Home » บทความทั่วไป ความรู้น้ำท่วม » คู่มือ : คนกรุงเทพฯ ร่วมใจ… ระวังภัยให้เมือง : เตรียมตัวให้พร้อม...ก่อนเหตุการณ์จริงจะเกิด โจรกรรม-ข่มขืน-ปล้นร้านค้า-ทุบกระจกรถ-จลาจล-ระเบิด...ป่วนเมือง!

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
คู่มือ : คนกรุงเทพฯ ร่วมใจ… ระวังภัยให้เมือง : เตรียมตัวให้พร้อม...ก่อนเหตุการณ์จริงจะเกิด โจรกรรม-ข่มขืน-ปล้นร้านค้า-ทุบกระจกรถ-จลาจล-ระเบิด...ป่วนเมือง!

“คู่มือ คนกรุงฯ” แนะวิธีหลบเลี่ยงระเบิด-จลาจล-โจรหื่นกาม
เตรียมตัวให้พร้อม...ก่อนเหตุการณ์จริงจะเกิด โจรกรรม-ข่มขืน-ปล้นร้านค้า-ทุบกระจกรถ-จลาจล-ระเบิด...ป่วนเมือง!  แนะนำ..เทคนิคการจดจำรูปพรรณ..คนร้าย!

จัดทำโดย กรุงเทพมหานคร

 

คู่มือประกอบด้วยข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติตัว ทั้งเทคนิควิธีการสังเกตสิ่งผิดปกติ บุคคลต้องสงสัย การจดจำใบหน้าคนร้ายและยานพาหนะ การป้องกันภัยจากการโจรกรรมหรือลักทรัพย์ในที่พักอาศัย การป้องกันภัยจากการฉกชิงวิ่งราว ภัยจากการโดยสารรถแท็กซี่และรถตู้โดยสาร วิธีการป้องกันคนโรคจิต การเอาตัวรอดจากสถานการณ์ถูกข่มขืน เหตุอัคคีภัย เหตุจลาจล รวมถึงวิธีสังเกตระเบิดป่วนเมือง เพื่อเตรียมความพร้อมหากเกิดเหตุการณ์จริง

สำหรับเทคนิคและวิธีการต่างๆ ในการแจ้งเบาะแสและเอาตัวรอดเมื่อเกิดเหตุไม่ปลอดภัย มีหลักการเบื้องต้น ดังนี้

วิธีสังเกตระเบิดป่วนเมือง

วัตถุต้องสงสัย หมายถึง เป็นวัตถุที่ไม่มีเจ้าของ หรือหาเจ้าของไม่พบ มีลักษณะภายนอกผิดปกติ เช่น มีรอยงัด ฉีก เปรอะเปื้อน ปิดผนึกไม่เรียบร้อย หรือมีรอยผนึกใหม่ เป็นวัตถุที่ไม่ควรจะอยู่ตรงนั้น เช่น กระเป๋าเสื้อผ้าไม่ควรตั้งใกล้ถังขยะ หรือไม่มีเจ้าของอยู่ใกล้ๆ เป็นวัตถุที่เพิ่งปรากฏหรือไม่เคยพบเห็นในสถานที่ตรงนั้นมาก่อน

หากพบว่าวัตถุต้องสงสัย ห้ามจับต้อง หยิบยก เคลื่อนย้าย หรือทำให้สะเทือนโดยเด็ดขาด หากไม่มีผู้ใดแสดงตนเป็นเจ้าของ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจเป็นวัตถุระเบิด นอกจากนี้ให้จดจำลักษณะทั่วไปของวัตถุต้องสงสัยและบริเวณที่พบเห็น เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นแก่เจ้าหน้าที่เก็บกู้วัตถุระเบิด (E.O.D.) รวมถึงอพยพผู้คนออกจากอาคารสถานที่นั้นโดยด่วน

วิธีเอาตัวรอดจากเหตุจลาจล

ช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา คนกรุงต้องเผชิญกับวิกฤติการณ์ทางการเมืองหลายครั้ง เคยรุนแรงถึงขั้นเผาอาคาร บ้านเรือน และทรัพย์สินของทางราชการ บางชุมชนถูกปิดล้อม ตัดน้ำ-ไฟ-โทรศัพท์ หากตกอยู่ท่ามกลางเหตุการณ์จลาจล ให้ตั้งสติและแยกตัวออกจากกลุ่มโดยเร็ว ไม่ควรเข้าไปมุงดูเหตุการณ์

ขณะเกิดเหตุอย่าขัดขวาง โต้แย้ง ด่าทอ เพราะจะทำให้กลุ่มผู้ก่อจลาจลโกรธแค้นมากขึ้น ให้ระลึกเสมอว่า การก่อจลาจลเป็นเรื่องของการระบายอารมณ์โกรธจากความรู้สึกผิดหวังที่ไม่ได้รับการตอบสนอง โดยความรุนแรงสามารถเพิ่มระดับได้อย่างไม่มีขีดจำกัด ที่สำคัญอย่ากระทำใดๆ ที่อาจทำให้เข้าใจว่าเราเป็นฝ่ายตรงข้ามเด็ดขาด

จุดที่เสี่ยงภัยมากที่สุด ได้แก่ สถานที่ชุมนุม สถานที่ราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือเป็นสถานที่เชิงสัญลักษณ์ สถานที่สำคัญทางธุรกิจ บ้านพักของผู้นำระดับประเทศหรือผู้มีชื่อเสียงที่เกี่ยวข้องกับปมขัดแย้ง

การเอาตัวรอดจากสถานการณ์ถูกข่มขืน

ปัญหาการข่มขืนมีปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น ที่พักอยู่ในจุดเสี่ยง อาศัยอยู่ตามลำพัง และการแต่งกายล่อแหลม นอกจากนี้ยีงพบว่าการข่มขืนเกิดจากคนใกล้ชิด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องอาศัยญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านให้ช่วยกันสอดส่องดูแล

เมื่อตกอยู่ในภาวะคับขัน ถูกคนร้ายบังคับขืนใจ ให้ตั้งสติ อย่าตกใจกลัว จับตามองคนร้ายอย่าให้คลาดสายตา หากเป็นคนที่รู้จักให้พยายามพูดเตือนสติ ถ้าไม่ได้ผลให้หาวิธีถ่วงเวลา เมื่อมีโอกาสหนีให้รีบออกจากที่เกิดเหตุโดยเร็ว

กรณีเป็นคนแปลกหน้า ให้พยายามจดจำใบหน้าคนร้าย อย่าดิ้นรนต่อสู้ เพราะอาจถูกทำร้ายถึงชีวิตได้ ให้ใช้วิธีโอนอ่อนผ่อนตาม เพื่อหาจังหวะที่คนร้ายเผลอ และฉวยโอกาสเตะ ถีบ หรือใช้มือบีบอวัยวะเพศ (จุดอ่อนที่สุดของเพศชาย) และรีบวิ่งหนี โดยขณะที่หนีต้องส่งเสียงร้องขอความช่วยเหลือดังๆ

พยายามเก็บหลักฐานแล้วส่งเจ้าหน้าที่ทันที เช่น เส้นผม รอบเล็บ เป็นต้น อย่าปล่อยให้เหตุการณ์ผ่านไปโดยไม่ไปแจ้งความดำเนินคดี เพราะจะทำให้คนร้ายย่ามใจ ไม่เกรงกลัวกฎหมาย และกระทำกับผู้อื่นอีก

เทคนิคการจดจำคนร้าย

การจดจำคนร้าย มีรายละเอียดที่ควรจดจำอันดับแรกคือ เพศชาย หญิง กระเทย หรือทอม วัยเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ หรือแก่ จากนั้นให้สังเกตและจดจำตำหนิที่เห็นได้ง่ายและชัดเจนก่อน เช่น ไฝ ปาน แผลเป็น ลายสัก บุคลิกท่าทาง สำเนียงการพูด เมื่อคนร้ายหลบหนีไปแล้ว อย่าถามผู้อื่นว่า “เห็นอะไรไหม?” เพราะมุมมองแต่ละคนไม่เหมือนกัน จะทำให้เกิดความสับสนได้ นอกจากนี้ให้รีบจดบันทึกไว้ทันที และมอบรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่เพื่อติดตามจับกุมต่อไป

กรณีที่คนร้ายมีการพรางใบน้า เช่น สวมแว่นตากันแดด สวมหมวกกันน็อค หมวกหรือผ้าคลุมศีรษะ ให้จดจำอุปกรณ์ที่ใช้พรางว่าเป็นลักษณะใด สีอะไร และมีจุดสังเกตที่ใด รวมถึงจดจำลักษณะการแต่งกาย เสื้อ กางเกง แขนสั้น-ยาว ขาสั้น-ยาว ลวดลายต่างๆ รวมถึงเครื่องประดับ เช่น แว่นตา นาฬิกา แหวน สร้อย กระเป๋าถือ เป็นต้น

นอกจากนี้ หลักการสังเกตยานพาหนะของคนร้าย เช่น ตำหนิ รอยชน สติ๊กเกอร์ ประเภทของรถเป็นรถจักรยานยนต์ รถเก๋ง รถปิ๊กอัพ รถแท็กซี่ สีของรถ ยี่ห้อรถ ความเก่า-ใหม่ ที่สำคัญคือหมายเลขทะเบียนรถ โดยให้จดจำทั้งตัวอักษรและหมายเลข ถ้าเป็นรถต่างจังหวัดให้จดจำชื่อจังหวัดไว้ด้วย

ดาว์นโหลด    PDF file 2 mb. 40 Page












































——————————————————————————————————————————

ที่มา      http://www.posttoday.com   และ     http://www.teerachon.com/?cat=20    ' กันยายน 2553