Web Design by Softbiz+
|
เว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014 |
ขั้นตอนการย้ายบ้าน อย่างเป็นระบบ |
ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนักสำหรับการทำภารกิจที่ยุ่งยากหลายขั้นตอนให้เป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้อย่างเรียบร้อยภายในระยะเวลาไม่นาน อย่างการย้ายบ้านแต่ละครั้ง ทุกคนจะทราบกันดีถึงภาระที่เกิดขึ้น และเลี่ยงปฏิบัติได้หากไม่จำเป็น เป็นที่ทราบกันดีว่า เมื่อต้องย้ายบ้านแต่ละครั้งจะต้องเตรียมการและดำเนินการอย่างใดบ้าง ต่อเมื่อถึงเวลาจริงกลับไม่เป็นอย่างที่คิดไว้ เพราะมีข้อยุ่งยากหลายประการที่เรานึกไม่ถึง ดังนั้นการเตรียมความพร้อมไว้ล่างหน้าสำหรับภารกิจนี้ น่าจะส่งผลดีทั้งประหยัดเวลา แรงงาน และต้นทุนค่าขนส่งด้วย ขั้นแรกก่อนอื่นต้องเตรียมความพร้อมล่วงหน้า โดยหนึ่งเดือนก่อนย้ายบ้าน ให้ยื่นเรื่องเพื่อขอเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัยใหม่ยังแหล่งสำคัญ ๆ ที่มีการติดต่อเป็นประจำ อาทิ ธนาคาร สำนักงานเขตทั้งในส่วนพื้นที่ที่ย้ายออกและย้ายเข้า ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ขาดการติดต่อกับเพื่อนฝูง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อชีวิตส่วนตัวและธุรกิจ ขั้นตอนที่ 2ให้ดำเนินการจัดหาและว่าจ้างธุรกิจช่วยขนย้ายสิ่งของที่มีความชำนาญและไว้ใจได้เอาไว้ล่วงหน้าป้องกันความผิดพลาดจากการนัดหมาย และเพื่อให้การทำงานของทั้ง 2 ฝ่ายเป็นไปด้วยความเรียบร้อย พร้อมกับแจ้งข่าวการย้ายบ้านไปยังสมาคมต่าง ๆ ที่ร่วมเป็นสมาชิกว่ามีการย้ายไปยังบ้านหลังใหม่ เพื่อความสะดวกในการติดต่อและจัดส่งเอกสาร ขั้นตอนที่ 3ในช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนย้ายบ้าน ควรเข้าไปตรวจสอบสาธารณูปโภคภายในบ้านหลังใหม่ให้พร้อม เพื่อให้แน่ใจว่าเมื่อย้ายเข้าไปจะสามารถเข้าอยู่อาศัยและใช้งานระบบต่าง ๆ ภายในบ้านได้ทันที แต่หากพบว่าชำรุดก็ดำเนินการซ่อมแซมให้อยู่ในภาวะที่พร้อมใช้งาน ขั้นตอนที่ 4ตรวจสอบรายละเอียดของกรมธรรม์ประกันภัยที่ทำไว้กับบ้านหลังเก่า เพื่อปรับเปลี่ยนเงื่อนไข หรือดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งว่ามีการย้ายบ้านและเปลี่ยนแปลงหมายเลขบ้านเรียบร้อยแล้ว (เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดเอาไว้กับบริษัทผู้เอาประกัน) ขั้นตอนที่ 5
เมื่อถึงวันที่ต้องย้ายบ้าน ให้เริ่มปฏิบัติหน้าที่ด้วยการจดรายละเอียดสิ่งของต่าง ๆ ไว้ในสมุดโน้ต พร้อมจัดทำรายการสิ่งของที่ต้องการจัดเก็บ เรียงลำดับความสำคัญ หรือจัดหมวดหมู่สิ่งของตามประเภทการใช้งาน หรือขนาดใหญ่ไปหาเล็ก จากนั้นจึงกำหนดหมายเลขกล่องทั้งหมดที่จะใช้ในการบรรจุเรียงลำดับตามหมายเลข ขั้นตอนที่ 6
เข้าสู่กระบวนการเคลื่อนย้าย โดยบริษัทและพนักงานที่ทำการว่าจ้างเอาไว้ ซึ่งจะมีความชำนาญและมีความระมัดระวังในการขนย้ายเป็นอย่างดี อาทิ สิ่งที่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า รูปภาพ ให้ทำการจัดวางลงบนที่ว่าง แทนการวางทับบนสิ่งของอื่น เพราะจะทำให้ชำรุดหรือเสียหายได้ ขั้นตอนที่ 7
ทันทีที่เดินทางถึงบ้านหลังใหม่ ก่อนอื่นควรจัดทำผังรายการ โดยเขียนคร่าว ๆ บนแผ่นกระดาษ กำหนดตำแหน่งของเฟอร์นิเจอร์หลัก และเครื่องใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสม เพราะจะเป็นการง่ายกว่าที่เคลื่อนย้ายจากรถสู่ตำแหน่งที่ต้องการ จะช่วยประหยัดแรงงาน และลดขั้นตอนในการขนย้ายได้เป็นอย่างดี จากนั้นจึงลงในรายละเอียดอื่น ๆ ต่อไปจนกว่าจะลงตัว หลังจากจัดเตรียมสิ่งของและตรวจดูความเรียบร้อยในบ้านเรียบร้อยแล้ว ควรออกไปตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายนอก อาทิ สนามหญ้าหน้าบ้าน และหลังบ้าน ว่าต้องทำการปรับปรุงอย่างใดบ้าง เพื่อทำให้บ้านนั้นพร้อมและสมบูรณ์แบบมากขึ้น หากจะให้ดียิ่งกว่านั้น ควรออกไปทำความรู้จักและแนะนำตัวกับเพื่อนบ้าน เพื่อสร้างความคุ้นเคย ในฐานะที่เป็นสมาชิกใหม่ในพื้นที่นั้น
ข้อปฏิบัติสำหรับการย้ายบ้านใหม่อย่างเป็นระบบดังกล่าว เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากที่ต้องปฏิบัติกัน อาทิ การย้ายบ้านของครอบครัวขนาดใหญ่ จะมีปริมาณสิ่งของและรายละเอียดจำนวนมากที่ต้องให้ความใส่ใจ ขณะที่การย้ายบ้านของคนโสด หรือครอบครัวขนาดเล็กจะมีปริมาณสิ่งและรายละเอียดน้อยกว่า
ที่สำคัญคือ ช่วยประหยัดต้นทุนด้านแรงงาน และการขนย้าย จากการจัดทำเป็นรายการสิ่งของ จดหมายเลขแต่ละกล่องเอาไว้ และเรียงลำดับความสำคัญการใช้ของแต่ละประเภท มีส่วนช่วยอย่างมากเรื่องการลดข้อยุ่งยากในการจัดหาสิ่งของ และการลดขั้นตอนการทำงานอย่างที่ควรจะเป็น
|