Home » หมู่บ้าน นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร » ยุทธวิธี การทวงหนี้ค่าส่วนกลาง นิติบุคคลอาคารชุด/หมู่บ้านจัดสรร

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
ยุทธวิธี การทวงหนี้ค่าส่วนกลาง นิติบุคคลอาคารชุด/หมู่บ้านจัดสรร

 

ที่มา สยามธุรกิจ > อสังหาริมทรัพย์ > ขาประจำ                         [ ฉบับที่ 847 ประจำวันที่ 21-11-2007 ถึง 23-11-2007 ]           

     
         ยิบหนังสือพิมพ์ที่คนส่งเทียบไว้หน้าประตูรั้วมาเปิดอ่านเมื่อหลาย วันก่อนนู้น เจอข่าวพาดหัวตัวโตๆ 

         “คนทวงหนี้ฮึดตั้งสมาคม”

ในฐานะที่อยู่ในแวดวงต้องปฏิบัติภารกิจ “เร่งรัดหนี้” กับเขาด้วยคนหนึ่ง มีความสนใจเผื่อจะสมัครเป็นสมาชิกกับเขามั่ง แต่ตรวจสอบรายละเอียดข่าวแล้วเป็นคนละวงการ

ผมทวงหนี้เฉพาะค่าส่วนกลางของหมู่บ้านและคอนโดฯ แต่กลุ่มที่รวมตัวกันก่อตั้งเป็นสมาคมเป็นพวก “มือปืนรับจ้าง” เลยเลิกล้มความตั้งใจที่จะยื่นใบสมัครเข้าร่วมก๊วน

จะว่าไป ยุทธการทวงหนี้ของผู้บริหาร หมู่บ้านและคอนโดมิเนียมไม่จำเป็นต้องรวมตัวรวมตัวก่อตั้งเป็นสมาคมแต่อย่างใด เพราะปฏิบัติด้วยความอะลุ้มอล่วยถ้อยทีถ้อยอาศัย โดยเริ่มจากยุทธวิธีแบบนิ่มๆ และค่อยๆ ทวีความเข้มข้นตามระยะเวลาค้างชำระที่เนิ่นนาน ซึ่งมีอยู่ 8-9 ขั้นด้วยกัน

เริ่มจากส่ง “หนังสือเตือน” หนึ่งถึงสองครั้งเว้นระยะความห่าง 15-30 วัน โดยฉบับแรกแจ้งเพียงเบาๆ ฉีกซองอ่านแล้ว ผู้ค้างไม่รู้สึกโกรธขึ้งแถมยังอาจจะฉีกยิ้มเอาเสียด้วยซี

คณะกรรมการตระหนักดีว่า ท่าน มีกิจการที่ต้องทุ่มเทเวลาบริหารค่อนข้างมากจนอาจจะลืมเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่มีความสำคัญทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมต่อชีวิตและทรัพย์สินส่วนรวมของทุกๆ คน เนื่องจากชุมชนของเราจะต้องนำเงินไปชำระสาธารณูปโภคส่วนกลาง รวมทั้งจ่าย ค่าจ้างพนักงานดูแลรักษาความปลอดภัย ค่าแม่บ้านทำความสะอาดและอื่นๆ อีกจิปาถะ ได้รับจดหมายฉบับที่แล้วกรุณาแจ้งฝ่ายบัญชีของท่านให้ส่งเช็คไปชำระภายในเดือนนี้ด้วย จักขอบคุณและขอให้กิจการของท่านเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป

สำบัดสำนวนจดหมายเตือนฉบับแรกคงคล้ายๆ ทำนองนี้ ส่วนฉบับที่สองจะเพิ่มความดุดันเพิ่มขึ้นอีกหน่อย

กรุณานำเงินค่าใช้จ่ายส่วนกลางไปชำระให้กับนิติบุคคลภายใน 15 วัน หากเกินกำหนดเวลาท่านจะต้องเสียค่าปรับในอัตราร้อยละสิบต่อเดือนของวงเงินที่ค้างชำระและนอกจากนั้นคณะกรรมการ (หมู่ บ้าน-คอนโดฯ) ขออภัยที่จะต้องปฏิบัติตาม กฎระเบียบข้อบังคับโดยไม่สามารถหลีก เลี่ยงได้

เชื่อขนมกินได้เลยว่าเมื่อได้รับหนัง สือ เตือนสองฉบับนี้จะมีผู้นำเงินที่ค้างไปชำระเพิ่มขึ้นอีกหลายราย โดยเฉพาะผู้ที่มีผิวหน้า บางๆ จะเกิดความละอาย แต่ส่วนที่เป็น “อย่างหนา” ต้องนำยุทธวิธีลำดับต่อไปมาใช้

มาตรการทวงหนี้ขั้นต่อมา “ยกเลิกบัตรหรือสติกเกอร์ผ่านเข้าออกหมู่บ้านและคอนโดฯ” ผู้ค้างชำระจะต้องหันมาแลกบัตรเหมือนเช่นบุคคลภายนอกทั่วๆ ไป

ยุทธวิธีนี้จะสงผลให้ผู้ค้างชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางไม่ได้รับความสะดวกเช่นที่เคย รวมทั้งเกิดความละอายเพื่อนร่วมซอย สุด ท้ายจะยินยอมจ่ายโดยปริยาย

ยุทธวิธีต่อมา “คิดค่าปรับ” ในอัตราสูงๆ เข้าไว้ และไม่ต้องมัวกริ่งเกรงว่าจะผิดกฎหมายฉบับใดๆ
(**แก้ไข**ดูการคิดเงินเพิ่มใน พรบ.2551)
เพราะเป็นเพียงคำขู่ให้นำเงินที่ค้างไปชำระเท่านั้น และส่วนใหญ่เมื่อ ผู้ค้างนำเงินไปชำระแม้จะช้าหรือเลยระยะเวลาที่กำหนดคณะกรรมการก็มักผ่อนผันไม่ต้องจ่ายค่าปรับตามที่แจ้งสักกะราย 
งดให้บริการโทรศัพท์ผ่านศูนย์”นี่ก็เป็นอีกยุทธวิธีสำหรับคอนโดมิเนียมที่ยังมีการติดต่อโดยระบบนี้ ซึ่งมีน้อยเต็มทีและอาจจะไม่ได้ผลเท่าที่ควร เหตุเพราะมีเครือข่ายมือถือที่สะดวกสบายและรวดเร็ว กว่ากันมากมาย

งดจ่ายน้ำประปาหรือบาดาล” หากห้องชุดหรือบ้านหลังใดติดค้างในระยะเวลานานๆ มาตรการนี้หากหยิบยกมาใช้เมื่อไหร่ตอนไหนรับรองว่าได้ผลเกือบทุกครั้ง เพียง แต่ระมัดระวังถูกแจ้งความจับข้อหาละเมิดอำนาจและหรือเป็นจำเลยต้องขึ้นโรงขึ้นศาล ก็แล้วกันจะบอกให้ คณะกรรมการบริหารและผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดที่นำยุทธวิธีนี้มาใช้ โดนจับพิมพ์ลายนิ้วมือและหาหลักทรัพย์ประกันตัวมาแล้วนักต่อนัก

งดสิทธิ์ใช้บริการสโมสรคลับเฮาส์และสระว่ายน้ำส่วนกลาง” ในกรณีที่หมู่บ้านและคอนโดฯ นั้นๆ มีสิ่งอำนวยประโยชน์สุข ส่วนนี้ แต่ข้อจำกัดนี้คณะกรรมการบริหารจะต้องเสียเงินว่าจ้างพนักงานเอาไว้คอยตรวจเช็กหรือมีกุญแจปิดล็อกตลอดเวลา

อีกยุทธวิธีนิ่มๆ ที่คณะกรรมการหมู่ บ้านและคอนโดฯ หลายที่หลายแห่งหยิบ ยกมาใช้บ่อยๆ คือ “แขวนป้ายขอบคุณ” บริเวณหน้ารั้วบ้านผู้จ่ายให้เพื่อนร่วมซอยได้ พบเห็นกันทั่วๆ

นัยว่ายุทธวิธีนี้นอกจากผู้ไม่มีป้ายจะเกิดความละลายแล้ว ยังป้องกันมิให้คณะกรรมการถูกแจ้งความหมิ่นประมาทอีกด้วย

ยื่นโนติส” โดยมอบหมายให้สำนัก งานทนายความเป็นผู้ดำเนินการ ก็เหมาะสำหรับรายที่ดื้อแพ่งไม่ยินยอมชำระหนี้ค้างในระยะเวลานานเกินปกติ ทั้งๆ ที่หยิบยกมาตรการอื่นๆ นำมาใช้แทบทุกยุทธวิธี

กลยุทธ์เร่งรัดหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางแบบสุดท้าย “ฟ้องร้องดำเนินคดี” ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ซึ่งแทบทุกรายที่เคยดื้อรั้นและยกแม่น้ำท่าโน้นท่านี้ขึ้นมาอ้าง จะยินยอมควักกระเป๋าชำระทุกรายไปจะไม่อ่อนหงอได้ยังไง ก็ตัวบทกฎหมาย ทั้งของหมู่บ้านและของคอนโดฯ บัญญัติเอาไว้ค่อนข้างแรง

เอาของตึกสูงลอยฟ้าก่อนเป็นไร มาตรา 41 พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 
(ดูเพิ่มเติมในพรบ.ใหม่2551) กำหนดไว้หยั่งงี้ 

“เพื่อประโยชน์ในการบังคับชำระ หนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางให้นิติบุคคลอาคาร ชุดมีบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ ที่เจ้าของห้องชุดนำมาไว้ในห้องตน และ ถ้าผู้จัดการได้ส่งรายการหนี้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วให้ถือว่าเป็นหนี้ลำดับก่อนจำนอง”ส่วนของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรในมาตรา 50 กำหนดเอาไว้รุนแรงยิ่งกว่า

“ผู้ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกล่างล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนดจะต้องจ่ายค่าปรับตาม อัตราที่คณะกรรมการกำหนด ส่วนผู้ค้างติดต่อกันตั้งแต่ 3-6 เดือนขึ้นไปอาจจะถูกระงับการใช้สิทธิ์ในสาธาร- ณูปโภคและระงับการจดทะเบียนนิติกรรมในที่ดินจัดสรร รวมทั้งให้ถือ ว่าหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลางเป็นหนี้บุริม สิทธิในมูลหนี้อสังหาริมทรัพย์เหนือที่ดินจัดสรรของผู้ค้างชำระ”

อย่างที่บอก เจอมาตรการทวงหนี้ยุทธวิธีสุดท้ายผู้ค้างชำระแทบทุกรายมักจะขอนัดพบเจรจาประนีประนอมกับผู้บริหารโครงการหลังการขายโดยด่วน จะมีเพิกเฉยอยู่บ้างตรงบ้านและห้องชุดที่เป็นเอ็นพีแอลเท่านั้นเถอะ...จะประสบผลหรือผิดหวังก็ต้องทดลองนำยุทธวิธีนี้ไปใช้ดูสักตั้ง!!

ที่มา www.siamturakij.com