Home » บทความทั่วไป ความรู้น้ำท่วม » ประชาชนธรรมดา จะจับกุมผู้กระทำผิดได้หรือไม่ ?

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
ประชาชนธรรมดา จะจับกุมผู้กระทำผิดได้หรือไม่ ?

          โดยปกติแล้วการจับกุมผุ้กระทำผิดนั้นเป็นอำนาจของเจ้าหน้าที่พนักงาน ซึ่คำว่า เจ้าพนักงานที่ว่านี้มีความหมายกว้างขวาง ขึ้อยู่กับกฎหมายในแต่ละเรื่องนั้นจะบัญญัติให้ใครเป็นเจ้าพนักงาน เช่น เจ้าหน้าที่ศุลกากร เป้นเจ้าพนักงานตามกฎหมายศุลกากร มีอำนาจหน้าที่ในการจับกุมความผิดเกี่ยวกับการขนสินค้าหนีภาษี เจ้าหน้าที่สรรพสามิต เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายสรรพสามิต มีอำนาจหน้าที่จับกุมความผิดเกี่ยวกับสรรพสามิต ฯลฯ เป้นต้น

          ส่วนตำรวจ นายอำเภอ ปลัดอำเภอนั้น จัดอยู่ในประเภทพนักงานฝ่ายปกครอง มีอำนาจหน้าที่จับกุมความผิดได้ทุกประเภท แม้ว่าความผิดนั้นจะมีพนักงานโดยเฉพาะแล้วก็ตาม เช่น ความผิดตามกฎหมายศุลกากร กฎหมายสรรพสามิต ตำรวจ นายอำเภอ ปลัดอำเภอ ก็ยังมีอำนาจหน้าที่ในการจับกุมได้

          สำหรับประชาชนหรือที่เรียกว่าราษฎรธรรมดานั้น โดยปกติไม่มีอำนาจหน้าที่ในการจับกุมผั้ใดได้ เพราะประชาชนธรรมดาไม่ได้เป้นพนักงาน แต่อย่างไรก็ดีกฎหมายไม่ได้ห้ามเด็ดขาดตายตัวว่ามิให้ประชาชนธรรมดาจับกุมผู้กระทำผิดโดยสิ้นเชิง บทบัญญัติที่เป็นข้อยกเว้นไว้ให้ประชาชนธรรมดามีอำนาจหน้าจับกุมผู้กระทำผิดได้เฉพาะบางกรณีดังต่อไปนี้เท่านั้น

         1.เมื่อเจ้าพนักงานขอร้องให้ช่วยจับ กรณีนี้จะต้องเป็นเรื่องที่กฎหมายจับอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นความผิดฐานใดก็ตาม และเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการตามกฎหมายหรือจับตามหมายจับนั้นได้ขอร้องให้ประชาชนธรรมดาช่วยจับกุมผู้กระทำผิดตามที่กฎหมายระบุไว้ ข้อนี้ต้องพึงระวังให้ดีว่าถ้าเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานจะจับกุมโดยไม่มีหมายจับแม้เจ้าพนักงานจะขอร้องให้ประชาชนธรรมดาช่วยจับ ประชาชนธรรมดาก็ไม่มีอำนาจในการจับกุม มีข้อสังเกตว่าคำร้องขอของเจ้าพนักงานเช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นคำสั่งของเจ้าพนักงาน ดังนั้น ประชาชนที่ได้รับร้องขอจะปฏิบัติตามคำร้องขอนั้นหรือไม่ก็ได้

          2. เมื่อพบการกระทำผิดซึ่งหน้าเฉพาะความผิดประเภทที่กฎ หมายระบุไว้ กรณีนี้ประชาชนผู้พบการกระทำผิดนั้นสามารถทำการจับกุมได้ทันทีโดยไม่ต้องรอเจ้าพนักงานร้องขอ อย่างไรก็ดีอำนาจในการจับกุมของประชาชนธรรมดาตามข้อ 2นี้ค่อนข้างจะมีขอบเขตจำกัดอยู่เฉพาะแต่ความผิดประเภทที่ระบุไว้ในท้าย ป.วิอาญาเท่านั้น และต้องเป็นกรณีที่พบการกระทำผิดซึ่งหน้าอีกด้วย ซึ่งเงื่อนไขข้อนี้นับว่าเป็นปัญหาอยู่ไม่น้อยสำหรันผู้ไม่เคยเรียนกฎหมายมาก่อน เพราะจะไม่ทราบความผิดประเภทใดบ้างที่กฎหมายระบุไว้ในบํญชีท้ายและก็ไม่ทราบว่าที่เรียกว่าความผิดซึ่งหน้ามีขอบเขตความหมายแค่ไหน เพราะถ้อยคำนี้เป็นถ้อยคำทางกฎหมาย ซึ่งมีความหมายเฉพาะ ไม่จำเป้นต้องนำมาเขียนในที่นี้ แต่จะขอนำเอาความผิดซึ่งหน้าที่ระบุอยู่ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเฉพาะที่พบอยู่เสมอเพื่อเป็นแนวทางในการจดจำ

  • ความผิดต่อเจ้าหน้าที่
  • ความผิดฐานหลบหนีจากที่คุมขัง
  • ความผิดต่อศาสนา
  • ความผิดปลอมแปลงเงินตรา
  • การก่อการจลาจล
  • ข่มขืนกระทำชำเรา
  • ทำร้ายร่างกาย
  • ฆ่าคนตาย
  • หน่วงเหนี่ยวกักขัง
  • ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ กรรโชกทรัพย์

          3. เมื่อประชาชนผู้เป็นนายประกันผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ได้หลบหนีประกัน หรือจะหลบหนีประกัน โดยเฉพาะเมื่อไม่สามารถจะขอความช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานให้จับกุมได้ทันท้วงทีเท่านั้น การจับกุมประชาชนธรรมดา ตามที่กล่าวมาแล้วทั้ง 3 กรณีนี้เป้นเพียงอำนาจตามกฎหมายที่จะจับกุมได้เท่านั้น ไม่ใช่เป้นหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติ และถ้าเป้นกรอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ประชาชนธรรมดาก็ไมใมีอำนาจทำการ จับกุมผู้กระผิดได้เลย

ผลทางกฎหมาย

          กรณีที่ประชาชนธรรมดามีอำนาจตามกฎหมายที่จะจับกุมผู้กระทำความผิดได้ดังกล่าวมาในข้อ 1-3 นี้ ประชาชนผู้ทำการจับกุมย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย เช่นไม่มีความผิดฐานทำให้ผู้ถูกจับเสื่อมเสียอิสระภาพเสรีภาพหรือหากผู้ถูกจับนั้นต่อสู้ขัดขวาง ประชาชนผู้จับก็มีอำนาจใช้กำลังป้องกันตนได้พอสมควรแก่เหตุ ในทำนองกลับกันถ้าเป็นกรณีไม่มีอำนาจจับกุมได้ตามกฎหมาย ผู้จับมีความผิดฐานทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสียเสรีภาพ และอาจมีความผิดฐานอื่นติดตามมามากมาย เช่น บุกรุก ทำร้ายร่างกาย ฯลฯ เป็นต้น

ที่มา http://www.nakhonsipolice.go.th/aomdata/rtenasonjai.htm