Home » บทความทั่วไป ความรู้น้ำท่วม » คู่มือ เตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วม ปี 55

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
คู่มือ เตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วม ปี 55

คิดดี : เตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วม

dailynews.co.th - กฎหมายรอบรั้ว วันเสาร์ที่ 22 กันยายน 2555

      ปีที่แล้วน้ำท่วมเริ่มตอนกลางปี เดือนกันยายน 54 นครสวรรค์แตกพ่าย และย่อยยับ จนลามมาถึงชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรี อยุธยา เข้า 7 นิคม และมาประชิดกรุงเทพมหานคร

      ปีนี้คนไทยปรับตัวกันได้มากขึ้นและน้ำท่วมหน้าฝน น้ำลดแห้งสนิทหน้าหนาวเดือนมกราคม พ.ศ. 55 ซึ่งไม่กี่เดือนก็เข้าหน้าฝนและมรสุมอีกพวกเราซึ่งเริ่มชินในการหนีน้ำจะไม่ตกใจเหมือนเมื่อก่อน แต่จะระวังมากขึ้น เวลานอนหลับไม่เต็มตา ตื่นมาต้องดูข่าวและระดับน้ำ ผู้เขียนจึงอยากจะช่วยเตือนในการป้องกันบ้านของทุกท่าน ด้วยวิธีการขั้นพื้นฐานในการป้องกันง่าย ๆ ก่อนและหลังน้ำท่วมคร่าว ๆ

  1. ยกปลั๊กไฟขึ้นที่สูง รวมไปถึงตู้ไฟ (MDB) ปีที่แล้วไฟดูดตายนับร้อยราย
  2. ข้าวของต่าง ๆ ยกขึ้นชั้น 2 เท่านั้น อย่าวางบนโต๊ะเด็ดขาด ประสบการณ์จากผู้เขียนโดยตรงเคยวางแล้ว เวลาน้ำดันขึ้นมาโต๊ะมันจะล้ม ทำให้ข้าวของเสียหาย
  3. ปั๊มที่ติดในบ่อพัก ขุดขยายให้ใหญ่ขึ้น ลึกขึ้นจะช่วยเพิ่มพลังในการดูด (กรณีที่บ้านพักมีบ่อพักน้ำเล็กไป)
  4. เช็กข่าวสารและดูระดับน้ำได้ใน Web Cam ที่เชื่อกับเว็บกรมชลประทานหรือดูได้ที่ www.thaiflood.com
  5. กระสอบทรายที่วางอย่าลืม ทับผ้าพลาสติกและปิดพับอีกทีเพื่อกันน้ำซึมตามร่อง
  6. ทำใจให้สบายถ้ารู้ว่ายังไงน้ำก็ต้องท่วม ต้องปรับตัวให้ได้ เราเคยมีประสบการณ์แล้วต้องอยู่กับมันให้ได้ ว่าเป็นแบบนี้บ่อย เพราะถ้าเครียดจนตัวเองป่วยก็จะทำให้ยิ่งแย่เข้าไปใหญ่

      ในส่วนที่น้ำแห้งแล้ว คงไม่ต้องพูดกันมาก ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของเชื้อราและวิธีการทำความสะอาดว่าจะมีวิธีอย่างไร เพราะส่วนมากเชี่ยวชาญในด้านนี้เป็นอาจารย์กันทั้งประเทศไทยอยู่แล้วแต่ผู้เขียนอยากเน้นย้ำว่า “ลงยาฆ่าปลวกด้วย” หลังน้ำลด เพราะดินมันชื้น ปลวกที่มันไม่ตายมันจะอาศัยอยู่ใต้บ้านท่าน และจะขึ้นไปกัดกิน ฝ้า, ไม้, เฟอร์นิเจอร์ เรื่องสำคัญหลังน้ำลด คือการเคลมประกันภัย เรื่องประกันภัย จากที่ คปภ. เคยประกาศตอนต้นปีว่า

       1. บ้านพักอาศัย ครัวเรือนทั่วไปให้ความคุ้มครองไม่เกิน 100,000 บาท เบี้ยประกัน ร้อยละ 1-3 ของทุนประกัน
       2. ธุรกิจเอสเอ็มอี ให้ความคุ้มครองราวร้อยละ 20-30 ของทุนประกัน เบี้ยประกันร้อยละ 10 ของทุนประกัน และจะต้องประกันอุทกภัยจากบริษัทประกันก่อนรวมถึงต้องมีการประกาศจากรัฐบาลว่าเป็น “มหาภัยพิบัติ” ครอบคลุม 3 ประการ อุทกภัย, วาตภัย, แผ่นดินไหว และเมื่อเกิดเหตุที่ จังหวัดสุโขทัย ลำปาง พระนครศรีอยุธยา ปราจีนบุรี ฯลฯ คปภ. (คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกัน ภัย) มีนโยบายว่าต้องเข้าข่ายใน 3 ข้อนี้ คือ
            1. มีการประกาศจากภาครัฐ เป็นมหาภัยพิบัติ
            2. กรมธรรม์รวมต้องมีมากว่า 5,000 ล้านบาท ต่อ 1 เหตุการณ์ ภายใน 60 วัน
            3. แผ่นดินไหวต้อง 7 ริคเตอร์ขึ้นไป ความเร็วลมพายุตั้งแต่ 120 กม/ชม. เป็นต้นไป ซึ่งทำให้ 10 จังหวัดเหล่านี้ไม่ได้รับสิทธิในการได้รับเงินประกันภัย สุดท้ายนี้ขอพระคุ้มครองครับ!.

                                                                                                    ภาณุวัฒน์ สินธวัชต์ , ณัฐพล ปิยะตันติ : อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
ที่มา http://www.dailynews.co.th/article/950/153839