Home » หมู่บ้าน นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร » สิ่งดีๆ เมื่อจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
สิ่งดีๆ เมื่อจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร” คือบุคคลตามกฎหมายที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการจัดสรร พ.ศ. 2543 ดำเนินงานโดยคณะกรรมการหมู่บ้าน ที่สมาชิกผู้อยู่อาศัยในโครงการหมู่บ้านเลือกตั้งกันขึ้นมา

        การจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร นอกจากจะทำให้เรามีผู้เป็นตัวแทนหมู่บ้านแล้ว ยังทำให้หมู่บ้าน หรือเรา ที่เป็นสมาชิกผู้อยู่อาศัยนั้นๆ มีแต่สิ่งดีดีตามมาอีกตั้งหลายอย่าง ไปดูกันเลยครับ

  • ได้รับทรัพย์สินส่วนกลางเป็นของผู้ซื้อบ้าน โดยนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจะเป็นผู้รับโอนที่ดินในส่วนที่เป็นสาธารณูปโภคภายในโครงการ เช่น ถนน สวน และบริการสาธารณะอย่างเช่นสโมสร จากเจ้าของโครงการมาเป็นของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร และสมาชิกทุกคนก็จะมีสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของร่วมกัน
  • ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนและภาษีจากภาครัฐ เนื่องจากตามปกติแล้ว การโอนบ้านหรือที่ดินจะต้องมีการเสียภาษีให้กรมสรรพากร แต่สำหรับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรที่จดทะเบียนแล้วนั้น การโอนที่ดินในส่วนสาธารณูปโภค หรือสโมสร จะได้รับการยกเว้นเป็นกรณีพิเศษตามประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 378) พ.ศ.2544
  • สาธารณูปโภคส่วนรวมที่อาจจะชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา จะมีงบประมาณในการซ่อมแซมแก้ไข เพราะในกรณีของที่ดินจัดสรรที่เกิดหลังพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 นั้น กฎหมายระบุว่าผู้จัดสรรที่ดินต้องส่งมอบเงินสมทบให้ในอัตราร้อยละ 7 ของราคาค่าก่อสร้างสาธารณูปโภคภายในโครงการ ซึ่งเงินดังกล่าวเปรียบได้ดังเงินกองทุนแรกตั้งสำหรับการดำเนินงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
  • ได้มีกฎกติกาและอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย มีกฎหมายบริหารและจัดระเบียบหมู่บ้านเป็นของตนเอง กฎหมายดังกล่าวนั้น หมายถึง “ข้อบังคับของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร” ซึ่งมาจากการพิจารณาและเห็นชอบของสมาชิกในหมู่บ้าน เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารหมู่บ้านตลอดรวมถึงการใช้พื้นที่ส่วนกลางร่วมกันนั่นเอง
  • มีความเป็นธรรม ชุมชนในหมู่บ้านจะมีความเป็นธรรมเกิดขึ้น เนื่องจากการลงมติในเรื่องต่างๆ นั้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกข้างมากภายในหมู่บ้าน
  • ได้มีระบบประชาธิปไตย เพราะการบริหารจัดการของหมู่บ้านจะมาจากมติของที่ประชุมสมาชิกโดยเสียงข้างมากกับเจ้าของที่ดินทุกแปลง ซึ่งคะแนนเสียงเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบนั้น ก็จะมาจากสมาชิกทุกคนในหมู่บ้านนั่นเอง
  • สมาชิกในหมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตที่สดใส และเป็นสังคมน่าอยู่ เพราะสภาพแวดล้อมภายในหมู่บ้านที่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ ทุกคนจึงได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี มีความสุข อีกทั้งมูลค่าของบ้านและที่ดินก็จะยิ่งทวีค่าเพิ่มขึ้นเพราะได้รับการดูแลที่ดีอีกด้วย

การจดทะเบียนนิติบุคคลหมู่บ้าน จึงเป็นการทำให้ผู้อยู่อาศัยในชุมชนเดียวกันช่วยกันดูแลสภาพความเป็นอยู่ให้เป็นไปอย่างที่คนส่วนใหญ่พึงพอใจ รวมทั้งยังเป็นการรักษาผลประโยชน์ และทำให้ได้รับสิ่งที่ดีสำหรับผู้อยู่อาศัย ซึ่งนั่นก็หมายถึง สังคมคุณภาพที่จะเกิดขึ้นตามมานั่นเอง

 

ที่มา  http://www.qh.co.th/QCommunity/QContent.aspx?ctype=3&cid=10