Home » หมู่บ้าน นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร » 9 สูตรบริหาร“นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร”

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
9 สูตรบริหาร“นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร”

โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 27 กันยายน 2553

       "ควันหลง" ของการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “กลยุทธ์และยุทธวิธีการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร” ของสมาคมนักบริหารอาคารชุดและหมู่บ้านจัดสรรเมื่อเร็วๆนี้ ประเด็นที่มีการกล่าวถึงค่อนข้างมาก ได้แก่ การติดค้างชำระค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ โดยเฉพาะ “บทกำหนดโทษ” ด้วยการระงับการจ่ายสาธารณูปโภค ประเภทน้ำประปา ด้วยการถอดมาตรวัดน้ำประปา สมาชิกผู้ซื้อที่ดินจัดสรรรายซึ่งค้างชำระ เป็นการดำเนินการโดยชอบตามกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย
       
       กรณีข้างต้นเป็น “ควันหลง” ที่ มีการกล่าวถึงกันพอสมควร ทรรศนะส่วนบุคคลของผม มองว่าการบริหารงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนเกี่ยว ข้องกับคนจำนวนมาก ดังนั้น ถ้าคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรขาดความชำนาญหรือประสบการณ์หรือยุทธวิธี อาจไม่ประสบความสำเร็จในการบริหารคนจำนวนมากในพื้นที่เดียวกันได้
       
       ผม กล่าวถึงประเด็นการบริหารงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรในวันสัมมนา “เจาะลึกกลยุทธ์และยุทธวิธีการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร” ว่า คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรควรพิจารณาปัจจัยหรือองค์ประกอบในการบริหารงาน นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้ประสบความสำเร็จ มีอยู่ด้วยกัน 9 ข้อ ดังนี้      

  1. การจัดระบบงานและกำหนดแผนงานบริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรล่วงหน้า      
  2. การจัดวางงบประมาณ (รายรับ-รายจ่าย) รายปีให้สอดคล้องกับการบริหารงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร    
  3. การคัดเลือกบุคลากรรองรับการบริหารงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรพร้อมจัดหลักสูตรการฝึกอบรมเป็นระยะๆ  
  4. การ จัดวางกฎระเบียบและข้อควรปฏิบัติการใช้ประโยชน์ในที่ดินของผู้ซื้อที่ดินจัด สรร และพื้นที่บริการสาธารณะหรือสาธารณูปโภคส่วนกลาง    
  5. การจัดทำบัญชีและการเงิน การธนาคาร การอนุมัติเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายการบริหารงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
  6. การซ่อมแซมปรับปรุงสาธารณูปโภค หรือการเสริมสร้างบริการสาธารณะต่อสมาชิกผู้ซื้อที่ดินจัดสรร    
  7. การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การจัดทำระเบียบข้อบังคับหรือข้อควรปฏิบัติและข้อห้ามเผยแพร่ต่อสมาชิกผู้ซื้อที่ดินจัดสรร     
  8. การ ไกล่เกลี่ยประนีประนอมยอมความ หรือการแก้ไขปัญหาพิพาทระหว่างผู้ซื้อที่ดินจัดสรรกับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือบุคคลภายนอกด้วยหลัก “นิติศาสตร์” ควบคู่ “รัฐศาสตร์”     
  9. การ กำหนด “บทลงโทษ” ต่อสมาชิกผู้ซื้อที่ดินจัดสรรรายซึ่งละเมิดหรือไม่นำพาต่อคำตักเตือนเพื่อ ให้เกิดความชัดเจน เด่นชัดและเป็นรูปธรรมในสายตาของสมาชิกรายอื่น

       ดังนั้น แนวทางทั้ง 9 ข้างต้น น่าจะเป็นธงหรือนโยบายบริหารหลักของการบริหารงานนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร โดยคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร เป็นแนวทางปฏิบัติ เพื่อลดอุปสรรคให้ทุเลาเบาบางได้ระดับหนึ่ง
 

นายพิสิฐ ชูประสิทธิ์
ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายอาคารชุดและการจัดสรรที่ดิน
โทรศัพท์ : 089-814-2297 , 089-487-368

ที่มา  http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9530000135501