มาตรการป้องกันขโมย เข้าบ้าน |
“หัวขโมย” ช่างเป็นคำที่ทำให้จุกจิกกวนใจ พานไปถึงขั้นวิตกกังวลจนนอนหลับไม่สนิท ยิ่งทุกครั้งที่เศรษฐกิจดูจะไม่สู้ดีนัก ก็จะยิ่งได้ยินข่าวคราวที่หนาหูเกี่ยวกับความร้ายกาจของมิจฉาชีพเหล่านี้ไม่เว้นแต่ละวัน
แต่อย่าเพิ่งกังวลไป เพราะวันนี้เรามีมาตรการจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มาบอกต่อ เพื่อให้คุณนำไปเสริมความปลอดภัยให้กับตนเอง ครอบครัว และช่วยเป็นหูเป็นตาให้เพื่อนบ้านใกล้ชิดต่อไป
-
ไม่ลืมเปิดสัญญาณกันขโมยทุกครั้งก่อนออกจากบ้านและก่อนเข้านอน
-
ผูกมิตรกับเพื่อนบ้านใกล้ชิด แลกเปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์ เพื่อส่งข่าวและช่วยเป็นหูเป็นตาให้กันและกัน
-
ทำประวัติคนงาน คนรับใช้ คนขับรถ รวมทั้งควรถ่ายสำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นๆ เก็บไว้ สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติส่วนตัว เพื่อให้ทราบที่อยู่ ความเป็นมา และญาติที่สามารถติดต่อได้
-
เครื่องประดับมีค่า ควรจดรายละเอียด ตำหนิ รูปพรรณ ลักษณะพิเศษ ราคา และถ่ายรูปเก็บไว้ทุกชิ้น
-
หากพบคนแปลกหน้าเดินวนเวียนอยู่รอบบ้านหลายๆ ครั้ง และแลดูมีพิรุธ ควรรีบแจ้งให้ตำรวจทราบ
-
ไม่เก็บเงินสดจำนวนมาก หรือทรัพย์สินมีค่าไว้ในบ้าน หากจำเป็น ควรเก็บให้มิดชิด และไม่ควรให้คนรับใช้เห็นทรัพย์สินที่มีมูลค่ามากๆ หรือรู้สถานที่เก็บรักษาที่อยู่ภายในบ้าน
-
สำรวจประตู หน้าต่าง ช่องระบายอากาศ ของบ้าน ดูแลให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง ปิดล็อกให้แน่นหนา
-
การเบิกจ่ายเงินจำนวนมาก ควรเบิกจ่ายกับธนาคารในท้องที่ หากไม่มีธนาคารในท้องที่ ควรขอให้ตำรวจช่วยคุ้มครอง รวมทั้งไม่ควรเดินทางในเวลากลางคืน และหลีกเลี่ยงการบอกเล่าให้คนรับใช้หรือลูกจ้างรู้ แม้จะไว้วางใจเพียงใดก็ตาม
-
อย่าจับคนร้ายด้วยตนเอง
-
หากมีเหตุโจรกรรมเกิดขึ้น ให้สงบสติอารมณ์ ทบทวนรายละเอียดของเหตุการณ์ทั้งก่อนเกิดเหตุ ในขณะเกิดเหตุ และหลังเกิดให้ได้มากที่สุด
-
อย่าเคลื่อนย้ายสิ่งของในสถานที่เกิดเหตุ เพราะจะส่งผลต่อการสืบสวนสอบสวน ตามจับคนร้ายของตำรวจ
ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เพิ่มความรอบคอบขึ้นอีกนิดก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเหตุโจรกรรมได้อีกเยอะ และหากมีเหตุเกิดขึ้นจริงๆ ขอเพียงตั้งสติให้มั่น ความรุนแรงจากความเสียหายก็จะลดลงได้
ทีมา http://www.qh.co.th/QCommunity/QContent.aspx?ctype=3&cid=11
|