Home » ตัวอย่างคู่มือ,เอกสาร,แบบฟอร์ม » ตัวอย่างแผ่นพับภายในหมู่บ้านจัดสรร เรื่องการเลี้ยงสุนัข

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
ตัวอย่างแผ่นพับภายในหมู่บ้านจัดสรร เรื่องการเลี้ยงสุนัข

ตัวอย่างแผ่นพับภายในหมู่บ้านจัดสรร

เรื่องของคน กับ สุนัข

เรื่องนี้เรื่องใหญ่

               หลายคนคงจำข่าวสุนัขกัดเด็กเสียชีวิตได้  และเริ่มระวังที่จะเข้าใกล้สุนัขสายพันธุ์ดุ ๆ แต่พอนานวันเข้าก็ชักจะลืม ๆ และขาดความระมัดระวังสุนัขทำร้ายคนไม่ใช่เรื่องใหม่คาดว่าประเทศไทย ในแต่ละปี มีผู้ถูกสุนัขกัดทุกเพศทุกวัยไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน แต่ส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุ 5-9 ปี และผู้สูงอายุ บางรายบาดเจ็บเล็กน้อย บางรายพิการ เสียโฉม จนถึงเสียชีวิตสุนัขเป็นสัตว์เลี้ยงที่ใกล้ชิดมนุษย์มากที่สุด

               สุนัขที่กัดคนมีทั้งสุนัขมีเจ้าของ และสุนัขที่ไม่มีเจ้าของ แต่จากการสำรวจพบว่าส่วนใหญ่เป็นสุนัขมีเจ้าของ เมื่อสุนัขกัดคน ต่างก็โทษว่าสุนัขนิสัยไม่ดี สายพันธุ์ดุร้ายแต่ลืมนึกไปว่าจุดเริ่มต้นมาจากผู้เลี้ยง เพราะผู้เลี้ยงสุนัขควรฝึกสุนัขให้มีนิสัยดี เลี้ยงสุนัขให้ปลอดภัยต่อตนเองและผู้อื่นสุนัขมีจิตวิญญาณ และต้องการความรักความอบอุ่นเช่นเดียวกับคนหลักการเลี้ยงสุนัข ประกอบด้วย

  • ต้องรักจริง เลี้ยงจริง และรับผิดชอบ
  • คัดสายพันธุ์และคัดเลือกชนิดสุนัขให้เหมาะสมกับครอบครัว
  • ปฏิบัติต่อสุนัขด้วยความอ่อนโยนมีเมตตา ซึ่งจะมีผลช่วยให้สุนัขลดความดุร้ายเข้าสังคมได้ไม่กัดคนอื่นอย่างไร้เหตุผล
  • เลี้ยงใหม่มีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งอาหาร ที่อยู่ ให้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและโรคอื่นๆรวมถึงการควบคุม

กฏกติกา มารยาท 10 ข้อ สำหรับผู้เลี้ยงสุนัข

  1. นำสุนัขไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทุกปี (ปีแรกควรฉีด 2 ครั้ง) ตามพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้าพ.ศ.2535 กำหนดให้นำสุนัขที่เลี้ยงไว้ ไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าครั้งแรกเมื่อสุนัขมีอายุ 2-4 เดือน ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
  2. ไม่ปล่อยสุนัขไปเพ่นพ่านในที่สาธารณะ ทุกครั้งที่นำสุนัขออกนอกบ้านต้องใส่สายจูง ถ้าสุนัขดุควรสวมเครื่องป้องกันสุนัขกัด
  3. ถ้าสุนัขของท่านถูกสุนัขตัวอื่นกัด ก็ต้องรีบปรึกษาสัตวแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข พร้อมทั้งขอข้อมูลและหลักฐานการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจากเจ้าของสุนัขที่มากัด
  4. มีการวางแผนคุมกำเนินสุนัข เพื่อป้องกันการมีสุนัขมากเกินไป
  5. ฝึกสุนัขให้อยู่ในระเบียบ เชื่อฟังคำสั่งง่าย ๆ เพื่อควบคุมให้อยู่ร่วมกันกับคนอย่างปลอดภัย
  6. ไม่ยั่วยุสุนัขให้โมโห จะทำให้สุนัขระแวง และมีนิสัยชอบกัด
  7. อย่าปล่อยให้สุนัขถ่ายสกปรกบนทางเท้า ถนน สนามหญ้า หรือที่สาธารณะ ถ้าสุนัขขับถ่ายในบริเวณดังกล่าวเจ้าของควรเก็บ และนำไปทิ้งให้เรียบร้อย ควรฝึกให้ถ่ายเป็นเวลาและเป็นที่ เช่น ในกระบะทราย , หนังสือพิมพ์ ฯลฯ
  8. จัดการดูแลสุนัขให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น รักษาความสะอาดสม่ำเสมอให้แก่สุนัข ถ่ายพยาธิและฉีดวัคซ๊นป้องกันโรคต่าง ๆ
  9. ไม่ผลักภาระให้สังคม โดยนำสุนัขที่ไม่ต้องการไปปล่อย
  10. เมื่อสุนัขไปกัดผู้อื่น เจ้าของสุนัขต้องปฏิบัติดังนี้

• ควบคุม และแยกสุนัขออกจากการจู่โจมทันที โดยนำไปกักขังผูกหรือล่ามไว้
• ดูแลบาดแผลผู้ถูกกัด โดยล้างแผลด้วยสบู่และน้ำทันที แล้วจึงพาไปพบแพทย์
• ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสุนัขที่กัด เช่น ปวะวัติการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและประวัติที่มาของสุนัขให้กับเสียหาย และแพทย์ผู้ดูแลรักษา

ท่านทราบหรือไม่ว่า ... หน้าที่ของเจ้าของสัตว์
ตามพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ 2535
ต้องปฏิบัติอย่างไร

        1. นำสุนัขไปรับการฉีดวัคซีนครั้งแรกเมื่อสุนัขอายุ 2-4 เดือน และครั้งต่อไปตามที่กำหนดในใบรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

       2. เมื่อสัตว์ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว ให้ติดเครื่องหมายประจำตัวสัตว์และเก็บใบรับรองการฉีดวัคซีนไว้หากชำรุดหรือสูญหายให้แจ้งต่อสัตวแพทย์เพื่อขอรับเครื่องหมายหรือใบรับรองดังกล่าวแทนของเดิม (กรณีนี้เจ้าของจะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดในกฏกระทรวง)

       3. ดูแลสุนัขของตน ไม่ปล่อยสุนัขออกมาในที่สาธารณะ (เจ้าหน้าที่มีสิทธิ์จับสุนัขที่ไม่มีเครื่องหมายประจำตัวขัง 5 วัน ถ้าไม่มีผู้ไปรับเจ้าหน้าที่มีสิทธิ์ทำลายได้)

      4. ให้ความร่วมมือเจ้าหน้าที่จะเข้าไปในโรงเรือน หรือ
               • สอบถามจำนวนเพศ พันธุ์ อายุสุนัข
               • ฉีดวัคซีนแก่สุนัขที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนตามกำหนด (กรณีนี้เจ้าของสัตว์เสียค่าธรรมเนียมเป็น 2 เท่าของปกติ)
               • นำหัวสุนัขส่งตรวจโรคพิษสุนัขบ้า
               • สั่งให้เจ้าของทำลายซากสุนัข

      5. แจ้งต่อสัตวแพทย์ หรือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อสุนัขถูกสัตว์อื่นที่สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัดและต้อง
              • ผูกล่าม หรือ กักขังเพื่อเฝ้าสังเกตอาการสุนัขนั้นไว้ไม่น้อยกว่า 6 เดือน
              • ถ้าสุนัขมีอากการของโรคพิษสุนัขบ้า ให้รีบแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายใน 24 ชั่วโมง
              • ในระหว่างดูอาการ ถ้าสุนัขสูญหายหรือตายให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือ เจ้าพนักงานท้องถิ่นภายใน 24 ชั่วโมง

      6. ให้ความร่วมมือกับสัตวแพทย์ เมื่อมีการตรวจยานพาหนะ โรงเรือนหรือสถานที่ ในกรณีที่สัตวแพทย์ได้รับแจ้งหรือสงสัยว่า สุนัขที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าอยู่ในที่ดังกล่าว
             • ถ้าสุนัขไม่มีอาการของโรคพิษสุนัขบ้า และได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว แต่สัตวแพทย์เห็นว่าควรฉีดอีกเจ้าของไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
             • ถ้าสัตว์ยังไม่ได้ฉีดยาตามกำหนด เจ้าของต้องเสียค่าธรรมเนียมเป็น 2 เท่าของที่กำหนดเมื่อสุนัขได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว สัตวแพทย์หรือผู้ได้รับมอบหมาย ต้องมอบเครื่องหมาย และใบรับรองการฉีดวัคซีนให้เจ้าของ


ท่านกำลังทำผิดต่อสังคมอย่างใหญ่หลวง
ถ้าท่านทำตนอย่างนี้

  • ปล่อยสุนัขของท่านเพ่นพ่านในที่สาธารณะ โดยไม่ได้ดูแลแล้วสุนัขไปก่อความเดือดร้อน รำคาญ เสียหายแก่ผู้อื่น
  • ปิดปิด ปกป้องสุนัขที่เคยคลุกคลี กัดกับสุนัขบ้าน เพราะ สุนัขนั้นอาจติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าแล้วก่ออันตรายภายหลัง
  • นำสุนัขไปปล่อยตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น วัด โรงเรียน เป็นการผลักภาระ ให้แก่ผู้อื่น

 

การปล่อยสุนัขออกไปทำอันตรายแก่บุคคล หรือ ก่อความเสียหายต่อทรัพย์สินผู้อื่น มีโทษทางเพ่งและอาญา

ทางเพ่ง : เจ้าของต้องชดใช้ค่าเสียหายเช่น ค่ารักษาพยาบาล และถ้าถูกกัดสียชีวิต ต้องเสีย ค่าทำศพรวมทั้งค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรให้แก่ผู้เสียหาย

ทางอาญา : มีโทษจำคุก 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ