Home » บทความทั่วไป ความรู้น้ำท่วม » ข้อแนะนำ ในสถานการณ์น้ำท่วม : การป้องกันน้ำเข้าบ้าน, จุดเฝ้าระวัง.!, วิธีรับมือเมื่อน้ำท่วมเข้าบ้าน

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
ข้อแนะนำ ในสถานการณ์น้ำท่วม : การป้องกันน้ำเข้าบ้าน, จุดเฝ้าระวัง.!, วิธีรับมือเมื่อน้ำท่วมเข้าบ้าน

จุดเฝ้าระวัง.! ป้องกันน้ำเข้าบ้านคุณ

วิธีรับมือ เมื่อน้ำเล็ดลอดผ่านบ้านของเราได้ทุกเมื่อ

          อุทกภัยถือเป็นภัยพิบัติประจำชาติที่เกิดขึ้นในประเทศไทยทุกปี ทุกรัฐบาลล้วนแต่ประสบปัญหาในการวางมาตรการป้องกันน้ำท่วมในระยะยาว รวมไปถึงการควบคุมสถานการณ์

          ในปีนี้ พ.ศ. 2554 สถานการณ์น้ำท่วมล่าสุดกระจายไปแล้วถึง 59 จังหวัด มีประชาชนเสียชีวิตแล้วกว่า 250 คน นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ออกมายอมรับว่า

          เหตุการณ์น้ำท่วมปีนี้รุนแรงกว่าทุกปี ถึงแม้หน่วยงานทั้งทางภาครัฐและเอกชน จะเตรียมรับและแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าเหมือนกับทุกปี แต่ก็ยังไม่สามารถให้ความช่วยเหลือ ประชาชน ในทุกพื้นที่ได้อย่างทันท่วงที เพื่อความเข้าใจของประชาชนเอง เราลองมาดูเส้นทางการเดินทางของน้ำเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เราไม่คาดฝัน เราควรป้องกันอย่างไร

ข้อแนะนำเบื้องต้นสำหรับการรักษาความปลอดภัย ในสถานการณ์น้ำท่วม

  • อย่า ขับรถ, เดิน, ว่ายน้ำ หรือขับขี่จักรยาน(ยนต์)ลุยน้ำท่วม เนื่องจากสิ่งที่กล่าวมาเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตขณะที่เกิดนำ้ท่วม เพราะน้ำอาจลึกและไหลเร็วกว่าที่เห็น และอาจมีเศษหิน เศษปูนจมอยู่ใต้น้ำ รวมถึงพื้นผิวถนนที่จมอยู่อาจถูกชะหายไปแล้วก็เป็นได้
     
  • ห้ามเข้าใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้าและสายไฟ กระแสไฟฟ้าอาจวิ่งผ่านน้ำได้เมื่อเกิดน้ำท่วมแต่ละครั้ง
     
  • จดบันทึกรายการสิ่งของของเราให้ครบ วางสิ่งของเครื่องใช้บนโต๊ะ หรือตู้ ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าให้เก็บไว้บนที่สูง
     
  • มัดสิ่งของที่คิดว่ามันสามารถลอยไปตามน้ำ และก่อให้เกิดอันตรายให้แน่นๆ
     
  • ย้ายถังสำหรับใส่สิ่งปฏิกูลต่างๆ รวมถึงสารเคมีและสารพิษไปไว้ชั้นบนสุดของบ้าน
     
  • รับฟังข่าวสารจากวิทยุชุมชน หรือสื่อต่างๆ เพื่อทราบข้อมูลใหม่อยู่ตลอดเวลา
     
  • หมั่นติดต่อกับคนรู้จักหรือญาติ
     
  • เตรียมและขนย้ายสัตว์เลี้ยงไม่ในที่ที่มันสามารถอาศัยอยู่ได้
     
  • หมั่นติดต่อกับเพื่อนบ้าน
     
  • "น้ำ"สามารถใช้แทนในการทำถุงทรายได้(เมื่อจำเป็น)
     
  • ทำให้แน่ใจว่า ลูกจ้างจะสามารถเดินทางกลับที่พักได้ทัน ก่อนที่เส้นทางไปสถานที่สำหรับอพยพจะถูกปิด หรือน้ำท่วม
     
  • จงทำอะไรให้เสร็จก่อนกำหนด เพราะถนนหนทางอาจแออัดได้
     
  • ขนย้ายสัตว์เลี้ยง,ปศุสัตว์ไปไว้ในที่สูง
     
  • เก็บรวบรวมยา เอกสารส่วนบุคคล เอกสารทางการเงิน รวมถึงของที่ระลึกและรูปถ่ายเอาไว้ด้วยกัน

 

Credit: ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
http://www.cendru.net
http://www.thairath.co.th/page/surveillance