Home » หมู่บ้าน นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร » ข้อแนะนำในการเป็นเพื่อนบ้านที่ดี สำหรับ ชาวหมู่บ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียม

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
ข้อแนะนำในการเป็นเพื่อนบ้านที่ดี สำหรับ ชาวหมู่บ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียม

7 วิธีเวิร์คและง่ายในการเป็นเพื่อนบ้านที่ดี

1. ทำความรู้จักกับเพื่อนบ้าน

เมื่อเราเพิ่งย้ายเข้าไปเป็นสมาชิกใหม่ในหมู่บ้านหรือคอนโดมิเนียมใด การออกไปทักทายทำาความรู้จักกับเพื่อนบ้าน นอกจากจะเป็นมารยาททางสังคมขั้นพื้นฐาน ยังเป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้พบหน้าค่าตา และทำาความรู้จักกับบรรดาเพื่อนใหม่ในสังคมเล็กๆ ที่จะต้องอาศัยอยู่ร่วมกันไปอีกเป็นเวลานานแสนนาน

2. ยิ้มแย้มแจ่มใส กล่าวคำทักทาย เมื่อเจอกัน

แค่รอยยิ้มและคำาทักทายไถ่ถามง่ายๆ (บวกความจริงใจเต็มสิบ) อย่าง “อรุณสวัสดิ์ครับ” “ช่วงนี้อากาศเปลี่ยน ระวังเป็นหวัดนะคะ”  “วันหยุดนี้ไม่ไปเที่ยวที่ไหนหรือครับ” เพียงเท่านี้เกิดความรู้สึกดีๆ ที่เรียกว่ามิตรภาพ ก็ถูกเพาะพันธุ์ ตรงริมรั้วบ้านหรือโถงทางเดินเป็นที่เรียบร้อย

3. ผูกสัมพันธ์ ด้วยน้ำใจเล็กๆ น้อยๆ

ข้อนี้ง่ายมากเพราะเราคนไทยมักถูกปลูกฝังมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย อย่างวันไหนทำาแกงเผ็ด ก็แบ่งใส่ถ้วยเล็ก ไปให้คุณป้าข้างบ้าน ถ้ามะม่วงหลังบ้านออกลูกดกดีนัก ลองเลือกลูกสวยๆ ใส่ตะกร้าไปให้คุณน้าบ้านตรงข้าม หรือไปเที่ยวสุพรรณบุรีมา เลยซื้อขนมสาลี่มาฝากพี่ข้างห้องให้ลองชิม รับรองว่าอิ่มอกอิ่มใจทั้งผู้ให้และผู้รับ

4. รักษากฎของ การอยู่ร่วมกัน ในสังคม

แม้จะคุ้นเคยกันดีแล้ว แต่การรักษากฎของการอยู่ร่วมกัน เป็นเรื่องสำาคัญที่ต้องจำาไว้ตลอดกาล ถึงเพื่อนบ้านจะมีน้ำาใจ แต่เราก็ไม่ควรหยิบยืมข้าวของมาใช้บ่อยเกินไป จนชวนระอา การติฉินนินทาเพื่อนบ้าน การจอดรถขวางทาง การเอาขยะมากองหน้าบ้านคนอื่น ล้วนเป็นพฤติกรรมสารพัดยี้ ที่ตัวเราเองยังรับไม่ได้เลยจริงมั้ย...

5. สร้างการมีส่วนร่วมเสมอ

หากที่บ้านมีการจัดงานต่างๆ อย่างทำาบุญขึ้นบ้านใหม่ รดน้ำาดำาหัวผู้ใหญ่ วันสงกรานต์ หรือจะเป็นปาร์ตี้สังสรรค์ส่งท้ายปี ฯลฯ ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเชื้อเชิญเพื่อนบ้านให้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อความสมัครสมานสามัคคี ลองใช้โอกาสช่วงนี้พูดคุยแลกเปลี่ยนทรรศนะ เพื่อสร้างความสนิทสนมให้มากยิ่งขึ้น เมื่อถึงเวลาที่เค้าเชิญเรามาบ้าง ก็อย่าลืมนำาอาหาร เครื่องดื่ม หรือของฝากติดไม้ติดมือไปแจมด้วยแล้วกัน

6. บอกเล่าเก้าสิบ ก่อนคิดการใหญ่

ต่อเนื่องมาจากข้อห้า เพราะบางทีงานที่ว่าอาจนำามาซึ่งเสียงพูดคุย เสียงดนตรี เสียงเอะอะ ที่ดังทะลุทะลวงทำาลายโสตประสาทและ ความสงบโดยรวมได้ ไม่เว้นแม้แต่การต่อเติมซ่อมแซมบ้านซึ่งส่งเสียงดัง และฝุ่นควันคละคลุ้ง การบอกกล่าวให้เพื่อนบ้านรู้ล่วงหน้า เขาจะได้มีเวลาเตรียมตัวเตรียมใจ (บางคนจะได้วางแผนหนีไปเที่ยวที่อื่นทัน) ไม่ต้องมาหงุดหงิดใส่กันทีหลัง ให้เสียความรู้สึกอันดีไปเปล่าๆ

7. เป็นหูเป็นตา เวลาเพื่อนไม่อยู่บ้าน

บ่อยครั้งที่เจ้าหัวขโมยต้องโกยอ้าว หรือถูกตำารวจรวบตัวเข้าซังเตได้ทันท่วงที เพราะมีเพื่อนบ้านดีๆ คอยทำาหน้าที่เป็นหูเป็นตาแทนเจ้าของบ้าน ไหนๆ ฟ้าก็กำหนดให้มาอยู่บ้านใกล้เรือนเคียงกัน การช่วยสอดส่องดูแลความเรียบร้อยให้กันและกัน จึงเป็นเรื่องที่ควรใส่ใจทำาอย่างยิ่ง อย่าลืมแลกเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์สำหรับใช้ในยามฉุกเฉิน เวลาเกิดเหตุไม่ชอบมาพากล จะได้โทรแจ้งข่าวเพื่อนบ้านได้ทันท่วงที โดยไม่ลืมโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ตำารวจให้มาจัดการ

ที่มา  นิตยสาร Better Living http://www.pruksa.com/elctfl/download/download-th-8.pdf