนานิคม 1 ถ.พหลโยธิน ลาดพร้าว กรุงเทพฯ มีกุฏิ 40 หลัง ศาลาปฏิบัติธรรม ร.ร.ปริยัติธรรม อุโบสถ มีพระสงฆ์ 100 รูป
วัดที่ 10 พ.ศ. 2513 สร้างวัดอมาตยาราม จ.ปราจีนบุรี เนื้อที่ 60 ไร่ มีศาลา กุฏิ อุโบสถครบบริบูรณ์ 
วัดที่ 11 พ.ศ. 2513 สร้างวิทยาลัยสงฆ์กำแพงแสน สาขาน้ำตกแม่กลาง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เพื่อการปฏิบัติธรรมให้บรรลุเป้าหมายในทางปฏิบัติบำเพ็ญวิปัสสนา ชั้นสูงเหมาะกับภูมิประเทศแถบนี้ ปัจจุบันนี้ (พ.ศ. 2530-2534) พระญาณวิริยาจารย์จะปฏิบัติธรรมจำพรรษาอยู่ที่น้ำตกแม่กลางนี้ และฝึกพลังจิตให้สว่างไสวแล้วนำไปโปรดญาติโยมต่อไป
วัดที่ 12 พ.ศ. 2514 สร้างวิทยาลัยสงฆ์วังน้อย จ.อยุธยา (วชิราลงกรณ์วิทยาลัย) เนื้อที่ 108 ไร่ มีพระภิกษุสามเณร 300 รูป ศึกษาเล่าเรียนอยู่ในปัจจุบัน
วัดที่ 13 พ.ศ. 2516 สร้างวัดแก้วพิทักษ์เจริญธรรม ซ.อุดมสุข สุขุมวิท 103 พระโขนง กรุงเทพฯ มีกุฏิ โรงครัว บ่อน้ำ อุโบสถ ตามลำดับ

การสร้างวัดในต่างประเทศ

วัดที่ 14 พ.ศ. 2535 วัดญาณวิริยาเทมเปิ้ล 1 เมืองแวนคูเวอร์ รัฐบริทิชโคลัมเบีย ประเทศแคนนาดา
วัดที่ 15 พ.ศ. 2536 วัดญาณวิริยาเทมเปิ้ล 2 เมืองโตตรอนโต้ ประเทศแคนนาดา 
วัดที่ 16 พ.ศ. 2538 วัดธรรมวิริยาราม 1 ออตตาวา (เมืองหลวง) ประเทศแคนนาดา
วัดที่ 17 พ.ศ. 2540 วัดธรรมวิริยาราม 2 น้ำตกไนแองการ่า ออนโตริโอ ประเทศแคนนาดา 
วัดที่ 18 พ.ศ. 2541 วัดธรรมวิริยาราม 3 เมืองแอตแมนตัน ประเทศแคนนาดา 
วัดที่ 19 พ.ศ. 2542 วัดธรรมวิริยาราม 4 เมืองแคลการี ประเทศแคนนาดา

 

1. คุณสมบัติของพระเทพเจติยาจารย์ที่สมควรได้รับการยกย่อง

เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นที่ยอมรับของสังคม 
พระเทพเจติยาจารย์ ท่านเป็นผู้ทรงวุฒิ มีคุณธรรมและจริยธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังจะเห็นได้จากผลจากการดำริของท่านทุก ๆ เรื่องจะเปี่ยมไปด้วยคุณธรรมและจริยธรรม 


1.1 ความเป็นผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ยอมรับของสังคม

สร้างหลักสูตรครูสมาธิ โดยเน้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างมี
หลักเกณฑ์ อันเป็น แนวทางสายกลางทำให้เกิดความเป็นไปได้แก่บุคคลทุกเพศทุกวัย 
เขียนหนังสือหลักสูตรครูสมาธิ 3 เล่ม เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน และหากใครต้องการศึกษาด้วยตนเองก็สามารถกระทำได้ 
สร้างระบบการบริหารหลักสูตรและการเรียนการสอนเต็มรูปแบบ ยึดถือเป็นระบบเดียวกันในการไปสอนในที่ต่าง ๆ 
จัดการเรียนการสอนหลักสูตร ครูสมาธิในประเทศแคนนาดา 
เป็นผู้สอนหลักสูตรครูสมาธิแก่ชาวแคนนาดา 

 

1.2 ความเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นที่ยอมรับของสังคม

ท่านได้เน้นหนักให้บำเพ็ญสมาธิภาวนาแก่พระภิกษุสามเณร ที่อยู่ภายใต้การดูแลของท่าน จำนวนมาก ทำให้บุคคลเหล่านั้นได้รับประโยชน์อย่างยิ่ง เนื่องด้วยท่านเป็นและปฏิบัติกัมมัฏฐาน ซึ่งได้บำเพ็ญสมาธิในเบื้องต้นแห่งชีวิตความเป็นพระภิกษุสามเณร โดยการปฏิบัติครั้งแรกอยู่กับ พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ (ศิษย์เอกพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ) เป็นเวลาถึง 8 ปี และ อยู่ปฏิบัติกัมมัฏฐานกับพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ เป็นเวลา 4 ปี ดังนั้นท่านฯ จึงมีความ ชำนาญในการสอนพระกัมมัฏฐานเป็นอย่างยิ่ง เป็นที่ซาบซึ้งในเมื่อได้ฟังธรรมเทศนา ตลอดถึงผลแห่งการปฏิบัติที่ได้รับ ก็เป็นที่ยอมรับจาก บรรดาศิษย์ทั้งหลายสำหรับปัจจัยใน การสร้างวัด และบูรณวัดนั้นท่านมิให้ไปเรี่ยไรที่ไหนเพียงตั้งตู้บริจาคไว้ที่ศาลาวัดแห่งเดียวเท่านั้น จึงเป็นการ แสดงถึงศรัทธาอันยิ่งใหญ่ของชาวพุทธที่มีต่อตัวท่านและวัดธรรมมงคล ท่านฯ ได้ให้พระภิกษุ สามเณรที่อยู่ภายใต้การ ปกครองของท่านได้ร่ำเรียนเขียนอ่านตาม หลักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา และทางวิชาสามัญตลอดถึงภาษาต่างประเทศ โดยตั้งโรงเรียน พระปริยัติธรรมและ โรงเรียนวิชาสามัญให้พระภิกษุสามเณรทั้งหลาย ได้ร่ำเรียนโดย ไม่มีขอบ เขตที่จำกัด ให้มีความรู้กว้างขวาง เข้าใจเหตุและผลเป็นความรู้ที่ใช้การได้ พระภิกษุสามเณร ที่มาศึกษาอยู่ในแวดวงของท่านฯ จำนวนหลายพันรูปได้ซึ่ง ความรู้เป็น ประโยชน์แก่ตนใน หลายกรณีทั้งเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นอีกมาก ทุก ๆ รูปเหล่านี้ต่างระลึกถึงคุณาคุณของท่านฯ อย่างมิรู้ลืมและอย่างจริงใจ บัดนี้ก็ปรากฎว่ามีผู้เรียนสำเร็จผลช่วยงานพระพุทธศาสนา ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก 

2. เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญพิเศษในวิชาชีพระดับดีเด่นในสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

พระเทพเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) เจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล เป็นผู้ที่ประสบ ความสำเร็จในการบริหารการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบ โรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับต่างประเทศ ด้วยเหตุที่ ท่านได้เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลมุ่งพัฒนาคนให้เป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม ได้รับ การศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรมอย่างทั่วถึง และท่านยังมองการณ์ไกลว่าปัจจุบันนี้การ บริหารจัดการวัดต่าง ๆ ในประเทศไทยไม่มีประสิทธิภาพเพราะเจ้าอาวาสรู้แต่ทางธรรม ท่านจึงได้มีดำริเตรียมพระสงฆ์เพื่อที่จะไปเป็นเจ้าอาวาสวัดต่าง ๆ ให้มีทางด้านการบริหารจัดการ โดยเฉพาะทางการบริหารการศึกษา ทั้งนี้เพราะท่านเล็งเห็นว่า วัดควรเป็นสถาบันการศึกษา ที่สามารถจัดการศึกษาด้านต่าง ๆ ได้อย่างดีและทั่วถึง ถ้าเจ้าอาวาสรู้จักการบริหารและการ จัดการที่ดี ชึ่งผลงานของท่านสรุปรวบรวมได้ดังนี้

2.1 การบริหารอาคารสถานที่

สถานที่วัดธรรมมงคล
สุขุมวิท 101 พระโขนง กรุงเทพฯ มีเนื้อที่ 32 ไร่ สิ่งก่อสร้างภายในวัดทุกสถานที่ท่านสามารถจัดสรรทรัพยากรให้ใช้ประโยชน์ได้อย่งคุ้มค่า

และมีประสิทธิภาพสูงสุดดังนี้

พระมหาเจดีย์ สูงที่สุดในประเทศไทย จัดได้ว่าการจัดการศึกษาทุกรูปแบบได้จัดอยู่ในสถานที่แห่งนี้แก่
ขั้นที่ 1 สถาบันพลังจิตตานุภาพ
ขั้นที่ 2 วิหารหลวงพ่อดำ
ขั้นที่ 3 ห้องสมุด
ขั้นที่ 4 ห้องเรียนโรงเรียนปริยัติธรรม
ขั้นที่ 5 ห้องเรียนโรงเรียนปริยัติธรรม
ขั้นที่ 6 สำนักงานโรงเรียนปริยัติธรรม
ขั้นที่ 7 สำนักงานศูนย์ให้การศึกษาวัดธรรมมงคล สถาบบันราชภัฎสวนสุนันทา,
ห้องสมุด และห้องเรียนสถาบันราชภัฎสวนสุนันทา 3 ห้อง
ขั้นที่ 8 ห้องเรียนสถาบันราชภัฎสวนสุนันทา 2 ห้อง
ขั้นที่ 9 พิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับพุทธศาสนา
ขั้นที่ 10 พิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับพุทธศาสนา
ขั้นที่ 11 พิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับพุทธศาสนา
ขั้นที่ 12 พิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับพุทธศาสนา
ขั้นที่ 13 พิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับพุทธศาสนา
ขั้นที่ 14 ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

ศาลาพระหยก 
ขั้นที่ 1 ที่จอดรถ
ขั้นที่ 2 ที่บรรจุอัฐิ
ขั้นที่ 3 ประดิษฐสถานพระพุทธรูปหยกและพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมหยก

ถ้ำวิปัสสนาสมาธิ 
เนื่องจากการฝึกสมาธิให้ได้ผลดีจำเป็นต้องมีสถานที่และบรรยากาศท่านจึงได้สร้างถ้ำเพื่อจำลอง

สถานที่ในป่าสำหรับผู้ต้องการฝึกสมาธิการดำเนินการพัฒนาสิ่งก่อสร้าง 
สิ่งก่อสร้างล้วนแต่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งท่านได้รับความร่วมมือร่วมใจจากพุทธศาสนิกชนตั้งแต่เริ่ม

โครงการเป็นอันมาก ได้แก่ ปี พ.ศ. 2519 ลูกเสือชาวบ้าน จำนวน 400 กว่าคน ได้ร่วมกันสร้าง โรงเรียนอนุบาลธรรมศาลา ที่วัดธรรมมงคลและในปีเดียวกันนี้ ท่านได้รับความร่วมมือจาก
ประชาชนในการสร้างพระมหาเจดีย์ เป็นปูชนียสถานที่มีประชาชนมากราบไหว้บูชาทุก ๆ วัน จำนวนมาก เป็นที่รวมซึ่งศิลปวัฒนธรรมมีวัตถุประสงค์ทาง ด้านการจัดการ ศึกษาสำหรับพระสงฆ์ และฆราวาส เช่น เป็นสถาบันพลังจิตตานุภาพเพื่อสนองการฝึกสมาธิ โรงเรียนปริยัติธรรม ระดับมัธยมต้น –มัธยมปลาย ศูนย์ให้การศึกษาวัดธรรมมงคล สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา และยังได้สร้างสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) จังหวัดนครราชสีมา การดำเนิน การพัฒนาทางด้านจิตใจนั้น ท่านฯได้วางรากฐานการปฏิบัติอันเป็นแนวทางเช่นกับพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ คือแนวทางสายกรรมฐานอันเป็นที่เชื่อถือแก่ประชาชนทุก ๆ ชั้น โดยเฉพาะวัดธรรมมงคลนี้เป็นศูนย์กลางการปฏิบัติที่ยิ่งใหญ่มาก โดยมีพระภิกษุสามเณรถึงกว่า 500 รูป มีประชาชนฟังธรรมจำศีลวันพระกว่า 500 คน มีเด็กอยู่ในอุปการะ 500 คน เป็นแหล่งกลาง กรุงเทพมหานคร นอกจากนั้น เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาเด็ก (เยาวชนของชาติ) โดยจัดดำเนิน การช่วยเหลือสร้างสถานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เช่นที่จังหวัดเชียงใหม่ อ.จอมทอง สร้าง 13 แห่ง , ที่ อ.ดอยเต่า 3 แห่ง , ที่ อ .สารภี 1 แห่ง จังหวัดลำพูน ที่ อ.ป่าซาง 12 แห่ง , ที่ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.อุบลราชธานี 13 แห่ง, ที่ อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม 10 แห่ง, ที่ จ.ร้อยเอ็ด, จ.สกลนคร และจังหวัดสมุทรปราการ ทั้งหมดเป็นเงินกว่า 10 ล้านบาท 

นอกจากนี้ได้ให้โภชนาการอาหารเสริมแก่เด็กเล็กก่อนวัยเรียน อ.จอมทอง จำนวน 2,000 คน, อ.ดอยเต่ามี 800 คน, อ.ป่าซาง จำนวน 1,800 คน, อ.ศรีเชียงใหม่ จำนวน 2,000 คน ทั้งนี้มีวัดธรรมมงคลเป็นศูนย์กลาง เพื่อนำเงินและสิ่งของ

ไปช่วยเหลือดำเนินการ และท่านยังได้ช่วยสร้างโรงพยาบาล ให้แก่รัฐบาลโดยสร้างอาคารผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอก 3 ชั้น ขนาด 60 เตียง สิ้นเงินกว่า 22 ล้านบาท เพื่อเป็นประโยชน์แก่ประชาชนใน ท้องถิ่นอำเภอจอมทอง รวมทั้งช่วยเหลือสร้างที่ว่าการอำเภอจอมทอง

สำนักงานการประถมศึกษาจอมทองและได้สร้าง อาคารกว้าง 18 เมตร ยาว 81 เมตร 3 ชั้น เป็นอาคารทันสมัย เป็นหอพักที่ฝึกงานห้องเรียนพร้อมบริบูรณ์เป็นเงินกว่า 30 ล้านบาท เพื่อให้แก่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

ทั้งหมดนี้ ท่านได้อุทิศชีวิตของท่านเพื่อบำเพ็ญประโยชน์แก่ตนและบุคคลผู้อื่น โดยการเสียสละ อย่างสูง มิเห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยแต่ประการใด หากท่านมิได้เสียสละอย่างยิ่งยวดแล้ว ผลงาน จะปรากฏแก่ สายตาของประชาชนเช่นนี้ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ แต่ด้วยความตั้งมั่นที่จะช่วยงาน พระพุทธศาสนาให้เจริญ รุ่งเรืองแก่พระพุทธศาสนา ดังนั้นจึงเป็นที่เคารพนับถือของประชาชน เป็นอย่างสูงในขณะนี้พุทธบริษัท ทั้งหลายต่างพากันชื่นชมในงานที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ และศาสนาอย่างหาประมาณมิได้