Home » บทความทั่วไป ความรู้น้ำท่วม » คู่มือการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยครัวเรือนละ5,000บาท ในพื้นที่กรุงเทพฯตั้งแต่ ตุลาคม 2554,แผนผัง+แบบฟอร์ม+เอกสาร : Download - PDF

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
คู่มือการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยครัวเรือนละ5,000บาท ในพื้นที่กรุงเทพฯตั้งแต่ ตุลาคม 2554,แผนผัง+แบบฟอร์ม+เอกสาร : Download - PDF

Download คู่มือ,แบบฟอร์ม

คู่มือการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยครัวเรือนละ 5,000 บาท
สำหรับอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานครตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554

จัดทำโดย ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยฯ กรุงเทพมหานคร
วันที่ 9 พฤศจิกายน 2554

1. เหตุผลความจำเป็นการช่วยเหลือครัวเรือนละ 5,000 บาท

        เนื่องมาจากสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ ได้ก่อให้เกิดปริมาณน้ำก้อนใหญ่ไหลบ่าเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพมหานครและแผ่ขยายไปตามพื้นที่เขตต่าง ๆ ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยฯ กรุงเทพมหานคร พิจารณาแล้วเห็นว่า สถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2554 จนถึงปัจจุบันเป็นเหตุให้เกิดภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำเหนือไหลบ่าเข้าในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร โดยเหตุภัยพิบัติในครั้งนี้เป็นสถานการณ์ค่อนข้างรุนแรง มีปริมาณน้ำเหนือสะสมมาก ทำให้ประชาชนในพื้นเขตต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานครได้รับผลกระทบและทรัพย์สินได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก บ้านเรือนที่อยู่อาศัยประจำของราษฎรและทรัพย์สินได้รับความเสียหาย

        ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนผู้ประสบภัยและเป็นการบำบัดทุกข์บำรุงสุขในเบื้องต้นจึงเห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความช่วยเหลือครัวเรือนผู้ประสบภัยครัวเรือนละ 5,000 บาท เงินช่วยเหลือจำนวนนี้จะเป็นเงินที่ผู้ประสบภัยนำมาใช้จ่ายในการดำรงชีวิตระหว่างที่กำลังฟื้นฟูสภาพความเสียหาย ยังไม่สามารถประกอบอาชีพเพื่อหารายได้มาเลี้ยงครอบครัว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความช่วยเหลือโดยเร็ว

2. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายเงินช่วยเหลือ

          2.1 หลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบภัยที่มีบ้านเรือนอยู่อาศัยประจำใน ๒ กรณี ดังนี้

                    2.1.1 น้ำท่วมถึงบ้านพักอาศัยโดยฉับพลันและทรัพย์สินได้รับความเสียหาย

                    2.1.2 บ้านพักอาศัยถูกน้ำท่วมขังติดต่อกันไม่น้อยกว่า 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย

คำอธิบาย หลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือให้ราษฎรผู้ประสบอุทกภัยที่มีที่อยู่อาศัยประสบภัยจะต้องเป็น ไปตามกรณี ดังนี้

                    กรณีตามข้อ 2.1.1 บ้านพักอาศัยจะต้อง...

                    - ถูกน้ำท่วมถึงบ้านโดยฉับพลัน
                    - ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย และ
                    - อยู่ในเขตพื้นที่ประกาศภัยพิบัติ

                    กรณีตามข้อ 2.1.2 บ้านพักอาศัยจะต้อง

                    - ถูกน้ำท่วมขังติดต่อกันไม่น้อยกว่า 7 วัน
                    - ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย และ
                    - อยู่ในเขตพื้นที่ประกาศภัยพิบัติ

          2.2 เงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบภัยที่มีบ้านเรือนอยู่อาศัยประจำ

                    2.2.1 ทั้ง 2 กรณีต้องเป็นบ้านเรือนที่อยู่อาศัยประจำในพื้นที่ประกาศภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินและมี
หนังสือรับรองผู้ประสบภัยที่สำนักงานเขตออกให้เท่านั้น

                    2.2.2 กรณีที่มีผู้ประสบภัยซ้ำซ้อนทั้ง 2 กรณี ให้ได้รับความช่วยเหลือเพียงกรณีเดียว ทั้งนี้การดำเนินการช่วยเหลือทุกขั้นตอนครั้งนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 14 วัน

3. ลักษณะครัวเรือนที่อยู่อาศัยที่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์

          3.1 บ้านพักอาศัยที่มีทะเบียนบ้าน

          3.2 บ้านเช่า ผู้เช่าเป็นผู้ได้รับเงินช่วยเหลือในกรณีบ้านพักอาศัย/บ้านเช่ามีหลายชั้นให้ได้รับเงินช่วยเหลือ
เฉพาะชั้นที่มีน้ำท่วมถึงเท่านั้น

คำอธิบายลักษณะที่อยู่อาศัยของครัวเรือนที่มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจะต้องเป็น

          1. บ้านพักอาศัยที่มีทะเบียนบ้านและถูกน้ำท่วมถึง หรือ

          2. เช่าบ้านอยู่อาศัยและอยู่อาศัยในชั้นที่ถูกน้ำท่วมถึง โดยบ้านเช่านั้นอาจจะแบ่งเช่าเป็นห้อง
หรือเช่าทั้งหลังมีทะเบียนบ้านหรือไม่มีทะเบียนบ้านก็ได้

4. หลักฐานการแสดงสิทธิขอรับการช่วยเหลือ

          4.1 กรณีบ้านพักอาศัยที่มีทะเบียนบ้านให้เจ้าบ้านหรือผู้ได้รับมอบอำนาจขอหนังสือรับรองจาก
สำนักงานเขตเพื่อเป็นหลักฐานการใช้สิทธิ

          4.2 กรณีบ้านเช่าให้ใช้สัญญาเช่าหรือหนังสือรับรองจากเจ้าของบ้านเพื่อขอหนังสือรับรองจาก
สำนักงานเขต

คำอธิบาย หลักฐานการแจ้งสิทธิ ได้แก่ หนังสือรับรองจากสำนักงานเขตโดยการรับรองการเช่าบ้านตามข้อ 4.2 ให้พิจารณาตามหลักฐานที่มีอยู่หรือตามข้อเท็จจริง โดยจัดทำเป็นหนังสือและมีผู้รับรองตามที่กำหนดจัดเก็บไว้ที่สำนักงานเขตเพื่อเป็นหลักฐานพร้อมรับการตรวจสอบ

5. การตรวจสอบที่อยู่อาศัยที่ต้องตามหลักเกณฑ์ตามหลักวิทยาศาสตร์และตามหลักความเป็นจริง

        ให้สำนักงานเขตแต่งตั้งคณะกรรมการอย่างน้อย 5 คน ตรวจสอบคำร้องเพื่ออกหนังสือรับรองว่าเป็นผู้มีสิทธิขอรับการช่วยเหลือจริงในพื้นที่ประสบอุทกภัยและเร่งรัดการจ่ายเงินให้เป็นไปอย่างรวดเร็วเป็นธรรมและทั่วถึง ตลอดจนสร้างความเข้าใจในหลักเกณฑ์และแนวทางการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้กับผู้ปฏิบัติในระดับ
พื้นที่ได้อย่างถูกต้อง

คำอธิบาย ในการตรวจสอบผู้ประสบอุทกภัย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน-Gristda) ได้ถ่ายภาพและจัดทำรายละเอียดของพื้นที่ที่ประสบภัยไว้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งที่นำมาตรวจสอบความถูกต้องและการตรวจสอบสภาพข้อเท็จจริงในพื้นที่ที่ขอรับความช่วยเหลือ เพื่อนำมาประกอบหลักฐานการตรวจสอบต่อไป

6. ขั้นตอนการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

          6.1 ศปภ.กทม. จัดให้มีการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้อำนวยการเขตและผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับ
แนวทางการดำเนินการ

          6.2 ศปภ.กทม. ทำรายละเอียดเป็นคู่มือการปฏิบัติงานให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกพื้นที่เขต

          6.3 ให้คณะกรรมการตามข้อ 5 สำรวจข้อมูลรายละเอียดของผู้ประสบภัยพิบัติ (อุทกภัย) ที่มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อออกหนังสือรับรองของสำนักงานเขต

          6.4 ให้สำ นักงานเขตจัดพิมพ์รายชื่อผู้มีสิทธิตามหนังสือรับรองที่สำ นักงานเขตออกให้ลงในแบบ ข.1 และ ข.2 และให้ผู้อำนวยการเขตลงนามรับรองในแบบฟอร์มข้อมูลก่อนนำส่งให้ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยฯ กรุงเทพมหานคร โดยสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลจะจัดทำรายละเอียดแบบฟอร์มและชี้แจงขั้นตอนการดำเนินการในภายหลัง

          6.5 ศปภ.กทม. ตรวจสอบความถูกต้องแล้วนำเสนอต่อปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อลงนามรับรองว่าเป็นผู้มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือตามมติ ครม. นำส่งถึงกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พร้อมกับส่งข้อมูล รายละเอียดจำนวนหลังคาเรือนที่ขอรับการช่วยเหลือทาง E-mail Address : อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน ทั้งนี้ ให้ ศปภ.กทม. ทยอยส่งข้อมูลและเอกสารตัวจริงส่งถึงกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยด่วนที่สุด โดยสำนักงานเขตต้องเก็บเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ไว้เพื่อให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบต่อไป

          6.6 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตรวจสอบข้อมูลรายชื่อที่ได้รับจากกรุงเทพมหานครแล้วส่งให้ธนาคารออมสินเพื่อจ่ายเงินโดยด่วนที่สุด หลังจากที่ได้รับรายชื่อจากกรุงเทพมหานครและให้ธนาคารออมสินดำเนินการจ่ายเงินให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

          6.7 ในระหว่างที่มีการอนุมัติเพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือนั้น ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) จะมอบหมายให้คณะกรรมการอำ นวยการและกำ กับดูแลการจัดทำ ข้อมูลผู้ประสบภัยครัวเรือนละ 5,000 บาท ร่วมด้วยข้าราชการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงความถูกต้องของการเสนอรายชื่อครัวเรือนและกระบวนการจ่ายเงินช่วยเหลือต่าง ๆ หากพบความผิดปกติประการใด จะดำเนินการตามระเบียบและกฎหมายต่อไป

7. การจ่ายเงินของธนาคารออมสิน

        เมื่อมีการโอนเงินให้ธนาคารออมสินสาขาใดแล้ว ให้ ศปภ.กทม. ประสานงานและดำเนินการจัดทำแผนการจ่ายเงินแก่ผู้ประสบภัยในแต่ละเขตให้แล้วเสร็จโดยด่วนที่สุด หลังจากได้รับการโอนเงินขอให้สำนักงานเขตประสานธนาคารออมสินกำหนดรายละเอียดการจ่ายเงินตามที่ กรุงเทพมหานครจะได้แจ้งแนวทางวิธีการจ่ายเงินให้ทราบต่อไป โดยผู้รับเงินจะต้องนำหลักฐานไปแสดง ดังนี้

          7.1 หนังสือที่สำนักงานเขตออกให้

          7.2 บัตรประจำตัวประชาชน

          กรณีมารับด้วยตนเอง

          - ให้นำบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง ไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่จ่ายเงิน และให้ลงลายมือชื่อรับเงินต่อหน้าเจ้าหน้าที่และให้เจ้าหน้าที่จ่ายเงินลงลายมือชื่อผู้จ่ายเงิน

          กรณีไม่สามารถมารับได้ด้วยตนเอง

          - หนังสือมอบฉันทะ (ผู้รับมอบฉันทะสามารถรับมอบได้เพียงรายเดียวและครั้งเดียวเท่านั้น
ไม่สามารถมอบฉันทะต่อได้)

          - บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของผู้มอบและผู้รับมอบฉันทะ

คำอธิบาย ในการจ่ายเงินให้แก่ผู้ประสบภัยที่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือ ให้ธนาคารออมสินดำเนินการตามแผนการจ่ายเงินที่กรุงเทพมหานครได้ประชุมหารือร่วมกับธนาคารออมสิน และให้ธนาคารออมสินจัดทำรายงานการจ่ายเงินที่ได้จ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือไปแล้วในแต่ละวันส่งให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อรายงานต่อไป

8. แนวทางการปฏิบัติงานของกรุงเทพมหานคร

          8.1 เร่งรัดการสำรวจ ตรวจสอบ ส่งรายชื่อให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อตรวจสอบส่งให้ธนาคารออมสิน โดยด่วนที่สุด โดยให้ทยอยส่งเป็นรายแขวงและเขตที่มีจำนวนครบถ้วนสมบูรณ์พร้อมที่จะจ่ายเงินได้
          
          8.2 หลังจากส่งรายชื่อให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแล้ว กรุงเทพมหานครประชุมหารือร่วมกับธนาคารออมสินและกองบัญชาการตำรวจนครบาล ในการกำหนดแผนการจ่ายเงินให้แก่ผู้ประสบภัยให้รวดเร็วทั่วถึง โดยเน้นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนมากที่สุด

ภาคผนวก

          ขั้นตอนการดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินจากอุทกภัย (หลังคาเรือนละ 5,000.- บาท) ศปภ.กทม.

   &nsp;     ตรวจสอบข้อมูลและจัดทำแบบ จ.1 (กรุงเทพมหานคร) เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนาม

          ศปภ.กทม. จัดส่งข้อมูลให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พร้อมส่งข้อมูลรายละเอียดทาง e-mail address: อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน โดยเก็บสำเนาคู่ฉบับ เพื่อให้สำนักงานตรวจสอบแผ่นดินตรวจสอบ

          ศปภ.กทม.ประสานงานและดำเนินการจัดทำแผนการจ่ายเงินแก่ผู้ประสบภัยในแต่ละเขต เพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อได้รับเงินโอนจากธนาคารออมสิน

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

          จัดส่งข้อมูลที่ได้รับจากกรุงเทพมหานครให้ธนาคารออมสิน เพื่อดำเนินการโอนเงินให้กรุงเทพมหานคร ตามที่ทำการสาขาที่ได้แจ้งไว้

สำนักงานเขต

          ตั้งคณะกรรมการ (ไม่น้อยกว่า 5 คน) เพื่อตรวจสอบและกลั่นกรองผู้มีสิทธิรับเงินช่วยเหลือ

          ดำเนินการสำรวจข้อมูลบ้านเรือนที่มีสิทธิรับเงินช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

          จัดทำข้อมูลตามแบบ ท.1 (แขวง) และแบบ อ.1 (เขต) โดยให้ ผู้อำนวยการเขตรับรองแบบ อ.1 (เขต) ส่ง ศปภ.กทม. (ทางเอกสาร และ ทาง e-mail address:  อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน ) *** ให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้รับมอบหมาย ***

          ให้สำนักงานเขตแจ้งชื่อสาขาธนาคารออมสินในพื้นที่ เพื่อธนาคารอำนวยความสะดวก ในการจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัย

แนวทางการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ครัวเรือนละ 5,000 บาท

1. เหตุผลความจำเป็นเพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วม และเป็นการบำบัดทุกข์บำรุงสุข

           ในเบื้องต้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2554 พิจารณาให้ความช่วยเหลือครัวเรือนผู้ประสบภัยครัวเรือนละ 5,000 บาท ซึ่งผู้ประสบภัยจะได้นำมาใช้จ่ายในการดำรงชีวิต ระหว่างที่กำลังฟื้นฟูสภาพความเสียหาย ไม่สามารถประกอบอาชีพหารายได้เลี้ยงครอบครัว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือโดยเร็ว จำนวน 30 เขต คือ เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตสัมพันธวงศ์ เขตสาทร เขตบางคอแหลม เขตยานนาวา เขตคลองเตย เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตราษฎร์บูรณะ เขตคลองสามวา เขตมีนบุรี เขตหนองจอก เขตลาดกระบัง เขตดอนเมือง เขตคันนายาว เขตจตุจักร เขตตลิ่งชัน เขตบางเขน เขตบางแค เขตภาษีเจริญ เขตลาดพร้าว เขตวังทองหลาง เขตสายไหม เขตหนองแขม เขตหลักสี่ และเขตทวีวัฒนา โดยให้ผู้อำนวยการเขตสำรวจ ตรวจสอบข้อมูล และออกหนังสือรับรองจัดทำแบบ ข 1 ,ข 2 ส่งให้ ศปภ.กทม. เพื่อให้ธนาคารออมสินเป็น ผู้จ่ายเงินให้กับผู้ประสบภัย

2. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายเงินช่วยเหลือ

           2.1 หลักเกณฑ์

          กรณีที่ (1) น้ำท่วมถึงบ้านโดยฉับพลัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย คือ ถูกน้ำท่วมบ้านโดยฉับพลัน ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย และอยู่ในเขตพื้นที่ประกาศภัยพิบัติ

          กรณีที่ (2) บ้านพักอาศัยถูกน้ำท่วมขังติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๗ วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย คือ ถูกน้ำท่วมขังไม่น้อยกว่า ๗ วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย และอยู่ในพื้นที่ประกาศภัยพิบัติ

          2.2 เงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบภัยพิบัติที่มีบ้านเรือนอยู่อาศัยประจำ ทั้ง ๒ กรณี ต้องมีหนังสือรับรองผู้ประสบภัยที่ผู้อำนวยการเขตออกให้ และให้รับความช่วยเหลือได้เพียงกรณีเดียว

3. ลักษณะครัวเรือนที่อยู่อาศัยที่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์

          3.1 บ้านพักอาศัยที่มีทะเบียนบ้านและน้ำท่วมถึง

          3.2 บ้านเช่า ผู้เช่าเป็นผู้ได้รับความช่วยเหลือในกรณีบ้านพักอาศัย/บ้านเช่า/คอนโด/อพาร์ทเม้นต์ มีหลายชั้นให้ได้รับเงินช่วยเหลือเฉพาะชั้นที่น้ำท่วมถึงและทรัพย์สินเสียหาย คือ ครัวเรือนนั้นเช่าบ้านอยู่อาศัย และอยู่ในชั้นที่น้ำท่วมถึง โดยบ้านเช่านั้นอาจแบ่งเช่าเป็นห้อง หรือเช่าทั้งหลังมีทะเบียนบ้าน

          3.3 กรณีอื่น ๆ นอกเหนือจาก ข้อ 3.1 และ 3.2 เช่น สิ่งปลูกสร้างที่อยู่อาศัยมีลักษณะถาวร หรือชั่วคราวที่ครัวเรือนอาศัยอยู่เป็นประจำโดยไม่มีทะเบียนบ้าน เช่น บ้านพักคนงาน

4. หลักฐานการแสดงสิทธิขอรับการช่วยเหลือ

          4.1 กรณีบ้านพักอาศัยที่มีทะเบียนบ้านให้เจ้าบ้าน/หัวหน้าครอบครัว/ผู้ได้รับมอบอำนาจ ยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้านที่ประสบภัย (กรณีไม่สามารถนำทะเบียนบ้านมาแสดงได้ ให้ตรวจสอบจากสำนักทะเบียนของสำนักงานเขตเอง) เพื่อขอหนังสือรับรองจากสำนักงานเขต (กรณีมอบอำนาจให้มีหนังสือมอบอำนาจและแนบบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ)

          4.2 กรณีบ้านเช่าให้ใช้สัญญาเช่า/หนังสือรับรองการเช่าจากเจ้าของบ้านเช่า พร้อมหลักฐานสำเนาบัตรประจำตัว ประชาชนผู้ร้อง และทะเบียนบ้านที่ประสบภัย(กรณีไม่สามารถนำทะเบียนบ้านมาแสดงได้ให้ตรวจสอบจากสำนักทะเบียนของสำนักงานเขตเอง) เพื่อขอหนังสือรับรองจากสำนักงานเขต

          4.3 หลักฐานอื่น ๆ ตามข้อ 3.3 ให้ใช้พยานบุคคล หรือที่ผู้อำนวยการเขตเห็นสมควร กรณีมีข้อสงสัย/สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศปภ.กทม. หมายเลขโทรศัพท์ 0 2223 1835

หนังสือรับรองผู้ประสบภัย

หากมีข้อสงสัย/สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศปภ.กทม. โทร. ๐ ๒๒๒๓ ๑๘๓๕
เลขที่......................./๒๕๕๔ สำนักงานเขต..............................

หนังสือรับรองผู้ประสบภัยประเภทบุคคลธรรมดา

หนังสือฉบับนี้ให้ไว้เพื่อรับรองว่า..........................................เกิดวันที่..........เดือน....................พ.ศ...............
เลขประจำตัวประชาชน / หนังสือเดินทางเลขที่ / อื่น ๆ (ถ้ามี)...................................................................................................
ที่อยู่ที่ประสบสาธารณภัย บ้านเลขที่..................หมู่ที่/หมู่บ้าน................................ตรอก/ซอย...................................................
ถนน................................แขวง......................................เขต......................................กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์..................
โทรศัพท์.......................................ที่อยู่ตามทะเบียนบ้านหรือที่อยู่ที่ติดต่อได้ บ้านเลขที่...............หมู่ที่/หมู่บ้าน.........................
ตรอก/ซอย...................................................ถนน................................แขวง......................................เขต.....................................
กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์............................โทรศัพท์..............................................
เป็นผู้ประสบภัยหรือได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ อุทกภัย.........................(ระบุประเภทของสาธารณภัยและสถานที่เกิดภัย)
เมื่อ.............................................................................(วัน เดือน ปี เวลา ที่เกิดภัย)

ความเสียหายของผู้ประสบภัย ตามบัญชีความเสียหายแนบท้ายหนังสือรับรองของผู้ประสบภัยประเภทบุคคลธรรมดาฉบับนี้ผู้ประสบภัยมีสิทธิ์ที่จะได้รับการสงเคราะห์และการฟื้นฟูจากหน่วยงานของทางราชการ ด้านใดด้านหนึ่ง
หรือหลายด้านตามเงื่อนไข หลักเกณฑ์ และแนวทางที่หน่วยงานนั้นกำหนด รายละเอียดตารางแสดงสิทธิที่จะได้รับ
จากทางราชการปรากฎตามแนบท้าย

ให้ไว้ ณ วันที่...................เดือน.....................................................พ.ศ..........................................
ลงชื่อ ...........................................................................
(.........................................................................)
ตำแหน่ง .......................................................................
ผู้อำนวยการ..................................................................
(พิมพ์ชื่อเต็ม และตำแหน่ง / ประทับตราส่วนราชการ)

หมายเหตุ หากมีการขูด ลบ หรือแก้ไขข้อความในหนังสือรับรองและบัญชีแนบท้าย จะต้องลงชื่อผู้มีอำนาจออกหนังสือรับรองและประทับตรากำกับไว้ทุกแห่ง

คำร้องขอรับการสงเคราะห์ผู้ประสบภัย (น้ำท่วม)

1. ชื่อผู้ยื่นคำร้อง นาย/นาง/นางสาว..........................................ชื่อสกุล..............................................................
เลขประจำตัวประชาชน
อยู่บ้านที่ประสบอุทกภัยเลขที่.................................. เลขหมายประจำบ้าน
หมู่ที่/หมู่บ้าน................................ ตรอก/ซอย................................ถนน...............................แขวง....................................
เขต........................................... กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์.....................
หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ.................................................
อยู่ในชุมชน........................................................ ประสบภัยเมื่อ ....................................................................................
2. กรณีอุทกภัยที่เกิด
น้ำท่วมฉับพลันและทรัพย์สินได้รับความเสียหาย
น้ำท่วมขังเป็นเวลา 7 วันขึ้นไปและทรัพย์สินได้รับความเสียหาย
3. ประกอบอาชีพ
รับราชการ รับจ้าง ค้าขาย อื่นๆ.................................
4. สภาพที่ประสบอุทกภัย (น้ำท่วม)
ท่วมทั้งหลัง
ท่วมบางส่วน (ระบุความเสียหาย) ....................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
5. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ที่ประสบอุทกภัยหรือไม่
มี ไม่มี
6. อยู่ในบ้านเลขที่ที่ประสบอุทกภัยในฐานะ
เจ้าบ้าน ผู้อาศัย ผู้เช่า อื่นๆ (ระบุ)................................................................
7. บ้านที่ประสบอุทกภัยปลูกสร้างในที่ดิน
ของตนเอง ที่เช่า ที่สาธารณะ อื่นๆ (ระบุ) ...............................
8. ลักษณะของบ้านที่ประสบอุทกภัย
บ้านไม้ บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ ตึกแถว คอนโด/อพาร์ทเมนท์ อื่นๆ (ระบุ)...............................
ขอรับรองว่าเป็นความจริงทุกประการ
ลงชื่อ....................................................................ผู้ยื่นคำร้อง
(...................................................................)

หลักฐานประกอบ

รูปถ่าย หนังสือรับรองของผู้ให้เช่า/หนังสือรับรองของประธานชุมชน
สำเนาทะเบียนบ้าน หนังสือมอบอำนาจ กรณีผู้มีสิทธิไม่สามารถมาดำเนินการด้วยตนเอง
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบ
หนังสือสัญญาเช่า อื่นๆ (ระบุ) ...........................................................
แขวง............................................
เขต...............................................
คำรับรอง
เขียนที่............................................................
.......................................................................
ข้าพเจ้า นาย/นาง/นางสาว............................................................................................อายุ......................ปี
ที่อยู่บ้านเลขที่.............หมู่ที่/หมู่บ้าน.............................ตรอก/ซอย...........................ถนน.......................แขวง
............................เขต.........................กรุงเทพมหานคร ขอให้คำรับรองต่อสำนักงานเขต.................... ว่า ข้าพเจ้าประธาน
ชุมชน/เจ้าของบ้านเช่า
.......................................................................ขอรับรองว่า นาย/นาง/นางสาว.....................................................
อายุ..........................ปี ที่อยู่บ้านเลขที่.............หมู่ที่/หมู่บ้าน.............................ตรอก/ซอย...........................ถนน
......................แขวง...........................เขต.......................กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ประสบอุทกภัย และได้รับความเดือดร้อนอย่างแท้จริง
รับรองไว้ ณ วันที่.................เดือน...................................พ.ศ...................................
ลงชื่อ..................................................................ประธานชุมชน/เจ้าของบ้านเช่า
(................................................................)
ลงชื่อ..................................................................พยาน
(................................................................)
ลงชื่อ..................................................................พยาน
(................................................................)

หมายเหตุ สิ่งที่ต้องแนบมาพร้อมคำรับรองนี้
บัตรประจำตัวประธานชุมชนหรือบัตรประชาชนของผู้รับรองพร้อมเซ็นชื่อรับรอง ๑ ชุด
 

ข้อมูลจาก  ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานคร    http://fb.kapook.com/hilight-64791.html

ข่าว 8 พฤศจิกายน 2554

  วันนี้ (8 พฤศจิกายน) นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ไม่อนุมัติวันหยุดราชการเพิ่มเติม เนื่องจากเกรงว่าจะไม่มีข้าราชการอยู่ช่วยงานในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม แต่ให้ผู้บังคับบัญชาของแต่ละหน่วยงาน พิจารณาอนุมัติหยุดงานได้ตามความเหมาะสม

             พร้อมกันนี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ยังอนุมัติให้ใช้ทางด่วนฟรีทุกเส้นทาง พร้อมกับขยายระยะเวลาการใช้ทางด่วนฟรีออกไปอีกจนถึงวันที่ 20 พฤศจิกายนนี้ โดยรัฐบาลต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับบริษัททางด่วนกรุงเทพ และบริษัททางด่วนกรุงเทพเหนือ ในวงเงิน 184 ล้านบาท

            นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรี ยังมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2554 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (กรณีอุทกภัย) ครัวเรือนละ 5,000 บาท ในเขตกรุงเทพมหานคร รวม 30 เขต จำนวน 621,355 ครัวเรือน รวมเป็นเงินกว่า 3,106 ล้านบาท 

           โดยจะจ่ายให้ 2 กรณีคือ 1.น้ำท่วมถึงบ้านพักอาศัยโดยฉับพลันและทรัพย์สินได้รับความเสียหาย และ 2.บ้านพักอาศัยถูกน้ำท่วมขังติดต่อกันไม่น้อยกว่า 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย แต่หากผู้ประสบภัยซ้ำซ้อนทั้ง 2 กรณี จะได้รับการช่วยเหลือเพียงกรณีเดียว 

           ทั้งนี้ ทางคณะรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ กทม.เร่งรัดการตรวจสอบข้อมูลรับรองความถูกต้องและจ่ายเงินช่วยเหลือในครั้ง แรกนี้ภายใน 2 สัปดาห์ และให้ช่วยเหลือให้เสร็จสิ้นภายใน 45 วัน 

            สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบสามารถแจ้งคำร้องได้ที่สำนักงานเขตพื้นที่ที่ประสบภัย โดย กรุงเทพมหานคร จะมีการตรวจสอบข้อมูล รับรองความถูกต้อง ตรวจสอบความซ้ำซ้อนของครัวเรือนที่ประสบภัยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ก่อนจ่ายเงินช่วยเหลือ 

            เอกสารเพื่อขอรับเงินชดเชย 5,000 บาท มีดังนี้

            1. บัตรประจำตัวประชาชน

            2. ทะเบียนบ้าน

            3. สัญญาเช่า หรือ หนังสือรับรองการเช่าจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
 

            เงื่อนไขการรับเงินชดเชยน้ำท่วม มีดังนี้


            1. เป็นบ้านพักที่มีทะเบียนบ้าน อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร หรือพื้นที่ประกาศภัยพิบัติฉุกเฉิน แต่หากไม่มีทะเบียนบ้าน เช่น บ้านพักคนงาน ก็มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเช่นกัน

            2. หากเป็นบ้านเช่า ผู้เช่าจะได้รับเงินช่วยเหลือ ในกรณีที่บ้านเช่ามีหลายชั้น หรือคอนโดมิเนียมจะมีเพียงชั้นที่น้ำท่วมถึงเท่านั้นที่ได้รับเงินช่วยเหลือ  

            3. ต้องมีหนังสือรับรองผู้ประสบภัยจากสำนักงานเขตในสังกัด กทม.ออกให้เท่านั้น 

            เขตที่เป็นพื้นที่ประสบภัย ประกอบด้วย 

             เขตบางซื่อ 
             เขตดุสิต 
             เขตพระนคร 
             เขตสัมพันธวงศ์ 
             เขตสาธร
             เขตบางคอแหลม
             เขตยานนาวา
             เขตคลองเตย
             เขตบางพลัด 
             เขตบางกอกน้อย 
             เขตธนบุรี 
             เขตคลองสาน 
             เขตราษฎร์บูรณะ 
             เขตคลองสามวา 
             เขตมีนบุรี 
             เขตหนองจอก 
             เขตลาดกระบัง 
             เขตดอนเมือง 
             เขตคันนายาว 
             เขตจตุจักร
             เขตตลิ่งชัน 
             เขตบางเขน
             เขตบางแค 
             เขตภาษีเจริญ 
             เขตลาดพร้าว 
             เขตวังทองหลาง 
             เขตสายไหม 
             เขตหนองแขม
             เขตหลักสี่ 
             เขตทวีวัฒนา