คู่มือตรวจสอบและซ่อมแซมบ้าน 'หลังน้ำท่วม'
ที่มา http://news.mthai.com/general-news/138740.html
1. ตรวจสอบระบบไฟฟ้าหลังน้ำท่วม
ขณะน้ำท่วมทุกบ้านคงจะปิดวงจรไฟฟ้าหรือคัทเอ้าท์ทั่วทั้งบ้านทำ ให้ไม่มีกระแสไฟฟ้าเดินในระบบ ซึ่งลดอันตรายแก่ผู้อยู่อาศัย และแก้ปัญหาจากไฟฟ้าลัดวงจรได้อย่างแน่นอน แต่เมื่อน้ำลดลงควรตรวจสอบระบบไฟฟ้าในบ้านของท่านดังนี้ครับ
-
เปิด คัทเอ้าท์ให้มีกระแสไฟฟ้าเข้ามา ถ้าปลั๊กหรือจุดใดจุดหนึ่งในระบบยังเปียกชื้นอยู่ คัทเอ้าท์จะตัดไฟและฟิวส์จะขาดให้เปลี่ยนฟิวส์แล้วทิ้งไว้ 1 วันให้ความชื้นระเหยออกไปแล้วลองทำใหม่ หากยังเป็นเหมือนเดิมคงต้องตามช่างไฟมาแก้ไขดีกว่าเสี่ยงชีวิตครับ
-
เมื่อ ทดสอบผ่านขั้นตอนแรกไปแล้ว ลองทดสอบเปิดไฟฟ้าทีละจุดและทดสอบกระแสไฟฟ้าในปลั๊กว่ามาปกติหรือไม่ด้วย ไขควงทดสอบไฟ หากทุกจุดทำงานได้ก็สบายใจได้ หากมีปัญหาอยู่ต้องรอให้ความชื้นระเหยออกก่อน ถ้ายังมีปัญหาก็คงต้องตามช่างมาแก้ไขหรือเปลี่ยนปลั๊ก/ สวิช์เหล่านั้นครับ
-
ลองดับไฟทุกจุดในบ้าน ปลดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าออกทั้งหมด แต่ยังเปิดคัทเอ้าท์ไว้แล้งววิ่งไปดูมิเตอร์ไฟฟ้าหน้าบ้านว่าหมุนหรือไม่ หากไม่เคลื่อนไหวแสดงว่าไฟฟ้าในบ้านเราไม่น่าจะรั่ว แต่ถ้ามิเตอร์หมุนแสดงว่าไฟฟ้าในบ้านท่านอาจจะรั่วได้ ให้รีบตามช่างไฟมาดูแลโดยเร็วครับ
-
หาก พอมีงบประมาณสำหรับปรับเปลี่ยนระบบไฟฟ้าในบ้านของท่าน แนะนำให้ตัดปลั๊กไฟในระดับต่ำๆ ในบ้านชั้นล่างออกให้หมด (ถ้าคิดว่าน้ำท่วมอีกแน่ๆ ) แล้วปรับตำแหน่งปลั๊กไฟไปอยู่ที่ระดับประมาณ 1.10 เมตร หลังจากนั้นควรแยกวงจรไฟฟ้าออกเป็น 2-3 วงจร คือ 1. วงจรไฟฟ้าสำหรับบ้านชั้นล่าง (ที่น้ำอาจท่วมถึง) 2. วงจรไฟฟ้าสำหรับบ้านชั้นบนขึ้นไป (ที่น้ำท่วมไม่ถึง) 3. วงจรสำหรับเครื่องปรับอากาศ การกระทำดังกล่าวจะทำให้ท่านควบคุมการเปิด-ปิดวงจรไฟฟ้าในบ้านได้อย่างอิสระ และง่ายต่อการซ่อมแซมบำรุงรักษาครับ
2. ตรวจสอบระบบประปาหลังน้ำท่วม
เป็นอีกระบบที่มีความสำคัญเพราะเกี่ยวกับสุขอนามัยของผู้อยู่อาศัย มีแนวทางตรวจสอบระบบประปาในบ้านหลังน้ำท่วมดังนี้ครับ
-
ถ้ามีบ่อเก็บน้ำใต้ดิน หรือถังเก็บน้ำในระดับน้ำท่วมถึง พึงระลึกเสมอว่าน้ำที่ท่วมเป็นน้ำสกปรกเสมอ ดังนั้นควรล้างทำความสะอาดถังน้ำ และบ่อน้ำให้สะอาดเพื่อความปลอดภัยของท่านและสมาชิกในบ้าน โดยไม่เสียดายน้ำ แล้วจึงปล่อยน้ำประปาใหม่ลงเก็บไว้ใช้งานอีกครั้งหนึ่งครับ
-
บ้านที่มีระบบปั๊มน้ำควรตรวจสอบอุปกรณ์ปั๊มน้ำ และถังอัดความดันว่าใช้งานได้เหมือนเดิมหรือไม่ โดยพิจารณาเสียงเครื่องทำงาน ดูแรงดันน้ำในท่อว่าแรงเหมือนเดิม (ก่อนน้ำท่วม) หรือไม่ หลังจากนั้นตรวจสอบดูว่าถังอัดความดันทำความดันได้ดีเหมือนเดิมหรือไม่
-
หากมีความผิดปกติควรตรวจสอบด้วยการแกะ แงะ ไข ว่ามีเศษผง สิ่งสกปรกเข้าไปอุดตัน กีดขวางการทำงานของอุปกรณ์เหล่านี้หรือไม่หาก ปั๊มน้ำที่บ้านท่านถูกน้ำท่วม ให้เดาไว้ก่อนว่าน่าจะเสียหายและหากใช้งานต่อไปเลยอาจเกิดอันตรายจากความ ชื้นในมอเตอร์ได้ ควรเรียกหาช่างมาทำให้แห้งเสียก่อนตามกรรมวิธีทางเทคนิค (ที่ไม่ใช่นำไปตากแดดแบบเนื้อเค็ม) เพื่อลดความเสี่ยงจากเพลิงไหม้ในตัวมอเตอร์ได้ครับ
3. ตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าหลังน้ำท่วม
อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ได้แก่เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า มอเตอร์ และอาจรวมไปถึงรถยนต์ก็ได้ เป็นเครื่องจักรกลที่เราท่านไม่น่าประมาท หรือหาทางแก้ไขซ่อมแซมเอง ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ อย่าเพิ่งใช้เด็ดขาด เพราะอุปกรณ์เครื่องใช้เหล่านี้เมื่อโดนน้ำท่วม ก็แสดงว่าน้ำไหลเข้าไปในเครื่องเรียบร้อยแล้ว เราไม่มีทางรู้เลยว่าเจ้าอุปกรณ์เครื่องใช้เหล่านี้จะป่วยไข้ เสียหายแค่ไหน การนำไปตากแดดแล้วมาใช้งานต่อเป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อชีวิตท่าน และอัคคีภัยในบ้านท่านมากจากการลัดวงจรของระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์เครื่องกลของ เครื่องเหล่านั้น แต่ถ้าหากจะยังใช้งานจริงๆ ก็มีข้อแนะนำดังนี้ครับคือ
-
ตลอดเวลาที่ใช้ต้องมีคนอยู่ด้วยเสมอ เผื่อเวลาฉุกเฉินจะได้ปิดเครื่อง ดึงปลั๊กได้ทันที
-
ที่ Cut out ไฟฟ้าหลักของบ้านท่าน ต้องมีฟิวส์คุณภาพติดตั้งเสมอ หากเกิดไฟฟ้าลัดวงจรเมื่อใด ต้องแน่ใจว่าวงจรไฟฟ้าจะถูกตัดออกทันที
-
เมื่อไม่จำเป็นต้องใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ ต้องรีบนำไปแก้ไขซ่อมแซมโดยช่างผู้รู้ทันทีครับ
4. ซ่อมพื้นไม้ปาเก้หลังน้ำท่วม
ถ้า พื้นบ้านของท่านเป็นไม้ปาเก้ แล้วถูกน้ำท่วมก็ต้องเข้าใจไว้นิดหน่อยนะครับว่า ปาเก้หรือไม้แผ่นชนิดนี้อยู่ได้ด้วยกาวติดกับพื้นคสล. จึงแพ้น้ำ(ท่วม)อย่างแรง เพราะไม้จะบวมน้ำและหลุดล่อนออกมาในที่สุดเป็นเรื่องธรรมดา บางทีหากน้ำท่วมเป็นเวลานานๆ ก็อาจเกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์แถมมาให้อีกด้วยครับ มีวิธีตรวจสอบแก้ไขดังนี้ครับ
-
หากปาเก้เปียกน้ำเล็กน้อยไม่ถึงกับหลุดล่อนออกมา แค่เช็ดทำความสะอาดแล้วเปิดประตู หน้าต่างปล่อยให้แห้งโดยให้อากาศถ่ายเทความชื้นออกไป ปาเก้จะเป็ฯปกติได้ไม่ยาก แต่ระวังว่าเมื่อปาเก้ยังชื้นอยู่ไม่ควรเอาสารทาทับหน้าไปทาทับ เนื่องจากจะไปเคลือบผิวไม่ให้ความชื้นในเนื้อไม้ระเหยออกมา
-
หากปาเก้มีอาการบิดงอ ปูดโปน เบี้ยวบูด กรุณาเลาะออกมาทันทีครับ และหากยังอยู่ในสภาพดีก็ผึ่งลมให้แห้งอาจนำมาใช้ประโยชน์ได้
-
หากท่านจะซ่อมแซมพื้นใหม่ ด้วย การเอาวัสดุปูพื้นชนิดใหม่ที่คงทนถาวรทนน้ำได้มากกว่า เช่น กระเบื้อง หรือหินอ่อน แกรนิต เหล่านี้ ต้องระวังอย่างยิ่งเรื่องน้ำหนักวัสดุที่จะปูทับหน้าว่าโครงสร้างเดิมจะรับ น้ำหนักได้หรือไม่ ไม่ควรทำไปดื้อๆ เลยเพราะบ้านท่านอาจเสียหายได้ครับ
-
หากรื้อหรือซ่อมแซมแล้ว ต้อง การปูปาเก้แบบเดิม หรือใช้วัสดุอื่นที่ใช้กาวเป้นตัวประสานเช่นกัน เช่น กระเบื้องยาง อย่าปูทับทันทีครับ ต้องรอให้พื้นคอนกรีตแห้งเสียก่อนแล้วจึงปูลงไปได้ ไม่เช่นนั้น ถึงน้ำไม่ท่วมรับรองว่าล่อนออกมาอีกแน่นอนครับ
5. ซ่อมผนังบ้านหลังน้ำท่วม
ผนังบ้านเรือนหากแช่น้ำไว้นานๆ ก็อาจมีการเสียหายไปบ้าง โดยเฉพาะพวกผนังสำเร็จรูปที่มีน้ำหนักเบาทั้งหลาย ลองมาดูวิธีแก้ไขกันครับ
-
ผนังไม้ ปกติ ไม้จะไม่เสียหายเมื่ออยู่ใต้ระดับน้ำ แต่มักผุกร่อนในจุดที่มีน้ำขึ้น น้ำลง ตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อน้ำลดให้เอาผ้าเช็ดทำความสะอาด ขจัดคราบสกปรกออกเพื่อสุขภาพคนในบ้าน เพื่อให้ผิวไม้ระเหยความชื้นออกไปได้ เมื่อแน่ใจว่าผนังแห้งดี แล้วให้ใช้น้ำยารักษาเนื้อไม้ทาชะโลมลงที่ผิว (ต้องแน่ใจว่าแห้งแล้วจริงๆ มิฉะนั้นอาจเกิดการเน่าได้เนื่องจากความชื้นระเหยไม่ออก) การทาสีหรือยารักษาเนื้อไม้อาจทำภายในก่อนก็ได้เพื่อความสวยงามในการอยู่ อาศัย แล้วรออีกสักพัก (3-4 เดือน) จึงทาภายนอกอีกทีเพราะผนังภายนอกน่าจะแห้งสนิทดีแล้ว
-
ผนังก่ออิฐฉาบปูน ให้ ดำเนินการเหมือนกับผนังไม้ แต่ต้องทิ้งระยะเวลานานกว่าเนื่องจากผนังอิฐจะมีมวลสารและการเก็บกักความ ชื้นในตัววัสดุได้มากกว่าไม้ จึงต้องใช้เวลาระเหยความชื้นออกไปนานกว่า
นอก จากนี้หากผนังปูนเหล่านี้มีสายไฟฟ้า ท่อไฟฟ้า ท่อน้ำฝังหรือเดินลอยไว้ก็ต้องใช้วิธีเดียวกับเนื้อหาตอนที่แล้ว ตรวจสอบระบบของอุปกรณ์เหล่านั้นให้อยู่ในสภาพเดิมไปพร้อมกันด้วยครับ
-
ผนังยิบซั่มบอร์ด เนื่องจากวัสดุชนิดนี้เป็นแผ่นผงปูนยิบซั่มที่หุ้มด้วยกระดาษอย่างดี แต่ไม่ว่าจะดีเพียงใดเมื่อเจอกับน้ำ(ท่วม) แล้วก็คงไม่น่าจะมีชีวิตต่อไปได้ ดังนั้นให้แก้ไขโดยเลาะเอาแผ่นชนิดนี้ที่โดนน้ำท่วมออกจากโครงเคร่าแล้วค่อย หาแผ่นใหม่มาติด ยาแนว ทาสีทับใหม่ก็เรียบร้อยใช้งานได้เหมือนเดิมครับ พึงระวังเล็กน้อยสำหรับโครงเคร่าผนังที่เป็นไม้ ต้องรอให้ความชื้นในโครงเคร่าระเหยออกไป หรือให้ไม้แห้งเสียก่อนจึงติดผนังเข้าไปใหม่ แต่ถ้าเป็นโครงเคร่าโลหะแบบที่นิยมใช้ในปัจจุบันคงไม่มีปัญหาครับ
-
ผนังโลหะ/กระจก วัสดุเหล่านี้โดยตัวเนื้องวัสดุคงไม่มีความเสียหาย เพียงแค่ทำความสะอาดขัดถูก็จะสวยงามเหมือนเดิม แต่ควรระวังเรื่องรอยต่อว่ามีคราบน้ำ เศษผง สิ่งสกปรกติดฝังอยู่บ้างหรือไม่ หากมีก็ให้ทำความสะอาดเสียให้เรียบร้อย เนื่องจากคราบน้ำ ความสกปรกอาจทำให้วัสดุยาแนวเสื่อมสภาพเร็วกว่ากำหนด
6. การซ่อมวอลล์เปเปอร์หลังน้ำท่วม
เมื่อน้ำท่วมบ้านที่มีผนังบุด้วย วอลล์เปเปอร์ มีวิธีแก้ไขและซ่อมแซม ดังนี้ วอลล์เปเปอร์จะมีลักษณะคล้ายสี ถ้าโดนความชื้นมากๆ จะลอกหรือร่อน การแก้ไขก็โดยการลอกออกให้หมด เพื่อให้ผนังที่ชื้นสามารถระเหยออกมาได้ โดยรอให้ผนังแห้งจริงๆ ทิ้งไว้ประมาณ 1 อาทิตย์ แล้วจึงปิด วอลล์เปเปอร์ทับลงไป อาจจะปิดเองถ้าทำได้ หรือตามช่างมา ก็ได้ ถ้าส่วนไหนขึ้นราหรือเป็นคราบเช็ดไม่ออก ก็สามารถเปลี่ยนแผ่นใหม่ โดยเลือกให้มีลวดลายเหมือนเดิม ก็จะได้ผนังสวยงามเหมือนก่อนน้ำท่วม
7. การซ่อมแซมฝ้าเพดานบ้านหลังน้ำท่วม
การซ่อมแซมฝ้าเพดาน จะมีลักษณะคล้ายๆ การซ่อมผนังและพื้นปนกัน มีวิธีการแก้ไขคือ ถ้าเป็นฝ้าเพดานยิปซั่มบอร์ด หรือกระดาษอัด ถ้าเปื่อยยุ่ยมากเพราะอมน้ำ ก็ควรเลาะ ออกแล้วจึงเปลี่ยนแผ่นใหม่เลย ทิ้งไว้ให้ทั้งหมดแห้งสนิทจริงๆ แล้วจึงทาสีทับ
-
ถ้าเป็นฝ้าโลหะ ให้เช็ดทำความสะอาดให้แห้ง ถ้าเป็นสนิม ก็ใช้กระดาษทรายขัดออกให้เรียบร้อย แล้วจึงทาสีทับเข้าไปใหม่
-
ระบบสายไฟส่วนใหญ่ จะเดินในฝ้าเวลาเปิดฝ้าเข้าไปต้องตรวจดูว่าความเรียบร้อยว่า มีส่วนใดชำรุดหรือเปล่าด้วย
-
ถ้าโครงฝ้าเพดานที่เป็นไม้ เกิดการแอ่นหรือทรุดตัว ต้องแก้ไขให้ได้ระดับก่อนการติดตั้งแผ่นฝ้าใหม่
8. การซ่อมแซมประตู หลังน้ำท่วม
ประตูต่างๆ เมื่อถูกน้ำแช่อยู่นานๆ ก็จะบวมขึ้น หรือไม่ก็จะเกิดเป็นสนิม มีวิธีแก้ไขคือ
-
ประตูไม้ เมื่อโดนแช่น้ำก็จะบวมและผุพัง มีวิธีแก้ก็โดยทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วซ่อมแซมส่วนที่ผุให้เรียบร้อยแล้วจึงทาสีใหม่ แต่ถ้าผุมาก ก็ควรจะเปลี่ยนเลย
-
ประตูเหล็กที่ขึ้นสนิม ก็ใช้กระดาษทรายขัดสนิมออกให้หมด เช็ดให้สะอาดแล้วจึงทาสีใหม่ โดยอย่าลืมทาสีกันสนิมก่อน แต่อย่าลืมดูรอยต่อต่างๆ โดยเฉพาะที่เป็นท่อโครงเหล็กว่า มีน้ำหลงเหลืออยู่เหลือเปล่า ต้องให้แห้งจริงๆ ก่อนจึงจะทาสีได้
-
ประตูพลาสติก ส่วนใหญ่จะทนน้ำได้ แต่ให้ระวังอาการที่มีน้ำขังสกปรก ให้หาวิธีเช็ดซับน้ำออก หรือเจาะรูให้น้ำออก
ทีนี้เวลาที่ ประตูบวมน้ำ หรือมีน้ำขังข้างใน จะทำให้น้ำหนักมากและประตูเอียง จากบานพับรับน้ำหนักไม่ไหว หาลิ่มมายันไว้ก่อนให้ใกล้เคียงปกติ แล้วพยายามทำให้แห้งที่สุด จากนั้น ถ้ายังเอียงอยู่ จะไขน็อตเพิ่มหรือเปลี่ยนบานพับก็ตามสมควรครับ
9. การซ่อมแซม บานพับ ลูกบิด และรูกุญแจหลังน้ำท่วม
อุปกรณ์ต่างๆ เช่น บานพับ ลูกบิด และรูกุญแจ ทำด้วยโลหะ เมื่อโดนน้ำท่วมย่อมมี ปัญหาตามมา มีวิธีแก้ไข คือ
-
เช็ดให้แห้งสนิท ขัดส่วนที่เป็นสนิมออกให้หมด ใช้พวกน้ำยาหล่อลื่นชโลมตามจุดรอยต่อและรูต่างๆ ให้ทั่ว
-
อย่าใช้จาระบี หรือพวกขี้ผึ้งทา เพราะจะทำให้ความชื้นระเหยออกไม่ได้ จะทำให้ฝังอยู่ข้างใน และจะเป็นปัญหาในภายหลัง
-
ถ้ายังใช้การไม่ได้ ก็ลองทำตามวิธีที่ว่านี้หลายๆ ครั้ง ถ้ายังมีปัญหา ก็ควรจะต้องถอดออก แล้วซื้อมาเปลี่ยนใหม่
10. ซ่อมแซมสีทาบ้านหลังน้ำท่วม
การ ซ่อมแซมสีทาบ้านทั้งภายนอกและภายใน ควรเป็นสิ่งสุดท้ายในการแก้ไขปรับปรุงบ้าน เพราะเป็นเรื่องของเวลาที่ต้องปล่อยทิ้งให้ความชื้นหรือน้ำในตัววัสดุ ระเหยออกไปให้ได้มากที่สุดครับ มิฉะนั้นท่านทาสีทับไปดีอย่างไร ก็จะเกิดอาการหลุดล่อนในที่สุดครับ
-
ข้อควรคิดสำหรับการซ่อมแซมสี คือ ปัญหาสีลอก สีล่อนไม่ได้เกิดจากคุณภาพของสีแต่เกิดจากความไม่พร้อมของพื้นผิวที่ทาสี หากพื้นผิวที่ทาสีมีความชื้นหรือสิ่งสกปรกติดอยู่ทาสีทับอย่างไรสีก็จะ ล่อนออกมาอยู่ดีครับ
-
ข้อพึงกระทำเวลาซ่อมสี คืออย่างเพิ่งรีบทาสี ให้ทำความสะอาดลอกสีเดิมทิ้งออกมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (เฉพาะที่มีปัญหานะครับ) แล้วทิ้งไว้นานๆ หลายๆ เดือนอาจรอจนถึงหน้าร้อนปีหน้าแล้วค่อยทาสีตามกรรมวิธีของผู้ผลิตก็ไม่สาย
11. การซ่อมแซมเฟอร์นิเจอร์หลังน้ำท่วม
การซ่อมแซมเฟอร์นิเจอร์ก็คล้ายๆ กับการซ่อมแซมพวกประตู หน้าต่าง พื้น หรือฝ้า เพดาน มีวิธีดังนี้
-
พยายามเอาความชื้นออกจากเฟอร์นิเจอร์ให้มากที่สุด
-
พวกประเภทที่บุด้วยนุ่นหรือฟองน้ำ ถ้าเป็นไปได้ควรเปลี่ยนเลย เพราะน้ำจะพาเอาเชื้อโรคมาติดอยู่ ถึงจะตากแดดให้แห้ง เชื้อโรคก็ยังมีอยู่
-
เฟอร์นิเจอร์ที่ติดกับที่ที่เรียกว่า Built in ต้องตรวจสอบความแข็งแรงของโครงสร้าง และสายไฟที่ฝังอยู่ในตู้ รวมถึงทำความสะอาดรูกุญแจและลูกบิด
-
ส่วนเฟอร์นิเจอร์ไม้ ไม่ควรนำไปตากแดด เพราะจะทำให้บิดงอได้ และถ้าจะทาสีใหม่ ควรรอให้แห้งสนิทก่อน มิฉะนั้นจะลอกได้
12. ทำความสะอาดพรมหลังน้ำท่วม
-
ใช้สายยางฉีดน้ำแรงๆ เผื่อไล่สิ่งติดค้าง สิ่งสกปรกออกไป
-
รีดน้ำที่ขังอยู่ในพรมออกไป โดยการใช้อุปกรณ์ที่กดรีดได้ หรือม้วนบีบ (อย่าบีบแรงเกิน เดี๋ยวเนื้อพรมจะรวน)
-
ใช้ แชมพูสระผมเด็ก ทำความสะอาดพรมแล้วล้างออก จนกระทั่ง น้ำล้างใสสะอาด
-
ผึ่งแดดให้แห้ง
13. ทำความสะอาดเตียงนอนหลังน้ำท่วม
เตียงนอน ถ้าจมน้ำละก้อ กลายเป็นเรื่องน่าปวดหัวในการทำความสะอาดอย่างมาก แต่ถ้าคุณอยากจะนำมันกลับมาใช้ต้องพยายามกันหน่อย
-
ตากแดดให้แห้ง โดยพลิกคว่ำไว้ ตีแรงๆหลายๆครั้ง (ไล่น้ำ ไล่ฝุ่นออก)
-
ทำความสะอาดขจัดคราบเปื้อนต่างๆ ฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อโรคแล้วผึ่งแดดอีกครั้ง
-
ฉีดสเปรย์ดับกลิ่น แล้วใช้ผ้าปูรองนอน
14. ขจัดความชื้นในบ้านหลังน้ำท่วมให้ได้มากที่สุด
ข้อสุดท้าย อย่าลืมนะครับว่า หัวใจของการซ่อมบ้าน ดูแลบ้าน ส่วนหนึ่งคือ การขจัดความชื้นออกจากบ้าน และเฟอร์นิเจอร์ และส่วนประกอบต่างๆของบ้าน โดยเร็ว เพราะยิ่งชื้อนานก็จะเป็นแหล่งเพาะเชื้อ และรา ได้
-
เปิดหน้าต่าง ประตูระบายและถ่ายเทอากาศให้ได้มากที่สุด
-
ตู้ที่เปียกก็เปิดทิ้งไว้ ให้ระบายความชื้นเช่นกัน
-
ใช้พัดลม เปิดแอร์ (โหมดพัดลม)ก็ได้ จะเป็นการระบายความชื้นได้ครับ
-
ใช้สารดูดความชื้น (แบบเดียวกับที่มาใน ห่อขนม ห่อสาหร่าย หรือกล่องรองเท้าน่ะครับ)
-
ถ้าเร่งให้แห้งเร็ว ก็ใช้พวกไดร์เป่าผมกับส่วนที่ต้องการให้แห้งเร็ว
15. ขจัดเชื้อโรคเชื้อราหลังน้ำท่วม
-
สำหรับพื้น เก้าอี้ เครื่องไม้เครื่องมือ เตาอบ ผนังบ้าน สามารถใช้น้ำยาประเภทล้างครัวเรือน ผนังห้องน้ำ (bleach) ได้ เพื่อขจัดเอาเชื้อโรค เชื้อราที่ฝังตัวออกไป
-
สำหรับเสื้อผ้าที่จมน้ำท่วม ซักผ้าแล้วลวกน้ำร้อนด้วยเลย
-
สำหรับจานชามช้อนให้ล้างด้วยน้ำยาล้างจานใหม่หมด
-
ที่สำคัญระหว่างทำความสะอาดสิ่งของเหล่านั้น หลีกเลี่ยงการสัมผัสสูดดม (ทั้งเชื้อโรค และสารเคมีน้ำยาที่ใช้) ด้วยการใส่ถุงมือ และหน้ากาก
เรียบเรียงบางส่วนโดย Mthai.com และนำเนื้อหาบางส่วนจากที่มาต่อไปนี้
สยามรัฐ ฉบับวันที่ 03 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
S’Decor: Asst.Prof.Ratchot Chompunich / Green AKU
http://www.asa.or.th/?q=node/104411
http://www.arch.ku.ac.th/2010/dean2.html
http://www.arch.ku.ac.th/2010/dean3.html
แปลจาก http://www.best604homes.com
แปลจาก “Repairing Your Flooded Home” by Redcross.org
แปลจาก “Flyer Get Rid of Mold” by Center of Disease Control and Prevention
“ร้อยพันปัญหาในงานก่อสร้าง” via Softbizplus.com
ภาพจาก http://www.best604homes.com, http://www.homesqu.com, http://www.abc.net.au
-------------------------------------------------------------
เกร็ดความรู้ในการฟื้นฟูซ่อมแซมบ้าน "หลังน้ำท่วม"
การซ่อมแซมพื้นบ้าน
-
พื้นบ้านที่เป็น พื้นไม้ปาร์เกต์ จะหลุดล่อนหลังจากเกิดน้ำท่วม
วิธีแก้ไข คือ นำแผ่นไม้ปาร์เกต์ไปผึ่งแดดให้แห้ง แล้วจึงค่อยทาด้วยกาวลาเท็กซ์ กดลงให้แน่น หลังจากนั้นทิ้งไว้ให้แห้งประมาณ 15 วัน จึงสามารถใช้งานได้
วิธีแก้ไขซ่อมแซมหลังถูกน้ำท่วม คือ ต้องลอกออก แล้วนำไปซักและตากแดดให้แห้งสนิท จากนั้นจึงค่อยนำกลับมาปูใหม่ โดยต้องให้พื้นคอนกรีตแห้งสนิทก่อน
การซ่อมแซมผนังบ้าน
ให้เลาะเอาแผ่นที่เสียออก ถ้าโครงเคร่าเป็นโลหะก็สามารถติดแผ่นใหม่ได้เลย แต่ถ้าโครงเคร่าเป็นไม้ต้องทิ้งให้ความชื้นในไม้ระเหยหมดก่อนจึงติดแผ่นใหม่ได้
ต้องเช็ดทำความสะอาด เพื่อให้ผิวสามารถระเหยความชื้นได้ เมื่อแห้งดีแล้วใช้น้ำยารักษาเนื้อไม้ชโลมที่ผิว หรือทาสีด้านในบ้านก่อนทิ้งไว้ 5-6 เดือน แล้วค่อยทาสีด้านนอก
ให้ใช้วิธีเดียวกับผนังไม้ แต่ต้องทิ้งไว้เพื่อให้มีการระเหยความชื้นนานกว่าผนังไม้ เพราะจะมีความหนามากกว่า
การซ่อมแซมวอลเปเปอร์
ผนังวอลเปเปอร์ของบ้านที่ถูกน้ำท่วมนั้น วิธีแก้ไขคือให้ลอกแผ่นวอลเปเปอร์ออกให้หมด เพื่อให้ผนังที่ชื้นสามารถระเหยความชื้นออกมาได้ โดยต้องรอให้ผนังแห้งก่อน ลอกทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ จากนั้นจึงค่อยปิดวอลเปเปอร์ทับลงไป ถ้าส่วนไหนขึ้นราหรือเช็ดไม่ออก ก็เปลี่ยนแผ่นใหม่
การซ่อมแซมฝ้าเพดานบ้าน
-
ฝ้าเพดานยิบซั่มบอร์ดหรือกระดาษอัด
ถ้าเปื่อยยุ่ยมากเพราะอมน้ำ ก็ควรเลาะออกแล้วเปลี่ยนแผ่นใหม่ ทิ้งไว้ให้ทั้งหมดแห้งสนิทก่อนแล้วจึงค่อยทาสีทับ
ให้เช็ดทำความสะอาดให้แห้ง ถ้าเป็นสนิมให้ใช้กระดาษทรายขัดออกให้เรียบร้อยแล้วจึงทาสีทับ
ถ้าเกิดการแอ่นตัว ต้องแก้ไขให้ได้ระดับก่อน แล้วจึงทำการติดตั้งแผ่นฝ้าใหม่
การซ่อมแซมประตู
-
ประตูไม้ เมื่อโดนแช่น้ำจะบวมและผุพัง
วิธีแก้ไขคือ ทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วซ่อมแซมส่วนที่ผุให้เรียบร้อยก่อนจึงค่อยทาสีใหม่ แต่ถ้าผุมากก็ควรเปลี่ยนใหม่
วิธีแก้ไขคือ ใช้กระดาษทรายขัดสนิมออกให้หมด เช็ดให้แห้ง แล้วทาสีกันสนิมก่อน จากนั้นจึงทาสีใหม่
การซ่อมแซมบานพับ ลูกบิด และรูกุญแจ
อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ ทำด้วยโลหะ เมื่อโดนน้ำท่วมมักจะมีปัญหาตามมา ซึ่งวิธีแก้ไขคือ เช็ดให้แห้งสนิท ขัดส่วนที่เป็นสนิมออกให้หมด แล้วให้ใช้น้ำยาหล่อลื่นชโลมตามจุดรอยต่อให้ทั่ว และมีคำเตือนคือ อย่าใช้จาระบี หรือใช้ขี้ผึ้งทา เพราะจะทำให้ความชื้นระเหยออกไม่ได้
การทาสีบ้าน
ก่อนจะทำการทาสีบ้านใหม่ควรจะซ่อมแซมส่วนอื่น ๆ ภายในและภายนอกบ้านให้เรียบร้อยก่อน ส่วนเรื่องสีวิธีการคือ ต้องขูดสีเก่าออกก่อน ทำความสะอาดผนังและทิ้งไว้ให้แห้งสนิท เมื่อแห้งดีแล้วจึงทาสีรองพื้นชนิดกันเชื้อราก่อน แล้วทาทับด้วยสีจริง
การพิจารณายกบ้านเพื่อหนีปัญหาน้ำท่วม
-
ถ้าโครงสร้างบ้านเป็นไม้ทั้งหมดก็คงไม่ยากเพราะมีน้ำหนักค่อนข้างเบา
-
ถ้าโครงสร้างบ้านเป็นปูน ต้องเสริมฐานรากใหม่ซึ่งทำได้ยากและมีน้ำหนักที่มาก ด้วย อีกทั้งยังมีงานระบต่างๆ ทีติดอยู่กับพื้นดิน เช่น ท่อประปา ท่อไฟฟ้า ต้องตัดออกแล้วเชื่อมใหม่ ค่อนข้างยุ่งยาก ทำให้เสียค่าใช้จ่าย ค่อนข้างมากพอสมควร
ที่มา www.hm.co.th และ http://dailynews.co.th
|