Web Design by Softbiz+
|
เว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014 |
แนวทางปฎิบัติการสู่ สำนักงานสีเขียว |
Green Office Guidelines Actions towards a low-carbon office ปฎิบัติการสู่การลดการปล่อย คาร์บอนไดออกไซค์
โดย เดอะเนทเวิร์ค(ประเทศไทย)และ สถาบันสิ่งแวดล้อมสต๊อกโฮม
แรงบันดาลใจภายใต้กระแสการทำ CSR ในปัจจุบัน ได้เกิดความพยายามที่จะแยกการดำเนินงาน CSR ออกเป็นภายใน (In-Process) และภายนอก (After Process) รวม ถึงภาคส่วนสังคม (Post Process) หรือ การ ดำเนินงาน CSR ดังที่ Michel E. Porter ได้ อธิบาย CSR ผ่าน Value Chain ประกอบ ด้วย Inside-out Linkage หรือ Outside-In Linkage อัน เป็นรูปแบบที่หลากหลาย ก็สุดแล้วแต่ว่าธุรกิจจะเลือกให้สอดคล้องกับความเหมาะสมของตนเองได้มากเพียง ใด หากการดำเนินการดังกล่าวเกิดบนฐานแห่งความมุ่งมั่นในหลักการของการมุ่งการ พัฒนาธุรกิจไปสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง และดำเนินการภายใต้การทบทวนอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ก็ย่อมช่วยนำจิตวิญญาณสู่องค์กรดังกล่าว เป็นองค์กรที่มีความรู้สึกร้อนหนาว คำนึงถึงผู้คนที่อยู่ภายในองค์กร สังคมรอบข้าง ตลอดจนธรรมชาติสิ่งแวดล้อม นอกเหนือไปจากการคำนึงถึงเฉพาะผู้ถือหุ้น และลูกค้าเป็นสำคัญ และสามารถนำพาพนักงานให้มีความสุข ความเก่ง และ ความดี ลูกค้ามีความพึงพอใจ ผู้ถือหุ้นมาร่วมกระทำความดีด้วยกัน ภายใต้การดำเนินกิจการที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็น ตัวตั้ง ผลิตสินค้าที่ไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อความมั่นคงและยั่งยืนในการดำเนินชีวิตใน ปัจจุบันและอนาคตของผู้คนบนโลกใบนี้ อีกทั้งยังสามารถสร้างสรรค์ผลสืบเนื่องสู่สังคมและสิ่งแวดล้อมให้มีคุณภาพ (Creating Social Value Chain) อันสืบเนื่องจาก "ธุรกิจ ไม่สามารถอยู่ได้ลำพังในสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ล้มเหลว" "สำนักงานสีเขียว" อันเป็นแนวคิด หนึ่งที่ทำให้ธุรกิจ ได้มีโอกาสให้มีการนำ CSR เข้ามา ใช้ ในการพัฒนาองค์กรทั้งระบบ หรือเรียกว่าIntegrated CSR Green Office หมายถึง ระบบการดูแลสำนักงานให้เป็นมิตรต่อผู้ที่อาศัย ต่อสภาพแวดล้อม และ เอื้ออาทรต่อสังคม โดยใช้ฐานความรู้เรื่อง Carbon Footprint ที่ ทางมูลนิธิโลกสีเขียวเรียกว่า "รอยเท้าฝากโลก" ทำให้สามารถรับรู้ที่มาถึงสาเหตุทำให้โลกร้อน ด้วยการสืบสาวลึกเข้าไป ก็พบว่า การมุ่งบรรเทาปัญหานี้ ด้วยการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซค์ (Co2) สู่โลกเท่านั้น อาจยังไม่เพียงพอ สิ่งสำคัญคือ จะทำอย่างไรให้มนุษย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอันจะช่วยลดปริมาณการปล่อย Co2 สู่ชั้นบรรยากาศ การทำ Green Office จึง เป็น แนวทางหนึ่ง ซึ่งสามารถริเริ่มทำได้อย่างง่ายๆ และพัฒนาสู่ระดับการดำเนินการที่ลึกซื้งและมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น โดยเริ่มจากการลดปริมาณขยะในองค์กรลงเรื่อยๆ จนกระทั่งให้เหลือศูนย์ในท้ายสุด การใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เป็นต้น กระแสการรณรงค์เรื่องโลกร้อนของสังคมไทยในปัจจุบัน ยังคงวนเวียนอยู่กับการรณรงค์เรื่องการใช้ถุงผ้า หากว่าการรณรงค์การใช้ถุงผ้านี้ มิได้มุ่งเน้นการพัฒนาจิตสำนึกของผู้ใช้และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค รวมถึงจิตสำนึกความรับผิดชอบและการเข้าถึงองค์ความรู้เรื่องการลด ละ และใช้สิ่งของให้เกิดประโยชน์สูงสูง การรณรงค์เรื่องการใช้ถุงผ้าดังกล่าวอาจนำไปสู่การเพิ่มปริมาณการปล่อย Co2 จากการผลิตถุงผ้า และการเพิ่มปริมาณถุงผ้าจากการครอบครองของแต่ละคน อีกทั้งยังคงมีพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรที่สิ้นเปลืองดังกล่าว ดังนั้น หากทุกบริษัทหันมาทำความเข้าใจเรื่อง Green Office เป็น กลยุทธ์สำคัญในการบรรเทาภาวะโลกร้อน ด้วยการเริ่มลงมือทำกิจกรรมทุกประเภท พร้อมๆไปกับการปรับพัฒนาพฤติกรรมของบุคลากรทีมีความเสี่ยงต่อการเพิ่มปริมาณ การฝากรอยเท้าไว้กับโลกใบนี้ ย่อมเป็นการช่วยสนับสนุนให้เกิดการทบทวนแนวทางการทำ CSR ใน บริษัทว่าจะเลือกทำเพียง In-Process หรือ After Process หรือ จะหันมาทำ Integrated CSR อัน เป็น แนวทางที่มุ่งสู่กระบวนทัศน์การพัฒนาที่ยั่งยืนและนำจิตวิญญาณสู่องค์กร ธุรกิจนั้นๆ ให้เกิดการตระหนัก เรียนรู้ พัฒนาและปรับปรุง ด้วยการทำ Green Office ของตนเอง และในกระบวนการนี้ องค์กรต่างๆ อาจได้พบนวัตกรรมที่นำไปสู่การคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ยั่งยืน นำเสนอสู่ตลาดเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคในการร่วมบรรเทาปัญหานี้ร่วมกัน อย่างแท้จริง แนวดำเนินงานสู่ปฏิบัติการสำนักงานสีเขียวการสร้างสรรค์ที่ทำงานสีเขียวนั้น อาจจะเริ่มอย่างง่ายๆ และ ไปสู่การทำให้เกิดเป็นระบบที่ชัดเจน เกิดและมีแนวร่วมจากพนักงานทุกคนในองค์กรดำเนินชิวิตในที่ทำงาน โดยเริ่มจากไม่ต้องมีการใช้งบประมาณ จนถึงขั้นการกำหนดนโยบายบริษัท โดยมีปัจจัยความสำเร็จในการจัดการ Green Office คือ
ปฏิบัติการที่ 1: ปฏิบัติ การใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
|
พลังตัวRsในองค์กร |
ตัวอย่าง |
Reuse ใช้ซ้ำๆ จนกว่าจะใช้ไม่ได้อีก |
นำกระดาษมาใช้ 2 หน้า,ถุงใช้ซ้ำ, นำกระดาษที่ใช้แล้วหน้าเดียวนำหน้าที่เหลือมาใช้ในการพิมพ์งานภายในหรือการ ใช้ถ่ายเอกสารและการรับ fax |
Refuse ปฏิเสธการใช้ชีวิตแบบเดิมๆ |
การปฏิเสธ ไม่ใช่วัสดุ ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ทิ้งวัสดุอันตรายนุถังขยะทั่วไป |
Recycle ลดการใช้ทรัพยากรให้มากที่สุด |
แยกขยะ,ถุงพลาสติก,ถุงผ้า,ขวดแกลลอน น้ำยาทำความสะอาด,ขวดน้ำ |
Repair ซ่อมแซมใหม่ |
ของใดเสียสามารถซ่อมได้ก็ซ่อม, คอมพิวเตอร์มือสอง |
Reduce ลดการใช้ทรัพยากรให้มากที่สุด |
ประหยัดไฟและน้ำ,ลดพลังงาน,ลดใช้กระดาษในการทำข้อสอบใช้ E-mail แทนการส่งจม.ด้วยกระดาษ |
Replace แทนที่วัสดุที่ทำให้โลกร้อนด้วยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวด ล้อมแทน |
ใช้หลอดประหยัดไฟ ใช้กระเบื้องใยหิน -โพลิเมอร์แทนไม้ |
Remain เลือกและใช้วัสดุที่จะใช้ได้นานที่สุด |
จัดซื้อเลือกของดีใช้นาน ราคาถูก, ใช้งานอย่างถูกวิธี |
Replenish & Refill ทั้งลดและทั้งใช้วัสดุตัวเดิม |
เติมหมึกปริ๊นในตลับหมึกเก่า |
ปฏิบัติการที่ 2 ปรับ ปรุงอาคารสำนักงาน
Action 1 ปรับสภาพที่ทำงานให้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- การเปิดช่องแสงของอาคารให้มากขึ้นกว่าปกติเพื่อจะได้ใช้ของฟรีจากแสง ธรรมชาติ ลดการใช้ไฟฟ้าภายในออฟฟิศให้น้อยลง
- การออกแบบแสงสว่างภายใน เราอาจจะลดจำนวนดวงโคมและกำหนดให้แสงสว่างน้อยลงกว่ามาตรฐานทั่วไป แต่จะเลือกใช้โคมไฟตั้งโต๊ะแทน สำหรับใช้เปิด-ปิดตามการใช้งานจริง เปิดเฉพาะบริเวณที่ใช้งาน และปิดในส่วนที่ไม่ได้ใช้งาน
- การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับความเคลื่อนไหว เพื่อเปิด-ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า ในส่วนที่เป็นพื้นที่การใช้งานร่วมกัน เช่น ห้องประชุม แพนทรี ห้องเก็บเอกสาร หรือจะเป็นส่วนอื่นๆแล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละออฟฟิศ
- การนำฉนวนกันความร้อนมาใช้ติดตั้งกับฝ้าเพดาน และผนังอาคารที่กระทบกับความร้อนโดยตรง
- การออกแบบให้มี "ห้องประชุมแบบเอ๊าท์ดอร์" (Outdoor Meeting) ไว้ในสวนพักผ่อนของออฟฟิศ เพื่อลดการใช้ไฟฟ้า และเครื่องปรับอากาศ และเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศของการประชุมที่ไม่เป็นทางการนัก
- เลือกใช้จอคอมพิวเตอร์แบบ LCD แทนการใช้จอแบบ CRT เพื่อ ประหยัดพลังงาน
- แม้กระทั่งอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน ก็เลือกใช้แบบ "รี ฟิล" (Refill) เพื่อลดปริมาณ
Action 2 ปรับ หรือเปลี่ยนฉนวนกันแสง (Insulation)
ลดปริมาณความร้อนที่ดูดซับผ่านหลังคา ผนัง พื้นและ หน้าต่าง เพื่อช่วยลดภาระการระบายความเย็นของระบบ ปรับอากาศ วิธีดังต่อไปนี้ทำให้ประหยัดพลังงาน
a) สำหรับ ผนัง พื้น เพดาน และ หลังคา ประหยัดพลังงานได้ประมาณ 5-10%
- ติดตั้งฉนวนกันความร้อนทั้งภายในและภายนอกอาคาร (External Insulation and Finishing System-EIFS, ไฟเบอร์กลาส โฟม PU) ซึ่งจะช่วยปกป้องความร้อน
- ทาสีหลังคาและกำแพงด้านนอกด้วยสีขาวจะสะท้อนความร้อนและรักษาความเย็นภายใน ตึกได้
b) สำหรับหน้าต่าง ประหยัดพลังงานได้ 5-10%
- ติดตั้ง หน้าต่างประเภท double- or triple-glazed (2-3 ชั้น)
- ทำการติดตั้งผ้าม่านหน้าต่างแบบตอบสนองต่อ(ปรับมุมตาม)แสงแดดและการเปลี่ยน แปลงอุณหภูมิทั้งภายในและภายนอกอาคาร
- ทำการจัดวางตำแหน่งของหน้าต่าง ในตำแหน่งที่มีไม่รับแสงแดด โดยตรง(ใต้ร่มเงาไม้)จะป้องกันการดูดซับความร้อนโดยตรง และภาระเครื่องปรับอากาศภายในห้อง
Action 3 ปรับปรุง ระบบหมุนเวียนของอากาศ และ ระบบไฟส่องสว่าง
ควรมีการระบายอากาศที่ดี และ ใช้แสงอาทิตย์ โดยตรงให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้ไม่ใช้ไฟฟ้า และ เครื่องปรับอากาศมากเกินไป และเป็นการประหยัดพลังงาน
การจัดการระบบระบายอากาศที่ดีและใช้แสงสว่างธรรมชาติจนถึงที่สุด โคมไฟและเครื่องปรับอากาศของคุณจะไม่ต้องทำงานอย่างหนัก และ จะไม่กินพลังงานมากไฟฟ้า ดังนั้น.
a) ปรับระบบเครื่องปรับอากาศ ประหยัดพลังงานได้ประมาณ 10-30%
- เครื่องปรับอากาศระบบเก่านั้นไม่ประหยัดไฟ หากถึงเวลาที่ต้องการเปลี่ยน ควรเลือกใช้ระบบปรับอากาศที่ประหยัดพลังงานที่มีประสิทธิภาพ(เครื่องปรับ อากาศเก่านั้นทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพโดยเปรียบเทียบจากค่าไฟฟ้ากับปริมาณ ความเย็นที่ได้ความเย็น)
- เครื่องปรับอากาศแบบใหม่บางชนิดที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ หรือ มีระบบหล่อเย็นด้วย ก๊าซธรรมชาติ หรือ ความร้อน ที่ระบายทิ้ง โดยระบบใหม่นั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้ระบบหล่อเย็นแบบไฟฟ้า
b) ระบบการหมุนเวียนอากาศธรรมชาติ ประหยัดพลังงานได้ประมาณ 5-15%
- ถ้าอุณหภูมิระหว่างอากาศภายในและภายนอกมีความแตกต่างกันมาก เครื่องปรับอากาศจะต้องใช้พลังงานมากในระบบทำความเย็น (เพื่อเปลี่ยนอากาศร้อนจากภายนอกให้เป็นอากาศเย็นภายในห้อง/อาคาร) ติดตั้งเครื่องปรับอากาศและตัวมอเตอร์ให้ห่างกันมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
- ติดตั้งเครืองระบายความร้อน ซึ่งจะช่วยลดอุณหภูมิของอากาศจากภายนอก และยังช่วยลดการทำงานของระบบทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศด้วย
c) ระบบส่องสว่าง ประหยัดพลังงานได้ประมาณ 3-8%
- ติดตั้ง ระบบแสงสว่างที่ประหยัดพลังงาน ซึ่งจะช่วยประหยัดได้ 5-10 เท่า (เปลี่ยนจากหลอดไส้เป็นหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์)
-
ระบบแสงสว่างที่ประหยัดพลังงานจะช่วยลดการผลิตความร้อนและช่วยลดความต้องการ ใช้ความเย็นจากเครื่องปรับอากาศ
ปฏิบัติการที่ 3 กำหนด นโยบายลดการปล่อย CO2
ทุกองค์กรสามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายเลย ท่านสามารถดำเนินการดังต่อไปนี้
ข้อพิจารณาที่ 1 ติดตาม ตรวจสอบการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของหน่วยงานของท่าน
ทำความเข้าใจลักษณะการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขององค์กรของท่านใน ปัจจุบัน แล้วจึงวางแผนการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
a) วางระบบการประติดตามประเมินผล ด้วยการกำหนดหน่วยวัดค่าการปล่อยคาร์บอนไดอ๊อกไซค์ในกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
- การเดินทางทั้งทางอากาศและทางบก เช่น ไมล์ กิโลเมตรของการเดินทาง
- เครื่องใช้และอุปกรณ์ เช่น หน่วยไฟฟ้า ลูกบาตรเมตรของน้ำ
- การใช้กระดาษ เช่น จำนวน รีม
- การเลือกซื้อสินค้าและบริการ
- การจัดการขยะและนำกลับมาใช้ใหม่
b) คำนวณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขององค์กรและจัดทำรายงานผล
- คำนวณค่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ต่อกิจกรรมต่างๆ เช่น
สูตร การปล่อย Co2 จากการเดินทาง = ไมล์ของการเดิน x ตัวแปรค่าปล่อย Co2
(ติดตามรายละเอียดในงานเสวนาเดอะเนทเวิรค์ ครั้งที่ 2/2552)
- กำหนดระดับการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (โดยเปรียบเทียบกับปีที่แล้วหากไม่มีของปีที่แล้วให้เริ่มหาค่ามาตราฐานปี แรก
- จัดทำรายการผลการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปีละครั้งหรือสองครั้งเพื่อ ประเมินผลว่าได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่
c) Calculate carbon emissions and publish an Office Emissions Report
- Calculate carbon emission by items (i.e. CO2 emission by air-travel = miles travelled X emission factor; more details to come in the Green Office Seminar)
ข้อพิจารณาที่ 2 จัดทำ กลไกในการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
วางแผนกลไกในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และดำเนินการตามนโยบายสิ่งแวดล้อมเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งอาจจะทำได้ดังต่อไปนี้
a) กำหนดเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งอาจจะเป็นการทำในระดับองค์กร ระดับโครงการ หรือระดับบุคคลก็ได้ และทำโดยสมัครใจหรือบังคับก็ได้ ซึ่งสามารถกำหนดเป้าหมายจากกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งเพียงอย่างเดียวก็ได้
b) ใช้ระบบการสั่งการเพื่อดำเนินการ ส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับบุคคล โครงการ หรือทั้งองค์กร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
c) สร้างแรงจูงใจ โดยการให้รางวัลสำหรับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น ให้ของขวัญหรือโบนัสกับผู้ที่เสนอวิธีการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ดีและนำมาใช้ได้
ที่มา ngobiz.org