Web Design by Softbiz+
|
เว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014 |
ตัวอย่าง TOR หลักเกณฑ์ เงื่อนไข ขอบเขต และรายละเอียดการจ้างบริหารอาคารชุดแบบบูรณาการ |
ตัวอย่าง TORขอบเขตและรายละเอียดการจ้างบริหารอาคารชุด/ชุมชนเอื้ออาทรแบบบูรณาการวัตถุประสงค์ของการจ้างบริหารชุมชน/อาคารชุดแบบบูรณาการการบริหารชุมชนเอื้ออาทรเป็นการบริหารแบบองค์รวม และเบ็ดเสร็จในทุกกิจกรรม โดย มุ่งเน้นเพื่อสร้างชุมชน ให้น่าอยู่อย่างยั่งยืน สมาชิกชุมชนมีวินัย มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีโอกาสในการสร้างรายได้ และหรือลดค่าใช้จ่ายของครัวเรือน บนพื้นฐานของการพึ่งพา ตนเอง ช่วยเหลือเกื้อกูลเอื้ออาทรต่อกัน เคารพสิทธิของผู้อื่น มีความเข้มแข็ง มีศักยภาพและขีดความสามารถบริหารจัดการชุมชนของตนเองได้ภายใน 2 ปี ทั้งนี้โดยใช้หลักการบริหารจัดการโดยสมาชิกชุมชนและเพื่อสมาชิกชุมชนในรูปสหกรณ์ หรือนิติบุคคลอื่นตามความต้องการของสมาชิก หรือที่กฎหมายกำหนด โดยมีรายละเอียดขอบเขตงานใน 5 กิจกรรม สำหรับผู้รับบริหาร ดังนี้ 1. การปฏิบัติงานด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม1.1 งานรักษาความสะอาด 1.1.1 จัดให้มีพนักงานทำความสะอาดตามที่ผู้รับบริหารเสนอและไม่น้อยกว่าเกณฑ์ที่การเคหะแห่งชาติเห็นชอบ 1.1.2 รักษาความสะอาดพื้นที่ส่วนกลางภายในอาคาร พื้นที่ส่วนกลางระหว่างอาคาร บริเวณถนน ทางเท้า และบริเวณโดยรอบให้สะอาดอย่างสม่ำเสมอ 1.1.3 บำรุงรักษา สวนสนามหญ้า ต้นไม้ต่างๆ ในชุมชนและบริเวณโดยรอบให้มีความสวยงามสม่ำเสมอ 1.1.4 จัดให้มีถังขยะประจำอาคาร และบริเวณทางเดินของแต่ละชั้นอย่างเพียงพอ 1.1.5 ดูแลรักษาวัสดุอุปกรณ์ของชุมชนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่รกรุงรัง 1.1.6 บริหารและดูแลระบบการขนถ่ายขยะ การจัดเก็บขยะ การกำจัดสิ่งปฏิกูลของ ชุมชนให้ดำเนินไปด้วยความรวดเร็ว เรียบร้อย ไม่มีขยะตกค้างส่งกลิ่นเหม็น รบกวนการอยู่อาศัยของชุมชน อย่างน้อยวันเว้นวัน 1.2 งานรักษาความปลอดภัย 1.2.1 จัดให้มีพนักงานปฏิบัติงานรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชม. ภายในพื้นที่ ที่ผู้รับบริหาร ไม่น้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 1.2.2 ตรวจสอบ ดูแล รักษา และป้องกันมิให้มีการบุกรุก ทำลาย หรือโจรกรรมทรัพย์สินในโครงการ หรือพื้นที่สาธารณะภายในชุมชน ตลอดจนการ บุกรุกใช้ประโยชน์ในพื้นที่โครงการในทุกกรณี 1.2.3 ผู้รับบริหารเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายกรณีทรัพย์สินชุมชนสูญหายหรือ ชำรุดจากการถูกโจรกรรม ซึ่งต้องแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจท้องที่ และรายงานการเคหะแห่งชาติทราบทันที 1.2.4 ดูแลจัดระเบียบการจราจรภายในชุมชนเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยในชุมชน 1.2.5 ควบคุมการต่อเติมอาคารให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย 1.3 งานควบคุมและดูแลระบบสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ 1.3.1 ระบบไฟฟ้าส่องสว่าง - ควบคุมการปิด – เปิดให้มีไฟฟ้าส่องสว่างอย่างเพียงพอ บริเวณที่สาธารณะของโครงการ - ดูแลและซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้าสาธารณะให้สามารถใช้งานได้อยู่เสมอ - ประสานงานกับการไฟฟ้าโดยด่วนกรณีไฟฟ้าดับหรือขัดข้อง - ตรวจสอบการเสื่อมคุณภาพของวัสดุอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ - ดูแล รักษา มาตรวัดกระแสไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยใช้งานได้ดี และ มีจำนวนครบถ้วน 1.3.2 ระบบน้ำในชุมชน - ดูแลและซ่อมบำรุงระบบประปาส่วนกลางให้สามารถใช้งานได้อยู่เสมอ - ดูแล รักษามาตรวัดน้ำส่วนกลาง ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยใช้งานได้ดี - ประสานงานกับการประปาโดยด่วน กรณีน้ำไม่ไหลหรือขัดข้อง 1.3.3 ระบบระบายน้ำและระบบบำบัดน้ำเสีย - ดูแลซ่อมแซมและบำรุงรักษาบ่อบำบัดน้ำเสีย - จัดให้มีการขุดลอกท่อระบายน้ำ ปีละ 1 ครั้ง 1.4 อื่นๆ 1.4.1 ดูแลบำรุงรักษาและซ่อมแซมทรัพย์สินของชุมชนและอุปกรณ์ของระบบต่างๆ ให้มีสภาพพร้อมใช้งานและจัดทำแผนการบำรุงรักษา พร้อมทั้งรายงาน การตรวจสอบเดือนละครั้ง 1.4.2 รายงานทรัพย์สินชุมชนที่ชำรุดเสียหายตลอดจนจัดให้มีการซ่อมบำรุง 1.4.3 จัดระบบธุรการและสารบัญของสำนักงานผู้รับบริหาร โดยจัดให้มีเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานเพื่อให้สมาชิกในชุมชนสามารถติดต่อประสานเรื่องต่างๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว เป็นประจำทุกวัน 1.4.4 เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานของผู้รับบริหารต้องมีอัธยาศัยไมตรีอันดี มีวาจาสุภาพ มีทักษะ และความสามารถในการให้บริการแก่สมาชิกชุมชน รวมทั้งต้องจัดให้มีจำนวนไม่น้อยกว่าเกณฑ์ที่ กคช. กำหนด
2.1 ดำเนินการบริหารคู่สัญญาจัดประโยชน์ ซึ่งการเคหะแห่งชาติส่งมอบให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญา ควบคุม กำกับ ดูแล ให้การประกอบการค้าหรือธุรกิจชุมชนเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและ ไม่รบกวนการอยู่อาศัยของสมาชิกในชุมชน 2.2 กรณีต้องเก็บเงินตามที่ได้รับมอบหมายจากการเคหะแห่งชาติ ผู้รับบริหารต้องดำเนินการจัดเก็บเงินจากผู้ประกอบการค้ารายย่อย ตามสัญญาจัดประโยชน์ของการเคหะแห่งชาติและนำส่งเข้าบัญชีของการเคหะแห่งชาติทุกวัน พร้อมทั้งจัดทำบัญชีรับ-ส่งรายได้จากการจัดเก็บเงินจากผู้ประกอบการค้ารายย่อยให้การเคหะแห่งชาติ ตามการรับ-ส่ง ที่เกิดขึ้นจริง โดยเป็นบัญชีระบบรายวัน รายสัปดาห์ และสรุปเป็นรายเดือน เพื่อการบริหารและสามารถควบคุมด้านการเงินได้ 2.3 กรณีที่สัญญาจัดประโยชน์กำหนดให้เรียกเก็บ ค่าไฟฟ้า น้ำประปา และค่าเก็บขยะ ผู้รับบริหารชุมชนสามารถเรียกเก็บค่าใช้จ่ายดังกล่าวจากผู้ประกอบการค้ารายย่อยได้ไม่เกินอัตราที่การเคหะแห่งชาติกำหนดไว้ในสัญญาจัดประโยชน์ 2.4 ดำเนินการตามวิธีการบริหารคู่สัญญาจัดประโยชน์ที่ผู้รับบริหารเสนอ โดยได้รับความเห็นชอบจากการเคหะแห่งชาติ 2.5 จัดทำข้อมูลทรัพย์สินของชุมชนทุกประเภทตามรายการทรัพย์สินชุมชนที่ การเคหะแห่งชาติกำหนดแนบท้ายสัญญาจ้าง พร้อมทั้งจัดทำข้อมูลการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินชุมชนแต่ละ ประเภท ตามที่การเคหะแห่งชาติได้อนุมัติการจัดประโยชน์ไว้ และบันทึกเพิ่มเติมเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง (เอกสารแนบ 1) 3. การปฏิบัติงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกในชุมชน และการสร้างวัฒนธรรมเอื้ออาทรเมื่อการเคหะแห่งชาติจัดให้มีกิจกรรมตามแผนงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิก ชุมชน และการสร้างวัฒนธรรมเอื้ออาทร ผู้รับบริหารต้องให้ความร่วมมือแก่การเคหะแห่งชาติ ในการประชาสัมพันธ์ และเชิญชวนให้สมาชิกชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างทั่วถึง รวมทั้งอำนวยความสะดวกแก่การเคหะแห่งชาติ ในการจัดกิจกรรมดังกล่าว อาทิเช่นกิจกรรมรณรงค์ให้มีการเลือกตั้งกรรมการสหกรณ์ การสมัครเป็นสมาชิกสหกรณ์ กิจกรรมอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามในโอกาส วันสำคัญต่าง ๆ ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ดังกล่าว การเคหะแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบ 4. ขอบเขตงานบริหารลูกหนี้4.1 จัดทำรายงานสภาพลูกหนี้ จากข้อมูลที่ได้รับจากธนาคารตามแบบฟอร์มที่ การเคหะแห่งชาติกำหนด (เอกสารแนบ 2) ภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน 4.2 การติดตามหนี้ 4.2.1 การเคหะแห่งชาติจะมอบอำนาจให้ผู้รับบริหารประสานงานกับธนาคารผู้ให้กู้ เพื่อทราบข้อมูลการรับชำระเงินของลูกหนี้โครงการบ้านเอื้ออาทร ภายในวันที่ 10 ของทุกเดือน 4.2.2 เมื่อมีลูกหนี้ ค้างชำระผู้รับบริหารต้องจัดทำรายงานความ เคลื่อนไหวการติดตามหนี้ค้างชำระตามแบบฟอร์มรายงานที่การเคหะแห่งชาติกำหนด (เอกสารแนบ 3) 4.2.3 ลูกหนี้ที่ค้างชำระมากกว่า 1 งวด แต่ไม่เกิน 2 งวด นอกจาก ดำเนินการตาม ข้อ 4.1.2.2 แล้ว ผู้รับบริหารต้องดำเนินการ ติดตามโดยจัดทำหนังสือแจ้งเตือน ลูกหนี้ที่ค้างชำระเกินกว่า 1 งวด เพื่อให้ลูกหนี้ผ่อนชำระเงินกับธนาคารอย่างสม่ำเสมอ ตามข้อความที่การเคหะแห่งชาติกำหนดไว้ในหนังสือเตือนให้ชำระหนี้ (เอกสารแนบ 4) 4.2.4 ลูกหนี้ที่ค้างชำระกับธนาคารเกินกว่า 2 งวด นอกจากดำเนินการตามข้อ 4.1.2.2 แล้ว ผู้รับบริหารจะต้องจัดทำหนังสือแจ้งเตือนให้ชำระหนี้เงินกู้ (เอกสารแนบ 5) พร้อมแจ้งให้ลูกหนี้ทราบว่า การค้างชำระเกิน 3 งวด จะต้องถูกยึดอาคาร 4.2.5 หากมีลูกหนี้ค้างชำระเกินกว่า 2 งวด ผู้รับบริหารจะต้องจัดทำ แผนปรับปรุงการบริหารและติดตามหนี้ให้การเคหะแห่งชาติ พิจารณาให้ความเห็นชอบโดยด่วนเพื่อป้องกันการซื้อคืน 4.2.6 ลูกหนี้ที่ค้างชำระ 3 งวด ผู้รับบริหารจะต้องรีบดำเนินการจัดทำ หนังสือบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย (เอกสารแนบ 6)แจ้งให้ลูกหนี้ทราบ ภายใน 3 วัน นับจากวันที่ได้รับข้อมูลการชำระเงิน ของลูกหนี้ ตามข้อ 4.1.2.1 4.2.7 การจัดส่งหนังสือแจ้งเตือนให้ชำระหนี้ และ/หรือบอกเลิกสัญญา จะซื้อจะขายตามข้อ 4.1.2.4 และ 4.1.2.6 ให้จัดส่งเป็นจดหมาย ลงทะเบียนตอบรับทุกครั้ง 4.3 การซื้อคืนลูกหนี้ 4.3.1 การเคหะแห่งชาติจะมอบอำนาจให้ผู้รับบริหารประสานงานกับ ธนาคาร เพื่อให้ส่งเอกสารการซื้อคืนลูกหนี้ที่ค้างเกิน 3 งวด ให้การเคหะแห่งชาติ ภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป 4.3.2 ผู้รับบริหารต้องจัดส่งเอกสารที่ได้รับจากธนาคาร ซึ่ง ประกอบด้วย Statement การค้างชำระเงินของลูกหนี้, หนังสือแสดงเงินต้นคงเหลือ, ดอกเบี้ยค้างชำระ (3 เดือน) ดอกเบี้ย ระหว่างดำเนินการของธนาคาร 10 วัน และ การเคหะแห่งชาติ7 วัน, อัตราดอกเบี้ยที่ใช้ในการคำนวณ,จำนวนดอกเบี้ยจ่าย/วัน รวมกัน โดยส่งทางโทรสารให้ฝ่ายการบัญชีทราบทันที และส่ง เอกสารฉบับจริงให้ฝ่ายการบัญชีในวันรุ่งขึ้น เพื่อให้ฝ่ายการบัญชี ดำเนินการซื้อคืน 4.3.3 เมื่อฝ่ายการบัญชีซื้อคืนแล้วจะส่งหลักฐานการซื้อคืน ให้ผู้รับบริหารบอกเลิกสัญญาและบรรจุผู้ซื้อรายใหม่ต่อไป 4.3.4 ในระหว่างที่รอบรรจุผู้อยู่อาศัยใหม่ ผู้รับบริหารต้องดูแลรักษาสภาพอาคารให้สะอาดพร้อมเข้าอยู่อาศัยได้ทันที 4.4 การยึดคืนอาคาร 4.4.1 ในกรณีที่ซื้อคืนแล้วและผู้ซื้อยินยอมคืนอาคาร ให้ผู้รับบริหารบรรจุผู้ซื้อ รายใหม่ตามบัญชีสำรองภายใน 3 วัน นับจากวันที่ซื้อคืน 4.4.2 ในกรณีที่ซื้อคืนอาคารแล้วแต่ลูกหนี้ยังครอบครองอาคารอยู่ หรือมีหนี้ค้างชำระค่างวดและค่าเสียหายอื่นๆ ผู้รับบริหารต้องประสานกับหัวหน้าสำนักงานเคหะชุมชนในพื้นที่โครงการทันที เพื่อให้ดำเนินการฟ้องคดีเรียกค่าเสียหาย หรือฟ้องขับไล่แล้วแต่กรณี 4.4.3 ผู้รับบริหารต้องอำนวยความสะดวกในด้านข้อมูลและเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้แก่สำนักงานทนายความ ที่การเคหะแห่งชาติจัดจ้างให้ดำเนินการฟ้องคดีเรียกค่าเสียหาย หรือฟ้องขับไล่ ตามความเหมาะสมของแต่ละกรณีด้วย 4.4.4 เมื่อสำนักงานทนายความ ตามข้อ 4.1.4.3 ฟ้องบังคับคดีจนได้อาคารคืนมา ผู้รับบริหารต้องบรรจุผู้ซื้อรายใหม่ ภายใน 3 วัน นับจากวันที่ได้รับอาคารคืน (กรณีอาคารไม่มีความชำรุดเสียหาย) หากอาคารที่ ยึดคืนมีความชำรุดเสียหาย ต้องดำเนินการตรวจสอบ และแจ้งการเคหะแห่งชาติดำเนินการต่อไป 4.5 การบรรจุผู้ซื้อรายใหม่เมื่อมีอาคารว่าง
4.6 การฟ้องดำเนินคดี เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายสิ้นสุดลง เพราะผู้ซื้อผิดสัญญาชำระหนี้เงินกู้ธนาคาร การเคหะแห่งชาติจะดำเนินการฟ้องบังคับชำระหนี้ หรือฟ้องบังคับชำระหนี้และฟ้องขับไล่ แล้วแต่กรณีโดยทำสัญญาจ้างเหมาดำเนินคดีตามรูปแบบที่กำหนดแยกต่างหากจากสัญญาจ้างเหมาบริหารชุมชนเอื้ออาทรแบบบูรณาการ ซึ่งสัญญาดังกล่าวมีสารสำคัญโดยสรุปดังนี้ 4.6.1 ผู้รับบริหารจะต้องดำเนินคดีที่ได้รับให้แล้วเสร็จภายในกำหนด 1 ปีนับแต่วันที่ได้รับมอบคดีจากผู้ว่าจ้าง 4.6.2 ผู้รับบริหารต้องวางหลักประกันในการปฏิบัติตามสัญญา ตามรายละเอียด ที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้างฯ 4.6.3 ผู้รับบริหารต้องรับผิดชอบดำเนินคดีตามที่ได้รับมอบหมายจาก การเคหะแห่งชาติตามหลักวิชาชีพทนายความ และไม่มีอำนาจหน้าที่ รับชำระหนี้หรือเงินใดๆ จากผู้ซื้อหรือจำเลย 4.6.4 ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย 4.6.4.1 ค่าใช้จ่ายในการติดตามหนี้ก่อนดำเนินคดีผู้รับบริหารเป็นผู้ออกเอง 4.6.4.2 การเคหะแห่งชาติ จะเป็นผู้รับภาระค่าฤชาธรรมเนียมและผู้รับบริหารจะเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับการดำเนินคดี 4.6.5 ผู้รับบริหารต้องฟ้องร้องคดีให้ครบทุกรายภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้ รับเอกสารประกอบการดำเนินคดีจาก การเคหะแห่งชาติ โดยต้องเตรียมการเบิกเงินค่าฤชาธรรมเนียม (ค่าขึ้นศาล) ก่อนวันฟ้องไม่น้อยกว่า 5 วันทำการ ของ การเคหะแห่งชาติ และต้องนำส่งใบเบิกความให้ผู้รับมอบอำนาจของ การเคหะแห่งชาติ ก่อนวันส่งพยานไม่น้อยกว่า 3 วันทำการของการเคหะแห่งชาติ ในกรณีที่ต้องสืบพยานอื่นนอกเหนือจากผู้รับมอบอำนาจต้องแจ้ง การเคหะแห่งชาติ ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน 4.6.6 ในกรณีคดีถูกยกฟ้องเพราะความผิดของทนายความผู้รับบริหาร ผู้รับบริหารต้องคืนเงินค่าจ้างที่รับไปแล้ว และชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมที่การเคหะแห่งชาติจ่ายไปแล้วคืนให้แก่ การเคหะแห่งชาติ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา 4.6.7 ผู้รับบริหารต้องเร่งดำเนินการบังคับคดีเพื่อส่งมอบอาคารคืนให้การเคหะแห่งชาติ โดยเร็วทั้งนี้รายละเอียดอื่นๆ เป็นไปตามสัญญา จ้างเหมาดำเนินคดี 4.6.8 ค่าจ้างเหมาดำเนินคดี กำหนดไว้คดีละ 4,000 บาท 4.6.9 การจ่ายค่าจ้าง กำหนดไว้เป็นงวดตามผลงานการดำเนินคดี ดังนี้ งวดที่ 1 จำนวน 10% เป็นเงิน ………….. บาท ( ) จ่ายเมื่อผู้รับบริหารยื่นฟ้องคดี งวดที่ 2 จำนวน 40% เป็นเงิน ………….. บาท ( ) จ่ายเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ไม่ว่าพิพากษาโดยการสืบพยานหรือพิพากษาตามยอม งวดที่ 3 จำนวน 10% เป็นเงิน ………….. บาท ( ) จ่ายเมื่อผู้รับบริหารวางค่าฤชาธรรมเนียม (ค่าใช้จ่ายการบังคับคดี) ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี งวดที่ 4 จำนวน 10% เป็นเงิน ………….. บาท ( ) ของค่าจ้างแต่ละคดี โดยจ่ายเมื่อผู้รับบริหารนำเจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศขับไล่ งวดที่ 5 จำนวน 30% เป็นเงิน ………….. บาท ( ) ของค่าจ้างแต่ละคดีจ่ายเมื่อผู้รับบริหารดำเนินการให้ การเคหะแห่งชาติ ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนและหรือได้เข้าครอบครองอาคารภายหลังที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศขับไล่ 4.6.10 ผู้รับบริหารต้องปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมาดำเนินคดี และภาคผนวก ก,ข ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้าง รายละเอียดตามที่แนบ (เอกสารแนบ 7) 5. การปฏิบัติงานด้านการบริหารกิจกรรมน้ำประปาของผู้รับบริหาร ผู้รับบริหารมีหน้าที่บริหารกิจกรรมน้ำประปาในโครงการ ดังนี้ 5.1 วิธีการบริหารเป็นการบริหารเบ็ดเสร็จ โดยผู้รับบริหารเป็นผู้รับชำระค่าน้ำประปาจากผู้ใช้น้ำของการเคหะแห่งชาติ และนำเงินดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารกิจกรรมน้ำประปาตามสัญญาจ้างบริหาร ทั้งนี้หากผู้รับบริหารไม่สามารถเก็บค่าน้ำประปาจากผู้ใช้น้ำจนครบจำนวน ผู้รับบริหารต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนที่ขาดเองทั้งสิ้น แต่หากผู้รับบริหารเก็บค่าใช้น้ำได้มากกว่าค่าใช้จ่าย การเคหะแห่งชาติ ตกลงให้ส่วนต่างนั้นตกเป็นค่าตอบแทนการบริหารชุมชนตามสัญญาจ้างบริหาร โดยมีความรับผิดชอบ และวิธีปฏิบัติดังนี้ 5.1.1 ค่าใช้จ่ายส่วนที่เกี่ยวกับกิจกรรมน้ำ รวมทั้งค่าไฟฟ้าเครื่องปั๊มน้ำ และค่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่ การเคหะแห่งชาติ ต้องชำระอันเนื่องมาจากการ จำหน่ายน้ำประปา ผู้รับบริหารเป็นผู้รับภาระทั้งสิ้น 5.1.2 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการซ่อมแซม บำรุงและรักษาระบบประปา ทั้งการซ่อมแซมวัสดุอุปกรณ์ที่ชำรุดตามสภาพ และการบำรุงรักษาตามระยะเวลาที่กำหนด กรณีความชำรุดเกิดจากการดำเนินงานของ ผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการ บริษัทไม่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย โดยให้ ตั้งเรื่องผ่านสำนักงานดูแลชุมชน เพื่อให้การเคหะแห่งชาติตรวจสอบและให้ความเห็นชอบ และมอบหมายให้ดำเนินการซ่อมแซมต่อไป 5.1.3 ในกรณีที่ผู้ใช้น้ำค้างชำระค่าใช้น้ำประปา 2 งวด ผู้รับบริหารต้องงดการให้บริการน้ำประปาแก่ผู้ใช้น้ำรายนั้น และเมื่อผู้ใช้น้ำชำระค่าประปา ครบถ้วนแล้วผู้รับบริหารต้องดำเนินการเชื่อมต่อให้ใช้น้ำได้ตาม ปกติทันที 5.2 การรับ-จ่ายค่าน้ำประปา 5.2.1 ผู้รับบริหารต้องชำระค่าน้ำประปามิเตอร์ใหญ่ให้การประปา ตามใบแจ้งหนี้ค่าน้ำประปาที่การเคหะแห่งชาติจัดส่งให้โดยไม่มีการค้างชำระ 5.2.2 ผู้รับบริหารส่งใบเสร็จรับเงินที่การประปาออกให้การเคหะแห่งชาติ ผ่านสำนักงานดูแลชุมชน มายังฝ่ายการบัญชี เพื่อออกใบเสร็จในนามผู้รับบริหาร 5.2.3 การรับชำระค่าน้ำประปาจากผู้ใช้น้ำ การเคหะแห่งชาติ มอบอำนาจให้ผู้รับบริหารเป็นผู้บริหารแผนเบ็ดเสร็จตามสัญญาจ้างบริหาร โดยผู้รับบริหารเป็นผู้รับเงิน และออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ใช้น้ำ 5.2.4 ผู้รับบริหารต้องนำส่งเงินค่าบริการอุปกรณ์การใช้น้ำรายเดือนให้ การเคหะแห่งชาติตามจำนวนที่กำหนดไว้ในประกาศอัตราค่าน้ำประปาดังนี้ - โครงการที่ตั้งอยู่ในพื้นที่การจ่ายน้ำของการประปานครหลวง จำนวน 25 บาท/หน่วย/เดือน - โครงการที่ตั้งอยู่ในพื้นที่การจ่ายน้ำของการประปาภูมิภาค จำนวน 30 บาท/หน่วย/เดือน 5.3 การควบคุมดูแลการรับ-จ่ายน้ำให้สามารถบริการน้ำแก่ชุมชนได้อย่างสม่ำเสมอ ดังนี้ 5.3.1 ประสานงานกับหน่วยงานท้องถิ่น ในการดำเนินงานให้มีการรับน้ำได้อย่างสม่ำเสมอ 5.3.2 จัดให้มีเจ้าหน้าที่ประจำ ทำการตรวจสอบระบบรับ - จ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอ 5.3.3 กรณีการส่งน้ำประปามีความขัดข้องไม่สามารถส่งน้ำให้กับผู้อยู่อาศัย ผู้รับบริหารต้องจัดหาน้ำสะอาดจากแหล่งอื่นมาให้บริการ ภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากได้รับแจ้งเรื่องด้วยค่าใช้จ่ายของผู้รับบริหารเอง 5.4 การดูแลรักษาระบบประปา 5.4.1 ผู้รับบริหารต้องจัดทำแผนการดูแลรักษาอุปกรณ์ต่างๆ ของระบบประปาประจำเดือนมอบให้ สำนักงานดูแลชุมชน เพื่อกำกับดูแล 5.4.2 จัดให้มีการบำรุงรักษาอุปกรณ์ระบบประปาตามแผนการดูแลโดยเคร่งครัด 5.4.3 ตรวจสอบการทำงานและปรับปรุงการใช้น้ำของมาตรใหญ่เป็นประจำทุกวัน 5.5 การรายงานการบริหารกิจกรรมน้ำประปา 5.5.1 จัดทำรายงานหนี้ค้างชำระน้ำทุกเดือน ตามที่การเคหะแห่งชาติกำหนด (ตามเอกสารแนบหมายเลข 8) 5.5.2 รายงานการซ่อมย่อยและซ่อมใหญ่ทุก 3 เดือน (ตามเอกสารหมายเลข 9) 5.5.3 รายงานสถิติการใช้น้ำให้ สำนักงานดูแลชุมชนทราบทุกเดือน (ตามเอกสารหมายเลข 10) 5.5.4 ผู้รับบริหารจะต้องจัดทำรายงานรายรับ รายจ่าย จากการบริหารกิจกรรม น้ำประปาทุกเดือนๆ ละ 1 ครั้ง (ตามเอกสารหมายเลข 11)
_______________________________________________
ที่มา tor.gprocurement.go.th/06_tor_old/uploads1/8341/1/condo1.doc
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบริหารชุมชนอื้ออาทรแบบบูรณาการ(อาคารชุด)การบริหารชุมชนเอื้ออาทรแบบบูรณาการ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างชุมชนให้น่าอยู่อาศัยอย่างยั่งยืน สมาชิกชุมชนมีวินัย มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีคุณภาพชีวิตที่ดีมีโอกาสในการสร้างรายได้และ/หรือลดค่าใช้จ่าย บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เอื้ออาทรกันต่อกัน เคารพสิทธิของผู้อื่น ชุมชนมีความเข้มแข็ง มีศักยภาพและมีความสามารถบริหารจัดการด้วยระบบองค์กรชุมชนของตนเองได้ ทั้งนี้โดยใช้บริหารจัดการด้วยระบบองค์กรชุมชนในรูปนิติบุคคล โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ขอบเขตการบริหารชุมชนเอื้ออาทรแบบบูรณาการ เป็นการบริหารชุมชนแบบองค์รวมทั้งด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อมชุมชน บริหารทรัพย์สินและธุรกิจชุมชน ตลอดจน การจัดระเบียบชุมชนด้านสังคม แบ่งเป็น 5 กิจกรรมดังนี้ 1.1 การบริหารชุมชนด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นการบริหารจัดการ ดูแลรักษาสภาพแวดล้อม การรักษาความสะอาด การรักษาความปลอดภัย การต่อเติมอาคาร งานควบคุมดูแลสาธารณูปโภค-สาธารณูปการ ตลอดจนดูแลรักษาทรัพย์สินของชุมชนพื้นที่ต่างๆ ภายในชุมชนมิให้มีการบุกรุกเข้าใช้ประโยชน์โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตจากการเคหะแห่งชาติเป็นลายลักษณ์อักษร 1.2 การบริหารสัญญาจัดประโยชน์ทรัพย์สินชุมชนและธุรกิจชุมชน เป็นการบริหารจัดการโดยกำหนดวิธีการ แนวทางในการกำกับดูแลให้คู่สัญญาจัดประโยชน์ของการเคหะแห่งชาติปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญา รวมทั้งดูแลรักษาเป็นระเบียบเรียบร้อย ความสะอาด จัดระเบียบจราจรบริเวณพื้นที่ที่ใช้ประกอบธุรกิจการค้า รวมถึงการจัดเก็บเงินจากผู้ค้ารายย่อย 1.3 การจัดระเบียบชุมชนด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกชุมชน และการสร้างวัฒนธรรมเอื้ออาทร โดยผู้รับบริหารให้ความร่วมมือและดำเนินงานประสานงานเพื่อให้สมาชิกชุมชนได้รับทราบข้อมูลอย่างทั่วถึง ตลอดจนอำนวยความสะดวกแก่การเคหะแห่งชาติเมื่อมีการดำเนินการกิจกรรมต่างๆ ตามแผนงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการสร้างวัฒนธรรมเอื้ออาทร 1.4 การบริหารลูกหนี้ ให้เสนอแนวทางการบริหารลูกหนี้บนพื้นฐานวัฒนธรรมเอื้ออาทร วิธีการบริหารลูกหนี้และติดตามหนี้ที่มีประสิทธิภาพสามารถติดตามหนี้ได้อย่างรวดเร็ว และสอดคล้องกับระบบการบริหารลูกหนี้ของการเคหะแห่งชาติ ทั้งนี้เพื่อมิให้เกิดหนี้ค้างชำระซึ่งส่งผลให้การเคหะแห่งชาติต้องซื้อคืนอาคาร โดยการเคหะแห่งชาติ กำหนดหลักเกณฑ์ในการบริหารลูกหนี้ ดังนี้ 1.4.1 กรณีมีหนี้ค้างชำระ ให้ค้างชำระได้ไม่เกิน 2 งวด 1.4.2 หากมีหนี้ค้างชำระรายหนึ่งรายใดเกินกว่า 2 งวด ผู้รับบริหารต้องจัดทำแผนปรับปรุงการบริหารลูกหนี้ให้การเคหะแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบโดยด่วน 1.4.3 กรณีที่มีหนี้ค้างชำระจนเป็นเหตุให้การเคหะแห่งชาติต้องรับซื้ออาคารจากธนาคารผู้ให้กู้ ผู้รับบริหารต้องชำระค่าปรับ ร้อยละ 5 ของดอกเบี้ยที่การเคหะแห่งชาติจ่ายให้กับธนาคารเมื่อมีการซื้อคืนอาคาร 1.5 การบริหารกิจกรรมน้ำประปา เป็นการบริหารกิจกรรมน้ำประปาอย่างเบ็ดเสร็จทุกด้าน ได้แก่ การชำระค่าน้ำประปาให้แก่การประปาตามที่การประปาเรียกเก็บจาก การเคหะแห่งชาติ การจำหน่ายน้ำประปาให้สมาชิกในชุมชนตามอัตราค่าน้ำที่การเคหะแห่งชาติกำหนดการดูแลรักษาระบบประปาให้อยู่ในภาวะที่สามารถรับ-จ่ายน้ำให้สมาชิกในชุมชนได้อย่างสม่ำเสมอ และในกรณีที่การส่งน้ำประปาขัดข้องไม่สามารถส่งน้ำให้สมาชิกในชุมชนได้ ผู้รับบริหารจะต้องจัดหาน้ำสะอาดมาให้บริการโดยไม่ชักช้าด้วยค่าใช้จ่ายของผู้รับบริหาร โดยมีรายละเอียดขอบเขตงานในกิจกรรม 1.1-1.5 ตามเอกสารที่แนบท้ายหลักเกณฑ์และเงื่อนไขนี้ 2. วิธีการบริหารชุมชนเอื้ออาทรแบบบูรณาการ เป็นการดำเนินการร่วมกัน 3 ฝ่ายระหว่างการเคหะแห่งชาติ องค์กรชุมชน และผู้รับบริหาร ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดแนวทางและขั้นตอนการบริหารชุมชนในทุกกิจกรรมที่กำหนดให้ผู้รับบริหารดำเนินการไปสู่องค์กรชุมชน ดังนี้ 2.1 ผู้รับบริหารรับผิดชอบดำเนินการตามขอบเขตงานแต่ละกิจกรรมที่กำหนดแนบท้ายหลักเกณฑ์และเงื่อนไขนี้ 2.2 ผู้รับบริหารต้องเสนอแนวทางวิธีการและแผนงานการถ่ายทอดวิธีการและ ขั้นตอนการบริหารชุมชนให้องค์กรชุมชนที่จัดตั้งขึ้นในชุมชนได้เรียนรู้จนเกิดทักษะในการบริหารได้เช่นเดียวกับที่ผู้รับบริหารดำเนินการ 3. พื้นที่บริหาร จำนวน……โครงการ รวม ……… หน่วย ดังนี้ 3.1……………………………………………………………. 3.2…………………………………………………………….. 4. ระยะเวลาดำเนินการบริหาร 4.1 การเคหะแห่งชาติจะทำสัญญาจ้างบริหารชุมชนแบบบูรณาการมีกำหนด 1 ปี 4.2 เมื่อสิ้นสุดระยะเวลา 1 ปีแรก หากองค์กรชุมชนยังไม่สามารถบริหารจัดการชุมชนของตนเองได้ และผลการดำเนินการบริหาร ผ่านเกณฑ์ประเมินผลงาน การเคหะแห่งชาติจะพิจารณาต่อสัญญาให้เป็นคราว ๆ ไม่น้อยกว่าคราวละ 3 เดือน 5. ค่าตอบแทนการรับบริหารชุมชน 5.1 ค่าตอบแทนบริหารชุมชน ตามข้อเสนอของผู้รับบริหาร รายที่ได้รับคัดเลือกจากการเคหะแห่งชาติ 5.2 ค่าตอบแทนการบริหารลูกหนี้ ผู้รับบริหารจะได้รับค่าตอบแทนการบริหารลูกหนี้ เมื่อสามารถบริหารให้ไม่มีหนี้ค้างชำระมากกว่าร้อยละ80 ของจำนวนลูกหนี้ที่บริหาร โดยการเคหะแห่งชาติกำหนดค่าตอบแทนเป็นเงิน 20 บาท/ราย/เดือน เฉพาะส่วนที่ไม่มีหนี้ค้างชำระเกินกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนลูกหนี้ที่บริหาร 5.3 ค่าบริหารสัญญาจัดประโยชน์ตามสัญญาจัดประโยชน์หรือสัญญาการดำเนินธุรกิจในชุมชนที่เกิดขึ้นระหว่างอายุสัญญาจ้างบริหารชุมชน โดยการเคหะแห่งชาติจะแจ้งให้ ผู้รับบริหารทราบทุกครั้งเมื่อมีการทำสัญญาจัดประโยชน์ ดังนี้ 5.3.1 กรณีให้ผู้รับบริหารเป็นผู้กำกับ ดูแล ควบคุม คู่สัญญาจัดประโยชน์ของการเคหะแห่งชาติให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาอย่างถูกต้องครบถ้วน การเคหะแห่งชาติ จะพิจารณาให้ค่าตอบแทนการดำเนินงานดังกล่าวในอัตราร้อยละ 10 ของค่าตอบแทนรายเดือนที่ การเคหะแห่งชาติได้รับจากสัญญาจัดประโยชน์ 5.3.2 กรณีกำกับ ดูแล ควบคุม คู่สัญญาจัดประโยชน์ของการเคหะแห่งชาติ ให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาอย่างถูกต้องครบถ้วน และรับผิดชอบจัดเก็บเงินจากคู่สัญญานำส่งให้ การเคหะแห่งชาติด้วยจะมีค่าตอบแทนนอกเหนือจากข้อ 5.3.1 ดังนี้ - ผู้รับบริหารต้องจัดเก็บเงินได้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90 ของเงิน ค่าตอบแทนตามสัญญาจัดประโยชน์ ซึ่งผู้รับบริหารจะได้ค่าตอบแทนเพิ่มอีกร้อยละ 5 ของเงินที่จัดเก็บได้ตามสัญญาจัดประโยชน์ - กรณีจัดเก็บเงินได้ต่ำกว่าร้อยละ 90 ของค่าตอบแทนตามสัญญาประโยชน์ ผู้รับบริหารจะต้องชำระค่าปรับในอัตราร้อยละ 2 ต่อวันของเงินที่จัดเก็บไม่ได้จนกว่าจะจัดเก็บได้และนำส่งให้การเคหะแห่งชาติ - กรณีที่ไม่นำส่งเงินที่จัดเก็บได้ตามกำหนด ผู้รับบริหารต้องชำระค่าปรับในอัตราร้อยละ 1 ของเงินที่ไม่ได้นำส่งต่อวัน นับตั้งแต่วันที่ถึงกำหนดนำส่งเงินถึงวันที่ได้นำส่ง 5.4 รายได้สุทธิจากการจำหน่ายน้ำประปาในโครงการ 6. ค่าใช้จ่ายที่ผู้รับบริหารต้องรับผิดชอบ 6.1 สถานที่ปฏิบัติงานของผู้รับบริหารชุมชน การเคหะแห่งชาติจะจัดหาสถานที่ เช่น ห้องนิติบุคคลอาคารชุด หรือ อาคารศูนย์ชุมชนในโครงการ เป็นสำนักงานบริหารชุมชนและจัดให้มีครุภัณฑ์สำนักงาน (ตามรายการที่แนบ) โดยผู้รับบริหารชุมชนเป็นผู้รับผิดชอบชำระค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริการส่วนสำนักงานเองทั้งหมด ทั้งนี้เมื่อครบกำหนดอายุสัญญา ผู้รับบริหารต้องส่งมอบทรัพย์สินวัสดุอุปกรณ์สำนักงานคืนให้การเคหะแห่งชาติอย่างครบถ้วน หากเกิดความชำรุดเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้ผู้รับบริหารต้องซ่อมแซมหรือ จัดซื้อทดแทนให้การเคหะแห่งชาติ 6.2 ค่าใช้จ่ายตามขอบเขตงานรักษาความสะอาด ยกเว้นค่าธรรมเนียมการ จัดเก็บขยะกำหนดให้ ผู้อยู่อาศัยในชุมชนเป็นผู้รับผิดชอบ 6.3 ค่าใช้จ่ายตามขอบเขตงานรักษาความปลอดภัย รวมถึงค่าใช้จ่ายกรณีทรัพย์สินส่วนกลางสูญหายหรือชำรุดจากการโจรกรรม 6.4 ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในงานควบคุมดูแล รักษา ซ่อมแซม ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย ทางระบายน้ำในชุมชน ระบบถนนทางเท้า และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยผู้รับบริหารเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย นอกเหนือจากความรับผิดชอบตามสัญญาค้ำประกันการก่อสร้าง 6.5 ค่ารักษามาตรวัดน้ำ ค่ารักษามาตรวัดกระแสไฟฟ้า (หากมี) ซึ่งต้องจ่ายให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง 6.6 ค่าไฟฟ้าทั้งหมดที่ใช้ในชุมชน ยกเว้นค่าไฟฟ้าในที่อยู่อาศัยของสมาชิกชุมชน 6.7 ค่าใช้จ่ายส่วนที่เกี่ยวกับกิจกรรมน้ำ รวมทั้งค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากการจำหน่ายน้ำประปาที่ต้องชำระให้แก่หน่วยงานที่จำหน่ายน้ำประปา 6.8 ค่าใช้จ่ายในการติดตามหนี้ก่อนการซื้อคืนอาคาร 6.9 ค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลแก่สมาชิกชุมชน และการประสานงานเพื่อจัดหาสถานที่ในชุมชน (ไม่รวมค่าสถานที่ในการจัดกิจกรรม) ตามขอบเขตและแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตและการสร้างวัฒนธรรมเอื้ออาทร 7. ในการบริหารกิจกรรมน้ำประปา ผู้รับบริหารต้องนำส่งเงินค่าบริการอุปกรณ์การใช้น้ำรายเดือนที่เรียกเก็บจากผู้ใช้น้ำรายย่อยให้การเคหะแห่งชาติตามจำนวนที่กำหนดไว้ในประกาศอัตราค่าน้ำประปา ดังนี้ 7.1 โครงการที่ตั้งอยู่ในพื้นที่การจ่ายน้ำของการประปานครหลวง จำนวน 25บาท/หน่วย/เดือน 7.2 โครงการที่ตั้งอยู่ในพื้นที่การจ่ายน้ำของการประปาภูมิภาค จำนวน 30 บาท/หน่วย/เดือน 8. หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกผู้รับบริหาร 8.1 พิจารณาคัดเลือกข้อเสนอของผู้รับบริหารที่สอดคล้องตามขอบเขต และวิธีดำเนินงานตามข้อ 1-2 ข้างต้น ซึ่งมีความเป็นไปได้และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อสมาชิกชุมชนหลังจากนั้นจึงพิจารณาตามข้อ 8.2 8.2 พิจารณาอัตราค่าตอบแทนต่อหน่วยต่อเดือน ตามข้อเสนอของผู้รับบริหารเฉพาะรายที่ผ่านเกณฑ์ตามข้อ 8.1 โดยจะคัดเลือกรายที่เสนออัตราค่าตอบแทนต่ำสุดเพียงรายเดียวและต้องเสนออัตราค่าตอบแทนไม่เกิน 180 บาท สำหรับโครงการที่มีจำนวนหน่วยบริหารเกินกว่า 1,000 หน่วย และ 200 บาท สำหรับโครงการที่มีจำนวนหน่วยบริหารไม่เกิน 1,000 หน่วย 9. หลักเกณฑ์การติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ผู้รับบริหารต้องนำเสนอรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแผนงาน เพื่อให้การเคหะแห่งชาติติดตามประเมินผลการดำเนินงานของผู้รับบริหารทุก 3 เดือน โดยรายงานต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย ดังนี้ - ผลการดำเนินงานตามแนวทางแผนงานที่กำหนดตามสัญญา - วิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นและข้อเสนอแนวทางแก้ไข 10. หลักเกณฑ์การเบิกค่าตอบแทนการบริหารชุมชน ผู้รับบริหารชุมชนต้องจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามสัญญาจ้างฯ โดยมีรูปแบบและวิธีการรายงานตามที่การเคหะแห่งชาติกำหนด เพื่อเบิกค่าตอบแทนการบริหารชุมชนประจำเดือนภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป โดยมีค่าตอบแทนและหลักเกณฑ์การเบิกดังนี้ 10.1 ค่าตอบแทนการบริหารชุมชน 10.1.1 กรณีที่การเคหะแห่งชาติส่งมอบอาคารให้ผู้ได้สิทธิเกินกว่าร้อยละ 30 ของจำนวนหน่วยทั้งโครงการ ให้เบิกค่าตอบแทนได้เต็มจำนวนตามที่กำหนดในสัญญาจ้างบริหารชุมชนแบบบูรณาการ 10.1.2 กรณีการเคหะแห่งชาติส่งมอบอาคารให้ผู้ได้สิทธิไม่เกินร้อยละ 30 ของจำนวนหน่วยทั้งโครงการ ให้เบิกค่าตอบแทนการบริหารชุมชนได้เป็นเงิน 130 บาท/หน่วย/เดือน รวมทั้งเบิกค่าไฟฟ้าแสงสว่างประจำอาคารและค่าไฟฟ้าพื้นที่ส่วนกลางตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินจำนวน 40 บาท/หน่วย/เดือน การเบิกค่าตอบแทนการบริหารชุมชน ตามข้อ 10.1.2 เมื่อรวมค่ากระแสไฟฟ้าสาธารณะตามที่จ่ายจริงแล้วมีจำนวนเงินสูงกว่าอัตราค่าตอบแทนที่กำหนดในสัญญาจ้าง ให้ดำเนินการเบิกค่าตอบแทนตามอัตราที่กำหนดในสัญญาจ้าง 10.2 ค่าตอบแทนการบริหารลูกหนี้จำนวน 20 บาท/ราย/เดือน เฉพาะส่วนที่ไม่มีหนี้ค้างชำระเกินกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนลูกหนี้ที่บริหาร 10.3 ค่าตอบแทนการบริหารสัญญาจ้างจัดประโยชน์ทรัพย์สินชุมชนและธุรกิจชุมชน 10.4 การเบิกค่าตอบแทนตามข้อ 10.1-10.3 ให้ผู้รับบริหารชุมชนหักลดค่าบริการอุปกรณ์การใช้น้ำรายเดือนที่จะต้องนำส่งให้การเคหะแห่งชาติตามข้อ 7 ก่อนด้วย 11. ประกันความเสียหาย ผู้รับบริหารชุมชนต้องประกันความเสียหายเงินที่จัดเก็บกับบริษัทผู้รับประกัน ตามวงเงินประกันที่การเคหะแห่งชาติกำหนด และระบุให้การเคหะแห่งชาติ เป็นผู้รับประโยชน์ในกิจกรรม ดังนี้ 11.1 การจัดเก็บเงินจากการบริหารสัญญาจัดประโยชน์ 11.2 การจัดเก็บเงินจากการบรรจุผู้ได้สิทธิ เมื่อมีอาคารว่างจากการซื้อคืน 12. หลักประกันสัญญาจ้างให้ผู้รับบริหารชุมชนวางหลักประกันการจ้าง ตามระเบียบเงื่อนไขสัญญาจ้างของการเคหะแห่งชาติ โดยครอบคลุมการบริหารกิจกรรมน้ำประปาด้วย 13. คุณสมบัติของผู้รับบริหารชุมชน 13.1 เป็นนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์การดำเนินงานเกี่ยวข้องกับให้บริการบริหารชุมชนและระบบบริหารลูกหนี้ 13.2 มีประสบการณ์และผลงานในการรับบริหารชุมชน (ถ้ามี) 14. ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะต้องทำสัญญา ตามข้อกำหนดในสัญญาแนบท้ายประกาศ ---------------------------------------------------------
ที่มา tor.gprocurement.go.th/06_tor_old/uploads1/8341/1/condo2.doc
|