Home » วิทยาการ ไอที โลกาภิวัฒน์ » พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ประกาศใช้มา 3 ปี คนไม่รู้จัก 70% เหตุขาดการประชาสัมพันธ์-ปัญหาตีความการบังคับใช้กฎหมาย

การบริหาร/ความรู้ทั่วไป

Web Design by Softbiz+


ว็บนี้ สร้างด้วย Joomla! 1.5 โดย ทีมงานซอฟท์บิส+ update11.11.2014

 
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ประกาศใช้มา 3 ปี คนไม่รู้จัก 70% เหตุขาดการประชาสัมพันธ์-ปัญหาตีความการบังคับใช้กฎหมาย

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์  วันที่ 22 มีนาคม 2554
นักกฎหมายชี้ 70% ไม่รู้จัก พรบ.คอมพ์

นักกฎหมายชำแหระ พรบ.คอมพิวเตอร์ 3 ปี คนไม่รู้ว่ามี 70% เหตุขาดการประชาสัมพันธ์-ปัญหาตีความการบังคับใช้กฎหมาย

          นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ที่ปรึกษากฎหมาย บริษัทที่ปรึกษากฎหมายไพบูลย์ จำกัด กล่าวว่า หลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 กว่า 3 ปีพบว่าส่วนใหญ่ไม่มีผู้รู้ว่ามี พรบ.ดังกล่าว ทั้งยังขาดมาตรฐานในการบังคับใช้
 
          ผลสำรวจเบื้องต้นพบว่า มีผู้ไม่รู้ว่ามีกฎหมายดังกล่าวสูงถึง 70% ส่วนผู้ที่มีความรู้ระดับปานกลางราว 10% เข้าใจ 7% และเข้าใจระดับดีมาก 2-3% ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะเป็นศัพท์กฎหมายที่เข้าใจยากผนวกกับเป็นศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี
 
          นอกจากนี้ยังเจ้าหน้าที่ผู้รู้กฎหมายน้อยมาก ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอย่างแท้จริงราว 5 คน และเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่อีกเพียง 50 คน
 
         เขาระบุว่า
ปัญหาสำคัญของ พรบ.ดังกล่าวคือ ยังขาดหน่วยงานกลาง หรือมาตรฐานทางจริยธรรม (Code of Conduct) ในการบังคับใช้กฎหมายทำให้การดำเนินคดีภายใต้กฎหมายดังกล่าวยังคงเป็นข้อถกเถียงกันอยู่จนถึงขณะนี้ โดยเฉพาะประเด็นการบล็อกเว็บ เนื่องจากในต่างประเทศการบล็อกเว็บส่วนใหญ่จะบล็อกทั้งเว็บไซต์ แล้วดำเนินคดีกับเจ้าของเว็บ แต่ในไทยจะบล็อกเฉพาะหน้าเว็บเพจ
 

         ขณะที่การบล็อกเว็บที่เข้าข่าย พรบ.ฉบับดังกล่าวยังต้องอยู่ในเกณฑ์ 4 ข้อคือ มีเนื้อหาที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ, กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ, การพนัน และลามกอนาจาร
 
        "
พรบ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นกฎหมายอาญาที่ยอมความไม่ได้ยกเว้นมาตรา16 ซึ่งปัญส่วนใหญ่อยู่ที่การบังคับใช้กฎหมายไม่ใช่ตัวกฎหมาย เพราะเนื้อหาส่วนใหญ่เขียนไว้ดีแล้ว และได้ปรับแก้ไปเรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะมาตรา 14 ซึ่งเป็นประเด็นการตัดต่อคลิป ที่กฎหมายระบุชัดเจนว่า จะเอาผิดกับคนที่ตัดต่อเท่านั้น ส่วนผู้นำไปเผยแพร่ เช่น การรายงานข่าว ไม่ถือเป็นความผิด" นายไพบูลย์กล่าว
 
         พร้อมกับให้ความเห็นว่า ผู้ที่ร่างกฎหมาย หรือปรับแก้กฎหมายส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้ที่ใช้กฎหมายด้วยตัวเองทำให้ขาดความเข้าใจปัญหาอย่างแท้จริง และยังควรเป็นคนรุ่นใหม่ที่ใช้งานเทคโนโลยีที่ควรจะเข้าไปมีบทบาทในการร่างกฎหมายดังกล่าว
 
         นอกจากนี้เขายังเสนอแนะให้จัดตั้งแผนกเฉพาะสำหรับดูแลเรื่องความผิดเกี่ยวกับคดีเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นสภาทนายความ, สำนักงานอัยการสูงสุด และศาล รวมถึงการบรรจุเป็นหลักสูตรบังคับการเรียนกฎหมายคอมพิวเตอร์ หรือวิชาคอมพิวเตอร์สำหรับคณะนิติศาสตร์ เนื่องจากนักกฎหมายส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ด้านเทคโนโลยี
 
       "
ทางออกของปัญหา พรบ.คอมพ์ ตอนนี้คือ ควรอบรมผู้บังคับใช้กฎหมายแบบจริงๆจังๆ และควรต้องเป็นระดับคนใช้กฎหมาย ไม่ใช่แค่จัดบรรยายแล้วก็จบไปเหมือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังควรประชาสัมพันธ์เรื่องของกฎ และการใช้งานให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาครัฐควรต้องจริงจังกับการใช้กฎหมายมากขึ้น" นายไพบูลย์กล่าว
 

ที่มา  http://www.bangkokbiznews.com/