การป้องกันการลักทรัพย์ในที่พักอาศัย
- ก่อนออกจากบ้าน
-
ก่อนออกจากบ้าน ควรมีผู้อยู่ดูแลที่พักอาศัย หากไม่มีก็ควรที่จะตรวจสอบความเรียบร้อยของกลอนประตู หน้าต่าง ควรใส่กุญแจให้เรียบร้อยแน่นหนาในทุกๆจุด
-
ควรติดสัญญาณเตือนภัย เช่นระบบเตือนการบุกรุกที่มีสัญญาณไซเรน หรือสัญญาณที่ส่งไปยังเจ้าของที่พักอาศัยหรือเพื่อนบ้านใกล้เคียงทราบและทำ ให้สามารถโทรแจ้งเหตุได้
-
อาจจะทำการเปิดไฟทิ้งไว้บางห้องเพื่อทำให้เหมือนว่ามีคนอยู่ในที่พักอาศัย
- ก่อนเปิดประตูบ้าน
-
ก่อนเปิดประตูบ้านรับแขก ควรดูให้แน่ชัดว่าเป็นใครมาทำอะไรถ้าเกิดประตูมีโซ่คล้องประตูก็ควรคล้องโซ่ไว้แล้วสอบถามจนแน่ใจ
-
ไม่ควรเปิดประตูรับคนแปลกหน้าเข้ามาในบ้าน และควรตรวจสอบบัตรประจำตัวของตัวแทนบริษัทที่เข้ามาติดต่อก่อนที่จะให้เข้าในบ้าน
- นอนหลับตอนกลางคืน
-
เมื่อพลบค่ำควรรูดม่านปิด ไม่ให้คนข้างนอกมองเห็นด้านใน
-
เวลากลางคืน เมื่อมีคนอยู่บ้านไม่ควรเปิดไฟทิ้งไว้ในบ้าน เพราะคนร้ายจะมองเห็นทรัพย์สินควรเปิดไฟนอกบ้านหรือรอบบ้าน
- การจ้างคนรับใช้
-
การจ้างคนงานหรือ คนรับใช้นั้น ควรทำประประวัติส่วนตัว, ที่อยู่, ญาติพี่น้อง แลทำการสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไว้เป็นหลักฐานด้วย
-
ควรเล่ากลอุบาลต่างๆ ของคนร้ายให้คนในบ้านทราบ เพื่อนเป็นตัวอย่างไม่ให้หลงกล
- ข้อควรปฏิบัติเป็นกิจวัตร
-
พื้นที่ว่างที่ติดกับที่พักอาศัยม่ควรปล่อยให้ต้นไม้รกทึบ ขึ้นสูง เพราะคนร้ายอาจจะใช้พื้นที่เหล่านี้เป็นที่กกำบังเพื่อทำการลักทรัพย์หรือ หลบหนีได้
-
บริเวณบ้านควรทำรั้วที่สูงและแข็งแรง หากติดกรงเหล็กดัดต้องเผื่อช่องสำหรับหลบหนีเมื่อเกิด อัคคีภัย
-
ควรผูกมิตรกับเพื่อนบ้าน เพื่อช่วยกันดูแลที่พักอาศัย หรือเมื่อเกิดมีเหตุร้ายขึ้นจะได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
-
เลี้ยงสุนัขหรือสัตว์อื่นที่ส่งเสียงดัง เพื่อช่วยเตือนภัย
-
ไม่ควรเก็บทรัพย์สินมีค่าหรือเงินสดจำนวนมากไว้ในบ้าน
-
จดจำรายละเอียด บันทึกทรัพย์สนมีค่าและถ่ายรูปเก็บไว้
-
ถ้ามีโทรศัพท์โทรมาซักถามว่ามีคนอยู่บ้านหรือไม่ ควรจะตอบว่าอยู่กันหลายคน
-
ร่วมกันจัดระบบความปลอดภัยในชุมชนที่ตนอยู่ เช่น จัดเวรยาม เป็นต้น
- เมื่อเกิดเหตุร้าย
-
ถ้าเกิดเหตุคนร้ายบุกรุกบ้าน อย่าพยายามจับคนร้ายด้วยตนเอง ควรตะโกนขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น หรือโทรแจ้งความ 191
-
ไม่ควรผลีผลามเข้าไปในบ้าน เพราะคนร้ายอาจจะยังซ่อนตัวอยู่ในบ้านและมีอาวุธซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตราย ได้ ซึ่งหากมีการติดตั้งระบบเตือนการบุกรุก ควรสมัครเป็นสมาชิกศูนย์ควบคุมรักษาความปลอดภัย จะช่วยให้ทราบความเคลื่อนไหวของคนร้ายในบ้านได้ง่ายขึ้นผ่านอุปกรณ์ตรวจจับ ต่างๆ
การป้องกันการลักทรพย์ ปล้นทรัพย์และวิ่งราวทรัพย์ ในสถานประกอบการค้า
- ตัวร้านค้า
-
สำรวจความแน่นหนาแข็งแรงของกลอนประตูร้านค้าอยู๋เสมอ
-
การจัดสภานประกอบการ ควรให้สามารถมองเห็นจากด้านนอกได้
-
ควรติดตั้งระบบเตือนการบุกรุก หรือกล้องโทรทัศน์วงจรปิดตากจุดต่างในสถานประกอบ เพื่อจะได้ใช้งานได้อย่างเหมาะสมตามแต่ละช่วงของวัน
- การเปิด – ปิดร้าน
-
ไม่ควรเปิดแต่เช้าตรู่หรือปิดจนดึกเกินไป
-
ขณะกำลังจะเปิด – ปิดร้าน ถ้ามมีคนแปลกหน้ามาติดต่อซื้อขายให้ระมัดระวัง หากเป็นไปได้ควรปฏิเสธ
- ขณะอยู่ในร้าน
-
ไม่ควรอยู่ในร้านเพีบงลำพังโดยเฉพาะเด็กและสตรี ถ้าต้องไปหยิบของหลังร้าน ควรเรียกคนมาอยู่ดูแลหน้าร้านกับลูกค้าเสมอ
-
ระมัดระวังคนแปลกหน้าที่มักเดินวนเวียนมาหลายๆครั้ง ควรรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทราบสังเกตจดจำรายละเอียดคนแปลกหน้าที่เข้ามา ในร้านค้า
-
ไม่นำสินค้าราคาแพงๆ มาให้เลือกหลายชิ้น
-
ไม่ควรเก็บเงินสดจำนวนมากหรือทรัพย์สินมีค่าไว้ในร้านค้า
- การรับพนักงาน
-
ทำทะเบียนประวัติของพนักงานโดยละเอียดทั้งรูปถ่าย บัตรประจำตัวประปาชาชน สถานที่ติดต่อ ที่อยู่ ญาติพี่น้อง เป็นต้น
การป้องกันการล้วงกระเป๋าและชิงทรัพย์ในที่สาธารณะ
-
ไม่นำทรัพย์สินมีค่าพกติดตัวจำนวนมาก ถ้าจำเป็นควรยกเป็นหลายๆที่
-
พกกระเป๋าไว้ในที่ปลอดภัย เช่น กระเป๋ากางเกงด้านหน้า
-
กระเป๋าถือสตรีไม่ควรหิ้ว หรือสะพายบ่า ควรถือกระชับมือ
-
พึงระลึกไว้ว่า คนร้ายเป็นไปได้ทุกเพศทุกวัย
-
สถานที่ที่มักเกิดเหตุร้าย เช่น ที่รกร้าง ควรหลีกเลี่ยง หรือที่มีฝูงชนเบียดเสียดควรระมัดระวัง
-
เมื่อรู้ตัวว่าถูกล้วงกระเป๋าหรือพบเห็นผู้อื่นถูกล้วงให้รีบส่งเสียงดังขอความเชื่อเหลือทันที
การป้องกันการถูกล่อลวงข่มขืน
-
ย่าแต่งตัวล่อแหลม
-
อย่าดื่นสุรา และของมึนเมาทุกชนิด
-
อย่าหลงเชื่อคนแปลกหน้าที่ไม่รู้จักมาก่อน
-
ถ้ามีคนมาตีสนิทบอกว่ารู้จัก และจำไม่ได้หรือไม่แน่ใจ ให้หลีกเลี่ยงด้วยการปฏิเสธหรือร้องขอความช่วยเหลือจากผู้ใกล้ชิดหรือตำรวจ
-
หลีกเลี่ยงการเดินตามลำพังในที่เปลี่ยว มืด เช่น อาคารจอดรถ, สถานที่รกร้าง
-
หลีกเลี่ยงการใช้ลิฟท์คนเดียวกับคนแปลกหน้า
การป้องกันการโจรกรรมรถ
-
ติดตั้งอุปกรณ์สำหรับป้องกันการโจรกรรม
-
จดจำ บันทึกรายละเอียดตัวรถติดตัวไว้เสมอ
-
จอกรถในที่ปลอดภัย ไม่จอดในที่ลับตาคน, นอกบ้าน ล็อคประตูทุกครั้ง ถ้าเป็นรถจักยานยนต์ควรล่ามโซ่ไว้
-
กุญแจหรือฝาน้ำมันหายให้เปลี่ยนกุญแจรถทั้งชุด
-
ไม่รับคนแปลกหน้าขึ้นรถในที่เปลี่ยว
-
การนำรถไปซ่อมแซม ล้างอัดฉีด ควรเลือกสถานที่คุ้นเคยวางใจได้หรืออยู่ดูแลตลอด
-
ถ้าซื้อรถมือสอง ก่อนตกลงซื้อขายควรนำหมายเลขเครื่อง ตังถัง ป้ายทะเบียน ไปตรวจสอบก่อนและเปลี่ยนกุญแจใหม่ทั้งหมด
การป้องกันการปล้นชิงทรัพย์ของผู้ไปทำธุรกรรมที่ธนาคาร
- การฝาก - ถอนเงิน
-
การเบิกถอนเงินจำนวนมากควรขอกำลังเจ้าหน้าที่ไปคุ้มกัน
-
ไม่ควรฝากหรือถอนเงินในเวลาใดเวลาหนึ่งเป็นประจำ
-
ควรนับเงินจำนวนมากในที่ลับตา
-
ควรแยกเก็บเงินไว้หลายๆ แห่ง
- คนแปลกหน้า
-
ระวังคนแปลกหน้าที่เฝ้าตามอยู่
-
ถ้าสงสัยว่ายานพาหนะติดตามอย่างผิดสังเกต อย่าหยุดหรือจอด ให้รีบเข้าหาเจ้าหน้าที่ตำรวจ
การป้องกันการชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ถูกทำร้ายร่างกายในอาคาร สถานที่จอดรถ ในลิฟท์ ในห้องพักโรงแรม
เพื่อเป้นการป้องกันอันตรายอันจะเกิดกับทรัพย์สินที่นำติดตัวไป มีข้อปฏิบัติตามสถานการณ์ต่างๆ ดังนี้
-
สถานที่เปลี่ยวมืด โดยเฉพาะที่จอดรถตามอาคารที่จอดรถ เป็นสถานที่ๆ เปิดโอกาสให้คนร้ายที่แอบซ่อนอยู่ทำการปล้นทรัพย์ได้โดยง่าย ควรหลีกเลี่ยงการเดินในสถานี่ดังกล่าวเพียงผู้เดียวหากจำเป็นต้องเดินก็ควรใช้ความระมัดระวังอยู่เสมอ
-
ผู้หญิงที่จะใช้ลิฟท์ แม้ว่าเป็นลิฟท์ในแฟลตที่ตนอาศัยก็ตาม หากท่านไปคนเดียวก่อนเข้าลิฟท์ ถ้ามีคนแปลกหน้าที่ท่านไม่รู้จักมาก่อนอยู่ในลิฟท์ ไม่ควรเสี่ยงใช้ลิฟท์ เพราะท่านอาจถูกชิงทรัพย์, ปล้นทรัพย์ หรือถูกทำร้ายข่มขืนได้
-
ผู้หญิงควงหลีกเลี่ยงการเดินลำพังในที่เปลี่ยวมืด หรือลานจอดรถกว้างใหญ่เพราะอาจมีคนร้ายหลบซ่อนและเข้าทำการชิงทรัพย์, ปล้นทรัพย์ หรือถูกทำร้ายข่มขืนได้ ควรหาเพื่อนร่วมทางไปด้วย
-
ห้องพักตามโรงแรม เมื่อมีคนกดกริ่ง หรือเคาะประตูเรียกให้เปิดประตู ก่อนเปิดประตูทุกครั้งควรดูทางช่องดูภายนอกซึ่งติดอยู่กับบานประตู และก่อนจะเปิดประตูควรคล้องโซ่ประตูไว้ก่อนเสมอ
-
ห้องพักตามโรงแรม เวลาอยู่ในที่พักให้ใส่กลอนประตูหรือล็อคกุญแจและคล้องโซ่ประตูด้วย
การป้องกันการลอบวางระเบิด
-
ยานพาหนะที่จอดไว้ในบ้านหรือสำนักงาน ต้องล็อคประตู ฝากระโปรงหลังและถังน้ำมันเพื่อป้องกันการลอบวางระเบิด
-
พบบุคคลมีพิรุธ พยายามจดจำรายละเอียดเกี่ยวกับบุคคลนั้นแล้วรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบทันที
-
พบวัตถุน่าสงสัยหรือผิดสังเกต อย่าแตะต้อง เปิดดูหรือทำให้กระทบกระเทือน ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ถ้าเป้นไปได้ก็ควรนำยางรถยนต์มาล้อมวัตถุที่ต้องสงสัย
-
เมื่อเกิดระเบิดขึ้น อย่าเข้าไปในที่เกิดเหตุ ประชาชนควรให้ความร่วมมือโดยไม่เข้าไปมุงดูซึ่งจะทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจยากยิ่งขึ้น
หลักความปลอดภัยสำหรับเด็กจากคนแปลกหน้า
-
อย่ารับของขวัญหรือของฝากจากคนแปลกหน้าเพราะอาจเป็นสิ่งไม่ดีหรือผิดกฎหมาย
-
ปฏิเสธข้อเสนอของคนแปลกหน้าที่จะให้อาศัยโดยสารรถไปด้วย เพราะอาจถูกพาไปขายหรือเรียกค่าไถ่ หรือประทุษร้ายอื่นๆ
-
อย่าเข้าไปใกล้รถเพื่อพูดจากับคนที่อยู่ในรถ เพราะอาจถูกจับตัวไป
-
หลีกเลี่ยงการพูดกับคนแปลกหน้าเพราะอาจถูกล่อลวงไปในทางที่ไม่ดี
-
บอกครู, ผู้ปกครองทันทีเมื่อมีคนแปลกหน้ามาติดต่อ
-
จดจำตำหนิรูปพรรณการแต่งกาย และจดหมายเลขทะเบียนรถของคนแปลกหน้าที่พยายามเข้ามาติดต่อ
หลงทางควรทำอย่างไร ?
-
แจ้งตำรวจโดยทันทีพร้อมบอกชื่อ - สกุลของตนเองและผู้ปกครอง
-
จดจำบ้านเลขที่ ถนน ตำบล อำเภอ จังหวัด หรือหมายเลขโทรศัพท์บ้านของเราหรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือผู้ปกครอง ถ้าจำไม่ได้ควรจดเก็บไว้ในกระเป๋า หรือให้ผู้ปกครองจดให้
-
หาโทรศัพท์ใกล้ๆ หมุนเลข 191 ติดต่อตำรวจทันที
-
อย่าบอกแก่คนแปลกหน้าว่ากำลังหลงทาง
-
เมื่อพบตำรวจจึงขอความช่อยเหลือทันที
ความปลอดภัยในบ้าน
-
เชื่อฟังคำสอนของผู้ปกครองเสมอ
-
เก็บของเล่นที่เลิกเล่นแล้วให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
-
อย่าเล่นกับสิ่งมีคม เช่น มีด เศษแก้วแตก กระเบื้อง เพราะอาจทำให้ได้รับบาดเจ็บ
-
อย่าจุดไม้ขีดไฟเผากระดาษหรือสิ่งอื่นใดเล่นเพราะอาจทำให้เกิดเพลิงไหม้
-
อย่าวิ่งเล่นขึ้นๆ ลงๆ บนบันไดเพราะอาจพลาดตกลงมาบาดเจ็บ
-
อย่าเล่นขว้างปาก้อนหิน ไม้ หรือของหนัก เพราะอาจทำให้สิ่งของเสียหาย
-
เล่นกับสัตว์ต้องระวัง อย่าให้มันโกรธ เพราะมันจะทำอันตรายเราได้
-
ควรบอกให้ผู้ปกครองทราบทุกครั้งว่าจะไปเล่นอยู่ที่ใด กับใคร
-
อาวุธต่างๆ ควรเก็บในที่ที่เด็กไม่สามารถหยิบไปเล่นได้
ความปลอดภัยนอกบ้าน
-
อย่าเดินเพียงลำพังในที่เปลี่ยว เพราะอาจมีอันตรายได้
-
อย่าเข้าไปเล่นในบริเวณที่ตึกร้างเพราะอาจได้รับอันตรายจากสิ่งของหรือสัตว์ร้ายที่ซ่อนตัวอยู่ในนั้น
-
อย่าหลงไปเล่นบนถนน รถจะชนได้
-
อย่าปีนป่ายต้นไม้เล่น เพราะถ้าตกลงมา อาจพิการ หรือได้รับบาดเจ็บได้
-
อย่าเล่นหรือแหย่สุนัข หรือแมวหรือสัตว์อื่นๆ ที่ไม่รู้จัก เพราะอาจถูกทำร้ายได้
-
อย่าวิ่งตามลูกบอลหรือสิ่งของที่ตกลงไปตามถนน เพราะอาจถูกรถเฉี่ยวชนได้
-
เมื่อพบกล่องหรือวัตถุแปลกไม่ควรแตะต้อง ควรรีบบอกผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้เคียงโดยทันทีเพราะข้างในอาจจะมี สิ่งที่อาจจะมีสิ่งที่เป็นอันตรายอยู่ได้
การป้องกันอัคคีภัย
หลักการง่ายๆ ในการป้องกันอัคคีภัยมีอยู่ 5 ประการ คือ
1. จัดระเบียบเรียบร้อยภายในและภายนอกอาคารให้เหมาะสม เช่น การขจัดสิ่งของเหลือใช้และไม่จำเป็นภายในอาคารบ้านเรือนออกไป แยกเก็บสิ่งของที่อาจจะเกิดอัคคีภัยได้ง่ายไว้ให้เป็นสัดส่วนซึ่งเป็นบันไดขั้นต้นในการป้องกันอัคคีภัย
2. ตรวจตราซ่อมบำรุงอุปกรณ์ต่างๆ เช่น สายไฟฟ้า เครื่องจักรกล เครื่องทำความร้อนให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และปลอดภัย จะช่วยป้องกันมิให้เกิดอัคคีภัยได้ดียิ่งขึ้น
3. อย่าฝ่าฝืนข้อห้ามหรือข้อควรระวัง เช่น
3.1 อย่าปล่อยให้เด็กเล่นวัสดุที่อาจก่อให้เกิดเปลวไฟ
3.2 อย่าจุดธูปบูชาพระทิ้งไว้
3.3 อย่าวางก้นบุหรี่ที่ขอบจานที่เขี่ยบุหรี่ หรือขยี้ดับไม่หมด ที่อาจพลัดตกจากจาน หรือ สูบบุหรี่บนที่นอน
3.4 อย่าใช้เครื่องต้มน้ำไฟฟ้าแล้วเสียบปลั๊กจนน้ำแห้ง
3.5 อย่าเปิดพัดลมแล้วไม่ปิด หรือปล่อยให้หมุนข้ามคืนข้ามวัน รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ เช่นโทรทัศน์
3.6 อย่าวางเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น ติดฝาผนัง เพราะความร้อนจะระบายออกไม่ได้ซึ่งอาจทำให้เครื่องร้อนจนไหม้ตัวเองขึ้น
3.7 อย่าหมกเศษผ้าขี้ริ้ว วางไม้กวาดดอกหญ้า หรือซุกเศษกระดาษไว้หลังตู้เย็น หรือบางครั้งสัตว์เลี้ยงอาจคาบเศษสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วไปสะสมไว้หลังตู้เย็นที่มีไอความร้อน อันอาจทำให้เกิดการคุไหม้ขึ้น
3.8 อย่าใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐานหรือปลอมแปลงคุณภาพ เช่น บาลาสต์ที่ใช้กับหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนท์เมื่อเปิดไฟทิ้งไว้อาจร้อน และลุกไหม้ส่วนของอาคารที่ติดอยู่
3.9 อย่าจุดหรือเผาขยะมูลฝอย หญ้าแห้ง โดยไม่มีคนดูแล เพราะไฟที่ยังดับไม่สนิทอาจคุขึ้นมาอีกเมื่อเกิดลมพัด และอาจมีลูกไฟปลิวไปจุดติดบริเวณใกล้เคียงได้
3.10 อย่าเสียบปลั๊กไฟฟ้าต่างๆทิ้งไว้
3.11 อย่าทิ้งอาคารบ้านเรือนหรือคนชราและเด็กไว้โดยไม่มีผู้ดูแล
3.12 อย่าสูบบุหรี่หรือใช้โทรศัพท์มือถือขณะเติมน้ำมันรถ
3.13 ดูแลการหุงต้ม เมื่อเสร็จการหุงต้มแล้วให้ดับไฟ ถ้าใช้เตาแก๊ส ต้องปิดวาล์วเตาแก๊สและถังแก๊สให้เรียบร้อย
3.14 เครื่องเขียนแบบพิมพ์บางชนิดเป็นวัสดุไวไฟ เช่น กระดาษไข ยาลบกระดาษไข กระดาษแผ่นบางๆ อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอัคคีภัยได้
3.15 ดีดีที สเปรย์ฉีดผม ห้ามฉีดใกล้ไฟ เพราะเป็นวัสดุติดไฟและระเบิดได้
3.16 ในคืนฝนตกหนักอาจเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ เพราะสายไฟที่เก่าเปื่อย เมื่อวางทับอยู่กับฝ้าเพดานไม้ที่ผุและมีความชื้น อาจเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้าขึ้นได้
3.17 ขณะมีพายุฝน อาจเกิดฟ้าผ่าลงที่อาคาร ถ้าไม่มีสายล่อฟ้าที่ถูกต้อง อาจก่อให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นได้
3.18 เตาแก๊สหุงต้มในครัวเรือนหรือสำนักงานเกิดรั่ว ก็อาจเป็นสาเหตุของเพลิงไหม้ได้
3.19 รถยนต์ รถจักรยามยนต์เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือขณะเทน้ำมันเบนซิน อาจเกิดการรั่วไหลซึ่งทำให้เกิดอัคคีภัยขึ้นได้
3.20 ในสถานที่บางแห่งที่มีการเก็บสารเคมีที่อาจก่อให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย ซึ่ง อาจคุไหม้ขึ้นมาได้เอง สำหรับสารเคมีบางชนิด เช่น สีน้ำมันและน้ำมันลินซีด เป็นต้น หรือเมื่อคลุกเคล้ากับเศษผ้า แล้ววางทิ้งไว้ก็อาจคุไหม้ขึ้นเอง หรือ ในห้องทดลองเคมีของโรงเรียน เคยมีเหตุเกิดจากขวดบรรจุฟอสฟอรัสเหลือง พลัดตกลงมาแตกและเกิดลุกไหม้ขึ้น
3.21 ขณะซ่อมแซมสถานที่ เช่น การลอกสีด้วยเครื่องพ่นไฟ การตัดเชื่อมโลหะด้วยแก๊สหรือไฟฟ้าการทาสีหรือพ่นสี ต้องทำด้วยความระมัดระวัง เพราะอาจเกิดไฟคุไหม้ขึ้นได้
4. ควรให้ความร่วมมือที่ดี ปฏิบัติตามคำแนะนำหรือข้อห้ามที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิง นายตรวจป้องกัน อัคคีภัยได้ให้ไว้ เพื่อความปลอดภัย
5. ประการสุดท้าย จะต้องมีน้ำในตุ่มเตรียมไว้สำหรับสาดรดเพื่อให้อาคารเปียกชุ่มก่อนไฟจะมาถึง เตรียมทรายและเครื่องมือดับเพลิงเคมีไว้ให้ถูกที่ถูกทางสำหรับดับเพลิงชั้น ต้นและต้องรู้จักการใช้เครื่องดับเพลิงเคมีด้วย และระลึกอยู่เสมอว่าเมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้วจะต้องปฏิบัติดังนี้
5.1 แจ้งเหตุเพลิงไหม้ทันที โทร. 199 หรือสถานีดับเพลิง สถานีตำรวจใกล้เคียงโดยแบ่งหน้าที่กันทำ
5.2 ดับเพลิงด้วยเครื่องดับเพลิงที่มีอยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุ
5.3 หากดับเพลิงชั้นต้นไม่ได้ให้เปิดประตูหน้าต่างบ้านและอาคารทุกบานและอุดท่อทางต่างๆที่อาจเป็นทางผ่านความร้อน ก๊าซ และควันเพลิงเสียด้วย
ข้อควรปฏิบัติ
-
ช่วยคนชรา เด็ก และคนที่ช่วยตัวเองไม่ได้ ไปอยู่ที่ปลอดภัย
-
อย่าใช้ลิฟท์ในขณะเกิดเหตุ
-
ขนย้ายเอกสารและทรัพย์สินมีค่าเท่าที่จำเป็นตามสถานการณ์และนำไปเก็บกองรวม อย่าให้ฉีดขาดลุ่ย โดยป้องกันมิให้น้ำกระเซ็นเปียก
ข้อควรระวังและวิธีปฏิบัติเมื่อแก๊สรั่ว
-
เมื่อได้กลิ่นแก๊สปิดวาล์วหัวถังทันที
-
เปิดประตู หน้าต่าง ให้อากาศถ่ายเทเพื่อให้แก๊สเจือจาง
-
ห้ามจุดไม้ขีด ไฟแช็ก เปิด-ปิดสวิตซ์ไฟ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าในบริเวณที่มีแก๊สรั่ว
-
ใช้ไม้กวาดกวาดแก๊สออกทางประตู หรือใช้กระดาษพัด เพื่อกระจายแก๊สออกไป
-
ตรวจหาที่รั่วและแก้ไขทันที
-
หากถังแก๊สมีรอยรั่วให้นำถังแก๊สนั้นไว้ในที่โล่งที่ปลอดภัย
-
ท่อยางต้องไม่อยู่ใกล้เปลวไฟ
-
ห้องน้ำที่ใช้เครื่องทำความร้อนด้วยแก๊ส ควรมีช่องระบายอากาศเพื่อให้มีออกซิเจนเพียงพอ
ทำอย่างไรให้การเกิดเพลิงไหม้มีน้อยที่สุดสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม
หลักการปฏิบัติโดยทั่วไปเพื่อความปลอดภัยจากอัคคีภัยในโรงงานอุตสาหกรรม แบ่งการปฏิบัติไว้เป็น 2 บริเวณ คือ บริเวณที่มีการผลิตและที่ใช้ในการเก็บสินค้า
- บริเวณที่มีการผลิต
1. ด้านเครื่องจักร
- ควรมีการตรวจเช็คซ่อมบำรุงเป็นประจำให้อยู่ในสภาพที่ดี
2. ด้านเครื่องใช้ไฟฟ้า
- สายไฟฟ้าและอุปกรณ์ต้องอยู่ในสภาพที่ดีและได้รับการตรวจเช็คเป็นประจำ
- ควรหลีกเลี่ยงการต่อสายไฟฟ้าโดยใช้ผ้าเทปหรือการต่อแบบชั่วคราว
- หลังเลิกงานควรปิดสวิตซ์อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เมนใหญ่
3. การขจัดแหล่งที่เป็นบ่อเกิดของไฟอื่นๆ
- ควรงดมิให้มีการสูบบุหรี่ในบริเวณที่มีการผลิต
- ความสะอาดเป็นหลักเบื้องต้นของการป้องกันอัคคีภัย บริเวณที่มีการผลิตควรมีถัง หรือถาดไว้
รองรับเศษของการผลิตหรือเศษของอื่นๆ และหลังเลิกงานต้องนำไปทิ้งทุกวัน
- กรรมวิธีใดที่มีความอันตรายในการก่อให้เกิดอัคคีภัยสูงควรจะแยกออกจากส่วนต่างๆ และจัด
ให้มีการป้องกันเฉพาะขึ้น
4. การจัดเก็บสินค้า
- สินค้าไม่ว่าวัตถุดิบหรือสำเร็จรูปควรอยู่ในบริเวณการผลิตน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น
- วัตถุไวไฟที่ใช้ในการผลิตต้องถูกจำกัดเพียงเพื่อพอใช้ในหนึ่งวัน หลังเลิกงานต้องนำวัตถุไวไฟ
นั้นไปเก็บยังที่จัดไว้เฉพาะ
5. การปฏิบัติหลังเลิกงาน
- หลังเลิกงานทุกวันควรมีการเดินตรวจดูความเรียบร้อย เช่น วัตถุไฟฟ้าได้นำไปเก็บในที่จัดเก็บ
ไว้ โดยเฉพาะ อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชิ้นได้ปิดสวตซ์เรียบร้อยหรือยัง และรวมถึงการทำความ
สะอาดด้วย
- บริเวณที่ใช้เก็บสินค้า
1. ด้านการจัดเก็บ
- การเก็บสินค้าควรเก็บอย่างมีระเบียบ ภายในบริเวณจัดเก็บต้องมีช่องทางเดินอย่าเหมาะสม
สินค้าควรจัดเก็บเป็นล็อคๆ ในแต่ละล็อคต้องมีช่องทางเดินและปริมาณสินค้าไม่มากเกินไป
ความสูงไม่ควรเกิน 6 เมตร หรือ 1 เมตรจากเพดานถึงหลังคาและสินค้าควรอยู่ห่างจากแสง
ไฟ
- สินค้าควรอยู่บนที่รองรับหรือชั้นวางของ
- ควรเว้นและมีการขีดเส้นกำหนดแนววางสินค้า
2. การจับยกสินค้า
- ของเหลวไวไฟ แก๊สหรือวัตถุไวไฟอื่นๆ ควรเก็บแยกต่างหากจากสินค้าอื่นๆและหากสามารถ
ทำได้ควรแยกห้องเก็บวัตถุไวไฟ
3. การขจัดแหล่งที่เป็นบ่อเกิดของไฟอื่นๆ
- ควรงดมิให้มีการสูบบุหรี่ในบริเวณที่มีการเก็บสินค้า
- ไม่ควรมีการผลิตหรือดำเนินการใดๆ ในบริเวณที่เก็บสินค้า เช่น การอัดแบตเตอรี่
- ควรรักษาความสะอาดบริเวณที่เก็บสินค้าเป็นประจำ เช่น เศษกระดาษที่ใช้ห่อสินค้า
4. การตรวจเช็คดูแลและความปลอดภัย
- สายไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าในบริเวณที่เก็บสินค้าควรได้รับการตรวจเช็คประจำ
- บริเวณที่เก็บสินค้า ควรปิดล็อคไว้เสมอเมื่อไม่ได้ใช้ และห้ามบุคคลภายนอกซึ่งไม่ได้รับ
อนุญาตเข้าไป
- อุปกรณ์ดับเพลิงควรติดตั้งบริเวณทางเข้าออก
|