Home » หมู่บ้าน นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร » นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เพื่อการบริหารจัดการหมู่บ้าน

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เพื่อการบริหารจัดการหมู่บ้าน

วันเสาร์ ที่  13 สิงหาคม 2554  :  กฎหมายรอบรั้ว

นิติบุคคลหมู่บ้านฯ คำตอบสุดท้าย

           แม้จะมีรูปแบบการบริหารจัดการหมู่บ้านจัดสรรภายหลังสิ้นสุดการดูแลของบริษัทเจ้าของโครงการ ในปัจจุบันมีอยู่หลายวิธี แต่หลังจากมี พ.ร.บ. จัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 ซึ่งเป็นวิธีภาครัฐที่ได้คิดขึ้นมาเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านจัดสรรได้จัดตั้งนิติบุคคลขึ้นมาทำหน้าที่บริหารจัดการ ในนามคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร เช่น การรักษาความปลอดภัย ความสะอาด การจัดเก็บขยะ การดูแลสาธารณูปโภค และทรัพย์สินส่วนกลาง ตลอดจนการดูแลข้อระเบียบข้อบังคับของการอยู่ร่วมกันต่าง ๆ เกือบทุกโครงการก็มักจะโยนภาระให้ลูกบ้านรับผิดชอบ

          ทั้งนี้ บริษัทเจ้าของโครงการจะได้ประโยชน์จากการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร คือ บริษัทเจ้าของโครงการสามารถโอนหน้าที่การบำรุงรักษาสาธารณูปโภค และบริการสาธารณะ ให้เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อบ้านจัดสรรผ่านทางนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแทนทั้งหมด โดยมีหน้าที่เพียงจ่ายค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภค และบริการสาธารณะ เฉพาะแปลงที่ดินที่ยังไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้บุคคลภายนอกได้เท่านั้น

           ไม่เพียงเท่านั้นเจ้าของโครงการจะได้รับเงินประกันคืนจากกรมที่ดิน ซึ่งสำหรับหมู่บ้านขนาด 100 หลังขึ้นไป ก็จะเป็นหลักล้านเลยทีเดียว เพราะตาม พ.ร.บ.การจัดสรร พ.ศ. 2543 เจ้าของโครงการต้องจัดหาหลักประกันสาธารณูปโภคให้กับคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน เพื่อก่อสร้างสาธารณูปโภคก่อนขายโครงการ 15% ของมูลค่าก่อสร้าง และเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ มีการตรวจการใช้งานผ่านแล้ว บริษัทเจ้าของจึงสามารถขอหลักประกันคืนได้ แต่ยังคงต้องมีหลักประกันไว้อีก 7% ของมูลค่าก่อสร้างสาธารณูปโภค เพื่อใช้สำหรับบำรุงรักษาสาธารณูปโภคภายในโครงการหมู่บ้านจัดสรรนะครับ

           และเมื่อปิดโครงการ และมีผู้อยู่อาศัยถึงตามเกณฑ์ที่กำหนด บริษัทเจ้าของโครงการต้องส่งมอบสาธารณูปโภคให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเป็นผู้ดูแลต่อไป และต้องโอนเงิน 7% ดังกล่าวเข้าบัญชีนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรทันที (บางโครงการมีการตั้งตัวแทน หรือนอมินี) เพื่อให้มีการจัดตั้งนิติบุคคลฯ สำเร็จจนได้


           ผู้ซื้อบ้านในโครงการหมู่บ้านจัดสรร จึงควรศึกษา และทำความเข้าใจถึงวิธีการ ขั้นตอนการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้ดี และต้องตรวจสอบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ภายในโครงการให้ถี่ถ้วน หากพบปัญหาข้อบกพร่องต่าง ๆ จะต้องให้ทางบริษัทเจ้าของโครงการแก้ไขให้เรียบร้อยเสียก่อน

           และยังต้องขอความร่วมมือจากสมาชิกในการจ่ายค่าส่วนกลาง การบริหารจัดการโดยคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรต้องโปร่งใสชัดเจน และสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลานะครับ.
 

ดินสอพอง

ที่มา   http://dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=507&contentID=156792