Home » หมู่บ้าน นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร » นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร กับการเสียภาษีเงินได้

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร กับการเสียภาษีเงินได้

เงินได้ที่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรต้องเสียภาษี

dailynews.co.th - กฎหมายรอบรั้ว วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2556

         นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรนอกจากจะมีรายได้จากค่าบริการส่วนกลางที่จัดเก็บสมาชิกในหมู่บ้านจัดสรรแล้ว หากนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรนั้นมีรายได้อื่น ๆ ที่มาจากบุคคลภายนอก รวมถึงรายได้ที่มาจากสมาชิกในหมู่บ้านจัดสรรเอง แต่เป็นรายได้อื่นซึ่งมิใช่รายได้จากค่าบริการส่วนกลางดังกล่าวแล้ว จะไม่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มตามประกาศของสรรพากร นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรนั้นจึงมีหน้าที่ต้องนำรายได้อื่น ๆ นั้น มารวมคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล พร้อมทั้งยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี และฐานภาษีมูลค่าเพิ่มจากรายได้ค่าบริการที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี จะต้องไม่เกินหนึ่งล้านแปดแสนบาทต่อปี (นับตามปีปฏิทิน) ตามข้อยกเว้นสำหรับกิจการขนาดย่อมแล้ว

         กรณีฐานภาษีมีจำนวนเกินกว่าหนึ่งล้านแปดแสนบาทต่อปี นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรนั้น มีหน้าที่ต้องขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากฐานภาษีรายได้ค่าบริการจัดเก็บจากบุคคลอื่น นำส่งกรมสรรพากรภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป นับจากเดือนที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นเกิดขึ้น

        
นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร มีหน้าที่จัดทำรายงานกิจการ งบดุล บัญชีรายรับรายจ่ายซึ่งผู้สอบบัญชีได้รับรองแล้วต่อกรมที่ดินในจังหวัดภายใน 3 เดือนนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี และประกาศรายงานดังกล่าวโดยเปิดเผยให้สมาชิกของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรทราบโดยทั่วกัน พร้อมทั้งจัดทำบัญชีตามหลักการบัญชี (ตามระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และการจัดการสาธารณูปโภค และการจัดทำบัญชี) แสดงงบรายรับรายจ่ายในแต่ละเดือนเก็บไว้ ณ ที่ตั้งสำนักงาน ออกหลักฐานเป็นหนังสือให้แก่ผู้ชำระเงินทุกครั้งและมีสำเนาเก็บไว้อย่างน้อยหนึ่งฉบับโดยต้องมีรายการอย่างน้อย ดังนี้ ชื่อของสำนักงานผู้รับชำระเงิน, วัน เดือน ปี ที่รับเงิน, ชื่อผู้ชำระเงิน, จำนวนเงินที่รับชำระทั้งตัวเลขและตัวอักษร, ข้อความที่ระบุว่าได้มีการรับเงินค่าใช้จ่ายประจำเดือนใดไว้เป็นการถูกต้อง, ข้อความที่ระบุว่าได้มีการรับเงินค่าปรับประจำเดือนใดไว้เป็นการถูกต้อง (ถ้ามี) และลายมือชื่อผู้รับเงิน พร้อมตราประทับ (ถ้ามี)

         ทั้งนี้หลักเกณฑ์และข้อกำหนดทางกฎหมายในการควบคุม การดำเนินงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรยังมีข้อบกพร่องที่สมควรนำไปพิจารณาปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้รัดกุมและสอดคล้องกับธรรมเนียมปฏิบัติของนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ๆ เช่น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนตามประมวลรัษฎากร หรือนิติบุคคลอาคารชุดตาม พ.ร.บ.อาคารชุด ด้วยนะครับ.


ดินสอพอง http://www.dailynews.co.th/article/950/192262