Home » หมู่บ้าน นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร » หมู่บ้านจัดสรร กับ การบริหารจัดการกับสาธารณูปโภคส่วนกลาง โดยนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
หมู่บ้านจัดสรร กับ การบริหารจัดการกับสาธารณูปโภคส่วนกลาง โดยนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

เรื่องของนิติบุคคลฯบ้านจัดสรร

dailynews.co.th กฎหมายรอบรั้ว วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม 2555

          การจัดการกับสาธารณูปโภคภายในหมู่บ้านจัดสรรในอดีตนั้น มีอยู่ 3 วิธี คือ หนึ่งเจ้าของโครงการหมู่บ้านจัดสรรจัดตั้งคณะกรรมการหมู่บ้านให้ มีการเก็บค่าสาธารณูปโภคส่วนกลาง แต่บางหมู่บ้านเมื่อเวลาผ่านไปก็มีความไม่โปร่งใสเกิดขึ้น นานๆ เข้าเกิดความแตกแยกต่างคนต่างอยู่ สอง สมาชิกในหมู่บ้านรวมตัวกันด้วยเสียงเกินกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนแปลงย่อยทั้งหมด (1 แปลงต่อ 1 เสียง) ยื่นเรื่องกับกรมที่ดินเพื่อขอจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และสาม โอนสาธารณูปโภคทั้งหมดให้กับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเท่ากับโอนให้เป็นที่สาธารณะใครจะทำอะไรก็ได้ไม่มีกฎกติกาประจำหมู่บ้านแต่ปัจจุบัน กฎหมาย (พรบ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ./2543) กำหนดให้มรการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร โดยมีสาระสำคัญดังนี้ครับ

  • เมื่อผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนแปลงย่อย (ตามแผนผังโครงการมีมติให้จัดตั้ง และตั้งตัวแทนยื่นคำขอจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินที่รับผิดชอบ พร้อมข้อบังคับ ตามที่กฎหมายกำหนด) (ตาม มาตรา 45)
     
  • ให้คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรเป็นผู้ดำเนินกิจการของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามกฎหมายและข้อบังคับของ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรภายใต้การควบคุมดูแลของที่ประชุมใหญ่ของสมาชิก คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร เป็นผู้แทนของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก (ตาม มาตรา 46)
     
  • ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทุกคนเป็นสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรในกรณีที่มีที่ดินจัดสรรแปลงย่อยที่ยังไม่มีผู้ใดซื้อให้ผู้จัดสรรที่ดินเป็นสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแทน (ตาม มาตรา 47)
     
  • นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีอำนาจหน้าที่ กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ของสาธารณูปโภค, กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการอยู่อาศัยและการจราจรภายในที่ดินจัดสรร, เรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคจากสมาชิก (ค่าส่วนกลาง), ยื่นคำร้องทุกข์หรือเป็นโจทก์ฟ้องแทนสมาชิกเกี่ยวกับกรณีที่มีการกระทบสิทธิหรือประโยชน์ของสมาชิกจำนวนตั้งแต่สิบรายขึ้นไป, จัดให้มีบริการสาธารณะเพื่อสวัสดิการของสมาชิก หรือจัดสรรเงินหรือทรัพย์สินเพื่อสาธารณประโยชน์ และดำเนินการอื่นใด ตามที่กฎหมายกำหนด (ตาม มาตรา 48)
     
  • ให้มีการจัดเก็บค่าส่วนกลางจากที่ดินแปลงย่อยในโครงการจัดสรรที่ดินทุกแปลง (ตาม มาตรา 49)
     
  • การชำระค่าส่วนกลางล่าช้า อาจต้องจ่ายค่าปรับตามอัตราที่คณะกรรมการกำหนด กรณีค้างชำระค่าส่วนกลางติดต่อกันตั้งแต่สามเดือนขึ้นไป อาจถูกระงับการให้บริการหรือการใช้สิทธิในสาธารณูปโภค และกรณีที่ค้างชำระติดต่อกันตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป พนักงานเจ้าหน้าที่ดินมีอำนาจระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของผู้ค้างชำระจนกว่าจะชำระให้ครบถ้วน และถือว่าหนี้ค่าส่วนกลางเป็นหนี้บุริมสิทธิ ในมูลรักษาสังหาริมทรัพย์เหนือที่ดินจัดสรร (ตาม มาตรา 50)

        ทั้งหมดก็เพื่อให้ หมู่บ้านจัดสรรน่าอยู่ สมาชิกในหมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดิน เพราะหากมีบ้านสวยงาม ราคาแพงแต่สิ่งแวดล้อมภายในหมู่บ้านไม่ปลอดภัยแล้ว ก็ไม่มีความหมาย ถูกต้องหรือเปล่าครับ.

ดินสอพอง
ที่มา http://www.dailynews.co.th/article/950/135760