Web Design by Softbiz+
|
เว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014 |
ระบบสัญญาณกันขโมยจำเป็นจริงหรือ? |
วันนี้ผมขอมาเล่าประสบการณ์ของตัวเองกับระบบป้องกันสัญญาณกันขโมยภายในบ้านให้ฟังกันเสียหน่อยนะครับเพราะเนื่องจากมี email มาหาผมเมื่อวานนี้เยอะมากเยอะจนตอบไม่ไหวและที่ตอบไปก็อาจจะไม่ค่อยจะกระจ่างเท่าที่ควร ก็เลยขอนำมาเป็นบทความแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์สัญญาณกันขโมยซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นมากในความคิดเห็นของผม เพราะว่ามันช่วย save ผมมาแล้วถึงสองครั้ง และครั้งล่าสุดก็เมื่อสิ้นเดือนกันยายนนี้เอง ช่วงประมาณตีสามขณะที่ผมเองไม่อยู่บ้าน จู่ๆก็มีโทรศัพท์แจ้งเข้าที่มือถือผมมาว่าเกิดเหตุฉุกเฉินที่บ้าน จึงรีบบึ่งรถกลับไป ซึ่งก็พบว่าบ้านถูกงัดแต่ไมได้ทรัพย์สินอะไรไปเพราะขโมยตกใจสัญญาณกันขโมยที่ร้องขึ้นกลางดึกจนระแวกบ้านใกล้เคียงออกมาดู ถึงแม้เรื่องในวันนี้อาจจะไม่เกี่ยวกับ PDA Phone โดยตรงแต่ก็มีบางอย่างเกี่ยวกับ PDA Phone เหมือนกันครับ และผมก็ต้องขอบอกกันก่อนนะครับว่าข้อมูลต่างๆในบทความนี้อาจจะไม่ถูกต้อง 100% แต่ทุกๆอย่างนั้นมาจากประสบการณ์ของผมล้วนๆที่ได้มีโอกาสใช้ระบบสัญญาณกันขโมยในบ้าน และข้อมูลในเรื่องวันนี้ผมขออ้างอิงจากระบบที่ผมใช้เป็นหลักนะครับ ทำไมผมถึงอยากใช้ระบบสัญญาณกันขโมย ย้อนไปเมื่อเกือบสิบปีที่แล้ว ผมเองอาจจะโชคดีหน่อยที่ได้มีโอกาสไปใช้ชิวิตอยู่ในต่างประเทศที่ USA ซึ่งในตอนนั้นจำเป็นต้องไปเฝ้าบ้านให้กับญาติพร้อมกับใช้เป็นที่พักอาศัยไปพร้อมๆกัน ซึ่งในบ้านหลังนั้นก็มีระบบสัญญาณกันขโมยแต่ยี่ห้ออะไรนั้นผมเองก็จำไมได้เหมือนกันรู้แต่ว่ามันเป็นระบบที่ผลิตใน USA และครั้งแรกที่ย่างก้าวเข้าบ้าน ซึ่งอยู่บนภูเขาค่อนข้างเงียบสงัด สิ่งแรกที่ผมแปลกใจก็คือบ้านสไตล์อเมริกันนั้นไม่มีรั้วครับ เหล็กดัดก็ไม่มี อยู่ครั้งแรกๆก็ปอดเหมือนกันว่าหากเกิดเหตุอะไรขึ้นมาผมจะไปตะโกนเรียกใครมาช่วยดีหละเนี่ยะ แต่แล้ววันหนึ่งก็เกิดเหตุขึ้นมาจนได้ และสัญญาณกันขโมยก็ร้องขึ้นมาในช่วงกลางดึก พร้อมกับมีโทรศัพท์แจ้งไปยังหมายเลขโทรศัพท์ที่ตั้งเอาไว้ นอกจากนั้นที่ศูนย์ที่ให้บริการรักษาความปลอดภัยก็โทรศัพท์เข้ามาที่บ้านเพื่อสอบถามแต่ไม่มีคนรับสาย ทางศูนย์จึงส่งเจ้าหน้าที่พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจ 911 มาถึงบ้านภายในเวสลาไม่ถึง 10 นาที ซึ่งก็ปรากฎว่าบ้านถูกงัดจริงๆครับ ก็นั่นแหละจึงเป็นจุดแรกที่ผมนึกมาตลอดว่าถ้าวันหนึ่งเรามีบ้านเราก็น่าจะต้องติดตั้งระบบประเภทนี้เอาไว้ เพราะเมืองไทยไม่มี 911 คงต้องช่วยเหลือตัวเองก่อนหละครับงานนี้ เหตุการณ์จริงเมื่อปีที่แล้ว หากใครได้มีโอกาสดูรายการเรื่องจริงผ่านจอทางช่อง 7 อาจจะพอคุ้นๆกับเรื่องโจรงัดแงะยกตู้เซฟ บ้านหลังนั้นอยู่ตรงข้ามบ้านผมเองแหละ สำหรับบ้านที่ผมอาศัยอยู่ว่าไปแล้วไม่น่าจะเป็นแหล่งที่มีขโมย และก็เป็นซอยตัน แต่เมื่อปีที่แล้วช่วงวันธรรมดาประมาณ บ่ายสองโทมงผมเองกลับมาบ้านพอดีกำลังทำงานบางอย่างอยู่ในบ้าน แต่หารู้ไม่บ้าตรงข้ามมีโจรสองสามคนกำลังงัดแงะและหอบตู้เซฟข้ามรั้วหลบหนีไป ซึ่งรวมมูลค่าทณัพย์สินตามเจ้าของบ้านเล่าให้ฟังก็ใมูลค่าเป็นล้านบาท แต่บ้านหลังนั้นไม่ได้ติดสัญญาณกันขโมยครับ หากมีการติดตั้งก็อาจจะช่วยให้ผมหรือบ้านอื่นๆได้ทราบเพื่อแจ้งเจ้าหน่าที่ได้ทันท่วงที หลังจากเหตุการณ์ผ่านไป เจ้าของบ้านจึงตัดสินใจยอมจ่ายเงินติดตั้งระบบกันขโมย แต่ก็ถือว่าสายไปแล้วครับ แต่ก็ยังดีที่ยังล้อมคอกถึงแม้ว่าจะไม่เหลือวัวก็ตามอย่างน้อยก็ยังพอมีอะไรเหลือในคอกบ้างหละ ระบบสัญญาณกันขโมยในเมืองไทย ในปัจจุบันเมืองไทยมีหลายบริษัทที่นำเข้าเครื่องสัญญาณกันขโมยกันเพียบชนิดที่เรียกไม่ค่อยจะถูกยี่ห้อเลยครับมีทั้งผลิตแถบยุโรป และ อเมริการรวมทั้งประเทศจีน ซึ่งคุณสมบัตินั้นก็ตามราคา ไม่ใช่ของดีราคาถูกจะไม่มี แต่ว่าอาจจะหายากเสียหน่อย สำหรับในความคิดผมแล้วหากคิดตัดใจจะซื้อระบบสัญญาณกันขโมย เราอาจจะต้องยอมจ่ายแพงเสียหน่อยเลือกยี่ห้อดีๆไปเลย เพราะหากระบบมันรวนหรือขัดข้องไม่สามารถใช้งานได้จริงนั้นก็หมายถึงว่าเงินที่จ่ายไปเท่ากับศูนย์เปล่า นอกจากการเลือกที่ยี่ห้อสัญญาณกันขโมยแล้ว สิ่งที่สำคัญอีกจุดก็คือเรื่องของ การบริการหลังการขายของบริษัทที่เราติดตั้ง ผมเชื่อว่าต่อให้เครื่องยี่ห้อดีแค่ไหน ยังไงก็ต้องพึ่งบริษัทในการให้บริการหลังการขายไม่ว่าจะตรวจเช็คและซ่อมแซมกรณีเกิดปัญหา ระบบประกอบด้วยอะไรบ้าง สำหรับระบบสัญญาณกันขโมยที่ผมใชันั้นผมเลือกในแบบเดินสาย ไม่ใช่ไร้สายเพราะเมื่อห้าหกปีที่แล้วระบบสัญญาณกันขโมยแบบไร้สายยังไม่เป็นที่นิยม และเผอิยผมเองก็เพิ่งจะสร้างบ้านเลยเป็นโอกาสเหมาะมากที่จะติดตั้งไปพร้อมๆกับตัวบ้าน ซึ่งก็ทำการหาข้อมูลอยู่นานเพื่อเลือกยี่ห้อที่จะใช้ สำหรับระบบกันขโมยในบ้านโดยหลักแล้ว จะประกอบด้วยอุปกรณ์ดังนี้ครับ
1. ตัวกล่องควบคุมการทำงาน ซึ่งจะทำหน้าที่เหมือน CPU ของคอมพิวเตอร์เป็นกล่องขนาดเล็กใหญ่ต่างกันไปแล้วแต่ยี่ห้อแต่โดยส่วนมากก็จะเท่าๆกับสมุดโทรศัพท์ yellow pages ซึ่งกล่องนี้จะทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมการทำงานของระบบทั้งหมดภายในบ้าน และมีไฟแบตเตอรี่สำรองกรณีไฟดับ หรือคนร้ายตัดระบบไฟภายในบ้าน และการติดตั้งนั้นกล่องควบคุมนี้ก็ควรจะซ่อนให้มิดชิดเพราะหากกล่องนี้ถูกทำลายก็เท่ากับระบบทั้งหมดจะถูกยกเลิกหมดโดยปริยาย
2.ตัวจับความเคลื่อนไหว ตั้งนี้จะเป็นตัวตรวจจับความเคลื่อนไหวภายในบ้านเช่นหากคนร้ายเปิดหลังคาหย่อนตัวลงมาจากฝ้าเพดาน หากเดินมาเจอกับตัวอินฟราเรดนี้ ระบบก็จะทำงานทันที หากเป็นระบบที่ดีแล้วจะมีลำแสงตัดมากกว่าหนึ่งเส้น เพื่อกรณีที่มีสัตว์เลี้ยงภายในบ้านสัญญาณก็จะไม่ร้อง การเลือกตัวจับความเคลื่อนไหวนี้ค่อนข้างสำคัญมากๆๆๆครับ ควรเลือกรุ่นที่ดีๆแพงๆหน่อยเพราะมันจะรวนยาก ไม่ร้องแบบซี้ซั้ว และหากเป็นระบบที่ดีจริงๆอาจจะตรวจสอบได้ถึงอุณหภูมิภายในห้อง หากมีคนร้ายเข้ามาอุณหภูมิเปลี่ยนระบบก็จะทำงานทันที อุปกรณ์ตัวนี้อาศัยไฟเลี้ยงจากกล่องควบคุม
3.แม่เหล็ก เป็นลักษณะแม่เหล็กที่นำไปติดตามประตูหน้าต่างหากกรณีหน้าต่างถูกเปิดออกสัยญาณกันขโมยก็จะทำงานทันที คล้ายๆกับกรณีที่ผมเพิ่งจะโดนไป แต่สำหรับการเดินแถบแม่เหล็กเวลาติดตั้งนั้นหากเอาให้ดี เนี๊ยบๆ ก็ควรติดแบบฝังเข้าในประตูและหน้าต่างไปเลยจะดีกว่าเพราะนอกจากจะเก็บสายไฟได้เรียบร้อยแล้ว ยังป้องกันการโดนตัดสายได้อีกด้วย หากระบบกันขโมยที่ดี หากเมื่อแม่เหล็กโดนตัดสายระบบก็ควรจะทำงานทันทีด้วยเช่นกัน
4.keypad เป็นแป้นปุ่มกดตัวเลขครับ สามารถติดตั้งได้มากกว่าหนึ่งจุด เอาไว้สำหรับการป้อนรหัสควบคุมการทำงานต่างๆเพื่อให้เป็นตัวควบคุมกล่องหลัก เจ้า Keypad ที่ว่าหากจะว่าไปก็เหมือนกับ Keyboard ของคอมพิวเตอร์สำหรับสั่งงานระบบนั่นเอง การทำงานโดยหลักๆก็คือว่าเมื่อก่อนออกจากบ้านก่อนเปิดสัยญาณนั้น เราต้องปิดประตูและหน้าต่างให้หมดก่อน หลังจากนั้นก็ป้อนรหัสผ่านเพื่อสั่งงานระบบ แล้วระบบจะทำการหน่วงเวลาเพื่อให้เราเดินออกจากบ้านก่อนแล้วจึงจะทำงาน ในการเข้ามาในบ้านก็เช่นกันเมื่อเข้าบ้านแล้วจะมีการหน่วงสัยญาณไว้เช่นประมาณ 30 วินาทีเพื่อไปปลด lock การทำงานระบบหากเป็นคนร้ายเข้ามาก็จะไม่รู้รหัสผ่าน และหากเกินเวลาที่กำหนดไว้ระบบก็จะทำงานทันที หากคนร้ายทุบหรือทำลาย Keypad นี้ระบบก็ยังสามารถทำง่นได้ต่อครับ เทคนิคในการติดตั้งก็คือ ควรจะมี Keypad เอาไว้ชั้นล่างของบ้านและในห้องนอน ทุกห้อง ก่อนนอนจะได้เปิดระบบได้ทันที และเมื่อตื่นนอนในตอนเช้าก็สามารถปิดสัญญาณก่อนเดินลงมาจากชั้นบน
5. ไซเรน ส่วนมากจะใช้ไฟ 12 V จากตัวกล่องควบคุมการทำงานเรื่องคุณภาพก็ควรเลือกแบบกันน้ำ และการติดตั้งหากเป็นไปได้ติดตั้งซ่อนไว้ช่วงระแนงหลังคาบ้านก็จะดีมากครับเพื่อป้องกันคนตัดสาย และถ้าจะให้ดีควรมีไซดเรนสักสามตัว คือในบ้านหนึ่งตัว และหน้าบ้าน หลังบ้าน
6.ระบบ Voice Dialer เป็นตัวอุปกรณ์ที่พ่วงกับโทรศัพท์บ้านหากเกิดเหตุ ระบบจะสั่งงานให้โทรออกโดยอัตโนมัติไปยังหมายเลขที่ตั้งเอาไว้ อาจจะได้ถึง 4-5 หมายเลข พร้อมกับการส่งข้อความเสียงฉุกเฉินที่เราบันทึกเอาไว้ก่อนหน้านี้ หากจะให้โทรไปแจ้งที่ สน ก็ได้เช่นกัน แต่ผมไมได้ว่าคุณตำรวจไทย ไม่ใส่ใจนะครับ เพียงแต่ว่าคุณตำรวจส่วนมากจะภาระกิจเยอะและอาจจะไม่มีเวลามารับโทรศัพท์หากเกิดเหตุได้ทัน เพราะฉะนั้นเอาเบอร์ที่คิดว่าช่วยเราได้ก่อนก็แล้วกัน เทคนิคการเลือกอุปกรณ์และการติดตั้ง ก็อย่างที่บอกไปข้างต้นครับว่า ควรจะซื้อแบบยี่ห้อดีๆสักหน่อยไม่ใช่ว่าของเมืองจีนจะไม่ดีเพียงแต่ว่าผมอาจจะยังไม่เจอตัวที่ถูกใจก็ได้ เพราะฉะนั้นหากจะติดระบบแบบนี้ต้องลงทุนในช่วงแรกครับ ราคาโดยเฉลี่ยน่าจะสัก 3 หมื่นบาทขึ้นไป ปัจจุบันก็มีราคาไม่แพงหลายบริษัทเหมทือนกัน แต่เพื่อความชัวร์ขอเลือกของแพงหน่อยก็แล้วกัน สำหรับระบบของที่ผมใช้นั้น เป็นของทางอังกฤษ ราคาเมื่อห้าหกปีที่แล้วตกอยู่ประมาณ 8 หมื่นบาท แต่ยุคนี้น่าจะลดลงมาถูกกว่าเก่าหลายเท่าตัว นอกจากอุปกรณ์ที่ดีแล้วบริษัทติดตั้งก็ควรเลือกแบบที่มีความชำนาญด้วยนะครับโดยเฉพาะหากติดตั้งแบบมีสาย หากช่างไม่ชำนาญรับรองว่าสํญญาณกันขโมยได้ร้องกันอยู่ประจำแน่ๆ เรื่องจุดนี้อย่ามองข้ามนะครับ ช่างติดตั้งสำคัญมากครับ !! ระบบกันขโมยจำเป็นจริงๆเหรอ? เรื่องความจำเป็นนั้นอันนี้แล้วแต่ความชอบครับแต่สำหรับผมเจอเหตุการณ์เรื่องแบบนี้มาสามหนแล้ว ผมเองคิดว่าคุ้มค่าครับเพราะหากมันช่วยป้องกันตัวเราและทรัพย์สินได้สักครั้งหนึ่งก็ถือว่าคุ้มแล้วหละครับ วัวหายล้อมคอกมีให้เห็นบ่อยๆ แต่ที่กลัวก็คือวัวก็หายคนที่จะมาล้อมคอกก็ไม่อยู่แล้วนี่สิครับน่ากลัวกว่า ระบบกันขโมยภายในบ้านทำงานโดยใช้ไฟจากภายในบ้านเลี้ยงระบบการทำงานหากไฟถูกตัดก็จะมีแบตเตอรี่สำรองที่ทำงานได้อีกเป็นสิบชั่วโมง นอกจากระบบกันขโมยจะใมช้สำหรับป้องกันคนร้ายแล้ว โดยส่วนมากระบบจะมีปุ่มกดสำหรับขอความช่วยเหลือโดยเมื่อกดแล้ว ไซเรนในบ้านก็จะทำงานทันที เช่นหากมีคนแก่ หรือเด็กอยู่ในบ้านลำพังแล้วเกิดเป็นลมเป็นแล้งต้องการความช่วยเหลือก็สามารถกด Keypad เพื่อส่งสัญญาณและโทรเข้าหมายเลขที่ตั้งไว้อัตโนมัติ แต่ผมเชื่อว่าหลายคนบอกว่าเหล็กดัดน่าจะชัวร์กว่า อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพความแข็งของเหล็กดัดแต่ตามบ้านจัดสรรต่างๆนั้นผมเห็นวลาเค้างัดเหล็กดัดนั้น ใช้เวลาไม่ถึง 15 วินาทีก็เปิดหน้าต่างออกหมดแล้ว โจรมันไม่ค่อยแงะนะครับอย่าลืม !! ส่วนมากจะใช้ชะแลงงัดทีเดียวก็ออกเลย ผมเลยมองว่าเหล็กดัดเป็นเพียงอุปกรณ์ช่วยถ่วงเวลาได้อีกสัก สิบ ยี่สิบ วินาทีเท่านั้นเอง นอกจากป้องกันการงัดแงะระบบกันขโมยรุ่นที่ดีๆหน่อยก็อาจจะพ่วงกับการทำงานของตัว Smoke Detector ได้อีกด้วยกรณีเกิดประกายไฟ หรือมีควันที่อาจจะทำให้เกิดเพลิงไหม้ระบบสัญญาณก็จะทำงานทันทีเช่นกัน
ผมเองช่วงๆหลังๆก็ไม่ค่อยได้ตามข่าวอะไรมากนักมีมาช่วงสองสามเดือนนี้หละครับที่กำลังจะติดระบบเพิ่มกับที่ออฟฟิศ เลยมีโอกาสศึกษษหาข้อมูลเพิ่มอีกนิด ระบบปัจจุบันสำหรับบ้านที่สร้างเสร็จแล้วก็จะมีระบบกันขโมยแบบไร้สายด้วยนะครับ คล้ายๆ Wi-Fi ภายในบ้านเลย โดยตัวลูกไม่ว่าจะเป็นแถบแม่เหล็กหรือ อินฟราเรดจับความเคลื่อนไหว ก็จะใช้แบตเตอรี่แทน สามารถใช้งานได้หลายเดือน จนถึงเป็นปีกว่าจะเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ และระบบปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อสามารถพ่วงกับระบบ Home automation ได้ด้วยครับ คือสั่งงานควบคุมระบบไฟได้ทั้งหลัง มีการต่อพ่วงกับกล้องวงจรปิดและ Internet สามารถตรวจสอบดูความเคลื่อนไหวภายในบ้านได้อย่างง่ายดาย ก็เป็นการพัฒนาที่ก้าวหน้าค่อนข้างเร็ว สำหรับระบบแบบไร้สายนั้น ตอนนี้ผมเองก็กำลังเสาะหายี่ห้ออยู่เหมือนกันเพราะอาจจะต้องซื้อมาติดที่ ออฟฟิศในเร็วๆนี้ แต่ก็ยังหาถูกใจไม่เจอจังๆ และระบบในปัจจุบันบางยี่ห้อมีการพ่งกับ IP Camera และ Internet เราก็สามารถเข้ามาดูความเรียบร้อยภายในบ้านจาก PDA Phone หรือ Notebook ก็ได้เช่นกันนะครับ
สรุป สำหรับความคิดผมเองแล้วระบบสัญญาณกันขโมยคืออุปกรณ์ที่จำเป็นมากอย่างหนึ่งสำหรับชิวิตและทรัพย์สินของเราแต่หลายๆคนมักมองข้ามไป จะมารู้สึกอีกทีก็ตอนเกิดเหตุแล้ว สำหรับบทความในวันนี้ผมนำประสบการณ์การใช้งานมาเล่าสู่กันฟังนะครับส่วนเรื่องระบบแบบไหน ยี่ห้ออะไรนั้น อันนี้ผมก็ไม่รู้จะบอกอย่างไรดีเหมือนกัน เพราะมีหลากหลายยี่ห้อเหลือเกิน หากจะระบุยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งลงไปเดี๋ยวจะหาว่าผมลำเอียง กลายเป็นการโฆษณาสินค้าบริษัทนั้นๆไปโดยปริยาย ที่มา http://www.mrpalm.com/list3.php?cont_id=410
|