( ตัวอย่าง )
คู่มือการอยู่อาศัย ดิโฮล์มเพลส คอนโดมิเนี่ยม
The Holme Place Condominium
ขอแสดงความขอบคุณเป็นอย่างยิ่งที่ท่านได้เลือก ดิโฮล์มเพลส คอนโดมิเนี่ยม The Holme Place Condominium เป็นที่พักอาศัยของท่าน คู่มือนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ท่านทราบข้อมูลเกี่ยวกับห้องชุด สิทธิ และข้อพึงปฏิบัติในการอยู่อาศัยร่วมกัน
เอกสารที่ท่านจะได้รับหลังจากโอนกรรมสิทธิ์ ท่านจะได้รับเอกสารดังนี้
-
สำเนาโฉนดห้องชุด (กรณีที่จดจำนองกับสถาบันการเงิน) หรือโฉนดห้องชุด ฉบับเจ้าของ (กรณีที่โอนด้วยเงินสด)
-
หนังสือสัญญาซื้อขาย
-
ทะเบียนบ้านฉบับสำนักงานเขต (ที่ดิน)
สิ่งที่โครงการจะมอบให้กับเจ้าของห้องชุดมีดังนี้
-
คีย์การ์ดเพื่อเข้าประตูโถงบันไดชั้นล่าง คีย์การ์ด 1 ใบ ต่อผู้พักอาศัย 1 ท่าน กรณีที่ทำหายหรือต้องการเพิ่มให้รีบแจ้งนิติบุคคลอาคารชุดทราบทันที
-
กุญแจประจำห้องจำนวน 1 ชุด ชุดละ 3 ดอก
-
ระเบียบของนิติบุคคลอาคารชุด ดิโฮล์มเพลส คอนโดมิเนี่ยม
-
คู่มือสำหรับเจ้าของห้องอาคารชุด ดิโฮล์มเพลส คอนโดมิเนี่ยม 1 ฉบับ
รายละเอียดของห้องชุด
ประกอบไปด้วย 3 ขนาด คือ
1. ขนาด 30 ตรม. 2. ขนาด 45 ตรม. 3. ขนาด 60 ตรม.
รายการอุปกรณ์ในห้องน้ำมีรายการดังนี้
-
อ่างล้างหน้า สีขาว พร้อมก๊อกเดี่ยว สะดืออ่าง พร้อมอุปกรณ์ครบชุด 1 ชุด
-
ส้วมชักโครก สีขาว พร้อมอุปกรณ์ครบชุด 1 ชุด
-
ที่ใส่สบู่สีขาว 1 ชุด
-
ที่ใส่กระดาษชำระสีขาว 1 ชุด
-
ราวแขวนผ้า สีขาว 1 ชุด
-
กระจกเงาติดผนัง 1 บาน
ระบบไฟฟ้า
โครงการได้ขอใช้ไฟกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไว้แล้วในนามของบริษัท รุ่งศิริชัย จำกัด เมื่อท่านได้รับการโอนกรรมสิทธิ์อาคารชุดแล้ว โครงการจะทำการโอนสิทธิ์การใช้ไฟนี้ให้เป็นชื่อของเจ้าของห้องชุด
มิเตอร์ไฟฟ้าแยกของแต่ละห้องจะรวมอยู่ในห้องมิเตอร์ไฟ ของแต่ละชั้น ทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะมาจดปริมาณการใช้ไฟฟ้า และออกใบแจ้งหนี้เอง เจ้าของห้องจะต้องชำระค่าไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
สถานที่ติดต่อ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขตรัษฎา 58/16-20 หมู่6 ต.รัษฎา อ.เมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต 83000 โทรศัพท์ 076-219966 , 076-217326
ระบบโทรศัพท์
ในแต่ละห้องมีปลั๊กสำหรับโทรศัพท์ห้องละ 1 จุด
สถานที่ติดต่อขอหมายเลขโทรศัพท์ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
ระบบสายอากาศโทรทัศน์
ระบบสายอากาศโทรทัศน์เป็นระบบเสาอากาศรวมติดตั้งอยู่บนหลังคาดาดฟ้า
ระบบป้องกันอัคคีภัย
บันไดที่ใช้หนีไฟใช้ได้ 2 ทาง คือ
-
ฝั่งแรกบันไดหนีไฟอยู่สุดทางเดินฝั่งโซน A
-
ฝั่งที่สองบันไดหนีไฟอยู่ติดทางเดินฝั่งโซน B
ปุ่มกดสัญญาณเตือนภัยมี 2 จุด
การทิ้งขยะ
ในแต่ละชั้นจะมีห้องพักขยะชั้นละ 1 ห้อง จะอยู่ฝั่งโซน B ก่อนที่จะนำขยะไปทิ้งควรจะบรรจุรวมในถุงขยะก่อนแล้วมัดปากถุงให้เรียบร้อยป้องกันการส่งกลิ่นเหม็น
การใช้ลิฟต์โดยสาร
ลิฟต์มี 2 ตัว สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ 15 คน และน้ำหนักรวมไม่เกิน 1,000 กิโลกรัม
ข้อควรปฏิบัติในการใช้ลิฟต์
-
กดปุ่มหน้าชั้นเฉพาะทิศทางที่จะไป (ขึ้นหรือลง) เท่านั้นโดยกดให้ไฟติดเพียงครั้งเดียว การกดย้ำหลายๆ ครั้งนอกจากจะไม่ทำให้ลิฟต์เร็วขึ้น ยังมีผลทำให้ปุ่มกดชำรุดเร็วกว่ากำหนด
-
ห้ามใช้ของแข็งหรือของมีคมกดปุ่มเรียกลิฟต์
-
เมื่อประตูลิฟต์เปิดอยู่ต้องดูให้แน่ใจว่ามีลิฟต์จอดอยู่ ก่อนที่จะก้าวเข้าไปในตู้ลิฟต์
-
เมื่อเข้าลิฟต์แล้วให้รีบเดินเข้าไปด้านในและพยายามยืนโดยการกระจายน้ำหนักให้ทั่วห้องโดยสาร อย่ายืนขวางประตูหรือยืนรวมกัน
-
กดปุ่มเฉพาะชั้นที่ต้องการจะไปเท่านั้น
-
กรณีที่ผู้พักอาศัยต้องการใช้ลิฟต์ในการขนย้ายสิ่งของ หรือเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ต้องแจ้งให้สำนักอาคารนิติบุคคลทราบล่วงหน้า 1-2 วัน
-
กรณีเกิดไฟไหม้หรือกระแสไฟฟ้าดับ ควรจะใช้บันไดในการออกจากอาคาร หลีกเลี่ยงการใช้ลิฟต์
-
ห้ามสูบบุหรี่ในลิฟต์
-
ถ้าประตูเกือบปิดสนิทแล้วขณะที่ท่านกำลังจะเข้าลิฟต์ ให้ถอยออกมาแล้วกดปุ่มเรียกลิฟต์ เพื่อเรียกลิฟต์ตัวอื่น การใช้มือ เท้า หรือวัตถุอื่นๆ เช่น ร่ม เพื่อหยุดการปิดประตู
-
ของลิฟต์ อาจเป็นสาเหตุให้ตัวท่านได้รับบาดเจ็บ หรือทำให้อุปกรณ์บางอย่าเสียหาย
-
กรณีลิฟต์ค้าง ให้ควบคุมสติ และกดปุ่ม Emergency Call บนแผงปุ่มกดภายในตัวลิฟต์ คอยการช่วยเหลือใช้ Intercom ในการติดต่อกับผู้ให้ความช่วยเหลือภายนอก
-
อย่าพยามยามปีนออกจากลิฟต์ โดยปราศจากการช่วยเหลือจากผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมในการช่วยเหลือผู้ติดอยู่ในลิฟต์
-
ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ใช้ลิฟต์ตามลำพังเพราะปุ่มกดฉุกเฉินจะอยู่สูงเกินกว่าที่เด็กจะเอื้อมถึง หากลิฟต์ค้างเด็กจะไม่สามารถเรียกร้องความช่วยเหลือได้
-
ไม่ควรให้เด็กเล่นบริเวณหน้าประตูลิฟต์ตามลำพังเพราะอาจจะพลัดหลงเข้าไปในลิฟต์
-
ห้ามผลัก กระแทกหรือยืนพิงบานประตูลิฟต์
-
ระหว่างที่โดยสารอยู่ในลิฟต์ อย่าให้เด็กกระโดดหรือเล่นผลักกันในลิฟต์
-
อย่าเล่นฉีดน้ำบริเวณหน้าลิฟต์และในตู้ลิฟต์เพราะอาจจะเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้
-
หากพบอุปกรณ์ชำรุด ไฟสัญญาณต่างๆ ไม่ทำงาน หรือพบเห็นสิ่งผิดปกติให้รีบแจ้งสำนักงานนิติบุคคลอาคารชุด หรือเจ้าหน้าที่เพื่อแก้ไขทันที
สิ่งอำนวยความสะดวก
ดิโฮล์มเพลส คอนโดมิเนี่ยม มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่เจ้าของห้องร่วมและผู้พักอาศัย ดังนี้
1. สระว่ายน้ำ มีสระว่ายน้ำอยู่บริเวณชั้น 2
ข้อปฏิบัติในการใช้สระว่ายน้ำ
-
สระว่ายน้ำเปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 – 20.00 น.
-
กรุณาถอดถุงเท้า รองเท้า และล้างเท้าก่อนเข้าบริเวณสระว่ายน้ำทุกครั้ง
-
กรุณาอาบน้ำ สระผมให้สะอาดทุกครั้ง ทั้งก่อนและหลังลงสระว่ายน้ำ
-
แต่งกายด้วยชุดว่ายน้ำที่สะอาด ถูกต้องแบบสากลนิยม
-
หากเกิดเจ็บป่วยหรือเป็นไข้ไม่สบาย ควรงดลงสระว่ายน้ำโดยเด็ดขาด
-
โปรดรักษามารยาทอันดี มีวัฒนธรรม ไม่ก่อความรำคาญแก่ผู้อื่น
-
กรุณาอย่านำอาหารและเครื่องดื่มมารับประทานในบริเวณสระว่ายน้ำ
-
กรุณาอย่าสูบบุหรี่ในบริเวณสระว่ายน้ำ
-
กรุณาช่วยกันรักษาความสะอาด ไม่ทิ้งขยะลงพื้น กรุณาทิ้งในที่ ที่ได้จัดไว้ให้เท่านั้น
-
กรุณารับผิดชอบทรัพย์สินส่วนบุคคล ที่นำติดมาด้วยตนเอง หากเกิดการสูญหายทางสำนักงานนิติบุคคลอาคารชุด จะขอปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น
-
ควรเก็บเสื้อผ้า รองเท้า และสิ่งของที่จำเป็นให้เรียบร้อย
-
กรุณาอย่าบ้วนน้ำลาย เสมหะ น้ำมูก หรือปัสสาวะลงในสระว่ายน้ำ
-
หากเป็นโรคผิวหนัง แผล ฝี หนอง ห้ามลงสระว่ายน้ำเด็ดขาด
-
เมื่อเกิดฝนฟ้าคะนองให้ขึ้นจากสระว่ายน้ำทันที
-
โปรดระมัดระวังในการใช้วัสดุอุปกรณ์ของสระว่ายน้ำ
-
กรุณาอย่าวิ่งเล่นบริเวณสระว่ายน้ำและอย่ากระโดดลงสระว่ายน้ำ
-
ห้ามใช้สระว่ายน้ำในระหว่างการปรับปรุงหรือมีการทำความสะอาด
-
หากเกิดเหตุสุดวิสัย ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ทางสำนักงานนิติบุคคลอาคารชุดจะไม่รับผิดชอบทุกกรณี
2. ห้องออกกำลังกาย อยู่ที่ชั้น 2 ใกล้กับสระว่ายน้ำ จะมีอุปกรณ์สำหรับออกกำลังกายไว้บริการ
ข้อควรปฏิบัติในการใช้ห้องออกกำลังกาย
-
ห้องออกกำลังกาย เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 – 20.00 น.
-
แต่งกายให้เหมาะสมกับการออกกำลังกาย
-
ควรศึกษาวิธีการใช้อุปกรณ์ตามคำแนะนำ หรือสอบถามเจ้าหน้าที่ก่อนใช้งาน
-
หากเกิดอาการผิดปกติขณะออกกำลังกาย ให้หยุดนั่งพักผ่อนและแจ้งผู้ดูแลห้องออกกำลังกาย
-
เมื่อออกกำลังกายเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรตรวจสอบสิ่งของให้ครบถ้วน ก่อนออกจากห้องออก กำลังกาย
-
สำนักงานนิติบุคคลอาคารชุด ขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการรับฝากสิ่งของมีค่าทุกชนิด หากเกิดการสูญหายทางสำนักงานนิติบุคคลอาคารชุด จะไม่รับผิดชอบทุกกรณี
-
กรุณาอย่านำอาหาร เครื่องดื่ม ทุกชนิดเข้ามาในห้องออกกำลังกาย
-
ห้ามสูบบุหรี่
-
ห้ามนำสัตว์เลี้ยงทุกชนิดเข้ามาในห้องออกกำลังกาย
-
ไม่ส่งเสียงดัง หรือ ก่อความรำคาญ อันทำให้ผู้อื่นเสียสมาธิขณะออกกำลังกาย
-
ผู้ที่ไม่ใช้บริการให้รออยู่ภายนอกห้องออกกำลังกาย
การบริหารและจัดการอาคารชุด
เมื่อมีผู้อยู่อาศัยในอาคารชุดจำนวนมากจำเป็นต้องมีการจัดการดูแลรักษาอาคารชุด เนื่องจากเจ้าของห้องชุดแต่ละห้องมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนบุคคลและยังมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลาง เฉพาะกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนบุคคลเจ้าของห้องชุดนั้นแต่ผู้เดียวเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ และใช้ทรัพย์ส่วนบุคคลนั้นแต่เพียงผู้เดียว จึงมีหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์ส่วนบุคคล แต่กรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลางนั้นไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นของเจ้าของร่วม คือ เจ้าของห้องชุดทุกคนจะให้คนใดคนหนึ่งทำหน้าที่ดูแลรักษาย่อมไม่เป็นธรรมและเป็นภาระยุ่งยาก จึงจำเป็นต้องมีผู้มาทำหน้าที่ดูแลรักษาหรือจัดการทรัพย์ส่วนกลางเพื่อได้รับประโยชน์ในการใช้ทรัพย์ส่วนกลางอย่างดีที่สุด กฎหมายจึงกำหนดให้ตั้งนิติบุคคลอาคารชุดขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่นี้
นิติบุคคลอาคารชุด หมายถึง นิติบุคคลที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 นี้เท่านั้น และต้องจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดิน โดยนิติบุคคลอาคารชุดตั้งขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อทำหน้าที่จัดการดูแลทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด
ผู้บริหารและอำนาจหน้าที่ของนิติบุคคลอาคารชุด
1. ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด
นิติบุคคลอาคารชุดเมื่อได้จดทะเบียนแล้วย่อมมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ดังนั้นจึงต้องมีผู้แทนโดยจัดให้มีผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งมีอำนาจหน้าที่ มีดังนี้
-
จัดการและดูแลทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด เช่น จ้างคนงานมาทำความสะอาดทรัพย์ส่วนกลาง จ้างหน่วยรักษาความปลอดภัยเพื่อมาดูแลรักษาความปลอดภัยอาคารชุดนั้น
-
ปฏิบัติตามมติของที่ประชุมเจ้าของร่วม (เจ้าของห้องชุด) หรือตามมติของคณะกรรมการควบคุมการจัดการนิติบุคคลอาคารชุด ทั้งนี้โดยไม่ขัดต่อข้อบังคับ
-
ในกรณีจำเป็นและรีบด่วน ผู้จัดการมีอำนาจในกิจการเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางโดยความคิดริเริ่มของตนเองโดยไม่ต้องรอมติของที่ประชุมเข้าของร่วมหรือคณะกรรมการควบคุมการจัดการนิติบุคคลอาคารชุด แต่ต้องเป็นเรื่องกระทำไปเพื่อความปลอดภัยของอาคารชุด หรือมีความจำเป็นเร่งด่วน เช่น กรณีหลังคาอาคาชุดรั่ว หรือท่อน้ำประปารั่วไหลต้องรับจดการซ่อมแซมโดยเร็ว เป็นต้น
ผู้จัดการเป็นผู้แทนของนิติบุคคลอาคารชุดนั้น กล่าวคือ มีอำนาจหน้าที่กระทำการในเรื่องต่างๆ รวมทั้งนิติกรรมสัญญาในนามของนิติบุคคลอาคารชุดได้ภายในขอบเขตของกฎหมายและภายใต้ข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดหรือตามมติของเจ้าของร่วมหรือคณะกรรมการการจัดการนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งต้องไม่ขัดต่อข้อบังคับ
ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดต้องปฏิบัติภารกิจในหน้าที่ดังกล่าวข้างต้นด้วยตนเอง เว้นแต่กิจการซึ่งตามข้อบังคับหรือมติของที่ประชุมเจ้าของร่วมตาม มาตรา 48 (3) แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 กำหนดให้มอบหมายให้ผู้อื่นทำแทนจึงสามารถมอบหมายให้ผู้อื่นทำได้ ถ้าหากผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดบริหารอาคารชุดไม่สุจริต ไม่เป็นธรรม และไม่มีความโปร่งใส เจ้าของร่วมก็สามารถถอดถอนผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด และแต่งตั้งผู้จัดการคนใหม่ได้ โดยดำเนินการประชุมเจ้าของร่วมตามมาตรา 48 ( 2 ) แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522
กล่าวคือ การแต่งตั้งหรือถอดถอนผู้จัดการ มติต้องได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมด ถ้าเจ้าของร่วมมาประชุมมีจำนวนไม่พอที่จะถือเป็นเสียงข้างมาก ให้เรียกประชุมใหม่ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเรียกประชุมครั้งก่อน การประชุมครั้งใหม่นี้ให้ออกเสียงลงมติตามจำนวนคะแนนเสียงข้างมากของผู้เข้าประชุม
2. คณะกรรมการควบคุมการจัดการนิติบุคคลอาคารชุด
สำหรับคณะกรรมการควบคุมการจัดการนิติบุคลอาคารชุดนั้นจะมีหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้แล้วแต่เจ้าของห้องชุดทั้งหมดจะตกลงกัน หากจะให้มีคณะกรรมการควบคุมการจัดการนิติบุคคลอาคารชุดก็ต้องแต่งตั้งโดยมี มติที่ประชุมใหญ่ของเจ้าของร่วม ทั้งนี้โดยมติเสียงข้างมากของเจ้าของร่วมที่เข้าประชุม จำนวนคณะกรรมการควบคุมการจัดการนิติบุคคลอาคารชุดจะมีกี่คนก็ได้แต่ต้องไม่ เกิน 9 คน สำหรับวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการ การพ้นจากตำแหน่งตลอดจนอำนาจหน้าที่และการประชุมของคณะกรรมการดังกล่าวให้ เป็นไปตามมติของที่ประชุมใหญ่ กล่าวคือ เมื่อที่ประชุมใหญ่มีมติเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอย่างไรก็ต้องเป็นไปตามนั้น คณะกรรมการควบคุมการจัดการนิติบุคคลอาคารชุดเป็นตัวแทนของเจ้าของห้องชุด ทั้งหมด มีอำนาจควบคุมการดำเนินงานของนิติบุคคลอาคารชุดเพื่อดูแลรักษาทรัพย์ส่วน กลางในอาคารชุดนั้น
3. ข้อบังคับของนิติบุคลอาคารชุด
ในการอยู่ร่วมกันในอาคารชุดจำเป็นต้องมีข้อบังคับซึ่งเป็นเสมือนข้อตกลงร่วม กันผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมในอาคารชุดที่จะต้องถือปฏิบัติและที่สำคัญเป็นหลัก เกณฑ์ในการบริหารงานของนิติบุคคลอาคารชุดดังนั้น พระราชบัญญัติอาคารชุดพ.ศ. 2522 จึงได้กำหนดให้ทุกอาคารชุดต้องมีข้อ
บังคับของนิติบุคคลอาคารชุด ซึ่งอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังนี้
-
ชื่อนิติบุคคลอาคารชุดต้องมีคำนำหน้าว่า “ นิติบุคคลอาคารชุด ” ไว้ด้วย
-
วัตถุประสงค์ตามมาตร 33
-
ที่ตั้งสำนักงานนิติบุคคลอาคารชุด
-
จำนวนเงินค่าใช้จ่ายของนิติบุคคลอาคารชุดที่เจ้าของร่วมต้องชำระล่วงหน้า
-
ทรัพย์ส่วยกลางนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 15 ถ้ามี
-
การจัดการทรัพย์ส่วนกลาง
-
การใช้ทรัพย์ส่วนบุคคลและทรัพย์ส่วนกลาง
-
อัตราส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละห้องชุดมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลาง ตามที่ขอจด ทะเบียนอาคารชุด
-
การเรียกประชุมใหญ่และวิธีการประชุมใหญ่เจ้าของร่วม
-
อัตราส่วนค่าใช้จ่ายร่วมกันของเจ้าของร่วมตามมาตรา 18
-
การแต่งตั้ง อำนาจหน้าที่ วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของผู้จัดการ
-
ข้อความอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
จะเห็นได้ว่าการจัดการดูแลรักษาอาคารชุดเป็นอำนาจหน้าที่ของนิติบุคคลอาคาร ชุด เพื่อเข้ามาทำหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลาง ซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนรวมของเจ้าของห้องชุดทุกห้อง ซึ่งการดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางเพื่อให้ใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ดีเพียงใดขึ้น อยู่กับความสามารถและความสุจริตของผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด ดังนั้น การที่จะได้ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดที่ดีหรือไม่เพียงใด จึงขึ้นอยู่กับการเลือกเฟ้นของเจ้าของร่วมโดยผ่านทางมติที่ประชุมดังกล่าว
กรณีเจ้าของห้องชุดประสงค์จะขายห้องชุด จะต้องใช้เอกสารดังต่อไปนี้
-
หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด (โฉนด)
-
บัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้าน (สำเนา)
-
ใบเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี)
-
ทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
-
บัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนสมรสของคู่สมรส (สำเนา)
-
ใบมรณบัตร (ถ้ามี)
-
หนังสือรับรองค่าใช้จ่ายส่วนกลางของนิติบุคคลอาคารชุด ดิโฮล์มเพลส คอนโดมิเนี่ยม โดยขอได้ที่ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด
ท่านจ้าของห้องชุดควรอ่านระเบียบของนิติบุคคลอาคารชุด ดิโฮล์มเพลส คอนโดมิเนี่ยม เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขของชุมชน
ข้อปฏิบัติในกรณีที่บุคคลภายนอกเข้ามาเยี่ยมและค้างแรม
-
ผู้ที่มาติดต่อเจ้าของห้องร่วมและผู้พักอาศัย จะต้องทำการแลกบัตร ณ จุดแลกบัตรทุกครั้ง ที่เข้า- ออก จาก The Holme Place Condominium
-
สำหรับผู้ที่มาติดต่อเจ้าของห้องร่วมและผู้พักอาศัย และต้องการค้างแรม ให้เจ้าของห้องร่วมและผู้พักอาศัยแจ้งสำนักงานนิติบุคคลอาคารชุดทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 2 วัน
-
สำนักงานนิติบุคคลอาคารชุดขอสงวนสิทธิ์ ที่จะไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหาย ที่เกิดขึ้นทั้งภายใน และภายนอกรถของผู้ที่มาติดต่อผู้พักอาศัยและค้างแรม
-
กรุณาอย่าส่งเสียงดัง รบกวนผู้พักอาศัยท่านอื่น
-
กรุณาร่วมกันรักษาความสะอาด
-
สำนักงานนิติบุคคลอาคารชุดขอสงวนสิทธิ์ ที่จะไม่ขอรับผิดชอบต่อความเสียหาย ที่เกิดขึ้นในส่วนทรัพย์สินส่วนบุคคล ของผู้ที่มาติดต่อผู้พักอาศัยและค้างแรม
-
กรุณาช่วยกันดูแล และรักษาทรัพย์สินส่วนกลาง
-
กรณีที่ผู้ที่มาติดต่อได้ก่อความเสียหายแก่ทรัพย์สินส่วนกลาง ทั้งโดยตั้งใจ และไม่ได้ตั้งใจ ผู้ที่มาติดต่อจะต้องรับผิดชอบ และชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด
การดูแลรักษา พื้นลามิเนต
1. พื้นไม้ลามิเนต ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ง่ายและสะดวกสบายต่อการดูแลรักษา โดยไม่ต้องออกแรงในการทำความสะอาด พื้นไม้ลามิเนตโดยทั่วไปจะมีความทนทานต่อการเกิดรอยด่าง รอยขูดขีดและสีไม่ซีดจาง นานระหว่าง 10-25 ปี ซึ่งวิธีง่าย ๆ ที่จะช่วยให้พื้นไม้ลามิเนต ยังคงสภาพใหม่อยู่เสมอนั้น สามารถทำได้ด้วยวิธีต่าง ๆ ต่อไปนี้
- ทำความสะอาดฝุ่นด้วยเครื่องดูดฝุ่นหรือที่ปัดฝุ่น
- ห้ามขัดด้วยน้ำยาขัดเงาหรือแว๊กซ์
- ห้ามใช้แปรงหรือใยขัด
- เช็ดคราบสกปรกต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทันที อย่าปล่อยทิ้งไว้นาน
- พยายามหลีกเลี่ยงการทิ้งให้มีน้ำอยู่บนพื้น
- หลีกเลี่ยงการใช้น้ำในการทำความสะอาดพื้นลามิเนต
กรณีพื้นลามิเนตที่เกิดความเสียหายเจ้าของห้องร่วมและผู้พักอาศัยจะต้องเป็นผู้ออก ค่าใช้จ่ายและการซ่อมแซม
2. เศษกรวด ทราย สิ่งสกปรกต่าง ๆ รวมถึงอายุการใช้งานที่ยาวนาน คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้พื้นไม้ลามิเนต เกิดรอยขูดขีด และสีซีดจาง เคล็ดลับง่าย ๆ ในการดูแลรักษา คือ
- ใส่วัสดุกันกระแทกไว้ใต้ขาโต๊ะและเก้าอี้ เพื่อลดรอยขูดขีด ที่อาจเกิดจากการเคลื่อนย้าย
- วางที่เช็ดเท้าไว้ที่ทางเข้าห้องเพื่อกำจัดสิ่งสกปรกที่ติดเท้ามาจากภายนอก
- ปัดกวาดทำความสะอาดฝุ่นผงบนพื้นอย่างสม่ำเสมอ
3. วิธีการทำความสะอาดคราบรอยเปื้อนต่าง ๆ สามารถทำได้ ดังนี้
- คราบน้ำมัน รอยสี รอยปากกากันน้ำ สามารถทำความสะอาดได้ด้วยผ้าสะอาดที่มีสีอ่อน เช็ดด้วยน้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์อ่อน ๆ
- รอยเปื้อนคราบน้ำผลไม้ ไวน์ เบียร์ น้ำอัดลม หรือซอสปรุงรสต่าง ๆ สามารถทำความสะอาดได้ด้วยผ้าสะอาดที่มีสีอ่อนชุบน้ำอุ่น หรือเช็ดด้วยน้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์อ่อน ๆ
- น้ำตาเทียนหรือหมากฝรั่ง สามารถทำความสะอาดได้โดยการถูแรง ๆ ด้วยน้ำแข็ง หลังจากนั้นค่อย ๆ ขูดออกเบา ๆ และเช็ดออกด้วยน้ำอุ่นโดยใช้ผ้าสะอาดที่มีสีอ่อน
ข้อควรปฏิบัติในการใช้ที่จอดรถร่วมกัน
เพื่อความเป็นระเบียบและความปลอดภัยในการใช้ประโยชน์ จากการใช้ที่จอดรถร่วมกัน จึงใคร่ขอความกรุณาจากท่านผู้พักอาศัย และผู้ใช้ประโยชน์แทนทุกท่านโปรดปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ ดังนี้
-
ที่จอดรถเปิดบริการ 24 ชั่วโมง
-
รถที่มีความสูงเกิน 2 เมตร ให้จอดภายนอกอาคารเท่านั้น
-
สำนักงานนิติบุคคลอาคารชุด จะออกสติ๊กเกอร์ให้ผู้พักอาศัยตามสิทธิ์ ใช้เป็นใบอนุญาตผ่าน เข้า ออกที่จอดรถยนต์ ซึ่งบนสติ๊กเกอร์นั้นจะระบุหมายเลขทะเบียนรถยนต์
-
ผู้พักอาศัย จะต้องแจ้งสำนักงานนิติบุคคลอาคารชุด เพื่อลงทะเบียนรถยนต์ และต้องแจ้งให้สำนักงานนิติบุคคลอาคารชุดทราบ เมื่อมีเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับยานพาหนะ และนำสติ๊กเกอร์เก่ามาแลกคืน
-
ห้ามเก็บวัสดุไวไฟ เปลี่ยนเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ อุปกรณ์ของใช้สำหรับรถยนต์ตลอดจนภาชนะ เช่น ถังผ้าเช็ดรถ บริเวณลานจอดรถ
-
ห้ามส่งเสียงเอะอะบริเวณลานจอดรถ
-
สำนักงานนิติบุคคลอาคารชุด ขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นภายใน และภายนอกรถของผู้พักอาศัย เนื่องจากสำนักงานนิติบุคคลอาคารชุด มีหน้าที่ดูแลการจอดรถ และให้ความสะดวกแก่ท่านเท่านั้น
-
ห้ามล้างรถ ด้วยสายฉีดน้ำ หรือกระทำการใดๆ ที่ก่อให้เกิดความสกปรกในช่องที่จอดรถยนต์
-
โปรดปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร และคำแนะนำของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในที่จอดรถ ที่คอยให้ความสะดวกแก่ทุกท่าน
-
ในกรณีที่ผู้พักอาศัยจอดรถซ้อนคัน ให้ใส่เกียร์ว่างและไม่ดึงเบรกมือ และต้องจอดตรงแนวที่เหมาะสม ไม่ให้รถไหล แล้วตั้งล้อให้ตรง ควรเล็งดูทิศทางของรถว่า หากถูกเข็นเดินหน้า-ถอยหลัง แล้ว รถจะเลื่อนไปในทิศทางที่ดีหรือไม่
-
สำนักงานนิติบุคคลอาคารชุด ขอสงวนสิทธิ์ในการเคลื่อนย้ายรถยนต์ใดๆ ที่จอดโดยละเมิดกฎข้างต้นได้โดยไม่ต้องเตือนล่วงหน้า และจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายอันอาจจะเกิดขึ้นได้
* หมายเหตุ ระเบียบนี้อาจปรับปรุงเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม และจะแจ้งให้ทราบโดยการปิดประกาศ
ระเบียบและวิธีการแจ้งซ่อม
เวลาให้บริการ 8.30-17.00 น. ของทุกวัน
-
แจ้งเหตุ/ความต้องการ การซ่อมแซม โดยโทรศัพท์ไปยังหมายเลข 076-234999 สำนักงานนิติบุคคลอาคารชุด โดยระบุชื่อผู้แจ้ง หมายเลขห้อง หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ ระบุปัญหา และความต้องการให้แก้ไข
-
กรอกแบบฟอร์มการแจ้งซ่อม และการขอใช้บริการ ส่งให้ ที่สำนักงานนิติบุคคลอาคารชุด หรือตู้รับแจ้งเหตุงานซ่อมบำรุง บริเวณใกล้ลิฟต์โดยสารชั้น 1
-
ช่างประจำอาคารชุด 1 ท่าน จะไปตรวจเช็คบริเวณหน้างาน ภายใน 30 นาที หลังได้รับการแจ้ง
-
ในกรณีที่ลูกค้าต้องการที่จะให้ช่างประจำอาคารชุด ซ่อมแซมทรัพย์สินส่วนบุคคล สำนักงานนิติบุคคลอาคารชุด จะมีการเรียกเก็บค่าบริการเพิ่มจากลูกค้า เป็นจำนวนเงิน 200 บาท ต่อ 1 ครั้ง ไม่รวมค่าอะไหล่ที่จะเปลี่ยน
-
ในกรณีที่ลูกค้าต้องการซ่อมแซมทรัพย์สินส่วนบุคคล และต้องการนำช่างจากภายนอกเข้ามาทำการซ่อมแซม ทางฝ่ายนิติบุคคลอาคารชุด จะมีการส่งช่างไปควบคุม ดูแล จนกว่าจะทำการซ่อมแซมเสร็จ เพื่อความถูกต้องและปลอดภัยในทรัพย์สิน อีกทั้งจะมีการเรียกเก็บค่าบริการเพิ่มจากลูกค้า เป็นจำนวนเงิน 500 บาท ต่อ 1ครั้ง
-
ช่างประจำอาคารชุด จะดำเนินการให้บริการซ่อมแซมจนแล้วเสร็จ
-
ช่างประจำอาคารชุดจะจัดให้มีการสรุปผลการให้บริการ ในรายงานผลการปฏิบัติงาน รายเดือน เป็นประจำทุกเดือน
ที่มา http://holmeplace.pro-forums.us/forum-f1/topic-t13.htm
|