Home » บทความทั่วไป ความรู้น้ำท่วม » การวางแผนย้ายบ้าน การแพ็คของและการขนย้าย อย่างมืออาชีพ

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
การวางแผนย้ายบ้าน การแพ็คของและการขนย้าย อย่างมืออาชีพ

หากพูดถึงเรื่องการย้ายบ้านทีไร ฟังดูเป็นเรื่องวุ่นวายน่าปวดหัวขึ้นมาทันที ทั้งเรื่องเก็บของย้ายออกจากบ้านเก่าจะต้องใช้กล่องแบบไหน ใช้กี่ใบถึงจะพอและจะเก็บของอย่างไรไม่ให้เสียหาย ไหนจะเรื่องขนย้ายเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ๆ แล้วเมื่อไปถึงบ้านใหม่ยังจะต้องจัดของเข้าบ้านอีก เพียงแค่คิดว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ก็รู้สึกเหนื่อยแล้ว  วิธีที่จะช่วยให้คุณเตรียมตัวตั้งแต่ก่อนย้ายบ้าน การบรรจุของลงกล่อง การขนย้าย ไปจนถึงการจัดของเข้าบ้านใหม่ เพื่อให้การย้ายบ้านของคุณเป็นเรื่องง่ายดายยิ่งขึ้น   สิ่งสำคัญในการเตรียมตัวย้ายออกจากบ้าน ก็คือขั้นตอนการเก็บของลงกล่อง ดูเหมือนจะเป็นเรื่องไม่ยุ่งยากนัก แต่ก็เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากและหากเตรียมตัวในขั้นตอนนี้ดี จะช่วยให้ขั้นตอนที่เหลือทั้งการขนย้ายและการจัดของในบ้านใหม่ง่ายมาก

ขั้นตอนขนย้าย วิธีการแพ็คกิ้งป้องกันก่อนการขนย้าย

จาน ชาม ขวด แก้ว กรอบรูป  ถ้าเป็นชนิดเดียวกัน ควรเก็บไว้ด้วยกัน โดยเรียงจากขนาดใหญ่ไปหาขนาดเล็ก หากวางซ้อนกันได้จะยิ่งช่วยประหยัดเนื้อที่ ถ้าเป็นวัสดุที่แตกหักง่าย ควรหาวัสดุมาห่อหุ้มป้องกันก่อนบรรจุลงกล่อง และหากในกล่องมีพื้นที่ว่างมาก ควรหาใส่เม็ดโฟมหรือกระดาษหนังสือพิมพ์ยัดลงไปในกล่องให้เต็มพื้นที่ว่างด้วย เพื่อป้องกันของในกล่องกระแทกกันแล้วแตกระหว่างขนย้าย

 
เสื้อผ้า  ควรเก็บเสื้อผ้าที่ไม่ค่อยได้ใส่ก่อน แล้วจึงเก็บชุดที่ใส่บ่อยๆ ไว้ทีหลัง การเก็บเสื้อผ้าโดยซ้อนกันหลายๆตัวแล้วพับหรือม้วนจะช่วยประหยัดเนื้อที่ได้มาก แต่สำหรับเสื้อผ้าที่ไม่สามารถพับได้ เช่น เสื้อสูทหรือชุดผ้าไหม อาจใช้กล่องทรงสูง เจาะรูด้านข้างที่ขอบบนของกล่อง แล้วสอดท่อพีวีซีเป็นราวแขวนไว้ด้านบน เพื่อทำเป็นตู้เสื้อผ้าแบบเคลื่อนที่ เวลาเคลื่อนย้ายจะได้ไม่ยับหรือสามารถสั่งซื้อกล่องใส่เสื้อผ้าพร้อมราวแขวนสแตนเลท ขนาด 50x50x100 ซม.จากเราได้
 
หนังสือ  ควรแยกตามขนาด แล้วบรรจุหนังสือที่มีขนาดใกล้เคียงกันไว้ในกล่องเดียวกันและควรจะวางหนังสือแนวตั้งเท่านั้น จะช่วยให้บรรจุได้มากขึ้น ไม่ควรหนังสือรวมกันมากๆในกล่องขนาดใหญ่ เพราะกล่องจะมีน้ำหนักมากทำให้เคลื่อนย้ายไม่สะดวก ควรใส่ให้แค่พอยกได้ เพื่อป้องกันกล่องแตกและกล่องอาจฉีกขาดระหว่างขนย้ายได้
 
รองเท้า  ไม่ควรเก็บโดยการวางทับกัน เพราะจะทำให้รองเท้าเสียทรง หากมีกล่องใส่รองเท้า ควรเก็บลงกล่อง แล้วเขียนโน้ตติดข้างกล่องว่าเป็นรองเท้าแบบใดเพื่อความสะดวกในการค้นหาหรือหากไม่มีกล่องใส่รองเท้า  อาจเก็บรวมกันในกล่องขนาดใหญ่และจัดรองเท้าที่มีขนาดใกล้เคียงกันวางนอนเข้าคู่เป็นชั้นๆ แล้วใช้กระดาษลูกฟูกหรือกระดาษลังกั้นระหว่างชั้น โดยใช้กระป๋องน้ำอัดลมเปล่าวางที่มุมของกล่อง เพื่อช่วยรับน้ำหนักไม่ให้กดลงบนรองเท้า
 
เครื่องใช้ไฟฟ้า  วิธีที่ดีที่สุดคือการบรรจุเครื่องใช้ไฟฟ้าลงในกล่องที่มาจากโรงงาน แต่หากไม่มี ควรถอดแยกชิ้นส่วนที่สามารถถอดได้ห่อด้วยพลาสติกกันกระแทก แล้วบรรจุชิ้นส่วนต่างๆของอุปกรณ์ชนิดเดียวกันในกล่องหรือถุงเดียวกันเพื่อความสะดวกในการนำไปประกอบภายหลัง  ชนิดที่มีสายไฟควรม้วนเก็บให้เรียบร้อยหรือพันติดไว้กับตัวเครื่องระหว่างการขนย้าย ควรวางเครื่องใช้ไฟฟ้าในทิศทางปกติของการใช้งาน  ไม่ควรวางนอนหรือเอียง เพราะตัวเครื่องอาจเกิดความเสียหายได้
 
เฟอร์นิเจอร์ไม้  เช่น ตู้  โต๊ะ  หรือเตียง   หากมีลิ้นชักหรือแผ่นกระจก ควรถอดแยกชิ้นส่วนเพื่อห่อต่างหาก  ตู้ที่เป็นบานเปิดหรือบานเลื่อนควรใช้เชือกมัดหรือใช้เทปยึดบานประตูให้ติดกับตัวตู้  เพื่อความสะดวกขณะขนย้าย  สำหรับของชิ้นใหญ่ที่ไม่สามารถห่อได้ทั้งหมด  ควรติดกระดาษหรือพลาสติกกันกระแทกบริเวณที่เป็นเหลี่ยมหรือมุม แต่หากย้ายกับเรา ทางทีมงาน บิ๊ก มูฟ จะใช้ผ้านวมหนาห่อหุ้มป้องกันให้
 
กระจกหรือสิ่งของที่แตกหักได้  ควรใช้กระดาษลูกฟูกหรือพลาสติกกันกระแทกห่อหลายๆชั้น แล้วทำสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายระวังแตกไว้ในจุดที่เห็นได้ชัด และควรวางในแนวตั้งเท่านั้น
 

อุปกรณ์ต่างๆสำหรับการบรรจุสิ่งของ

กล่อง  เป็นอุปกรณ์หลักในการบรรจุสิ่งของสำหรับการขนย้าย มีหลายขนาด หาซื้อได้ง่ายตามร้านค้าทั่วไป ก่อนซื้อควรตรวจดูสภาพกล่องว่าอยู่ในสภาพดี ไม่ฉีกขาด ควรเลือกใช้กล่องหลายขนาดตามความเหมาะสมของสิ่งของ แต่อาจจะทำให้เปลืองเนื้อที่ในการขนย้ายเล็กน้อย และควรเลือกกล่องให้พอดีกับขนาดสิ่งของด้วย โดยกล่องขนาดมาตราฐาน มีขนาดดังนี้ 36x31x26 ซม. , 45x40x35 ซม. , 55x45x40 ซม.

 
พลาสติกกันกระแทก  ใช้ห่อหุ้มสิ่งของที่แตกหักหรือป้องกันการขีดข่วนได้ดีมาก ด้วยลักษณะเป็นแผ่นบาง ทำให้สามารถดัดรูปทรงตามสิ่งของที่ห่อได้ทุกรูปแบบ หาซื้อได้ตามร้านขายเครื่องเขียนทั่วไป แต่มีราคาค่อนข้างสูง ควรเลือกซื้อเป็นม้วนขนาดใหญ่ ซึ่งมีหน้ากว้างประมาณ 1.20 เมตร  ราคาจะถูกกว่า เพื่อสามารถใช้ห่อของขนาดใหญ่ได้ทั้งชิ้นพลาสติกกันกระแทกมี 2 ชนิด คือ 

     1. ชนิด EPE เป็นโฟมที่มีความหนา 1มม. มีขนาด 1.3x1 ม. ,,0.6x5 ม. ,0.65x10 ม.

     2. ชนิด Air bubble เป็นแบบที่มีฟองอากาศภายในทำให้กันกระแทกได้ดี มีขนาด 1.3x1 ม., 0.6x5 ม., 0.65x10 ม.

 
กระดาษลูกฟูก  ส่วนที่เป็นลอนบนกระดาษลูกฟูกสามารถลดแรงกระแทกและป้องกันรอยขีดข่วนได้ดี มีทั้งแบบบางและแบบหนา โดยแบบบางสามารถงอหรือพับได้ เหมาะสำหรับห่อสิ่งของที่มีรูปทรงเหลี่ยม แต่ไม่เหมาะกับการห่อของที่มีรูปโค้งหรือกลมมน ส่วนแบบหนามีความแข็งแรง เหมาะกับการใช้รองขาโต๊ะ ตู้ เตียง ใช้ติดบริเวณเหลี่ยมมุมของสิ่งของที่อาจได้รับความกระทบกระเทือน หรืออาจใช้เป็นตัวแบ่งระหว่างชั้นในกล่องใส่ของก็ได้ แต่ข้อเสียนั้นคือ อาจฉีกขาดง่าย เมื่อเจอมุมสิ่งของ หรือ ขูดขีดแรงๆ  ดังนั้นอาจหาฟิล์มพลาสติกใสมาพันอีกทีก็จะปลอดภัยขึ้น
 
กระดาษ เป็นอุปกรณ์ที่หาง่ายใช้คล่องที่สุด ใช้ห่อของชิ้นเล็กๆ ก่อนบรรจุลงกล่องเพื่อป้องกันการเสียดสีกันภายในกล่อง หรือจะขยำเป็นก้อนใช้กันกระแทกภายในกล่องได้ด้วย แต่สำหรับของที่ห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์โดยเฉพาะภาชนะใส่อาหาร ภายหลังจากแกะห่อออกมาแล้วต้องทำความสะอาดอีกครั้ง เพราะหมึกจากหนังสือพิมพ์จะทำให้สิ่งของเป็นรอยหมึกพิมพ์สีดำ และอาจมีสารตกค้างที่เป็นอันตรายได้ หรือการกระดาษปรู๊ฟขาวสำหรับแพ็คโดยตรงก็ได้
 
พลาสติกฟิล์มใส  ไม่ใช่พลาสติกชนิดเดียวกับที่ใช้ห่ออาหาร แต่เป็นพลาสติกที่ใช้สำหรับห่อเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งมีความหนากว่าเล็กน้อย  ใช้งานสะดวก เพราะพลาสติกสามารถติดกันได้โดยไม่ต้องติดเทป เหมาะกับการห่อของที่เพียงแต่ไม่ต้องการให้เลอะ  ไม่ต้องระวังเรื่องการแตกหัก  เช่น เบาะ  ฟูก  ที่นอน  หรือเก้าอี้อาร์มแชร์  หาซื้อได้ตามร้านขายเครื่องเขียน หรือร้านขายพลาสติกทั่วไป มีทั้งแบบตัดแบ่งขายเป็นเมตรและขายแบบเป็นม้วนขนาดใหญ่ มีหน้ากว้างหลายขนาดให้เลือกส่วนใหญ่จะมีขนาดหน้ากว้าง 50 ซม.ยาว 300 ม.
 
ผ้า  เป็นวัสดุที่มีความอ่อนนุ่ม ช่วยปกป้องพื้นผิวสิ่งของจากการสัมผัส หาได้ง่ายโดยใช้ผ้าที่มีอยู่ในบ้าน เช่น ผ้าม่าน ผ้าเช็ดตัว  หรือแม้กระทั่งเสื้อผ้า ผ้าผืนใหญ่อย่างผ้าคลุมเตียง อาจใช้ห่อชุดเครื่องนอนเช่นหมอน ผ้าที่สามารถเปื้อนได้ใช้รองพื้นในการขนย้าย  ส่วนผ้าผืนเล็กๆใช้เป็นวัสดุห่อหุ้มก่อนบรรจุลงกล่องหรือรองระหว่างชั้นในกล่องได้เป็นอย่างดี
 
ลังไม้  เหมาะสำหรับบรรจุของชิ้นใหญ่ที่มีน้ำหนักมากและแตกหักได้ เช่น แจกันหรือรูปปั้นขนาดใหญ่  หาซื้อได้จากตลาดผลไม้โกดังสินค้าหรือร้านขายวัสดุก่อสร้าง ร้านขายของเก่า แต่ถ้าของมีขนาดใหญ่มาก อาจใช้เศษไม้นำมาต่อเป็นลังแบบง่ายๆและก่อนจะบรรจุของลงไปในลังไม้ ควรหาวัสดุป้องกันการสัมผัสระหว่างสิ่งของกับลังไม้อีกชั้นหนึ่งด้วย
 
เชือก  ใช้มัดของที่เป็นม้วน เช่น เสื่อ พรม และใช้มัดกล่องหรือหีบห่อให้แน่นหนา ป้องกันการเปิดระหว่างการขนย้าย และยังใช้เป็นหูหิ้วช่วยให้เคลื่อนย้ายได้สะดวกมากขึ้น  ในการมัดควรใช้เชือกที่มัดได้แน่นแต่สามารถแกะออกง่าย และควรเลือกใช้เชือกให้เหมาะกับการใช้งาน เช่น เชือกไนล่อน เหมาะกับของชิ้นใหญ่ มีน้ำหนักมาก และมีพื้นผิวแข็ง ไม่เกิดรอยจากการมัด  เชือกฟางหรือเชือกผ้า ใช้กับของที่ไม่หนักมากและต้องระวังเรื่องรอยขีดข่วน
 
เทปกาว  ใช้ผนึกฝากล่องหรือยึดระหว่างวัสดุห่อหุ้ม มีหลายชนิดและความหนาของแถบหลายขนาดให้เลือกใช้  ชนิดที่มีส่วนผสมของกาวมากจะมีความสามารถในการยึดติดดีกว่า  แต่อาจทิ้งร่องรอยไว้บนผิววัสดุ  หากใช้ในการติดที่ต้องสัมผัสกับผิวโดยตรง ควรเลือกชนิดที่สามารถลอกได้ง่ายและเพื่อความสะดวกในการใช้งาน  เทปกาวที่มืออาชีพอย่างเราใช้นั้น มี 3 แบบ คือ
            1 เทปกาวสีน้ำตาล ใช้ปิดกล่อง สิ่งของเครื่องใช้  
            2 เทปกาวสีแดง ใช้ติดเพื่อให้ทราบว่าเป็นสิ่งของที่แตกหัก เสียหายง่าย ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ  
            3 เทปกาวขาว หรือ เทปหนังไก่  ไม่ทิ้งร่องรอยไว้บนผิววัสดุ ใช้ติดสำหรับเฟอร์นิเจอร์ไม้หรือของที่ต้องการแพ็คชั่วคราว

           นอก จากนี้เพื่อให้ทำการติดเทปได้ง่าย อยากแนะนำให้ใช้ม้วนตัดเทปกาว เพื่อความสะดวก และช่วยประหยัดเทปในการใช้งานด้วย มีหลากหลายหน้ากว้างที่เหมาะสมกับเทปแบบต่างๆ ตั้งแต่ขนาดหน้ากว้าง 1.5 - 2 นิ้ว

 

เมื่อรู้จักอุปกรณ์และเคล็ดลับครบแล้วก็ลงมือจัดเก็บขนย้ายตามขั้นตอนกันเลย

 

จดก่อนเก็บ

ก่อนที่ท่านจะเก็บของลงกล่องนั้น  ลองทำรายการข้าวของดูก่อนว่า ของที่จะเก็บนั้นมีอะไรบ้าง ต้องใช้กล่องชนิดใด ขนาดเท่าใด ใช้จำนวนกี่กล่อง และลองแบ่งว่าในแต่ละกล่องมีอะไรบ้าง จะได้เตรียมหาอุปกรณ์บรรจุหีบห่อได้อย่างเพียงพอและเหมาะสม

ติดป้ายหรือเขียนไว้หลังเก็บ

หลังจากเก็บของลงกล่องเรียบร้อยแล้ว ควรเขียนรายการไว้ที่ข้างกล่อง ว่าภายในบรรจุอะไรบ้าง หากของชิ้นไหนเป็นของที่สามารถแตกหักเสียหายได้ ควรติดสัญลักษณ์ไว้เพื่อเตือนให้ระมัดระวังเป็นพิเศษ

เก็บแยกห้อง  

เมื่อแพ็คเสร็จสิ้นแล้ว ควรเก็บของโดยแยกตามแต่ละห้อง ช่วยให้การแยกของเมื่อขนย้ายเข้าไปยังบ้านใหม่ทำได้สะดวกมากขึ้นคุณควรติดสัญลักษณ์แถบสี หรือเขียนกำกับไว้ ติดไว้ที่ข้างกล่องและที่ห้องต่างๆ แยกตามห้อง วิธีนี้ทำให้ผู้ที่มาช่วยขนย้ายสามารถยกกล่องไปวางรวมกันในแต่ละห้องได้ง่าย โดยไม่ต้องเสียเวลามาถามคุณว่ากล่องใบนี้เอาไว้ที่ไหน ช่วยประหยัดเวลาและลดความวุ่นวายได้มากทีเดียว

เมื่อจัดห่อเรียบร้อยก็ถึงคิวยก โดยมีข้อควรระวังดังนี้

การขนของขึ้นรถ เพื่อขนย้ายออก

การลำเลียงของขึ้นรถเพื่อขนย้ายออก ควรวางของชิ้นใหญ่และมีน้ำหนักมาก ก่อน เพื่อจะได้นำชิ้นเล็กหรือของที่มีน้ำหนักเบาซ้อนทับด้านบนได้ แต่ไม่ ควรวางชิดกันจนเกินไป ควรเว้นที่ไว้บางเพื่อไม่ให้ของเสียดสีกันมากจนเกิดความเสียหายและ ควรวางแผนให้ดีก่อนการขนขึ้นรถ เพื่อช่วยประหยัดเนื้อที่ในการบรรทุกและไม่ต้องรื้อมาจัดเรียงกันใหม่ภาย หลัง

การขนของลงรถ เพื่อขนย้ายเข้า

การลำเลียงของลงรถเพื่อขนย้ายเข้า ควรขนของลงจากรถทั้งหมดโดยวางกองรวมกันไว้ ก่อน แล้วจึงขนย้ายของชิ้นใหญ่หรือของที่มีน้ำหนักมากเข้าไปก่อน ตามด้วย กล่องต่างๆ เพราะจะได้จัดเข้าที่ได้ง่าย  หลังจากนั้นจึงแกะบรรจุภัณฑ์ที่ห่อหุ้ม ออก และจัดสิ่งของโดยลำดับตามความต้องการใช้งานก่อนหลัง

การขนย้ายเครื่องใช้ไฟฟ้า

การขนย้ายเครื่องใช้ไฟฟ้า ควรระมัดระวังความเสียหายเป็นพิเศษ โดยอ่านจากคู่มือ วิธีใช้ที่ติดมากับตัวเครื่องเช่น การขนย้ายตู้เย็นไม่ควรวางนอน และควรถอดปลั๊ก ปิดสวิตช์การทำงานก่อนการขนย้ายประมาณ 3-4 ชั่วโมง เพื่อให้น้ำยาทำความเย็น ไหลกลับ ไม่ตกค้างตามท่อ และหากติดตั้งในบ้านใหม่เสร็จเรียบร้อย ควรวางตั้งทิ้งไว้อย่างน้อย 3-4 ชั่วโมงก่อนเสียบสวิตช์เช่นกัน และเวลาเปิดครั้งแรกให้บิดสวิตช์ไปที่อุณหภูมิเย็นที่สุดเพื่อไล่น้ำยาให้ เดินทั่ว โดยเมื่อเครื่องเดินไปแล้ว 30 นาทีจึงค่อยปรับอุณหภูมิลงมาที่ระดับปกติ

อุปกรณ์ช่วยให้งานขนย้ายง่ายขึ้น 

  1. ลูกล้อสำหรับย้ายสิ่งของ ใช้เคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของได้สะดวกรับน้ำหนักได้ 90 กก. ขนาดกะทัดรัด จัดเก็บง่าย
  2. แผ่นสไลเดอร์ (Slider) วัสดุสำหรับเลื่อนเฟอร์นิเจอร์หนักโดยไม่ทำให้พื้นเป็นรอย 
  3. รถเข็น ทำจากอะลูมิเนียม มีดีไซน์สวย ทันสมัย ใช้งานง่าย ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บ มีความแข็งแรง ทนทาน รับน้ำหนักได้สูงสุด150 กิโลกรัม 
  4. บันได รถเข็น 2 IN 1 รุ่น 1#FW-70 ขนย้ายของรับน้ำหนักไม่เกิน 80 กก.มือจับหุ้มยางกันเลื่อน จับถนัดมือพับเก็บได้ ประหยัดเนื้อที่

 

การเตรียมการย้ายเข้าบ้าน

หาก บ้านใหม่ของคุณเป็นบ้านในโครงการหมู่บ้านจัดสรร  คุณควรจะต้องตรวจความเรียบ ร้อยของบ้านใหม่ให้อยู่ในสภาพดีในระดับที่คุณพอใจมากที่สุด ก่อนจะลงชื่อรับ มอบการโอนบ้าน ก่อนที่คุณจะย้ายออกจากบ้านเก่า รวมทั้งก่อนย้ายเข้าบ้านใหม่ ควรตรวจสอบข้อสัญญาว่าคุณสามารถติดตั้งอุปกรณ์และเครื่องใช้ภายในบ้านเพิ่ม เติม โดยสามารถเคลื่อนย้ายหรือถอดอุปกรณ์เหล่านั้นออกไปด้วยได้หรือไม่ แล้ว จึงพิจารณาในการติดตั้งเพิ่ม

การขนย้ายด้วยตัวเอง ถึงแม้จะดูเหมือนยุ่งยากแต่ก็สบายใจ เนื่องจากเราสามารถ ควบคุมขั้นตอนทั้งหมดได้ด้วยตัวเอง ตั้งแต่เริ่มบรรจุของลงกล่องจนกระทั่งนำ ของออกมาจัดในบ้านใหม่ หากคุณไม่มีรถขนาดใหญ่เพียงพอในการขนย้าย ควรต้อง ติดต่อไหว้วานคนรู้จักเพื่อช่วยในการขนย้ายและหากจำเป็นต้องใช้บริการรถรับ จ้าง คุณควรจะติดต่อและตกลงราคากันล่วงหน้า และจัดเตรียมปริมาณของในแต่ละเที่ยว ให้เหมาะสมกับขนาดของรถ ซึ่งมีทั้งรถกระบะไปจนถึงรถบรรทุก ราคานั้นจะขึ้นอยู่กับขนาดรถและระยะทาง

การใช้บริษัทขนย้ายมืออาชีพ เป็น วิธีที่สะดวก รวดเร็ว และประหยัดเวลามากกว่าการขนย้ายด้วยตัวเองมากที่สุด เพียงแค่ โทรศัพท์ไปติดต่อนัดเวลาให้บริษัทที่ให้บริการขนย้ายของมาสำรวจที่ บ้าน เพื่อประเมินราคาและนัดวันขนย้าย เมื่อถึงกำหนดตามที่ตกลงไว้บริษัทขน ย้ายจะดำเนินการเก็บของขนย้ายให้โดยเจ้าของบ้านไม่ต้องลงมือใดๆทั้ง สิ้น ส่วนค่าใช้จ่ายในการขนย้ายราคานั้นจะขึ้นอยู่กับจำนวนข้าวของเครื่อง ใช้ ที่จะต้องแพ็คกิ้งป้องกัน  วันและเวลาที่เริ่มขนย้าย จำนวนเที่ยวรถที่ใช้ ระยะทางขนย้ายจากต้นทางไปยังปลายทาง

การวางแผนย้ายบ้าน

ก่อนการย้ายบ้านประมาณ 1 เดือนคุณควรจะวางแผน ดังนี้

วันที่ 1 2 3   ให้แจ้งยกเลิก บริการไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์  เคเบิลทีวี รวมทั้งแจ้งหน่วยงานที่ติดต่อด้วย ทั้งบริษัท ธนาคารและบอกกล่าวเพื่อนฝูง เพื่อยกเลิกที่อยู่เก่าและแจ้งที่อยู่ใหม่สำหรับการจัดส่งเอกสาร  ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ ให้เก็บเอกสารที่ตกค้างไว้ให้คุณไปรับเอง ณ ที่ทำการไปรษณีย์

วันที่ 5  6  7   วางแผนให้ดี เพราะการขนย้ายบ้านแต่ละครั้ง คุณมีสิ่งที่จะต้องทำหลายอย่าง ก่อนอื่นคุณต้องทราบก่อนว่าคุณจะย้ายออกจากบ้านได้ล่าช้าที่สุดในวันไหน และย้ายเข้าไปอยู่บ้านใหม่ได้เมื่อไร จากนั้นจึงวางแผนในการเก็บของเพื่อกำหนดวันขนย้ายให้แน่นอน
 
วันที่ 9  10   ติดต่อช่าง หากต้องการถอดอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือชิ้นส่วนที่ติดกับตัวบ้านออกไปด้วย ควรติดต่อเพื่อนัดเวลากับช่างต่างๆ ให้เรียบร้อย
 
วันที่ 11  12   เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม เตรียมกระดาษหนังสือพิมพ์ ถุงพลาสติก  กล่องกระดาษ และเชือกเอาไว้ให้พร้อมเพราะเมื่อถึงเวลาจะต้องเก็บของบรรจุหีบห่อเมื่อไร ก็สามารถลงมือได้ ไม่ต้องเสียเวลาไปหาอุปกรณ์ให้ยุ่งยาก
 
วันที่ 15  16   อย่าลืมแจ้งย้าย ตามกฎหมายกำหนดให้ผู้ย้ายหรือผู้ที่เจ้าของบ้านมอบอำนาจแจ้งย้ายออกจากบ้านเดิมภายใน15 วัน และเมื่อไปอยู่บ้านใหม่ให้แจ้งย้ายเข้าภายใน 15 วันเช่นกัน
 
วันที่ 17  18    หารถขนของ หากมีรถไม่เพียงพอที่จะขนของ รีบติดต่อไหว้วานเพื่อนฝูงหรือจัดหารถเพื่อใช้ขนของ หรือ ติดต่อมาที่ บิ๊ก มูฟ เพื่อจัดเตรียมรถ คนงาน วัสดุแพ็คกิ้ง เพื่อให้เรื่องขนย้ายของคุณง่าย ไม่ปวดหัวต้องมาย้ายเอง และควรจะติดต่อเสียแต่เนิ่นๆจะได้ไม่ต้องวุ่นวายเมื่อถึงเวลาจริง
 
วันที่ 19  20   เก็บของได้แล้ว ควรเริ่มบรรจุของลงกล่องก่อนย้ายประมาณ 10 วัน เพราะหากขาดเหลืออะไร จะได้มีเวลาเตรียมตัวจัดหาได้ทัน
 
วันที่ 22  23   อย่าเสียดายของในบ้านที่ไม่ได้ใช้แล้ว จะตัดใจขายต่อ บริจาคหรือบางชิ้นอาจต้องทิ้งไปเลยก็ได้ เพื่อจะได้ไม่เก็บให้รกบ้าน ไม่ต้องเสียเงินค่าขนย้ายและเสียเวลาขนย้ายเพิ่มขึ้นด้วย
 
วันที่ 24  25  ตรวจบ้านใหม่ ก่อนย้ายเข้าไปอยู่บ้านใหม่ ต้องเข้าไปตรวจตราสภาพบ้านใหม่ให้เป็นที่พอใจก่อนจึงจะย้ายเข้าไปอยู่
 
วันที่ 26  27  28  ตรวจก่อนไป กรณีที่เป็นบ้านเช่าหรือต้องการจะขายต่อ ก่อนออกจากบ้านควรตรวจตราความเรียบร้อยของบ้านและซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดีหรือใกล้เคียงกับสภาพเดิมมากที่สุด เพื่อป้องกันการถูกปรับค่าเสียหายและประโยชน์ในการขายทอดตลาด
 
วันที่ 30  ถึงเวลาย้ายบ้านแล้ว........
 
 
 
         www.homepro.co.th