Web Design by Softbiz+
|
เว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014 |
คู่มือ สู้ภัยหนาว รับมืออากาศที่หนาวเย็นที่สุดในรอบ 30 ปี |
ไทยรัฐออนไลน์ วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2553'คู่มือสู้ภัยหนาว'รับมืออากาศที่หนาวเย็นที่สุดในรอบ 30 ปีคู่มือสู้ภัยหนาวกับ "ไทยรัฐออนไลน์" รับมือสภาพอากาศที่หนาวเย็นที่สุดในรอบ 30 ปี หลายจังหวัดต้องประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติฉุกเฉิน และมีผู้เสียชีวิตจากภัยหนาวทั่วประเทศแล้ว... หลังจากที่กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์สภาพอากาศของประเทศไทยว่า ปีนี้อากาศจะหนาวเย็นที่สุดในรอบ 30 ปี และจะหนาวเย็นยาวนานเช่นนี้ไปทุกปี ทำให้กระทรวงสาธารณสุข เร่งจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาภัยหนาว ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ในพื้นที่จังหวัดที่ประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินขึ้น เพื่อติดตามวิเคราะห์สถานการณ์ และดำเนินงานช่วยเหลือประชาชนผู้เดือดร้อน พร้อมทั้งจัดตั้งคลินิกพิเศษในโรงพยาบาล หรือจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ให้บริการรักษาผู้เจ็บป่วยในพื้นที่ห่างไกลเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการเสียชีวิตจากสภาพอากาศหนาวเย็น ![]()
ขณะที่สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ได้กำหนดนิยามและรายงาน "ผู้เสียชีวิตจากภัยหนาว" ว่าต้องเสียชีวิตในหรือนอกที่พักอาศัย บ้าน อาคาร สถานที่ โดยไม่ได้มีเครื่องนุ่งห่มหรือเครื่องห่มกันหนาวอย่างเพียงพอ ในจังหวัดที่ประกาศให้เป็นพื้นที่ภัยหนาวเท่านั้น จากรายงานพบว่า ตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย.-18 ธ.ค. มีผู้เสียชีวิตหลายราย ![]()
นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ที่มีประวัติการมีโรคประจำตัว มีโอกาสเสียชีวิตได้ง่ายหากอากาศหนาวเย็น เพราะผู้เสียชีวิตบางคน มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ หอบหืด ความดันโลหิตสูง ปอดเรื้อรัง เป็นต้น โดยเฉพาะอาการหอบหืดที่ควรมีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ![]()
สำหรับผู้ที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิต ที่สำคัญคือกลุ่มเด็กที่มีอายุตำ่กว่า 5 ปี กลุ่มผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป และกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน หัวใจ และหลอดเลือด หอบหืด ปอดเรื้อรัง ตับ ไต และโลหิตจาง ซึ่งล้วนแต่เป็นกลุ่มที่มีภูมิต้านทานต่ำต่อโรค เกิดการเจ็บป่วยได้ง่าย และ เมื่อป่วยจะมีอาการรุนแรงมากกว่าประชาชนทั่วไป จึงควรระมัดระวังการเจ็บป่วยจากโรค ซึ่งมักพบบ่อยในช่วงฤดูหนาว ได้แก่ โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม หัด หัดเยอรมัน สุกใส และอุจจาระร่วง รวมถึงโรคที่เกิดจากสภาพอากาศที่แห้ง เช่น โรคผิวหนัง ![]() สำหรับสิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงอย่างเด็ดขาด คือ การดื่มสุรา ที่เข้าใจว่าจะช่วยสร้างความอบอุ่นให้กับร่างกาย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดอย่างยิ่ง ห้ามผิงไฟในเต็นท์ เพราะจะทำให้สารพิษเข้าสู่ทางเดินหายใจ ห้ามนำเด็กเข้าใกล้บริเวณก่อไฟ เพราะควันไฟจะระคายเคืองเยื่อบุทางเดินหายใจเด็ก ห้ามนอนในที่แจ้ง ลมโกรก โดยไม่มีเครื่องป้องกันให้ความอบอุ่นร่างกาย ห้ามอยู่ในสถานที่แออัด ทำให้ได้รับเชื้อโรคได้ง่าย และห้ามคลุกคลีใกล้ชิดผู้ป่วย หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องใส่ใจในการป้องกันร่างกาย เช่น การล้างมือบ่อยๆ การสวมหน้ากากอนามัย เป็นต้น.
|