Home » บทความทั่วไป ความรู้น้ำท่วม » หลังน้ำท่วม ปัญหาผุด ต้องตรวจสอบ ซ่อมแซม บ้านเรือน ระบบประปา ระบบไฟฟ้า ก่อนใช้งาน

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
หลังน้ำท่วม ปัญหาผุด ต้องตรวจสอบ ซ่อมแซม บ้านเรือน ระบบประปา ระบบไฟฟ้า ก่อนใช้งาน

dailynews.co.th วันเสาร์ ที่ 20 พฤศจิกายน 2553

หลังน้ำลด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งรีบตรวจสอบ แก้ไข ซ่อมแซม บ้านเรือน ระบบประปา ระบบไฟฟ้า ก่อนกลับเข้าพักอาศัยอีกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย 

สิ่งแรกที่จำเป็นต้องทำ คือ การสำรวจตรวจสอบโครงสร้างอาคาร และพื้นที่โดยรอบ เพราะอาคารบ้านเรือนที่จมน้ำอยู่เป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดการเปื่อยยุ่ย ที่ต้องระวังมากที่สุดคือบ้านที่ตั้งอยู่ริมน้ำ อาจเกิดการทรุดตัวไหลลงไปตามน้ำได้ 

หลังตรวจสอบโครงสร้างอาคารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ถึงค่อยทำการตรวจสอบภายในบ้าน เฟอร์นิเจอร์ ระบบไฟฟ้า ระบบประปา หากพบว่ามีความเสียหายก็ให้เร่งแก้ไข ก่อนนำกลับมาใช้งานใหม่อีกครั้ง  
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า “ขณะนี้สถานการณ์อุทกภัยใน หลายพื้นที่เริ่มคลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติและอยู่ระหว่างการฟื้นฟูพื้นที่ ซึ่งภายหลังสถานการณ์อุทกภัยยุติลง ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือน ระบบประปา ระบบไฟฟ้าอย่างเลี่ยงไม่ได้ ช่วงนี้จึงเป็นช่วงเวลาที่ผู้ประสบภัยต้องตรวจสอบดูแลบ้านเรือนหลังน้ำลด ซึ่งหากนำอุปกรณ์ที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมมาใช้งานโดยไม่ตรวจสอบหรือซ่อมแซมอย่างถูกวิธี อาจก่อให้เกิดอันตรายขึ้น”
    
สำหรับ พื้นบ้าน สิ่งแรกที่ควรทำคือ การทำความสะอาดพื้นบ้าน มิให้มีคราบโคลนหรือตะไคร่น้ำเกาะตามพื้นบ้าน เพราะจะทำให้ลื่นล้มได้ง่าย หากปูพื้นพรมควรลอกออกแล้วนำไปซักตากแดดให้แห้งสนิทก่อนนำมาปูใหม่
    
ฝ้าเพดาน หากมีลักษณะเปื่อยยุ่ยหรือบวมจากการอมน้ำไว้มาก ให้เลาะออกและติดตั้งฝ้าเพดานใหม่ เพื่อป้องกันฝ้าเพดานร่วงหล่นลงมา ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้อยู่อาศัยได้
    
เฟอร์นิเจอร์ ที่แช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานาน ให้นำมาตากแดดหรือถอดชิ้นส่วนออกมาเช็ดให้แห้ง พร้อมซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพแข็งแรง เพื่อป้องกันโครงสร้างผุพัง จนล้มทับผู้ใช้งาน หากเฟอร์นิเจอร์บุด้วยนุ่นหรือฟองน้ำ ให้จัดการเปลี่ยนใหม่ เพราะจะกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค                  
    
ประตู หน้าต่าง ที่ทำจากไม้และแช่น้ำเป็นเวลานานจะเกิดการบวมและบิดตัว ห้ามทาสีใหม่ทับทันที ควรปล่อยให้แห้งสนิทก่อน จึงค่อยทาสีใหม่ หากโครงสร้างเป็นเหล็กและเกิดสนิม ให้ใช้กระดาษทรายขัดสนิมออกให้หมดก่อน จึงทาสีใหม่พร้อมยากันสนิม จึงค่อยทาสีใหม่
     
บานพับ ลูกบิดและรูกุญแจ ให้เช็ดน้ำออกให้แห้งสนิท ขัดส่วนที่เป็นสนิมออกแล้วใช้น้ำยาหล่อลื่นชโลมตามรอยต่อ แต่ห้ามใช้จาระบี เพราะจะทำให้ความชื้นระเหยออกไม่ได้ อาจก่อให้เกิดปัญหาในภายหลัง  
    
รั้วบ้าน หากมีอาการเอียงให้นำไม้มาค้ำยัน หรือแจ้งช่างมาซ่อมแซม เพื่อป้องกันการล้มทับ ประตูรั้วบ้าน หากเป็นประตูล้อเลื่อนควรตรวจสอบระบบรางเลื่อนให้อยู่ในสภาพปลอดภัย ไม่มีวัสดุหรือกองดินบนร่องล้อเลื่อน เพราะอาจทำให้ประตูหลุดออกจากรางได้
    
ระบบประปา ให้ตรวจสอบท่อส่งน้ำภายในบ้านว่ามีรอยแตกหรือเกิดการรั่วซึมหรือไม่ โดยเฉพาะบริเวณข้อต่อต่าง ๆ ควรตรวจสอบอย่างละเอียด กรณีเครื่องปั๊มน้ำมีเสียงดังและไม่สามารถใช้งานได้ ให้ปิดเครื่องและแจ้งช่างมาซ่อมแซมทันที หากใช้น้ำบาดาลควรทำการล้างบ่อให้สะอาดก่อนนำน้ำมาอุปโภคบริโภค
    
ส่วน ระบบไฟฟ้า ให้ตัดระบบไฟฟ้าและย้ายจุดติดตั้งปลั๊กไฟใหม่ ให้พ้นจากระดับน้ำท่วมถึง พร้อมแยกระบบไฟฟ้าจุดที่เกิดน้ำท่วมออกจากระบบไฟฟ้าทั่วไปภายในบ้าน ส่วนสายไฟที่มีฉนวนหรือปลอกหุ้มหลุด บวมและลอกเปื่อยควรเปลี่ยนใหม่ทันที
    
และก่อนที่จะนำเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมมาใช้งาน ควรเช็ดหรือผึ่งให้แห้งสนิท เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร หากมีอาการผิดปกติควรหยุดใช้งานและให้ช่างผู้ชำนาญการมาดำเนินการซ่อมแซมในทันที